ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    >>เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเกาหลี<<

    ลำดับตอนที่ #25 : ดนตรีเกาหลี2

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.69K
      2
      12 มี.ค. 50

    เนื้อหาเยอะมากๆ เลย จนคนอ่านอาจจะขี้เกียดอ่านเลย เหอๆ
                               

    เครื่องดนตรี

     

    1.   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า

         1.1 เครื่องเป่าประเภทขลุ่ย

                    ขลุ่ยผิว  เป็นขลุ่ยที่เป่าตามแนวนอน   เกาหลีมีขลุ่ยชนิดนี้อยู่  3 ขนาดด้วยกัน คือ ขลุ่ยเทคึม (Taegum)   ขลุ่ยชุงคึม (Chunggum) และขลุ่ยโซคึม (Sogum) โดยขลุ่ยทั้งสามชนิดนี้มีขนาดใหญ่ ปานกลาง   และเล็ก   ลดหลั่นกันตามลำดับ   ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์   ระบุว่าเกาหลีเริ่มใช้ขลุ่ยผิวอย่างเป็นทางการตั้งแต่สมัยสหราชอาณาจักรสิลลาหรือรัฐรวมสิลลา เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7

                    ขลุ่ยเทคึม   เป็นขลุ่ยที่มีขนาดความยาวประมาณ  2 ฟุต 5 นิ้ว เมื่อเปรียบเทียบกับขลุ่ยชากุฮาชิ  (Shakuhachi)  ของญี่ปุ่นแล้ว   ขลุ่ยเทคึมของเกาหลีจะมีขนาดที่ยาวกว่า   ขลุ่ยชนิดนี้ประกอบไปด้วยรูต่าง ๆ  จำนวนทั้งสิ้น  รู  ในจำนวนนี้เป็นรูที่ใช้ปิด เปิดเพื่อให้เกิดระดับเสียงต่าง ๆ  จำนวน  รูเป็นรูปที่ใช้สำหรับเป่า  รู   ส่วนที่เหลืออีก รู เป็นรูเยื้อ  รูเยื้อนี้จะใช้แผ่นหนังบาง ๆ  หุ้มปิดไว้   ดังนั้นเวลาที่บรรเลง   น้ำเสียงของขลุ่ยชนิดชนิดนี้จะมีความสั่นพลิ้ว   นุ่มนวล   เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว   กรณีนี้เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความแตกต่างในด้านสีสันของเสียง  ระหว่างขลุ่ยผิวของเกาหลี  จีน   และญี่ปุ่น 

                    ขลุ่ยเทคึมมีช่วงพิสัยของเสียงอยู่  2 ช่วงทบเสียงระหว่าง  Bb  ถึง Eb  บทบาทในการบรรเลง  มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับปี่โอโบในวงดุริยางค์ตะวันตก   ในการบรรเลงร่วมวง   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายจะต้องตั้งระดับเสียงให้ตรงกับเสียงของขลุ่ยเทคึม   ขลุ่ยชนิดนี้นิยมใช้บรรเลงร่วมอยู่ในวงดนตรีราชสำนัก  

                         ขลุ่ยชุงคึม    เป็นขลุ่ยที่มีลักษณะและองค์ประกอบเช่นเดียวกับขลุ่ยเทคึมทุกประการ   เพียงแต่มีขนาดที่ย่อมกว่าเท่านั้น 

                    ขลุ่ยโซคึม   ขลุ่ยชนิดนี้มีบทบาท  ขนาด   และน้ำเสียงใกล้เคียงกับขลุ่ยปิคโคโล  (Piccolo)  ในวงดุริยางค์ตะวันตก   และขลุ่ยเรียวเตกิ (Ryuteki) ในวงกางากุของญี่ปุ่น 

                    ลักษณะโดยทั่วไปของขลุ่ยโซคึม   คล้ายคลึงกับขลุ่ยเทคึม   แตกต่างเฉพาะขลุ่ยโซคึมไม่มีรูเยื้อ   และมีขนาดที่เล็กกว่า  มีระดับเสียงสูงกว่าขลุ่ยเทคึมประมาณ  1 ช่วงทบเสียง   ขลุ่ยชนิดนี้ใช้บรรเลงร่วมอยู่ในวงดนตรีราชสำนัก

                       ทันโชะ  (Tanso)  ทันโซะเป็นขลุ่ยที่เป่าตามแนวตั้ง   ในลักษณะเช่นเดียวกับขลุ่ยเพียงออของไทยขลุ่ยชนิดนี้มีรูสำหรับปิด เปิดเสียงอยู่ 6 รู   อยู่ด้านหน้าจำนวน 5 รู และมีรูค้ำอยู่ด้านหลังอีก 1 รู 

