ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมสัตว์โลก และสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #13 : กระต่าย (rabbit)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.87K
      4
      9 ส.ค. 51

    ..กระต่าย..  (rabbit)

      






    กระต่าย (Rabbit)   จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Leporidae มีลำตัวขนาดเล็ก ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก มีสัตว์ 7 สกุลจัดอยู่ในวงศ์ของกระต่าย ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว ขุดดินเป็นโพรงอาศัย ส่วนที่นำมาเลี้ยงตามบ้าน มีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus 




    สายพันธ์กระต่าย

    กระต่ายมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ได้แก่ กระต่ายแคระ กระต่ายขนาดเล็ก กระต่ายขนาดกลาง และกระต่ายขนาดใหญ่

    กระต่ายแคระ

    เช่น เนเธอร์แลนด์ดวอฟ โปลิช ดวอฟโอโท เป็นต้น 

    กระต่ายขนาดเล็ก

    ได้แก่ ฮอลแลนด์ลอป อเมริกันฟัซซี่ลอป มินิเร็กซ์ ดัทช์ เป็นต้น 

    กระต่ายขนาดกลาง

    เช่น ซาติน แคลิฟอร์เนียน นิวซีแลนด์ไวท์ เป็นต้น 

    กระต่ายขนาดใหญ่

    ได้แก่ เฟลมมิชไจแอนท์ เฟร้นช์ลอป อิงลิชลอป เชคเกิร์ตไจแอนท์ เป็นต้น 





    ต้นกำเนิดของสายพันธุ์กระต่าย (The origin of breeds)

    ในปัจจุบันได้มีพันธุ์กระต่ายใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจาก กรณีใดกรณีหนึ่งใน 3 กรณีคือ 

    1. เกิดจากการกลายพันธุ์ (Mutation)
    หมายถึงมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม โดยทันทีทันใด เช่น ถูกรังสี ตัวอย่าง เช่น กระต่ายพันธุ์ซาตินซึ่งเป็นกระต่ายของ อเมริกาเกิดมาจากการกลายพันธุ์ของกระต่ายพันธุ์ ฮาวาน่า , กระต่ายพันธุหูตก (Lop - ear) กระต่ายพันธุ์เร็กซ์ (Rex) ซึ่งเป็นกระต่ายพันธุ์ขนสั้น หรือกระต่ายพันธุ์แองโกล่าเป็นต้น


    2. เกิดจากการรวมกัน (Combination) ของลักษณะที่มีอยู่ของกระต่ายตั้งแต่สองพันธุ์หรือมากกว่านั้นในกรณีนี้การเกิดอาจเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ 


    3. เกิดจากการคัดเลือก (Selection)
    ลักษณะเฉพาะเพื่อให้แตกต่างไปจากพันธุ์เดิม เช่น กระต่ายพันธุ์ เนเธอร์แลนด์ดวาร์ฟ ซึ่งเป็นกระต่ายของประเทศ เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นกระต่าย ของประเทศ เนเธอร์แลนด์ เกิดจากการคัดเลือกจากกระต่ายพันธุ์โปลิช ซึ่งเป็นกระต่ายของประเทศ อังกฤษ 


    สายพันธุ์กระต่ายที่นิยมเลี้ยง

    1.คาลิฟอร์เนีย (Californian Breed)

    เป็นกระต่ายสีขาว มีสีดำหรือเทาที่บริเวณใบหู จมูกเท้า ปลายเท้า และปลายหาง ตาสีชมพู เป็นกระต่ายขนาดกลางโตเต็มที่หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม





    (
    http://www.gopetsamerica.com/small-animals/rabbit/medium-rabbit-breeds.aspx)





                                       Californian Breed


    2.นิวซีแลนด์ (New Zealand)

    เป็นกระต่ายพันธุ์ที่เลี้ยงแพร่หลายที่สุดในสหรัฐอเมริกา เหมาะสำหรับเป็นกระต่ายเนื้อและใช้ในห้องทดลอง มีหลายสี ทั้งขนสีดำและสีตา แต่ชนิดที่ขนสีขาวตาสีชมพูซึ่งเรียกว่า New Zeland White หนักประมาณ 4-5.5 กิโลกรัม




    (
    http://www.dkimages.com/discover/Home/Animals/Mammals/Rabbits-Hares-and-Pikas/Rabbits-and-Hares/Domestic-Rabbit-Breeds/Domestic-Rabbit-Breeds-43.html)




