A Rai Naa >>>
ดู Blog ทั้งหมด

นิติกรรม

เขียนโดย A Rai Naa >>>
นิติกรรม
นิติกรรมเป็นคำที่ได้ยินบ่อยในทางแพ่ง ความหมายและองค์ประกอบที่จะทำให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายเป็นอย่างไร เพราะถ้าไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องตามแบบ นิติกรรมนั้นอาจใล้ฟ้องร้องไม่ได้ หรือบางทีกฎหมายก็บอกเอาไว้ว่าเป็นโมฆะเลยก็มี
ปพพ.มาตรา 149 "นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ"
นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย และมุ่งต่อผลในกฎหมายที่จะเกิดขึ้นอันได้แก่ การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ มีก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น
องค์ประกอบ ที่ทำให้นิติกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายมีดังต่อไปนี้ คือ
1. มีการกระทำ จะเป็นการกระทำใดๆ ก็ได้ทั้งสิ้น เช่น การกล่าวด้วยวาจา โทรศัพท์ โทรเลข จดหมาย ทำเครื่องหมาย ยกมือ ฯลฯ ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะให้ทำอย่างไรแล้วก็สามารถใช้ได้
2.การกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ขัดต่อกฎหมายมีวัตถุประสงค์ในการทำนิติกรรมความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา
โดยปกติแล้วบุคคลทุกคนต่างมีสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญา แม้แต่ทารกในครรภ์มารดาก็สามาาถมีสิทธิต่างๆได้ภายหลังเกิดมาอยู่รอด คงมีแต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่กฎหมายจำกัดสิทธิในการทำนิติกรรมสัญญาเอาไว้ ซึ่งได้แก่บุคคลผู้หย่อนความสามารถ
 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น