ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    The World War 1 สงครามโลกครั้งที่ 1

    ลำดับตอนที่ #15 : เทคโนโลยี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 33
      0
      21 ธ.ค. 58

    เทคโนโลยี

     

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มต้นขึ้นเป็นการปะทะของเทคโนโลยีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กับยุทธวิธีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยได้เกิดความสูญเสียเลือดเนื้ออย่างใหญ่หลวงตามมา อย่างไรก็ดี เมื่อถึงปลาย ค.ศ. 1917 กองทัพของประเทศใหญ่ ๆ ซึ่งมีกำลังพลหลายล้านนาย ได้ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยและมีการใช้โทรศัพท์ การสื่อสารไร้สาย[128] รถหุ้มเกราะ รถถัง[129]และอากาศยาน ขบวนทหารราบมีการจัดใหม่ ดังนั้น กองร้อยที่มีทหาร 100 นายจึงมิใช่หน่วยหลักในการดำเนินกลยุทธ์อีกต่อไป และหมู่ที่มีทหารประมาณ 10 นาย ภายใต้บัญชาของนายทหารประทวนอ่อนอาวุโสกลายเป็นได้รับความนิยม

    ปืนใหญ่เองก็ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นเช่นกัน ใน ค.ศ. 1914 ปืนใหญ่ประจำอยู่ในแนวหน้าและยิงไปยังเป้าหมายโดยตรง จนถึง ค.ศ. 1917 การยิงเล็งจำลองด้วยปืน (เช่นเดียวกับปืนครกหรือแม้กระทั่งปืนกล) พบแพร่หลาย โดยใช้เทคนิคใหม่สำหรับการกำหนดตำแหน่งและการตั้งระยะ ที่โดดเด่นคือ อากาศยานและโทรศัพท์สนามที่ตกค้างบ่อยครั้ง ภารกิจต่อสู้กองร้อยทหารปืนใหญ่ก็ได้กลายมาแพร่หลายเช่นกัน และการตรวจจับเสียงได้ถูกใช้เพื่อค้นหาปืนใหญ่ของข้าศึก

    เยอรมนีนำหน้าฝ่ายสัมพันธมิตรไกลในการใช้การเล็งยิงจำลองหนัก กองทัพเยอรมันติดตั้งฮาวอิตเซอร์ขนาด 150 และ 210 มม. ใน ค.ศ. 1914 ขณะที่ปืนใหญ่ตามแบบของฝรั่งเศสและอังกฤษมีขนาดเพียง 75 และ 105 มม. อังกฤษมีฮาวอิตเซอร์ 152 มม. แต่มันหนักเสียจนต้องลำเลียงสู่สนามเป็นชิ้น ๆ และประกอบใหม่ ฝ่ายเยอรมันยังประจำปืนใหญ่ออสเตรีย 305 มม. และ 420 มม. และเมื่อสงครามเริ่มต้นขึ้นนั้น ได้มีรายการมีเนนเวอร์เฟอร์ (Minenwerfer) หลายขนาดลำกล้องแล้ว ซึ่งเหมาะสำหรับการสงครามสนามเพลาะตามทฤษฎี[130]

    การสู้รบมากครั้งข้องเกี่ยวกับการสงครามสนามเพลาะ ซึ่งทหารหลายร้อยนายเสียชีวิตในแผ่นดินแต่ละหลาที่ยึดได้ ยุทธการครั้งนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์จำนวนมากเกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ยุทธการเหล่านั้นเช่น อีแปร มาร์น คัมไบร ซอมม์ แวร์เดิง และกัลลิโปลี ฝ่ายเยอรมันนำกระบวนการฮาเบอร์ซึ่งเป็นการตรึงไนโตรเจนมาใช้ เพื่อให้กำลังมีเสบียงดินปืนอย่างต่อเนื่อง แม้ฝ่ายอังกฤษจะทำการปิดล้อมทางทะเลก็ตาม[131] ปืนใหญ่เป็นเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด[132] และบริโภควัตถุระเบิดปริมาณมหาศาล การบาดเจ็บที่ศีรษะจำนวนมากเกิดขึ้นจากกระสุนปืนใหญ่ที่ระเบิดและการแตกกระจาย ทำให้ชาติที่เข้าร่วมสงครามต้องพัฒนาหมวกเหล็กกล้าสมัยใหม่ นำโดยฝรั่งเศส ซึ่งนำหมวกเอเดรียนมาใช้ใน ค.ศ. 1915 และต่อมาไม่นานอังกฤษและสหรัฐได้ใช้หมวกโบรดี และใน ค.ศ. 1916 โดยหมวกสทาลเฮล์มที่มีเอกลักษณ์ของเยอรมนี ซึ่งการออกแบบและการปรับปรุง ยังใช้เรื่อยมาถึงปัจจุบัน

    การใช้การสงครามเคมีอย่างแพร่หลายเป็นคุณลักษณะเด่นเฉพาะของความขัดแย้งนี้ แก๊สที่ใช้มีคลอรีน แก๊สมัสตาร์ดและฟอสจีน มีผู้เสียชีวิตจากแก๊สในสงครามเพียงเล็กน้อย[133]เพราะมีวิธีการรับมือการโจมตีด้วยแก๊สที่มีประสิทธิภาพในเวลาอันรวดเร็ว เช่น หน้ากากกันแก๊ส ทั้งการใช้สงครามเคมีและการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขอบเขตเล็กนั้นถูกบัญญัติห้ามโดยอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ. 1907 และทั้งสองพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพจำกัด[134] แม้จะจับจินตนาการของสาธารณะก็ตาม

    อาวุธติดตั้งภาคพื้นที่ทรงอานุภาพที่สุด คือ ปืนใหญ่รถไฟ (railway gun) ซึ่งแต่ละกระบอกหนักหลายร้อยตัน ปืนใหญ่เหล่านี้มีชื่อเล่นว่า บิกเบอร์ธา เยอรมนีได้พัฒนาปืนใหญ่ปารีส ซึ่งสามารถยิงถล่มกรุงปารีสจากพื้นที่ซึ่งห่างออกไปกว่า 100 กิโลเมตรได้ แม้กระสุนปืนใหญ่จะค่อนข้างเบา โดยมีน้ำหนัก 94 กิโลกรัม แม้ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมีปืนใหญ่รถไฟเช่นเดียวกับเยอรมนี แต่แบบของเยอรมันมีพิสัยไกลกว่าและเหนือชั้นกว่าของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×