    (www.rockinjawrabbits.com/newzealand.htm)

                       New Zealand White




    3.แองโกล่า (Angora)

    เป็นกระต่ายพันธุ์ขน ชื่อพันธุ์ได้มาจากเมืองแองโกล่า ในตุรกี ขนสีขาวฟูประมาณ 2-3 นิ้ว นิยมตัดมาประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย สามารถตัดขนได้ปีละ 4 ครั้ง ให้ขนเฉลี่ยปีละ 600-1750 กรัม โตเต็มที่หนัก 2.4-3.8 กิโลกรัม





    (teainthesahara.blogspot.com/2006/02/bunny_05.html)

                         (Jacque Dumas @animal-world.com)

                                        Angora Rabbit


    4..เร็กซ์ (Rex)

    เป็นกระต่ายขนสั้น กระต่ายพันธุ์นี้มีขนเฟอร์หนา อ่อนนุ่ม งดงาม และเป็นที่นืยมในอเมริกา โตเต็มที่หนักประมาณ 3.2-3.6 กิโลกรัม

    (http://www.mybunnyblog.com/index.php?tag=-located-south-east-england)

                          (Tohfa@/picasaweb.google.com)


                                              Rex Rabbit


    5..กระต่ายไทย(Thai Rabbit)

    หมายถึงกระต่ายที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปในประเทศไทย กระต่ายเหล่านี้ผสมพันธุ์ปนเปกัน ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ แต่ที่พบมักมีสีขาว สีดำขาว และสีน้ำตาลเทา เป็นกระต่ายขนาดเล็ก โตเต็มที่หนักประมาณ 2-3 กิโลกรัม


                             (HWAMEI@tourtamoan.com)




    6.ดัทซ์(Dutch breed)

    กระต่ายพันธุ์นี้มีหลายชนิด แต่ที่นิยมเป็นพันธุ์สีดำขาว หรือน้ำเงินขาว เ)นกระต่ายพันธุ์เล็ก มีรูปร่างกระทัดรัด ให้เนื้อดี ในสหรัฐอเมริกาเลี้ยงไว้ดูเล่น เพราะสีแปลกและงดงาม โตเต็มที่หนักประมาณ 1.6-3.3 กิโลกรัม
     


    (www.geocities.com/rabbitland_thai/dutch.html)


     (www.unclemikespetworld.ie)



    Dutch breed



    7.เนเธอร์แลนด์ ดวาฬ(Netherland Dwarf)

    เป็นกระต่ายพันธุ์ขนาดเล็กมีหลายชนิด แต่ชนิดพันธุ์สีขาวเป็นที่นิยม เนื่องจากเล็กกระทัดรัด เชื่อง โตเต็มที่หนักประมาณ 0.5-1.1 กิโลกรัม



    (commons.wikimedia.org)


    (
    http://www.gotpetsonline.com/netherland-dwarf/netherland-dwarf.html)

                                       Netherland Dwarf


    8.ลอพส์ (Lops)

    กระต่ายพันธุ์นี้มีลักษณะแปลกคือมีใบหูยาวและใหญ่ บางตัวยาวถึง 27 นิ้ว มีสีดำและสีขาว กระต่ายพันธุ์นี้เชื่อว่ามีเชื้อสายมาจากทางแอฟริกาเหนือ เมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ 4-5.5 กิโลกรัม



                                                  Lops





    9. เท็ดดี้ แบร์ (Teddy Bear)

    เป็นกระต่ายที่พัฒนาขึ้นมาเองในประเทศไทยค่ะ ดังนั้นจึงไม่มีขายในต่างๆประเทศ พันธุ์เท็ดดี้ แบร์ จะขนฟูยาวน่าตาน่ารัก เป็นที่นิยมมากในหมู่คนรักกระต่าย
     


    (
    dev.tarad.com)




    (me_meo @ rabbitcafe)







    10. วู๊ดดี้ทอย (Woody Toy)

    หน้าตาก็คล้ายๆกับ เท็ดดี้แบร์ค่ะ แต่หูเค้าจะสั้นกว่า แล้วก็ตัวจะเล็กกว่าเท็ดดี้ แบร์ด้วยค่ะ



            


