ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักการเขียนนิยาย

    ลำดับตอนที่ #1 : บทเรียนที่ 1การวางโครงเรื่อง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.03K
      23
      9 เม.ย. 48





    บทนำ





    การเขียนการแต่งนิยายหรือวรรณกรรมนั้น ในแต่ละรูปแบบจะมีความสละสลวยในตัวของมันเอง และ จะสื่อความหมายเหมือนสิ่งเร้าให้คนอ่านเกิดมโนภาพ จินตนาการตามผู้เขียน แล้วแต่ว่าผู้เขียนจะวางเนื้อเรื่อง โครงเรื่อง รูปแบบ บุคลิก ตัวละคร และ สถานที่ ให้คนอ่านเกิดมโนภาพและเข้าใจในสิ่งที่เขียน เพื่อสื่อถึงสิ่งเร้า เพิ่มเติมความสะเทือนใจให้เกิดอารมณ์คล้อยตามในสิ่งที่ต้องการแสดงถึง



    ขอแนะนำตัวก่อนนะคะ จะได้เป็นกันเองขึ้นหน่อย  เพื่อจะได้ศึกษาและเข้าใจง่ายขึ้นตามหลักของจิตวิทยา



    ดิฉันชื่อ นางสาวอัญยา (ไม่ขอเปิดเผย)



    อายุ xx ปี (ไม่บอกหรอกเดี๋ยวหาว่าแก่)



    จบการศึกษาครั้งล่าสุดที่ มหาวิทยาลัย....า..ง..รณ์ คณะอักษรศาสตร์ สาขาวรรณกรรม



    ทำงานแล้วค่ะ (ไม่บอกอีกแหละ )



    ต้องกล่าวปรับความเข้าใจกันก่อนเลยนะคะ ดิฉัน(ผู้เขียน)จะใช้คำว่าน้องๆแทนผู้อ่านนะคะ เพราะดูเหมือนว่า ตัวดิฉัน(ผู้เขียน)จะ อายุมากกว่า ทุกท่านในเว็บเด็กดีนี้ แต่ถ้าหากใครก็ตามที่อายุมากกว่าเข้ามาอ่าน ก็ต้องขออภัยค่ะ



    เอาละ! แนะนำตัวคร่าวๆแล้วนะคะ เพื่อให้น้องๆเรียนและฝึกเขียนได้เข้าใจง่ายขึ้น ในรูปแบบเป็นกันเองค่ะ จะใช้วิธีเขียนเหมือนคุย เพื่อสื่อให้รับรู้ได้ง่ายมากขึ้น



    น้องๆแต่ละคนคงอยากรู้วิธีแต่งนิยายให้เก่งและช่ำชองชำนาญแล้วใช่ไหมคะ งั้นเรามาเริ่มกันเลย





    ===========



    น้องๆต้องนึกภาพฝันในมโนภาพในสิ่งที่จะเขียนออกมาให้ชัดเจน พลางจดโคลงเรื่องคร่าวๆแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนมากนัก เพราะหลักการง่ายๆนั้นค่อยมาเพิ่มปมและสิ่งอื่นๆทีหลังได้.... แล้วนำมาเรียงเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รูปแบบ



    ดังนี้



    เวลาเหตุเท่าไหร่?



    ใคร?



    ทำอะไร?



    เหตุผล?



    เงื่อนไข?



    ที่ไหน?



    อย่างไร?



    ผลจะเกิดอะไร?



    ใครเป็นอะไร?



    ที่ตั้งโคลงเรื่องในรูปแบบนี้ มันแสดงให้เห็นว่า น้องๆก็เคยลองทำมาแล้วในรูปแบบการเรียนของวิชาภาษาไทยปกติที่เคยเรียนมาตอนอยู่บนชั้นเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาที่ 1 จนกระทั่งจบมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว



    การวางโครงเรื่องแบบนี้ น้องๆหลายคนมักมองข้าม เพราะเล็งเห็นว่า เป็นการกระทำของเด็กและไม่ได้ช่วยให้เรื่องดีขึ้นได้ ซึ่งจริงๆแล้วตรงกันข้าม เพราะวิธีดังกล่าวผู้มีฝีมือจริงๆแล้วนั้น เขายังไม่มองข้ามขั้นตอนนี้..ที่ดูเหมือนเด็กๆแบบนี้สักเท่าไหร่ การกระทำอย่างข้างต้นมักทำให้ผูกเรื่องได้ดีกว่า การแต่งโดยที่ไม่จดลงบนกระดาษ



