ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    History of England

    ลำดับตอนที่ #9 : การเปลี่ยนแปลงทางศาสนา(2)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 266
      0
      25 ก.พ. 48

    ในเมืองแจร์โรว์บนฝั่งแม่น้ำไทม์และ anglo-saxon Chronicle หนังสือบันทึกเหตุการณ์ของพวกแองโกล-แซกซัน ซึ่งรวบรวมขึ้นตามพระราชโองการของพระเจ้าอัลเฟร็ดนับเป็นแหล่งความรู้สำคัญเกี่ยวกับยุคนั้น ส่วนโคลง Beowulf บันทึกวีรกรรมความกล้าหาญของกษัตริย์และชีวิตชนบทของคนยุคเดียวกัน แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 8 และถือเป็นโคลงชิ้นแรกที่ใช้ภาษาพื้นเมืองของยุโรป



    พระเจ้าอัลเฟร็ดทรงศึกษาภาษาละตินด้วยพระองค์เองขณะที่มีพระชนมายุได้ 40 ชันษา ทรงแปลงานของบาทหลวงบีดเป็ฯภาษาอังกฤษ พระองค์โปรดให้สร้างโรงเรียนวางระบบกฎหมายและสร้างความแข็งแกร่งแก่กองทัพบกและกองทัพเรือ จึงทรงได้รับการเทิดทูนเป็น “พระเจ้าอัลเฟร็ดมหาราช”



    กษัตริย์องค์ต่อมาพิชชิตดินแดนของพวกเดนได้ กระทั่งปีค.ศ.980 พวกเดนจึงโจมตีอังกฤษบ้าง พระเจ้าอีเทลเร็ดซึ่งทรงได้รับสมญานามว่า “ผู้ไม่พร้อม” โปรดให้จัดเก็บภาษีจากเดนเกลด์ เพื่อซื้อความสงลสุขจากพวกเดนแต่จิตวิทยาของพระองค์ไม่เป็นผล เพราะพวกเดนกลับรังควานหนักข้อขึ้น



    พระเจ้าอีเทลเร็ดสวรรคตโดยไร้รัชทายาทผู้สามารถวิทันจึงเลือกพระเจ้าคานุตผู้ชาญฉลาดแห่งเดนมาร์กขึ้นเป็นพระมุขแทนพระองค์ พระองค์ทรงแบ่งอำนาจระหว่างพวกเดนกับแซกซัน ทั้งทรงบัญชาพระเจ้ามัลคอล์มที่ 2 ของสก๊อตแลนด์ให้รับพระองค์เป็นเจ้าเหนือหัว อีกราว 20 ปีต่อมาดันแคนพระนัดดาของพระเจ้ามัลคอล์มก็ถูกแม็กเบธ ลอร์ดแห่งมอเรย์ผู้ละโมบอำนาจสังหาร ทว่าต่อมาแม็กเบธก็ถูกฆ่าตาย ราชบัลลังก์จึงตกแก่พระเจ้ามัลคอล์มที่ 3 ซึ่งเป็ฯพระโอรส เรื่องของแม็คเบทของเช็กสเปียร์จึงอิงจากเรื่องจริง หากโอรสพระเจ้าคานุตมิได้สิ้นพระชนม์ไปก่อน ประวัติศาสตร์อังกฤษคงต่างจากนี้มาก อย่างไรก็ตามพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด โอรสของพระเจ้าอีเทลเร็ดก็ได้ขึ้นครองราชย์และโปรดประทับอยู่ในฝรั่งเศส







    ps.ขออภัยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา เรื่องนี้ก็เลยไม่ได้อัพมาเกือบครึ่งปี หวังว่าเพื่อนๆที่ชื่อชอบประวัติศาสต์ของอังกฤษจะให้อภัยเรา แหะๆ......
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×