อันตรายจากการคลอดที่พบ
อันตรายที่เกิดบริเวณศีรษะ
Caput Succedaneum
คือ ลักษณะศีรษะบริเวณที่เป็นส่วนนำบวม เนื่องจากเมื่อถุงน้ำทูนหัวแตกก่อนกำหนด ศีรษะทารกจึงกดโดยตรงกับขอบของมดลูกที่ยังเปิดไม่หมด ทำให้การไหลเวียนกลับของเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณหนังหุ้มกะโหลกศีรษะทารกส่วนนั้นเป็นไปไม่สะดวกน้ำเหลืองจากเลือดจึงซึมออกมาคั่งอยู่ทำให้บวมขึ้น
การพยาบาล
ในภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เนื่องจากจะหายไปได้เองหลังคลอดส่วนใหญ่ภายใน 2-3 วัน
Cephalhematoma
คือ ภาวะที่เลือดออกที่เยื่อหุ้มใต้กะโหลกศีรษะ (Preiostuem) เลือดค่อยๆออก ซึมช้าๆ และคั่งอยู่ภายในกระดูกชั้นใดชั้นหนึ่ง ทำให้คลำได้เป็นก้อนนูน หนังศีรษะไม่เปลี่ยนสี มีขอบชัดเจน ไม่ข้ามรอยต่อกะโหลกศีรษะ (Suture line) มักเป็นที่กระดูก parietal การเกิดภาวะเลือดออกนี้ ถ้าออกมาในบางรายอาจทำให้ทารกซีดลงได้ โดยการเกิดภาวะที่โดยทั่วไปเลือดมักหยุดเองและค่อยๆ หายไปภายในประมาณ 2 เดือน การหายของ Cephalhematoma มักมี Calcification เกิดขึ้นราว 2 สัปดาห์หลังคลอด ในระยะนี้ถ้าคลำดูจะรู้สึกคล้ายกะโหลกศีรษะแตก กล่าวคือ มีหินปูนเกิดขึ้นรอบๆก้อน แต่ตรงกลางยังนิ่ม การแสดงอาการมักจะไม่ชัดเจนในระยะแรกหลังคลอด อาการบวมนี้ก็จะหายได้เองประมาณ 6-8 สัปดาห์ ไม่ต้องรับการรักษาพิเศษแต่อย่างใดและห้ามเจาะเอาเลือดออก เพราะอาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย การเกิดมีสาเหตุจากการที่ศีรษะทารกกดหรือกระแทกกับกระดูกเชิงกราน หรือกระดูก Sacral promontory ของมารดา หรือคีม (Forceps) มักพบในรายที่คลอดกะทันหัน (Precipitate labour) หรือในรายที่เชิงกรานมารดาผิดปกติ หรือการคลอดยากที่ต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด
การพยาบาล
1. อธิบายให้มารดาทราบถึงลักษณะการเกิดว่าการเกิดจากการคลอด และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา
2. ให้มารดาดูแลทารกในการป้องกันภาวะตัวเหลือง เพราะทารกจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นสูงมาก และถ้ามีอาการตัวเหลืองให้รีบมาตรวจ เพื่อรับการดูแลรักษา
**กรณีมีรอยถลอก ให้ดูแลอาการ และรักษาความสะอาดให้ดีอยู่เสมอ
ความคิดเห็น
หมอบอกต้องใช้เวลา5-6เดือนเลย