    เพราะการแต่งที่มีการจดบันทึกคร่าวๆง่ายๆแล้วมักจะทำให้เราสามารถกับมาเรียงคำได้ และ ยังช่วยเพิ่มคำสร้างบรรยากาศให้นิยายให้น่าอ่านขึ้นได้อีก



    สมมติว่า...น้องๆนึกเรื่องที่จะเขียนออกมาแล้ว ให้น้องๆมาเริ่มเขียนโครงเรื่องก่อน โดยไม่ต้องสนใจชื่อเรื่องในตอนนี้ เพราะไม่แน่ ถ้าหากน้องๆเขียนชื่อเรื่องออกมาแล้ว แต่เนื้อเรื่องกลับกลายเป็นคนละอย่างไม่ตรงกับชื่อเรื่อง มันจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ สู้เอาเวลามาวาง พล๊อต(โครงเรื่อง)ดีกว่าค่ะ



    เช่นว่า...น้องๆได้โครงเรื่องในรูปแบบข้างล่างนี้มา  ก็ลองเขียนดูเลย





    เวลาเหตุเท่าไหร่? ประมาณ 5โมงเย็น



    ใคร? น้องๆอาจจะวางไว้ว่าเขาคนนั้นชื่อเอ



    ทำอะไร? ก็เอาแบบง่ายๆว่าเขากำลังซักผ้าอยู่



    เหตุผล? ก็เพราะเมียคนสวยไล่ให้ซักผ้า ถ้าไม่ซักจะถูกสากกระเบือตีหัวตาย อะไรประมาณเนี้ย



    เงื่อนไข? ก็วางไว้ว่าถ้าซักผ้าเสร็จจะรอดตาย หรือเมียคนสวยอาจจะอนุญาติให้ไปสังสรรกับเพื่อนได้



    ที่ไหน? ถ้าตอนที่เอซักผ้าก็ที่บ้าน แต่ในเงื่อนไขที่เขียนไว้ว่า ถ้าซักเสร็จจะได้ไปสังสรรกับเพื่อนๆก็เพิ่มตรงนี้ว่า ร้านอาหารด้วยก็ได้



    อย่างไร? ก็เอาง่ายๆเลยว่ามันเกิดไปแล้ว



    ผลจะเกิดอะไร? สนุกอะมั้งถ้าซักไม่เสร็จแล้วหนีไปสังสรร แต่ถ้าซักเสร็จก็รอดตาย



    ใครเป็นอะไร? ตรงนี้แล้วแต่สถานการณ์ว่าซักผ้าเสร็จหรือยัง



    ยังไงคะง่ายใช่ไหมคะ และสมมติว่านี่คือตอนแรกที่วางเอาไว้



    ขั้นตอนที่ 2 ก็คือค้นคำค่ะ เพื่อให้ใช้คำได้เหมาะสมมากที่สุด และ อธิบายได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีคำให้ใช้เล่นไม่ซ้ำกันมากขึ้นอีกด้วย



    ตัวอย่างเช่น ....



    เวลาข้างต้น  ที่วางไว้คือ 5โมงเย็นน้องๆ ก็นำมากล่าวตามสภาวะมโนภาพที่น้องๆได้นึกไว้ว่า



    อืม.....ตอน 5 โมงเย็นท้องฟ้ามันสีอะไรนะ นกมันกลับรังยัง ต้นไม้ใบหญ้า บ้านเรือนในตอนนั้น บรรยากาศในตอนนั้น(5โมงเย็น)เป็นอย่างไร เมื่อน้องๆนึกออกว่า



      5โมงเย็น พระอาทิตย์มันกำลังจะลับขอบฟ้าแล้ว ท้องฟ้ามันสีออกแดงๆม่วงๆมองไม่ค่อยชัดเลย อากาศก็เริ่มหนาว นกมันน่าจะกลับรังไปหาลูกมันมั้ง ก็นำมาเขียนเรียบเรียงอีกทีดังนี้...



    ดวงตะวันสีส้มปนแดงระเรื่อกำลังจะลับขอบฟ้า แลเห็นแสงอาทิตย์คราสุดท้ายที่ทอดส่องมากระทบกับผืนเมฆจนบังเกิดแสงสีแดงปนม่วงเย็นสบายตาของวันนี้ สายลมหนาวพัดเอื่อยเฉื่อยเข้ามา......



