ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    iCreate.about photoshop 7 - cs5

    ลำดับตอนที่ #189 : Learn photoshop :: การทำงานของ Layer Palette ใน photoshop

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.11K
      2
      7 ต.ค. 53



    เวลาทำงานเป็นเลเยอร์นั้น ผู้ใช้สามารถแบ่งเลเยอร์เป็นทีละส่วน
    โดยเลเยอร์ที่อยู่ดานบนจะบังภาพที่อยู่เลเยอร์ทางด้านล่าง แต่ถ้าเพิ่งความโปร่งใส
    ของเลเยอร์ด้านบนไปเรื่อย ๆๆ ในส่วนของเลเยอร์รองโปร่ง จะสามารถเห็นเลเยอร์ล่างสุดได้
    อีกทั้งยังสามารถเลือกได้ว่า เลเยอร์ไหนจะอยู่ล่างหรือบน สามารถขยับได้ตลอดเวลา

    การแต่งสี ลดค่า สามารถปรับได้ในเลเยอร์ทั้งหมด
    โดยจะใช้ในส่วนของหมายเลข 1 3 7 9 ในการเพิ่มสี ลดสี เพิ่งแสง ปรับแสง และ เงา




    หมายเลข 1 blending mode จะมีให้เลือกมากมาย
    ข้างในจะปรากฏตามภาพทางด้านล่าง



    จะเป็นการผสมผสานสี ระหว่างเลเยอร์บนและเลเยอร์ล่าง
    ถ้าปรับโหมดในเลเยอร์ล่างสุดจะไม่เห็นผล เช่น

    ถ้าเปลี่ยนโหมดของหมายเลข 1 สีระหว่าง หมายเลข 1 กะ 2 จะผสมกัน
    ถ้าเปลี่ยนโหมดของหมายเลข 2 สีระหว่าง หมายเลข 2 กะ 3 จะผสมกัน
    แต่ถ้าเปลี่ยนโหมดของหมายเลข 3 จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    เพราะไม่มีรูปหรือสีที่จะอยู่ล่างเลเยอร์ 3 ในการผสม





    หมายเลข 2 Lock เป็นชุดคำสั่งในการล็อคค่าเลเยอร์เพื่อไม่ให้สามารถทำการแก้ไขเลเยอร์นั้น ๆ ได้



    Lock หมายเลข 1 Lock transparent
    เป็นตัวสำหรับล็อกภาพ เพื่อไม่ให้การแก้ไขหรือการเพิ่มเติมนั้น เกินขอบเขตที่กำหนด เช่น

    สมมติว่าทำการตัดภาพขึ้นมาภาพนึง พื้นหลังเป็น transparent (ลายตารางขาวดำ)
    แล้วต้องการระบายสีลงไปในรูป แล้วไม่ต้องการให้เลยขอบเบตที่กำหนด
    ให้คลิกตัว Lock transparent จะได้แบบภาพด้านล่าง
    คือจิ้มบรัชลงไปตัวส่วนของเอว ถูไปเรื่อยๆ มันจะไม่ไปเปรอะตรงส่วนของแบ็คกาว




    Lock หมายเลข 2 Lock image อันนี้จะแก้ไขเฉพาะตรงส่วนของพื้นหลังที่เป็น transparent เท่านั้น
    Lock หมายเลข 3 Lock position ตัวนี้เมื่อคลิกแล้วจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายภาพได้ แต่ edit อย่างอื่นได้
    Lock หมายเลข 4 Lock all ล็อกตัวนี้ไม่สามารถแก้ไขใด ๆ ได้เลย


    หมายเลข 3 Overlay & Fill เป็นส่วนของความโปร่งใส ความเข้มของแสงสี
    หมายเลข 4 Indicates layer visibility  จะแสดงเป็นรูปลูกตา เมื่อคลิกที่รูปลูกตาหนึ่งครั้ง
    รูปลูกตาจะหายไป แต่ถ้าคลิกอีกครั้งก็จะกลับมา การคลิกไปคลิกมานี้มีเพื่อ
    เวลาไม่ต้องการโชว์เลเยอร์ใดก็ตาม ให้กดปิดตาของเลเยอร์ จะทำให้มองไม่เห็นส่วนข้างในเลเยอร์ตัวนั้น

    เปิดตา



    ปิดตา




    หมายเลข 5 Active layer เมื่อคลิกที่เลเยอร์จะปรากฏแถบสีฟ้า หรือน้ำเงินขึ้นมา
    ซึ่งจะสามารถแก้ไขต่าง ๆๆ ลงไปในเลเยอร์นั้น

