A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

สภาพบังคับในทางแพ่ง

เขียนโดย A Rai Naa >>>
สภาพบังคับในทางแพ่ง

 
     ประมวลกฎหม่ยแพ่งและพาณิชย์ ได้มีบทบัญญัติที่เป็นสภาพบังคับในทางแพ่งไว้ 4 ประการ ได้แก่ โมฆะกรรม โมฆียกรรม การบังคับชำระหนี้ และการใช้ค่าเสียหาย
     ปพพ.มาตรา 150 "การใดที่มีวัตถุประสงค์เป็นการตีองห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ"
     1.โมฆะกรรม หมายถึง ความสูญเปล่าของนิติกรรม เสมือนหนึ่งว่าไม่ได้มีนิติกรรมเกิดขึ้น และผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น ได้องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะกรรม
     1.1 เป็นการต้องห้ามชัดเจนโดยกฎหมายห้ามไม่ให้กระทำ เช่น การซื้อขายยาเสพติด ดังนั้นการทำสัญญาซื้อขายเฮโรอีน หรือสิ่งที่กฎหมายห้ามซื้อขายกันย่อมทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ หรือการฆ่าผู้อื่น ถ้านายละโมภ บุตรชายนานล่ำซำซึ่งเป็นผู้ป่วยในความดูแลของนางสาวสดใส นายละโมภ ได้มาว่าจ้างให้นางสาวสดใสฉีดยาให้บิดาตนตาย เพื่อจะได้เป็นทายาทในกองมรดกของนายล่ำซำ จะเห็นว่าข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายคือฆ่าคนตาย ดังนั้นนิติกรรมที่นายละโมภและนางสาวสดใสทำขึ้นจึงเสียเปล่า เสมือนไม่มีข้อตกลงใดๆเกิดขึ้น
     1.2 เป็นการพ้นวิสัย คือ เป็นการกระทำในสิ่งที่ไมีสามารถกระทำได้ เช่น การทำสัญญา ชุบชีวิตคนตายให้ฟื้นกลับมา เป็นต้น
     1.3 ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน คือ นิติกรรมที่กระทำนั้นมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม และศีลธรรมอันดี เช่น ตกลงให้ยาแก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ระยะรุนแรงให้ตายเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน เป็นต้น
     2. โมฆียกรรม หมายถึง การทำนิติกรรมที่สมบูรณ์อยู่ในขณะที่ทำ แต่อาจถูกฝ่ายที่เสียเปรียบจากการทำนิติกรรมนั้นบอกล้างได้ในเวลาต่อมา เป็นผลให้นิติกรรมนั้นสิ้นสุดลง และตกลงเป็นโมฆะกรรม เช่น ทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ผ่าตัดเปลี่ยนไต โดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคไต แต่ที่จริงแพทย์ท่านนั้นเชี่ยวชาญโรคทางสูติกรรมเป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล ย่อมทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆียะกรรม ซึ่งอาจถูกฝ่ายว่าจ้างบอกล้างได้ในภายหลัง อันเป็นผลให้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะกรรมไปได้
     3. การบังคับชำระหนี้ อาจเป็นการชำระเงินหรือการส่งมอบทรัพย์สิน การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรืองดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของหนี้ที่เกิดขึ้น เพราะหนี้ที่เกิดขึ้น และมีผลตามกฎหมาย เจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้บิดพริ้วไม่ชำระหนี้ ดังกล่าวก็ย่อมขออำนาจจากศาลเพื่อให้มีการบังคับลำระหนี้ให้ถูกต้อง
     4. การใช้ค่าเสียหาย เนื่องจากกฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่รับรองและคุ้มครองสิทธิโดยให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอย่างเป็นธรรมเพื่อให้บุคคลผู้เสียหายคืนสู่ฐานะเดิมให้ได้ใกล้เคียงที่สุด กล่าวคือ ผู้กระทำความผิดจะต้องถูกบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนในเมื่อตนทำให้ผู้อื่นเสียหายการชดใช้ค่าเสียหายเป็นหน้าที่ที่เกิดขึ้นจากผลของกฎหมาย เช่น ขับรถชนรั้วบ้านคนอื่นพัง แม้จะไม้ต้องซ่อมแซมรั้วบ้านให้แต่ต้องมีหนัาที่ผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องต้องชดใช้ค่าเสียหายให้

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น