    อืม....เห็นไหมคะน้องๆมันง่ายนิดเดียวค่ะ ขอแนะนำว่าให้เลือกสรรค์ และ คัดคำมาลงให้ลงตัว เหมาะสม ตรงตัวเข้าใจ มากที่สุด เพราะจะได้คำที่สละสลวย อ่านแล้วไหลรื่น พกพจนานุกรมไว้ใกล้ๆตัวบ้างก็ดีนะคะ



    ต่อมาบรรยายเวลาไปแล้วก็มากล่าวถึง



    ใคร? + ทำอะไร? ก็คงเป็นนายเอที่กำลังซักผ้าอยู่หลังบ้าน พระเอกจำเป็นในตัวอย่างนี้



    น้องๆก็มานั่งนึกดูว่า นายเอกำลังซักผ้า ต้องมีอะไรมั่ง ซักยังไง เหนื่อยไหม บ่นอุบอิบอะไรหรือเปล่า เอาแบบให้เหมือนคนกำลังทำอะไร ยังไงนะคะ จะได้เห็นภาพ



    เมื่อเข้าใจในที่นี้น้องก็มาลอง เรียงอริยบถตัวละคร



    นายเอกำลังซักผ้าอยู่ มีถึงข้างๆ ใส่เสื้อกร้าม เพราะกลัวเปียกโดนเสื้อ และกำลังรีบซัก เพื่ออยากไปงานสังสรรกับเพื่อนๆ



    น้องๆก็มาเรียบเรียงและใช้คำให้บรรจงอีกที ก็จะเป็นประโยคดังนี้...



    ดวงตะวันสีส้มปนแดงระเรื่อกำลังจะลับขอบฟ้า แลเห็นแสงอาทิตย์คราสุดท้ายที่ทอดส่องมากระทบกับผืนเมฆจนบังเกิดแสงสีแดงปนม่วงเย็นสบายตาของวันนี้ สายลมหนาวพัดเอื่อยเฉื่อยเข้ามา......กระทบกับผิวหนังของชายคนหนึ่งที่กำลังหมกมุ่นกับการซักเสื้อผ้าในอ่างน้ำหลังบ้าน เขารีบเร่งกับงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสุดชีวิต พลางเอามือยกขึ้นปาดเม็ดเหงื่อที่ย้อยอยู่ตามใบหน้าของเขา ถ้าสังเกตดีๆแล้วชายคนนี้มีผิวพันธ์ผุดผ่อง ใบหน้าเกรี้ยงเกรา จมูกโด่งคมเป็นสัน คิ้วดก ริมฝีปากเข้ารูป ดูล่ำสันภายใต้เสื้อกร้ามสีขาวอันบางเบา ที่เขาต้องรีบเร่งถึงขนาดนี้เพราะว่ามีนัดกับกลุ่มเพื่อน ที่เป็นนัดสำคัญยิ่งในชีวิตของเขาเลยทีเดียว...



    เห็นไหมคะไม่ยากส์เลยใช่ไหม อ่อ! ลืมบอกไปค่ะ เดี๋ยวจะค่อยๆสอนให้ทีละอย่างนะคะ ตั้งใจอ่านล่ะ



    การอธิบายในส่วนของ



    ใคร?



    นั้นจำเป็นต้องวางไปจนถึงรูปพรรณ สันชาติพื้นเพนิสัยเลยทีเดียว นี่เป็นหน่วยย่อยของใครค่ะ



    ใคร? ย่อยออกมาได้อีกดังนี้



    ชื่ออะไร



    นิสัย



    หน้าตา



    ส่วนสูง



    สีผิว



    ฐานะ



    ซึ่งล้วนแล้วแต่ผู้เขียนจะเสริมเติมแต่งกันอย่างไร ให้บุคลิกตัวละครออกมาเด่นชัดไม่ซ้ำใคร ตอนนี้อยู่ที่ผู้เขียนนะคะ



    รายละเอียดปีกย่อยยังมีอีกเยอะค่ะ



    เจอกันบทเรียนที่ 2 นะคะ



    ขอจบ ไว้ในตอนนี้ก่อนนะคะ



    ใครมีอะไรอยากให้แนะนำเชิญค่ะ ฝากข้อความไว้ได้



    สำหรับใครก็ตามที่อ่านบทเรียนที่ 1 จบแล้วก็ขอให้นำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องของตัวเองนะคะ เพราะบทเรียนที่ 2 นั้นจะยากส์ขึ้นเรื่อย เพื่อเพิ่มอรรถรสให้คนอ่านค่ะ





    ไว้เจอกันนะ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×