    หมายเลข 6 Link layers โดยปกติตัวนี้มันจะไม่ขึ้นให้กดได้ ยกเว้นว่าเราจะทำการเลือก
    เลเยอร์ที่จะทำการเชื่อมลิ้งค์เราจะลิ้งเลเยอร์กี่เลเยอร์ก็ได้ หรือจะลิ้งค์ group กี่กรุ๊ปก็ได้
    โดยกด Ctrl --> click เลเยอร์ที่จะเอา
    ตรงรูปโซ่ (link layers) มันจะ Active ขึ้นมาทำให้สามารถกดได้ ให้กดลงไป



    จะปรากฎรูปโซ่แบบนี้ แต่ถ้าไม่ต้องการ ให้คลิกที่ link layers อีกรอบ รูปโซ่ก็จะหายไป
    เมื่อเวลาหมุนภาพหรือเคลื่อนย้ายภาพ
    เลเยอร์ที่ลิ้งค์ไว้ก็จะไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด




    หมายเลข 7 blending options เป็นตัวเพิ่มเอ็ฟเฟ็คให้กับ รูปหรือตัวหนังสือ
    ให้คลิกที่ตัว FX หรือตัว F ตรงเลเยอร์ จะปรากฎแถบให้เลือกขึ้นมา



    สามารถปรับรายละเอียดข้างในได้ ในเรื่องสี มุม แสง และรูปแบบ
    แบบแต่ละอย่าง




    หมายเลข 8 Layer mask คล้าย ๆ กับการซีเล็กชั่น แล้วเติมสีหรือแพทเทิน
    การ์เดี้ยนลงไปในส่วนที่ซีเล็กไว้ มันจะแสดงผลในส่วนของสีขาวเท่านนั้น

    เมื่อเปิดไฟล์ภาพขึ้นมา แล้วสร้างเพิ่มขึ้นมา 1 เลเยอร์ คลิกที่ Elliptical marquee Tool
    ที่เป็นลักษณะเส้นประเป็นวงกลมแล้วลากลงไปในรูปภาพ



    คลิกที่ปุ่มที่ไฮไลท์สีชมพู (Create Clipping Mask)
    จะปรากฎกรอบเพิ่มขึ้นมาพร้อมกับตัวโซ่



    ทีนี้เวลาเราจะตกแต่งเพิ่มเติมอะไรลงไป มันจะขึ้นเฉพาะตรงส่วนสีขาวเท่านั้น
    จะไม่เกินเข้าไปในขอบสีดำ เช่นถ้าต้องการใส่สีลงไป
    ให้คลิกที่ถังสีหรือการ์เดี้ยนแล้วลากลงไปบนกระดาษ จะปรากฏเป็นสีเฉพาะตรงส่วนของ
    วงกลมที่เรา selection ไว้ในตอนแรกเท่านั้น



    ส่วนในลักษณะของเลเยอร์ก็จะเป็นแบบนี้




    หมายเลข 9 Create new fill or adjustment layer
    พวกนี้จะเหมือนกับทาง image --> adjustments จะสร้างเลเยอร์ของตัวนี้
    ขึ้นมาเองเลย ฉะนั้นจะสามารถแก้ไขโดยตรงได้เลย



    หมายเลข 10 Layer group สามารถจัดกลุ่มให้กับเลเยอร์แต่ละเยอร์
    แยกเป็นหลายๆ กลุ่มได้ ลักษณะจะเหมือนกับโฟเดอร์เลย เวลาสร้างมาแล้ว แล้วมีบางอัน
    ที่อยู่นอกกรุ๊ป ก็ลากเลเยอร์เข้าไปในในกรุ๊ปก็จะกลายเป็นกรุ๊ปเดียวกันแล้ว
    กรุ๊ปอันนึงก็เหมือนเลเยอร์อันนึง แก้ไขได้ซึ่งการแสดงผลจะเป็นการแสดงผลทั้งหมด
    เหมือนกับตัว link layers โดยจะมีโหมดเป็น pass throught

    หมายเลข 11 Create a new layer สำหรับสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่

    หมายเลข 12 Delete layer ใช้ลบเลเยอร์ที่ไม่ต้องการทิ้ง โดยการลงมาที่ bin ได้เลย

    -----------------------------------------------

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×