A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย

เขียนโดย A Rai Naa >>>

ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย

                                                                ..มาตรา 291                                                 

“ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”

ความผิดตามมาตรานี้ได้แก่ การฉีดยาผู้ป่วยเกินขนาดทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การให้ยาผิดเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การให้เลือดผิดกรุ๊ป เป็นต้น

ความผิดฐานทำหรือรับรองเอกสารอันเป็นเท็จ

..มาตรา 269

“ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาชีพแพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรอง อันเกิดจากการกระทำความผิดตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน”

องค์ประกอบของความผิด

1.       เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ

2.       ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ

คำรับรอง ..มาตรา 296 ได้แก่ใบรับรองแพทย์สำหรับลางาน สมัครงาน รวมทั้งการเลื่อนนัดของศาล ตลอดจนรายงานต่างๆที่นำส่งพนักงานสอบสวน อัยการ ศาล หรือเพื่อนำไปใช้ในการเรียกร้องจากบริษัทประกันต่างๆ

นอกจากความผิดตาม ป..มาตรา 269 แล้วยังมีความผิดในเรื่องที่เกี่ยวกับเอกสารอีกมาตราหนึ่งคือ ความผิดฐานปลอมเอกสาร

..มาตรา 264 วรรคสอง

“ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร”

..มาตรา 264 วรรคสอง

“ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษ หรือวัตถุอื่นใดซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ความผิดตามมาตรานี้ ได้แก่การที่พยาบาลนำใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ลงลายมือชื่อไว้แล้วเติมหรือแก้ไขข้อความแตกต่างไปจากที่ได้รับมอบหมายจากแพทย์ เช่น นำใบรับรองแพทย์ที่แพทย์ลงลายมือชื่อไว้ เพื่อให้ผู้ป่วยลาคลอดไปเติมข้อความเป็นลาป่วยเพื่อนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์จากที่แพทย์มอบหมายไว้ เป็นต้น

ความผิดฐานทำแท้งให้ลูก

..มาตรา 302

“ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”

ความผิดตามมาตรานี้มีข้อสังเกตว่า ความยินยอมของผู้ป่วยมิใช่เหตุยกเว้นความรับผิดตามกฎหมาย และโทษที่ได้รับจะเพิ่มมากขึ้นตามอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย

ดังนั้น การเปิดสถานพยาบาลส่วนตัวและรับทำแท้ง หรือการทำงานในสถานพยาบาลที่รับทำแท้งโดยมิใช่เหตุผลตาม อ..มาตรา 305 เป็นความผิดตาม ป.. มาตรา 302

.. มาตรา 305

“ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้นเป็นการกระทำของนายแพทย์และ

1.       จำเป็นต้องทำเพื่อสุขภาพของหญิงนั้นหรือ

2.       หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด”

ในเรื่องการยกเว้นความผิดในการทำแท้งนั้น กฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าต้องเป็นแพทย์เป็นผู้กระทำและต้องกระทำตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ คือ มีความจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้นหรือหญิงนั้นมีครรภ์เนื่องจากการกระทำผิดอาญาตามมาตราที่อ้างไว้เท่านั้น

 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น