A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การตรวจ Fetal Biophysical profile

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การตรวจ Fetal Biophysical profile

คือ กรประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจวัดการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆของทารกที่ถูกกระตุ้นและควบคุมด้วยระบบประสาทส่วนกลาง (Biophysical activity) 4 ตัวแปร (การหายใจ การเคลื่อนไหว แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจทารก) ร่วมกับการวัดปริมาณน้ำคร่ำอีก 1 ตัวแปร

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์

วิธีการตรวจ

1.       เตรียมหญิงตั้งครรภ์ในท่านอน Semi-fowler ตะแคงซ้ายเล็กน้อย

2.       ใช้ Ultrasound ตรวจวัดข้อมูล 5 ตัวแปรที่ต้องการ

3.       กำหนดค่าคะแนนของแต่ละข้อมูล ข้อละ 2 คะแนน (เมื่อพบว่าปกติให้ 2 คะแนน และให้ 0 คะแนนเมื่อพบว่าผิดปกติ)

ข้อมูลและเกณฑ์ปกติ (คะแนน =2) มีดังนี้

1.       การหายใจของทารกในครรภ์ ตรวจพบการหายใจอย่างน้อย 1 ครั้ง นาน 30 วินาที ในรอบการสังเกตนาน 30 นาที

2.       การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ มีการขยับตัวหรือเคลื่อนไหวแขนขาอย่างน้อย 3 ครั้ง ใน 30 นาที ของการสังเกต

3.       แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อมีการเหยียดตัว กางแขนขา และหดกลับอย่างรวดเร็ว หรือกำและคลายมือ อย่างน้อย 1 ครั้งใน 30 นาที ของการสังเกต

4.       การเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ มีอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นไม่มากกว่า 15 ครั้ง/นาที ภายหลังการเคลื่อนไหวและพบอย่างน้อย 2 ครั้งห่างกัน 15 วินาที ใน 30 นาทีของการสังเกต

5.       ปริมาณน้ำคร่ำตรวจพบโพรงน้ำคร่ำอย่างน้อย 1 แห่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 เซนติเมตร

การแปลผล

คะแนน 8-10 คะแนน แสดงว่า ปกติ ไม่มีภาวะเสี่ยงควรตรวจซ้ำใน 1 สัปดาห์

คะแนน 6 คะแนน แสดงว่า มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดภาวะออกซิเจนเรื้อรังของทารก ควรตรวจซ้ำใน 4-6 ชั่วโมง

คะแนน 4 คะแนน แสดงว่า มีภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง

คะแนน 0-2 คะแนน แสดงว่า มีภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังอย่างรุนแรง ควรให้มีการคลอดโดยเร็ว

Biochemical monitoring

การเจาะถุงน้ำคร่ำส่งตรวจ

(Aminocentesis)

คือ การใช้เข็มเจาะผ่านผนังหน้าท้องและมดลูกเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ เพื่อดูดเอาน้ำคร่ำออกมาตรวจวิเคราะห์ทางเซลล์พันธุศาสตร์ เพื่อการวินิจฉัยหรือเพื่อการรักษา นิยมทำเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ เพราะขนาดของมดลูกโตพอที่จะเจาะผ่านผนังหน้าท้อง มีน้ำคร่ำเพียงพอในการเจาะและจำนวนเซลล์มีชีวิตมากพอที่จะเลี้ยงเซลล์ได้สำเร็จ และมีเวลาพอในการตรวจวินิจฉัยก่อนที่ทารกจะโตมากเกินไป

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อตรวจวิเคราะห์โครโมโซม และสารประกอบดีเอ็นเอ

2.       เพื่อประเมินความสมบูรณ์ของปอดทารกในครรภ์

3.       เพื่อลดความดันภายใน Amniotic cavity

วิธีการตรวจ

1.       เริ่มด้วยการตรวจ Ultrasound ตรวจตำแหน่งของทารก การเกาะของรก

2.       เตรียมหน้าท้องบริเวณที่เจาะน้ำคร่ำด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ

3.       ใช้เข็มเจาะหลัง เจาะผ่านหน้าท้อง มดลูก ถุงน้ำคร่ำ และดูดเอาน้ำคร่ำ 15-20 มล. บริเวณตำแหน่งด้าน Small part

4.       ภายหลังเจาะใช้พลาสเตอร์ปิดบริเวณที่เข็มเจาะและแกะออกเมื่อครบ 24 ชั่วโมง

การแปลผล

ผลการตรวจโครโมโซมจะบอกลักษณะของโครโมโซมทั้ง 23 คู่ของทารก ถ้ามีความผิดปกติจะบอกว่าเกิดที่ตำแหน่งใด และสามารถบอกเพศได้ ใช้เวลา 2-4 สัปดาห์จึงจะทราบผล

การพยาบาล

1.       มารดาควรได้รับการเตรียมตั้งแต่ก่อนตรวจโดยบอกเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องตรวจและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับมารดาและทารกหลังทำ

2.       หลังจากเจาะน้ำคร่ำให้พักผ่อนที่บ้าน และทำงานได้ตามปกติในวันรุ่งขึ้น

3.       ถ้าปวดแผลให้รับประทานยาแก้ปวดได้

4.       สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ เช่น มีน้ำคร่ำจากแผลที่เจาะ มีไข้ น้ำเดิน ปวดท้องมาก เลือดออกจากช่องคลอด

5.       งดมีเพศสัมพันธ์ 1-2 วันหลังทำ

ภาวะแทรกซ้อน

1.       การติดเชื้อ

2.       น้ำคร่ำรั่ว และอาจเกิดแท้งบุตรหรือทารกตาย

3.       ทารกบาดเจ็บจากการถูกเข็มเจาะ

4.       คลอดก่อนกำหนด

5.       Rhesus isoimmunization

 

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น