A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

ภาวะเจ็บปวด (Pain management)

เขียนโดย A Rai Naa >>>

ภาวะเจ็บปวด (Pain management)

 

ภาวะเจ็บปวดเป็นความรู้สึกไม่สุขสบาย เนื่องจากมีการกระตุ้นที่เส้นประสาทส่วนของร่างกาย

 

ที่รับรู้ภาวะเจ็บปวด อาจเกิดจากการกระตุ้น การกดทับ การอักเสบ การแน่นขยาย

 

การถู การหดรัด หรือ การที่มีการทำลายของเซลล์ในร่างกาย สามารถวินิจฉัยความเจ็บปวด

 

จากการสื่อสารกับเด็กโดยการพูด ซักถาม หรือจากการสังเกตอาการ

 

เช่น การร้องไห้ กระสับกระส่าย งอแง นอนไม่หลับ คลื่นไส้ เหงื่อออก ซีด หายใจตื้น

 

เคลื่อนไหวลำบาก หรืออาจให้มือถูบริเวณที่ปวด

 

ภาวะเจ็บปวดเป็นการตอบสนองความรู้สึกเฉพาะบุคคลที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบาย

 

และทุกข์ทรมานมากน้อยตวามความรุนแรงของความเจ็บปวดนั้นๆ

 

โดยทั่วไปมักเกิดจากสิ่งมากระตุ้นทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่พบได้ในทุกระบบของร่างกาย

 

ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์รับรู้ของแต่ละบุคคลที่สลับซับซ้อนในทางชีวจิตสังคม

 

ไม่สามารถให้ความหมายที่ชัดเจนและเป็นการรับรู้ที่ได้อิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม

 

ความเจ็บปวดถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ช่วยให้มนุษย์มีปฏิกิริยา

 

โต้ตอบเพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิต

 

การประเมินภาวะเจ็บปวดแต่ละวัย

 

วัยทารก

 

  1. มีการตอบสนองต่อร่างกายทั้งหมด แขนขา อาจสั่นเกร็ง
  2. แสดงออกทางสีหน้า
  3. กดเจ็บ ร้องเสียงดัง
  4. ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น oxygen saturation ลดลง

 

วัยเดิน

 

  1. กระสับกระส่าย ถูบริเวณที่ปวด
  2. ร้องเสียงดังและพูดว่า เจ็บๆ
  3. พยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อลดความเจ็บปวดลง

 

วัยก่อนเรียน

 

  1. ร้อง สามารถบอกตำแหน่งที่เจ็บปวดได้
  2. อยู่ในระยะเริ่มต้นของพัฒนาการถดถอยและแยกตัว
  3. อาจเชื่อว่าภาวะเจ็บปวดเป็นการลงโทษ เมื่อมีพฤติกรรมไม่ดี
  4. อาจกล้าหรือปฏิเสธที่จะบอกถึงภาวะเจ็บปวด
  5. อาจตี หรือเตะผู้ดูแล

 

วัยเรียน

 

  1. ส่วนของลำตัวแข็งเกร็ง แยกตัว
  2. สามารถบอกความเจ็บปวดได้
  3. เกรงว่าร่างกายจะบาดเจ็บ อาจต่อรอง หลีกเลี่ยงจากสถานการณ์การเจ็บปวดได้
  4. มีความคิดเกี่ยวกับการตายและการมีชีวิตอยู่

 

วัยรุ่น

 

  1. กล้ามเนื้อแข็งเกร็งมากขึ้น การทำกิจกรรมลดลง แยกตัว
  2. สามารถบอกตำแหน่งที่เจ็บปวด และระดับความรุนแรงได้
  3. เข้าใจสาเหตุและผลของการเจ็บปวด
  4. ภาวะเจ็บปวดมีผลกระทบต่อ ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ

 

แนวทางการรักษา

 

  1. กำจัดหรือขจัดต้นเหตุของอาการเจ็บปวด เช่น ปวดเนื่องจากการอักเสบของไส้ติ่ง ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
  2. ช่วยทุเลาอาการปวด โดยการให้ยาบรรเทาปวด การประคบร้อน การประคบเย็นและการจัดการทางการพยาบาล

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น