    อาหารกระต่าย



    น้ำ

    น้ำเป็นโภชนาการที่สำคัญที่สุด น้ำที่สะอาด และเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้ ถ้าหากกระต่ายขาดน้ำกระต่ายจะไม่ยอมทานอาหารอะไรเลย จึงแนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำเช้า-เย็น นอกจากนี้อาทิตย์หนึ่งๆ ควรมีสักวันหยดวิตามินรวม น้ำสีแดงๆ ให้กระต่ายสัก 2-3 หยด ต่อน้ำครึ่งลิตร เพื่อให้กระต่ายได้รับวิตามินบางตัวที่ไม่มีในอาหาร เช่นวิตามินบี ซีและเค การผสมวิตามินลงในน้ำสามารถช่วยลดอาการเครียดและเป็นผลดีต่อกระต่ายแม่พันธุ์ที่ผสมติดต่อกันหลายครอก น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระต่ายและโดยเฉพาะในกระต่ายขน น้ำจะช่วยให้ขนกระต่ายมีคุณภาพที่ดี จำไว้ว่าลิ้นของกระต่ายค่อนข้างไวต่อรสชาติของน้ำที่เปลี่ยนไป และในบางครั้งเค้าอาจจะไม่ยอมดื่มน้ำที่แปลกกว่าที่เคยทาน แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น ที่กระต่ายขาดหรือไม่ยอมทานน้ำ แต่สิ่งนี้อาจจะส่งผลให้เกิดเมตาโบลิซึมของการสร้างขนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะทำให้ขนกระต่ายพันกันได้ 

    อาหารสำเร็จรูป

    อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนพอเหมาะ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของกระต่าย กระต่ายทั่วไปมีความต้องการโปรตีน 14-17 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2-4 เปอร์เซ็นต์ และไฟเบอร์อย่างน้อย 16 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปอาหารเม็ดสำเร็จรูปตามท้องตลาดมักจะมีอัตราส่วนอย่างพอเหมาะอยู่แล้ว และยังมีสารอาหารอื่นๆที่จำเป็นเช่น วิตามินและเกลือแร่ แต่ผู้เลี้ยงสามารถผสมหรือให้ผักผลไม้อื่นๆ เพิ่มเติมอีกได้ โดยสามารถให้อาหารกระต่ายทุก 12 ชั่วโมง แต่เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ฉะนั้นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการให้อาหารคือในช่วงเช้าตรู่และตอนหัวค่ำ กระต่ายเล็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนควรจะได้รับอาหารเม็ดอย่างพอเพียง อาหารเม็ดใหม่ๆ และเปลี่ยนทุกวัน เช้าเย็น ควรจะมีไว้ตลอดอย่าให้ขาด เมื่อกระต่ายอายุมากขึ้น

    หญ้าขน

    หญ้าขนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมโภชนาการของกระต่าย เพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดี ซึ่งช่วยให้กระต่ายมีระบบการย่อยอาหารที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรมีหญ้าขนที่สดและสะอาดไว้ในกรงตลอดเวลา หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายทานควรจะทำความสะอาดเสียก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้อย่างน้อย 30 นาที ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควรจะเลี่ยงหรือแช่ให้นานกว่านั้น เพราะกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสิ่งมีพิษและอาจจะตายได้ในทันที นอกจากนี้หญ้าขนยังจำเป็นสำหรับกระต่ายพันธุ์ขน เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอาการขนพันกันแล้ว หญ้าขนยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขนอีกด้วย

            หญ้าขนให้ได้ อัลฟัลฟ่าและฟางไม่สมควรให้ อัลฟัลฟ่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม และกระตุ้นการกินอาหารของกระต่าย แต่ไม่ควรให้มากหรือบ่อยเกินไป เพราะอัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูง ซึ่งจะมีผลต่อไตของกระต่าย อาจะทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะกระต่ายพันธุ์เล็ก โปรตีนที่มากเกินไปจะมีผลเสียต่อไตและอวัยวะภายในอื่นๆ กระต่ายที่ได้รับโปรตีนสูงเกินไป อาจจะมีอาการชักกระตุก หายใจถี่ น้ำมูกไหล และตายอย่างเฉียบพลันในที่สุด ฟางก็ไม่สมควรให้เป็นอาหารกระต่าย เพราะไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆ 


