A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

สถิติชีพ

เขียนโดย A Rai Naa >>>

สถิติชีพ

1.สถิติชีพ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคน เพื่อให้ทราบสถานะทางสุขภาพ และสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้

2. ระบบสถิติชีพ ประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และการจัดส่งข้อมูลป้อนกลับ

3.ประโยชน์ ของสถิติชีพ

3.1 เพื่อเปรียบเทียบการเพิ่มหรือลดของประชากร (การเปรียบเทียบต้องใช้เวลาเดียวกัน นิยมใช้เปรียบเทียบปีเดียวกัน)

3.2 เป็นเครื่องชี้วัดปัญหาสุขภาพ

3.3 บอกถึงความต้องการบริการสาธารณสุขในทุกระดับ

4.อัตราเกิดอย่างหยาบ (Crude birth rate)

= จำนวนทารกเกิดมีชีพในปีที่กำหนด x 1,000/จำนวนประชากรกลางปีนั้น

(บอกสภาวะเจริญพันธุ์อย่างหยาบ อัตราการเพิ่มประชากร การคุมกำเนิด : ค่าสูงแสดงว่ามีการคุมกำเนิดต่ำ)

5.อัตราเจริญพันธุ์ทั่วไป (General fertility rate)

=จำนวนทารกเกิดมีชีพในปีที่กำหนด x1,000/จำนวนหญิงเจริญพันธุ์กลางปีนั้น

(บอกสภาวะเจริญพันธุ์/โอกาสที่จะมีบุตร ใช้วางแผนอนามัยแม่และเด็ก : ค่าต่ำเมื่อสภาวะเศรษฐกิจสูง)

Note : อายุของหญิงวัยเจริญพันธุ์ 15-44 ปี

6.อัตราตายอย่างหยาบ (Crude death rate)

= จำนวนประชากรตายในปีที่กำหนด x 1,000/จำนวนประชากรกลางปีนั้น

(บอกสภาวะอนามัยของชุมชน คะเนการตายของประชากรในปีต่อๆไป นำไปวางแผนแก้ไขปัญหาอนามัยชุมชนเมื่อทราบสาเหตุการตาย)

7.อัตราตายของทารก (infant mortality rate)

= จำนวนตายของทารกอายุต่ำกว่า 1 ปีในปีที่กำหนด x 1,000 / จำนวนทารกเกิดมีชีพในปีเดียวกัน

(บอกการส่งเสริมสุขภาพ/การป้องกันโรคในทารก)

8.อัตราตายของทารกอายุต่ำกว่า 28 วัน (Neonatal mortality rate)

= จำนวนตายของทารกอายุต่ำกว่า 28 วัน x 1,000/จำนวนทารกเกิดมีชีพในปีเดียวกัน

(สะท้อนสุขภาพอนามัยของมารดา การได้รับการดูแลก่อนและหลังคลอดของมารดาและทารก)

9. อัตราตายปริกำเนิด = อัตราตายก่อนและหลังคลอด (Stillbirth rate and Perinatal mortality rate)

= จำนวนทารกตายอายุต่ำกว่า 7 วัน + จำนวนทารกเกิดไร้ชีพ x 1,000 / จำนวนทารกเกิดมีชีพในปีเดียวกัน

10. อัตรามารดาตาย (Maternal mortality rate)

= จำนวนมารดาตายเนื่องจากการตั้งครรภ์ การคลอด และการอยู่ไฟ x 1,000 / จำนวนทารกเกิดมีชีพทั้งหมดในปีเดียวกัน

11. อัตราตายคลอดหรืออัตราเกิดไร้ชีพ (Stillbirth rate)

= จำนวนทารกตายในครรภ์หรือจำนวนเด็กเกิดไร้ชีพที่มีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป x 1,000/จำนวนทารกเกิดมีชีพทั้งหมดในปีเดียวกัน

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น