ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    History of England

    ลำดับตอนที่ #50 : การขยายตัวของกรุงลอนดอน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 236
      0
      12 พ.ค. 49

    ลอนดอนมีสภาพเช่นไรหรือ เมื่อพระเจ้าจอร์จและพระราชินีโซเฟียเสด็จจากแฮนโนเวอร์มาถึงในปี 1714 โรคระบาดครั้งใหญ่ในปี 1665 คร่าชีวิตชาวลอนดอนไปถึง 100000 คนและทารกก็มีอัตราเสียชีวิตสูง ทว่านับจากปี 1600 จำนวนประชากรในลอนดอนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าเป็น 550000 คน ส่วนใหญ่อพยพจากชนบทเข้ามาหางานทำเนื่องจากเริ่มมีการนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการเกษตรกันมากขึ้น

    ในปี 1666 เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ ต้นเพลิงมาจากร้านทำขนมปังในตรอกพุดดิ้งและลุกลามเผาเมืองซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างทำด้วยไม้ถึง 2 ใน 3 แต่สถาปัตยกรรมอันงดงามเช่น วิหารเซนต์ปอล ผุดขึ้นมาทดแทนในเวลาต่อมา มีการขยายถนนหลายสายสำหรับรถม้าและในปี 1813 สะพานเวสต์มินสเตอร์ก็สว่างไสวด้วยแสงจากก๊าซเป็นครั้งแรก แต่การขยายตัวของชุมชนแออัดในขณะเดียวกันก็ทำให้ลอนดอนมีสภาพที่เสื่อมโทรมอีกด้วย

    กรุงลอนดอนกลายเป็น ศูนย์กลางการค้าสำคัญ การค้ากับอาณานิคมสร้างความร่ำรวย ธุรกิจธนาคาร ประกันภัย และการเล่นหุ้น แต่แล้วก็เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน South Sea Bubble ขึ้นโดยในปี 1720 บริษัท เซาธ์ซีตกลงช่วยชำระหนี้สินของรัฐเพื่อแลกกับสิทธิผูกขาดการค้าในแถบนั้น ผู้คนแห่มาซื้อหุ้นของบริษัทซึ่งกุข่าวผลกำไร (อันนี้โง่ ความคิดเห็นของผู้เขียน) แต่แล้วเมื่อราคาหุ้นดิ่งลง คดีทุจริตทางการเงินครั้งแรกของลอนดอนก็ทำให้ผู้คนนับพันสิ้นเนื้อประดาตัว รอเบิร์ต วอลโพล (1676-1745) พรรควิก ช่วยกันกอบกู้ความมั่นใจของประชาชน และตำแหน่งเสนาบดีคลังและนายกรัฐมนตรีคนแรกของอังกฤษในเวลาต่อมา

    ความรุ่งเรืองทางการค้าและการเงินช่วยสร้างงานช่างฝีมือแขนงต่างๆ ลอนดอนยังเป็นศูนย์กลางของชีวิตในราชสำนักและตำแหน่งทางการเมือง พระราชวงศ์จะเสด็จมาประทับที่ตำหนักบักกิงแฮม วังเคนชิงตัน และแฮมพ์ตันคอร์ต พระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกซึ่งประทับที่ตำหนังบักกิงแฮม พระเจ้าจอร์จที่ 4 ทรงโปรดให้จอห์น แนช ออกแบบตำหนักบักกิงแฮมเป็นพระราชวัง มีการใช้ระบบอุปถัมภ์ในหมู่มนักการเมือง ซึ่งประชุมกันที่เมืองเวสต์มินสเตอร์ โดยอาคารที่ประชุม (ไม่ใช่อาคารที่ใช้กันในปัจจุบัน) สร้างขึ้นใหม่หลังจากอาคารหลักเก่าถูกไฟไหม้ในปี 1834
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×