    ผลไม้

    กระต่ายสามารถทานผลไม้ได้บางชนิดเท่านั้น เช่น แอ็บเปิ้ล กล้วยน้ำว้า มะละกอ ฝรั่ง ส้ม แครอท สับปะรด สำหรับผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เช่น แตงโม แตงกวา ไม่สมควรให้เพราะอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเหมาะสมสำหรับกระต่ายเล็กที่เพิ่งเริ่มหัดทานอาหารอื่น นอกจากนมแม่ อายุตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะว่ากล้วยน้ำว้ามีโปรตีน แคลเซียมและสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของกระต่ายเด็ก มะละกอเป็นผลไม้ที่มีความจำเป็นสำหรับกระต่ายมาก เพราะว่าช่วยป้องกัน อาการเกิดก้อนขนไปอุดทางเดินอาหาร (Hair Ball) มะละกออบแห้ง เพียงชิ้นเล็กๆ ต่อวัน เป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นกิจวัตร นอกจากนี้ น้ำสับปะรดยังช่วยบรรเทาอาการเกิดก้อนขน ด้วยเช่นกัน 


    ผัก

    สำหรับผักที่เหมาะสำหรับกระต่าย มีหลายอย่างเช่น ใบกะเพรา (ป้องกันกระต่ายท้องอืด) ผักกาดหอม ถัวฝักยาว และผักบุ้งไทย ส่วนผักบุ้งจีนไม่สมควรให้เพราะว่ามียางเยอะ ซึ่งอาจจะทำให้กระต่ายท้องเสียได้ มีข้อสังเกตง่ายๆ ผักสีเขียวเข้มทานได้ ผักสีเขียวอ่อนควรหลีกเลี่ยง


    อาหารเสริม


    อาหารเสริม เช่น ข้าวโอ๊ต เมล็ดทานตะวัน (ช่วยบำรุงขน) โดยเฉพาะข้าวเปลือก ซึ่งมีวิตามินบี เพื่อช่วยให้พ่อพันธุ์สมบูรณ์พันธุ์ก่อนผสม

            สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ภาชนะที่ใส่อาหาร เช่น ภาชนะดินเผา กระเบื้องเคลือบหรือกล่องใส่อาหารอัตโนมัติ และกระบอกน้ำหรือถังจ่ายน้ำอัตโนมัติ ควรจะดูแลเรื่องความสะอาดอย่างดีและพิเศษที่สุด ภาชนะควรทำความสะอาดอย่างน้อยอาทิตย์ละสองสามครั้ง เพื่อล้างคราบสกปรกเช่นปัสสาวะและอุจจาระที่อาจจะกระเด็นหรือตกค้างอยู่ โดยส่วนตัวอยากแนะนำให้ใช้ภาชนะที่ทำความสะอาดและแห้งได้ง่าย เพื่อลดโอกาสที่กระต่ายจะเกิดอาการท้องเสีย จากเชื้อรากรณีที่ภาชนะไม่แห้งสนิทได้ นอกจากนี้ผู้เลี้ยงควรจะต้องหมั่นสังเกตกระบอกน้ำ ว่ากระต่ายสามารถเลียหรือดูดน้ำได้หรือไม่ โดยดูดจากปริมาณน้ำที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นจุกน้ำอัตโนมัติ ผู้เลี้ยงต้องหมั่นสังเกตตลอดเวลา หากจุกน้ำรั่วหรืออุดตันก็อาจจะส่งผลเสียหรืออันตรายกับชีวิตน้อยๆเหล่านี้ได้

            สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า สุขอนามัยของภาชนะอาหารและกระบอกน้ำ มีความสำคัญพอๆกันกับความสะอาดของอาหารที่ให้กระต่ายทาน หมายเหตุ ตัวเลขปริมาณอาหาร เป็นตัวเลขโดยประมาณ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามพฤติกรรมการกินของกระต่ายแต่ละตัว 


        การจำกัดอาหารตามปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัญหาหลักของการให้อาหารกระต่ายก็คือ การให้อาหารมากเกินไป ถ้าเราให้อาหารเค้ามากเกินไป กระต่ายจะอ้วนและไม่แข็งแรง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับการผสมพันธุ์ติดยาก เพราะฉะนั้น แม้ว่ากระต่ายจะทานอาหารทั้งหมดที่ท่านให้ แต่ก็ต้องจำกัดอาหารอย่างเคร่งครัด สูตรง่ายๆ ของการให้อาหารเม็ด คือ ให้อาหาร 50 กรัมต่อน้ำหนักกระต่าย 1 กิโลกรัม ต่อวัน
    การดูแลกระต่าย

    การดูแลกระต่ายไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นงานที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตร ทุกวัน ทุกสัปดาห์ และทุกเดือน การเลี้ยงกระต่ายนั้นสำคัญที่ ทุก ๆ สิ่งต้องสดและสะอาด เราอาจจัดแบ่งลักษณะงานที่ต้องทำให้กับกระต่ายไว้ เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติดังนี้ ... 


