ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บันทึก(ไม่)ลับ เด็กวิทย์ หัวใจศิลป์

    ลำดับตอนที่ #35 : [Tips] มั่ว Choice อย่างมีหลักการ เดาผ่านอย่างมีเหตุผล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.09K
      3
      24 ก.ค. 51

    หลังจากที่ได้นำคอมไปซ่อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมก็ได้ฤกษ์มาอัพบทความต่อทันที ความจริงวันนี้เหนื่อยมากๆเลย อยากจะนอนพัก เพราะเพิ่งไปประชุมที่ทวีทาภิเษกมา งานอื้อซ่าเลยคราวนี้ หลังจากนี้คงจะต้องเคลียร์งานให้หมดก่อน แต่ก็สัญญาว่าจะมาอัพบ่อยๆแล้วกานนะคัฟผม

     

    เบื๊อ...เบื่อ... ชีวิตประธานนร. -*-

     

     

     

    หลายคนที่มาอ่านบทความนี้ก่อนสอบคงจะยิ้มออกกันเลยสิท่า ใช้แล้วคัฟผม วันนี้ผมจะมาแนะวิธีการมั่ว Choice อย่างมีหลักการที่สุด หลังจากอ่านบทความนี้ ทุกคนจะได้ไม่ได้ใช้วิธี O-Top โบราณ บ้านเชียงกันอีกต่อไป (อย่างเช่นการทิ้งดิ่ง การนับพยางค์ ไม่เอาๆๆๆ ไม่ Hi-So พอ 555+) แล้วการมั่วอย่างมีหลักการนี้ เป็นเยี่ยงไรบ้าง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาดูกันเลยดีกว่า

     

    ที่มา : พี่ Peachy Enconcept E-Academy คอร์ส Vocab Absolute (เห็นเค้าบอกมาว่า เอามาจากเว็บของฝรั่ง ลองอ่านดูนะคัฟผม ^^)

     

    มั่วเยี่ยงไรดีหนอ?

    1. ตัด Choice ให้เป็น

    เป็นหลักที่สำคัญมากๆ เพราะการตัด Choice ที่ไม่เกี่ยวข้องที่สุดออกไปจะทำให้การเลือกคำตอบของเรานั้นดู clearly มากขึ้น อ่านโจทย์ให้ละเอียด จากนั้นดู Choice ที่ไม่เกี่ยวข้องกับบทความ แล้วตัดออกไปก่อนเลย

    ข้อควรระวัง! : ควรจะมีความรู้เกี่ยวกับข้อนั้นๆ ติดไว้สักนิดเพื่อการมั่วที่มีประสิทธิภาพ

    เช่น She’s very ______. I think she will be the famous model in the future.

              a. ugly                           b. shabby

              c. beautiful                    d. pretty

    (ข้อนี้บอกว่า หล่อนโค ตะ - ระ..... ฉันคิดว่าหล่อนคงจะเป็นนางแบบที่มีชื่อเสียงในอนาคต คนน่าเกลียดจะมาเป็นนางแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดในอนาคตได้ยังไง จริงรึเปล่าคัฟ เพราะงั้น ข้อ a. ผิดแน่นอน 100% ส่วนข้อ b. ทุเรศ นางแบบที่ดังคงไม่ทุเรศหรอกเนาะ เพราะฉะนั้นตัดข้อ b. ออก เราก็เหลือ Choice เพียงแค่ 2 ข้อ 50% เท่านั้นเอง ^^ )

     

    1. ในข้อสอบที่เกี่ยวกับหลักภาษา (Grammar) ข้อที่ผิดไวยากรณ์ ไม่ใช่คำตอบแน่นอน

    เป็นวิธีที่ Hi-So มาสำหรับคนที่มีพื้นฐานแกรมม่าค่อนข้างดี อันที่ผิดแกรมม่ามันจะไปถูกได้ยังไงจริงรึเปล่าคัฟผม

    เช่น I ______ to Sydney. It’s very exciting!

              a. has ever go                          b. have ever go

              c. am going                             d. is going

    (ข้อนี้ I เป็นเอกพจน์ก็จริง แต่กริยาที่มาใช้คู่กับ I จะต้องเป็นกริยาพหูพจน์ (ไม่เติม s ยกเว้น was ที่ใช้กับ I ได้) จึงตัดข้อ a. กับ ข้อ d. ออกไปได้เลย เพราะผิดแกรมม่าชัวร์ๆ)

     

    1. ข้อที่มีความหมายกว้างเกินไป หรือ แคบเกินไป ผิดแน่ๆ

    เป็นหลักการที่ดี ใช้ได้กับ Reading ในภาษาอังกฤษ และการทำข้อสอบวิชาสังคม ที่จะต้องอ่าน Choice ยาวๆ แต่จับประเด็นสำคัญไม่ได้ แนะนำว่า อะไรที่มันกว้างเกินไป หรือแคบเกินไป ให้ตัดออกก่อนเลย ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ก็มักจะเจอคำว่า “always, all, only, never, must etc.” ซึ่งมีโอกาสผิด 80 ~ 90 % เลยทีเดียว

     

    1. Choice ที่เหมือนกัน มีความเป็นไปได้สูงว่าจะถูก

    Choice ในภาษาอังกฤษ บางทีจะให้คำมาเหมือนกันในส่วนแรก ส่วนส่วนหลังจะแตกต่างกันออกไป ให้ลองดูตัวเลือกในข้อนี้ดูนะคัฟ

    a. Tourism consultant

    b. Tourist

    c. Tourism promoter

    d. Fairy Penguin

    (จะเห็นได้ว่า มี 2 ข้อที่ขึ้นต้นด้วย Tourism นอกนั้นเป็นอะไรก็ไม่รู้ เลยมีแนวโน้มว่า ข้อ a. และ b. จะเป็นข้อถูกมากกว่าข้ออื่น เวลาจะมั่ว ก็ควรจะมั่ว 2 ข้อนี้นะคัฟ ^^)

