A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

การเก็บชิ้นเนื้อรกส่งตรวจ

เขียนโดย A Rai Naa >>>

การเก็บชิ้นเนื้อรกส่งตรวจ

(Chorionic villi sampling)

คือ การใช้เครื่องมือเจาะผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและเก็บเนื้อรก เพื่อนำไปตรวจวินิฉัยสารพันธุกรรมโดยใช้เทคนิคการเจาะน้ำคร่ำในอายุครรภ์ประมาณ 9-12 สัปดาห์ ทำให้ทราบความผิดปกติของทารกในครรภ์เร็วขึ้น และสามารถให้การช่วยเหลือได้เร็ว

วัตถุประสงค์และข้อบ่งชี้

เหมือนกับการทำ Amniocentesis ยกเว้นข้อบ่งชี้ข้อที่ 4

วิธีการตรวจ

1.       เหมือนการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจทุกประการ แต่ดูดชิ้นเนื้อรกส่งตรวจแทน

2.       สามารถเจาะผ่านทางปากมดลูก (transcervical) และผ่านทางหน้าท้อง (Transabdomen)

ภาวะแทรกซ้อน

1.       มีความพิการของทารกในครรภ์ชนิดมีแขนขาไม่ครบ (Transverse digital defect)

2.       แท้งบุตร ร้อยละ 2-4

3.       การแตกของถุงน้ำคร่ำ การตกเลือดและการติดเชื้อ

การพยาบาล

1.       ภายหลังตรวจให้พักผ่อนเต็มที่ งดการทำงานทุกชนิด 1 วันที่บ้าน

2.       งดการมีเพศสมัพันธ์อย่างน้อย 2-3 วัน

3.       สังเกตอาการผิดปกติ เช่นเดียวกับการเจาะน้ำคร่ำ

การเจาะเลือดจากสายสะดือทารก (Cordocentesis)

คือ การใช้เครื่องมือใส่ผ่านผนังหน้าท้องมารดา และใช้เข็มเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์

วัตถุประสงค์

1.       วิเคราะห์ทางเซลล์พันธุศาสตร์

2.       ตรวจหาความผิดปกติของระบบเลือด เช่น โรค ธาลัสซีเมีย เลือดหยุดยาก

3.       ตรวจดูการติดเชื้อของทารกในครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน

วิธีการตรวจ

1.       ใชคลื่นเสียงความถี่สูงตรวจดูตำแหน่งที่เจาะ

2.       ใช้ยาชาเฉพาะที่ และเทคนิคปราศจากเชื้อ

3.       ใช้เข็มเจาะผ่านลงไปที่สายสะดือเหนือที่เกาะกับรกประมาณ 2-3 เซนติเมตร

4.       นิยมเจาะที่หลอดเลือดดำ (Umbilical vein) มากกว่า เพราะมีขนาดของหลอดเลือดใหญ่กว่า

ภาวะแทรกซ้อน

1.       เลือดออกไม่หยุด

2.       สายสะดือบาดเจ็บ

3.       ภาวะหัวใจทารกเต้นช้า การคลอดก่อนกำหนด

4.       ภาวการณ์ปะปนของเลือดมารดาสู่ทารกในครรภ์

การพยาบาล

การประเมินภาวะเลือดออกจากสายสะดือจากเครื่อง Ultrasonud และ Fetal monitoring

1.       การประเมินภาวะเลือดออกจากสายสะดือจากเครื่อง Ultrasonud และ Fetal monitoring 30-60 นาที ภายหลังการตรวจ

2.       ตรวจนับอัตราการเต้นของหัวใจทารก

3.       เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน

4.       ตรวจสอบเด็กดิ้น

5.       Electronic monitoring

Non stress test

(NST)

เป็นการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยดูจากการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจจาก baseline ในขณะที่ทารกดิ้น

ข้อบ่งชี้ในการทำ NST

ทำในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ หรือโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะซีด และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ทารกน้ำคร่ำน้อย ทารกโตช้าในครรภ์ ทารกดิ้นน้อยลง ทารกเกินกำหนด ครรภ์เกินกำหนด ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด เป็นต้น

การพยาบาลขณะทำ NST

1.       อธิบายขั้นตอนการทำ NST อย่างคร่าวๆ

2.       จัดหญิงตั้งครรภ์อยู่ในท่า Semi-fowler

3.       บันทึกความดันโลหิตก่อนทำ เพื่อตรวจสอบภาวะ Supine hypotension

4.       ใช้ tocodynamometer ของ external monitor คาดหน้าท้องมารดาเพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกที่เกิดเองหรือเด็กดิ้น

5.       ใช้ Dloppler FHR transducer คาดเข้ากับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์ เพื่อบันทึก FHR ตลอดการทำ

6.       ให้หญิงตั้งครรภ์ กด marker ทุกครั้งเมื่อเด็กดิ้น

7.       เมื่อครบ 20 นาที อ่านผลได้ และปลด tocodynamometer และ Doppler FHR transducer ออกจากหน้าท้องมารดา

การแปลผล

NST แปลผลเป็น reactive หรือผลเป็นการทำนายว่าทารกอยู่ในภาวะปกติ หมายถึงการมี FHR acceleration หรือการเพิ่มของ FHR 15 ครั้งต่อนาที กินเวลา ณ 15 วินาที อย่างน้อย 2 ครั้ง

NST แปลผลเป็น non reactive หรือผลผิดปกติเป็นการทำนายว่าทารกอยู่ในสภาวะผิดปกติ หมายถึง การไม่มี FHR acceleration ในช่วง 20 นาทีแรก หรืออาจเกิดจากทารกหลับต้องกระตุ้นให้ทารกตื่นด้วย acoustic stimulator แล้วบันทึกต่ออีก 20 นาที แต่ไม่พบ FHR acceleration เลย

ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีผล NST เป็น reactive โดยทั่วไปมักจะแนะนำให้ทำการตรวจซ้ำอีกใน 1 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่มีภาวะแทรกเสี่ยงสูง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ทารกเจริญเติบโตในครรภ์ช้า ตั้งครรภ์เกินกำหนด ควรทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

Contraction stress test

(CST)

เป็นการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยดูจากความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจทารกกับการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเอง หรือโดยการกระตุ้นโดยให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ ให้มีการหดรัดตัวของมดลูก 3 ครั้ง ใน 10 นาที

ข้อบ่งชี้ในการทำ CST

เหมือนการทำ NST แต่มีข้อห้ามในราย PROM, Plecenta previa, Previous cesarean section, multiple gestation, hydramnios เป็นต้น

การพยาบาลขณะทำ CST

เหมือนการทำ NST และมดลูกมีการหดตัวเองหรือกระตุ้นด้วย Oxytocin ให้มดลูกหดรัดตัว 3 ครั้ง ใน 10 นาที duration 40-60 วินาที แต่ต้องหยุดให้ oxytocin เมื่อพบว่ามี fetal distress และ มดลูกหดรัดตัวแบบไม่คลาย

การแปลผล

1. แจ้ง Blog ไม่เหมาะสม

3 ก.ค. 56
3,950
0

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น