    ทุกวัน

    • กระต่ายขนาดเล็กเล็ก เช่น โปลิช และดัทช์ ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
    • กระต่ายหูตกพันธุ์เล็ก เช่น ฮอลแลนด์ลอป และอเมริกันฟัซซี่ลอป ให้ทาน 40 กรัมต่อมื้อ
    • กระต่ายแคระ สายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ให้ทาน 35 กรัมต่อมื้อ
  • ตรวจสอบสุขภาพกระต่ายประจำวัน สังเกตุการนั่ง เดิน ยืน ตรวจเล็บ สุขภาพขน และสุขภาพหู
  • ปล่อยกระต่ายวิ่งเล่น เราอาจกั้นพื้นที่บางส่วนไว้ให้กระต่ายได้ออกกำลังกายในช่วงที่เราทำความสะอาดกรงของกระต่ายในตอนเช้า-เย็น (แล้วแต่ความสะดวกของผู้เลี้ยง)
  • เก็บเศษผักสด ผลไม้เก่าที่กระต่ายทานไม่หมดทิ้ง เพราะเศษอาหารที่เหลือตกค้างนี้ หากกระต่ายทานเข้าไปอีกอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
  • เก็บเศษอาหารเม็ดเก่าทิ้ง เพราะอาหารเม็ดที่เหลือเหล่านี้จะเกิดการบวมชื้น กระต่ายจะไม่ทานส่วนที่เหลือ ดังนั้นในแต่ละมื้ออาหารควรกำหนดปริมาณอาหารเม็ดให้พอดีสำหรับ 1 มื้อเสมอ
  • เก็บเศษหญ้าสด/หญ้าแห้งทิ้ง เศษหญ้าเหล่าเมื่อทิ้งไว้ในกรงอาจเกิดการขึ้นราหรือปนเปื้อนกับมูลหรือฉี่กระต่าย
  • ทำความสะอาดถาดรองกรง
  • เทน้ำเก่าในขวดน้ำทิ้ง แล้วเติมน้ำสะอาดให้เต็ม
  • ให้อาหารเม็ด หญ้าสด/หญ้าแห้ง หรือผักสด/ผลไม้ โดยกะปริมาณอาหารให้กระต่ายทานหมดใน 1 มื้อ




    ทุกสัปดาห์


    • ล้างทำความสะอาดขวดน้ำ กระถางใส่อาหาร ที่แขวนหญ้า ด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ต้องมั่นใจว่าไม่มีสารตกค้างหลงเหลือก่อนนำกลับไปใช้เลี้ยงกระต่ายอีกครั้ง
    • ทำความสะอาดถาดรองกรง และตากแดดให้แห้งสนิท
    ทุกเดือน



    • ทำความสะอาดกรง ถาดรองกรง พื้นใต้กรง ผนังกำแพง ในบริเวณที่ใช้เลี้ยงกระต่าย ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกให้สะอาดก่อนนำกระต่ายกลับเข้ากรง
    • ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงกระต่ายทั้งหมด รวมทั้งของเล่นของกระต่าย

            หากเราปฏิบัติได้ในทุกๆ ข้อ จนเป็นความเคยชินแล้ว จะทำให้กระต่ายนั้นมีสุขอนามัยที่ดี ย่อมส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตของกระต่ายนั้นดีเช่นกัน กระต่ายที่มีสุขภาพสมบูรณ์ จะร่าเริงแจ่มใส สะอาดสะอ้าน น่ารักน่าอุ้ม ขนสวยนุ่ม และขี้เล่น 






    http://www.thairabbitclub.com/
    : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2
    : http://www.siamanimal.com/rabbit/species.html
    : nic @ kapank
    : patjung @ rabbitcafe.net
    www.nubpetshop.com/article?id=28205&lang=th 





  • ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×