ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รวมสัตว์โลก และสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #3 : ไคเมร่า [Chimera ]

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.43K
      4
      1 ส.ค. 51





              ไคมีร่า(Chimaera)

      



    ไคมีร่าเป็นสัตว์ในตำนานกรีก มีส่วนผสมของสัตว์อีกสามชนิด ได้แก่ สิงโต แพะ และงูหรือมังกร โดยมันมีส่วนหัวปกติจนไปถึงอกเป็นสิงโต ส่วนกลางของมันเป็นแพะ และมีส่วนท้ายเป็นงู มีหัวงูอยู่ที่ตรงปลายหางสามารถศัตรูได้ ซึ่งแต่ละหัวของมันนั้น มีความคิดเป็นของตัวเอง หัวมังกรของมันสามารถพ่นไฟได้ หายใจเป็นเปลวไฟ หางมันเป็นงูพิษร้ายแรง กัดแล้วถึงตายในทันที คิเมร่าเป็นลูกของอสูรกายไทฟอน และอิคิดนา มีพี่น้องหกตัวได้แก่ เซอร์บีรัส ไฮดรา นีเมียน สฟิงซ์ และเลดอน 




    คำอธิบายยุคแรกเกี่ยวกับไคมีร่าอยู่ในยุคกรีกเป็นของ Homer และ Hesiod แปลเป็นไทยได้ดังนี้

    Homor : เธอเป็นสายพันธุ์ของเทพ ไม่ใช่ของมนุษย์ ในส่วนหน้ามีลักษณะเป็นสิงโต, ในส่วนหลังเป็นงู และในส่วนกลางลำตัวเป็นแพะ หายใจออกมาในลักษณะที่ร้ายแรง
    เป็นพลังของไฟที่โชติช่วง และ Bellerophon ปราบเธอ โดยเชื่อมั่นในเครื่องหมายของพระเจ้า


    Homer, Iliad 6. 181, ศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ.


    Hesiod : ไคมีร่าผู้ซึ่งหายใจเป็นไฟที่เดือดดาล สัตว์ตัวนี้น่ากลัว มีเท้าที่ว่องไวและแข็งแรง เป็นผู้ซึ่งมี 3 หัว หัวหนึ่งเป็นสิงโตที่ดวงตาดุร้าย, อีกหัวหนึ่งเป็นแพะ และอีกหัวหนึ่งเป็นงู ในส่วนหน้า เธอเป็นสิงโต, ส่วนหลังของเธอเป็นมังกร และในส่วนกลางของเธอเป็นแพะ ไคมีร่าหายใจออกมาเป็นการเป่าที่น่ากลัวของไฟที่โชติช่วง เธอถูกเพกาซัส และ Bellerophon ผู้มีเกียรติฆ่า

    Hesiod, Theogony 319, ศตวรรษที่ 8 ก่อน ค.ศ.


                                    

    รูป  ไคเมร่าพ่นไฟใส่เบลเลอโรฟอน

    มีตำนานกรีกเล่าว่าไคมีราบุกเข้าทำลายเมือง ลีเซีย(Lycia) ทำให้กษัตริย์โลเบทีสซึ่งเป็นเจ้าปกครองเมืองอยู่ในขณะนั้น ต้องการผู้มาปราบเจ้าสัตว์ร้ายตนนี้ บังเอิญวีรบุรุษ เบลเลอโรฟอน ขี่ม้าบินปีกาซัสผ่านมาพอดีจึงอาสาที่จะฆ่าเจ้าสัตว์ร้ายตนนี้ แต่มันออกจะเป็นเรื่องยาก เพราะแต่ละหัวของมันมองได้ทุกทิศทาง เบลเลอโรฟอนขี่ม้าบินเพกาซัสฉวัดเฉวียนอยู่เหนือคู่ต่อสู้ คอยหลบเปลวเพลิงที่พรุ่งพรวยออกมาจากปากของมัน และกระหน่ำห่าธนูใส่ จนในที่สุดเจ้าอสูรร้ายก็สิ้นชีพ



    ต้นกำเนิดตำนานของไคมีร่าไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีเรื่องหนึ่งว่าภูเขา Yanar ใน Lycia เป็นภูเขาไฟที่เชื่อว่าเป็นตัวแทนของไคมีร่า เพราะบนยอดเขามีสิงโต, กลางเขาเป็นทุ่งหญ้าที่มีแพะอยู่ และทุกที่ของภูเขาเต็มไปด้วยงู และเชื่อว่า Bellerophon เป็นคนแรกที่ตั้งถิ่นฐานที่นั่น    






      รูป  เบลเลอโรฟอนขี่ม้าบินเพกาซัสฉวัดเฉวียนอยู่เหนือไคเมร่า


    รูปหล่อของไคมีร่าที่สมบูรณ์ที่สุดจากสมัยโบราณน่าจะเป็นรูปหล่อสัมฤทธิ์ ที่ขุดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1553 ที่เมือง Arezzo ประเทศอิตาลี เรียกว่า Chimaera of Arezzo รูปหล่อนี้เป็นงานฝีมือของชาว อีทรัสแคน(Etruscan) ท่าทางของรูปหล่อไคมีร่านี้คือ ปากเปิด, ลำตัวโค้งขึ้น และขาหน้าเหยียดตรงไปข้างหน้า ที่ขาขวาหน้ามีอักษรสลักอยู่ อ่านได้หลายแบบเช่น Timmsifil, Taninhesel, Tiumquil





                                                 รูป Chimaera of Arezzo








    ไคมีร่าเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ในยุคโรมัน และเป็นสัญลักษณ์ของ การผสมกันทางลักษณะทางพันธุกรรมของสัตว์ต่างชนิดกัน สำหรับไคมีร่ากับ Bellerophon เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของความดีเหนือความชั่ว

    ตามตำนานกรีก ไคมีร่าเป็นสัตว์เพศเมีย 3 หัว พ่อของไคมีร่าเป็นยักษ์ชื่อ Typhon และแม่เป็นครึ่งงูชื่อ Echidna และในภาษากรีกโบราณ ไคมีร่าแปลว่า แพะเด็กเพศเมีย หรือบางแหล่งว่า แพะเพศเมีย


    จากการที่ไคเมร่าเป็นส่วนผสมของสัตว์ร้าย 3 ชนิด ที่ไม่น่าจะมารวมกันได้ คำว่า ไคเมร่า (Chimera) จึงใช้เป็นชื่อเรียกของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างแปลกประหลาดในปัจจุบัน เช่น ปลาทะเลน้ำลึกจำพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นปลากระดูกอ่อน
    ก็ถูกเรียกว่า ไคเมร่า ด้วยเช่นกัน





                                                     รูปปลา  ไคเมร่า

     







    แหล่งที่มา 

    :   http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2

    www.vcharkarn.com/varticle/36437/5
    http://the-timelessmyth.exteen.com/category/Mythological-Creatures
    http://www.vcharkarn.com/varticle/36437/5
    www.lair2000.net/Pegasus_Roost/chimera3.html
    :  
    http://www.art.com/asp/sp-asp/_/pd--12060544/sp--A/Chimaera_of_Arezzo_or_the_Chimaera_Wounded_by_Bellerophon_Etruscan_380360_BC.htm
    :   
    www.prionace.it/chimaeramonstrosaENG.htm

     



     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×