A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

ลักษณะความผิดทางอาญา

เขียนโดย A Rai Naa >>>

ลักษณะความผิดทางอาญา

ความผิดทางอาญามีลักษณะสำคัญ คือ

เป็นกฎหมายที่ชัดแจ้ง ในขณะที่กระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การทอดทิ้งผู้ป่วยเป็นความผิด” เมื่อพยาบาลทอดทิ้งผู้ป่วยในความรับผิดชอบก็ย่อมเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย (ป.. มาตรา 307)

เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง

ถ้าหากในขณะที่การกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายอาญาบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิดก็จะนำกฎหมายใหม่มาใช้กับการกระทำครั้งแรกไม่ได้

ตัวอย่าง

ฎีกาที่ 2632/2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.. 2520 เรื่อง ระบุและจัดประเภทวัตถุที่ออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.. 2518 ลงวันที่ 18 มกราคม 2520 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2520 เป็นต้นไป เมื่อเหตุคดีที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 เมษายน 2520 ซึ่งเป็นวันก่อนประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.. 2518

ความรับผิดทางอาญา

บุคคลใดก็ตามจะต้องรับผิดทางอาญานั้น นอกจากจะต้องมีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดในขณะที่บุคคลนั้นกระทำความผิดแล้ว บุคคลนั้นยังจะต้องกระทำโดยเจตนาด้วย เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำโดยไม่มีเจตนาก็มีความผิด หรือกระทำโดยประมาทก็เป็นความผิด บุคคลนั้นจึงจะต้องรับผิดในการกระทำโดยไม่เจตนาหรือประมาทนั้น (ป.. มาตรา 59)

ดังนั้น โดยหลักของกฎหมายอาญา การกระทำใดที่จะเป็นความผิดจะต้องประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ต้องมีการกระทำอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายระบุว่าเป็นความผิด และต้องกระทำโดยเจตนา

ขั้นตอนหรือเกณฑ์ของการกระทำที่กฎหมายระบุว่าเป็นความผิด

ขั้นตอนหรือเกณฑ์ของการกระทำที่กฎหมายระบุว่าเป็นความผิดซึ่งผู้กระทำต้องได้รับโทษตามกฎหมายหรือไม่นั้น แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นลงมือกระทำ และขั้นความผิดสำเร็จ

ขั้นเตรียมการ

คือการกระทำเบื้องต้นก่อนที่จะลงมือก่อให้เกิดความผิด เช่น แสวงหาอาวุธและเครื่องมือต่างๆ คิดและวางแผนที่จะไปกระทำความผิด การกระทำในขั้นนี้โดยปกติยังไม่เป็นความผิดเพราะถือว่ายังห่างไกลต่อการลงมือกระทำความผิด ผู้กระทำอาจกลับใจไม่ดำเนินการขั้นต่อไปก็ได้ความเสียหายต่างๆจึงยังไม่เกิดขึ้น เว้นแต่การเตรียมการนั้น กฎหมายยกเว้นว่าให้เป็นความผิด หรือการเตรียมการเพื่อกระทำความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นเป็นต้น

ตัวอย่าง

ใจร้าย พยาบาลประจำห้องเด็กแรกคลอด ได้เตรียมยาพิษเพื่อฆ่า ด..โชคดี เนื่องจากเคยมีเรื่องโกรธเคืองกับนายสมชาย บิดาของ ด..โชคดี มาก่อน แต่ต่อมาได้เปลี่ยนใจไม่กระทำการกระทำของใจร้ายยังอยู่ในขั้นเตรียมการฆ่าผู้อื่น ใจร้ายจึงยังไม่มีความผิดตามกฎหมาย

ขั้นลงมือกระทำ

คือ ได้กระทำเลยขั้นตระเตรียมการจนถึงได้มีการเริ่มกระทำผิด คือ “ลงมือกระทำ” แล้ว กรณีเช่นนี้กฎหมายเรียกว่า “การพยายามกระทำความผิด” ผู้กระทำต้องรับโทษสองในสามส่วนของความผิดสำเร็จ เว้นแต่กรณีที่กฎหมายกำหนดว่าต้องรับโทษเต็มเช่นเดียวกับความผิดสำเร็จ เช่น การพยายามปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ เป็นต้น

“การพยายามกระทำความผิด” แยกได้เป็น 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1 ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด

ตัวอย่าง ใจร้าย ได้ผสมยาพิษลงไปในขวดนมของ ด.. โชคดี และนำขวดนมไปจ่อที่ปากของ ด..โชคดี แม้ ด..โชคดี จะยังไม่ได้ดูดนมจากขวด ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่จะฆ่าแล้ว ใจร้ายจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า

กรณีที่ 2 ลงมือกระทำความผิดและทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล

ตัวอย่าง ด..โชคดี ได้ดูดนมผสมยาพิษจากขวดที่ ใจร้าย ป้อนให้ไปเล็กน้อยก็อาเจียนและแพทย์ได้ช่วยชีวิตไว้จึงไม่ตาย แม้การฆ่าจะไม่บรรลุผล ใจร้าย ก็มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเช่นกัน

ขั้นความผิดสำเร็จ

คือ การกระทำได้เกิดผลสำเร็จสมดังเจตนาของผู้กระทำแล้ว

ตัวอย่าง เมื่อ ด.. โชคดี ได้ดูดนมผสมยาพิษและต่อมาได้ถึงแก่กรรมสมดังเจตนาของใจร้าย ใจร้ายจึงมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา และต้องรับโทษเต็มตามที่กฎหมายกำหนดไว้

 

ความคิดเห็น

BNK48
BNK48 2 ธ.ค. 61 / 16:07