     

    1. ตอบตัวเลขกลางๆ

    เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะมีหลักการในการทำข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ (55+) คือ ถ้าในข้อนั้น มีตัวเลือกที่เป็นเลขที่สูงมากๆ กับเลขที่ต่ำแบบสุดๆ แนะนำให้เลือกข้อกลางๆเอาไว้ เพราะมีโอกาสถูกมากที่สุด

    เช่น        ก. 1000  ข. 250    ค.200     ง. 1      ซึ่งความเป็นไปได้ น่าจะตอบข้อ ข. กับ ค. นะคัฟ อิอิ

    ส่วนอีกอันที่ผมเพิ่ม เติมให้ก็คือ เวลาทำข้อสอบอัตนัยวิชาพวกนี้ (เลข ฟิสิกส์ ฯลฯ ที่คำนวณทั้งหลาย) เวลาจะมั่ว แนะนำให้ มั่วเลขสวย เข้าไว้ เพราะโจทย์ที่ยาวๆ ยากๆ มักจะตอบเลขลงตัวน้อยๆอยู่เสมอ ^^ (เป็นวิธีที่ทำให้ผมรอดตายในการทำอัตนัยฟิสิกส์มาแล้วนะ ^^ )

     

    1. ให้ตอบสิ่งที่เป็นบทสรุปของคำตอบทั้งหมด

    Choice ที่ยาวที่สุด มักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง วิธีนี้เหมาะกับพวกวิชาสังคม กับอังกฤษมากๆ เพราะสังคมถ้าข้อมูลน้อย มันก็ไม่ได้ใจความสำคัญ เพราะฉะนั้น ผมถึงได้ยินหลายคนพูดกันว่า สังคมน่ะ มั่วข้อที่ยาวที่สุดก็มีโอกาสถูกตั้งแยะ ผมก็จำหลักนี้มาตลอด แล้วก็รอดสังคมมาได้ทุกปี 555+ ส่วนวิชาภาษาอังกฤษ อาจจะให้ได้ เมื่อเจอข้อสอบ Reading ยากๆ แล้วเราจะต้องสรุป

    เช่น ในวิชาภาษาอังกฤษ ถ้ามี Choice แบบนี้

    a.     An adaptive system

    b.     A close system

    c.     An open system

    d.     An open and adaptive system

    จะเห็นได้ว่า ข้อ d. เป็นบทสรุปของ Choice ในข้อนี้ (เกือบ) ทั้งหมด เพราะฉะนั้น ข้อ d. น่าจะเป็นข้อที่ถูกต้องที่สุด

     

    1. อย่าตอบ ถูกทุกข้อ, ผิดทุกข้อ และ ไม่มีข้อถูก

    แต่ถ้าถามว่า มีโอกาสที่จะตอบคำตอบพวกนี้ไหม ก็มีโอกาสอยู่บ้าง โดยเฉพาะถูกทุกข้อ แต่ลองคิดดูนะคัฟผม ถ้าข้อสอบออกให้ตอบ ผิดทุกข้อ หรือ ไม่มีข้อถูก ข้อสอบนั้นจะไม่สามารถวัดอะไรเราได้เลย กลายเป็นว่า ข้อสอบนั้นๆ ไม่ได้วัดความรู้อะไรเราเลย แล้วจะออกมาเพื่ออออ!!! จะเจอบ่อยในพวกข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ พวกที่ชอบให้เราวิเคราะห์คำตอบ เพราะฉะนั้น ต้องพิจารณาดีๆนะคัฟ ว่าควรจะมั่วอย่างไร

    เช่น

    ข้อใดต่อไปนี้ถูก

    1.การย่อยอาหารแบบ Peristalsis เกิดขึ้นที่ Pharynx เท่านั้น

    2.Large Intestine ไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร

    3.ใน Krebs cycle จะไม่เกิดก๊าซ CO2

    4.การย่อยอย่างละเอียด จะเกิดที่ Small Intestine

    ก. ข้อ 1, 2                                             ข. ข้อ 3, 4

    ค. ข้อ 4 เท่านั้น                                     ง. ไม่มีข้อถูก

     

    (ข้อที่ไม่น่าเป็นไปได้ที่สุด น่าจะเป็นข้อ ง. นะคัฟผม ไม่งั้น ข้อสอบจะไม่สามารถวัดความรู้อะไรเราได้เลย)

     

    (ทุกวิธี มีความเป็นไปได้ว่าจะถูก 70~90 %)

     

    **********************************

     

    หมดแล้วนะคัฟผม สำหรับวิธีการมั่วข้อสอบแบบมีเหตุผลที่สุด เขียนมาเพื่อเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆที่กำลังจะสอบทุกๆคน 555+ หวังว่าวิธีนี้คงจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆในการทำข้อสอบอย่างมากมายเลยนะคัฟผม

     

    ยังไงซะก็ อย่าลืมอ่านหนังสือเยอะๆนะคัฟ อย่าเดาหมดซะทุกข้อเลยหล่ะ ไม่งั้นจะกลายเป็นว่าเราจะไม่ได้อะไรจากการสอบเลย แถมตก ต้องซ่อมอีกต่างหาก

     

    สู้ๆนะคัฟผม จุ๊บๆ ^^

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×