                    ขลุ่ยทันโซะ    จัดได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าที่มีพัฒนาการร่วมกันกับขลุ่ยชากุฮาชิ  (Shakuhachi)   ของญี่ปุ่น   และตุงเชียว (Tung – hsiao) ของจีน   นักดนตรีวิทยาของเกาหลีชื่อว่า ขลุ่ยชนิดนี้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศเกาหลีหลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 ขลุ่ยชนิดนี้มีศักยภาพในการผลิตเสียงได้ 2 ช่วงทบเสียงระหว่าง  Gb - Gb

     

          1.2   เครื่องเป่าประเภทปี่

                    ปิริ  (Piri)  ปิริเป็นเครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นคู่   มีอยู่  ชนิดด้วยกันได้แก่   หยางปิริ  (Hyang – piri)   เซปิริ  (Se – piri)  และถังปิริ  (Tang – piri)   ปิริทั้ง ชนิดนี้มีรูสำหรับปิด เปิดเพื่อให้เกิดระดับเสียงต่าง ๆ  จำนวน  รู  อยู่ด้านหน้าจำนวน 7 รู   และอยู่ด้านหลังอีกจำนวน  รู  ข้อที่พึงสังเกตในกรณีของลิ้นปี่ปิริที่มีขนาดความยาวแตกต่างไปจากลิ้นปี่ชนิดอื่น ๆ  กล่าวคือ  มีความยาวประมาณ  1 ใน  ของความยาวรวมของทั้งเลาปี่และลิ้นปี่รวมกัน

                   ปี่หยาง   หรือหยางปิริ  เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทหน้าที่เช่นเดียวกันกับปี่ไฮชิริกิ  (Hichiriki)  ของญี่ปุ่น   ที่ใช้บรรเลงในวงกางากุ   นักดนตรีวิทยาของเกาหลีเชื่อว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้เริ่มใช้ในเกาหลีเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 6 โดยสันนิษฐานว่าน่าจะมีถิ่นกำเนิดมาจากดินแดนแถบเอเชียกลาง   โดยผ่านเข้ามาทางดินแดนตอนเหนือของจีน ก่อนที่จะเข้ามาสู่ประเทศเกาหลีและพัฒนามาเป็นรูปแบบดังที่ใช้บรรเลงอยู่ปัจจุบัน

                    ในการบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น   ปี่หยางนับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทสำคัญ ในฐานะเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงนำ  ปี่ชนิดนี้มีเสียงที่ดัง   ขณะประสมวงร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น   จะดังเด่นชัดทำให้ง่ายต่อการแยกแยะถึงคุณลักษณะเฉพาะของเสียง   ปี่หยางมีช่วงพิสัยของเสียงไม่กว้างมากนัก  ประมาณ  Ab

                         ปี่เซ   ปี่ชนิดนี้เรียกในภาษาเกาหลีว่า  เซปิริ   ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับปี่หยางทุกประการ   แตกต่างกันเฉพาะขนาดของปี่เซที่มีขนาดเล็ก   มีน้ำเสียงที่เบาและนุ่มนวลกว่า  ด้วยสาเหตุที่มีเสียงที่เบานี้เอง  จึงไม่นิยมใช้ปี่ชนิดนี้บรรเลงร่วมในวงดนตรีขนาดใหญ่ 

                    ปี่เทียบยังโซ  (Taep' yongso) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าชนิดลิ้นคู่ เครื่องดนตรีชนิดนี้มีลักษณะคล้ายคลึงและสืบสายมาจากเครื่องดนตรีในสกุลเดียวกันกับ   ซุรนาของชาวเปอร์เซีย   โซนาของชาวจีน   เชห์ไนของอินเดีย และปี่ไฉนของไทย   บางครั้งเครื่องดนตรีชนิดนี้ เรียกว่า โชะนับ โฮจอก (Soenap  Hojok)   ซึ่งหมายถึงเครื่องเป่าของพวกอาณารยชนหรือพวกป่าเถื่อน   เครื่องดนตรีชนิดนี้   แพร่ขยายเข้ามาในเกาหลีช่วงสมัยราชวงศ์หยวนของจีน   ประมาณ     คริสต์ศตวรรษที่ 13-14 ในครั้งนั้นเกาหลีได้นำเครื่องดนตรีชนิดนี้มาใช้สำหรับกิจการดนตรีของกองทัพ   ต่อมาในสมัยราชวงศ์ยี ได้ถูกนำมาใช้ในการประกอบพิธี ในปัจจุบันนี้เทียบยองโซ ใช้บรรเลงร่วมอยู่ในขบวนกองทัพแบบโบราณ นอกจากนั้นยังใช้ร่วมงานในพระราชพิธี¹   และวงดนตรีชาวนา หรือนองอั๊ก  เทียบยังโซมีรูปิด เปิดเสียงจำนวน  รู  อยู่ด้านหน้าจำนวน  รู  และอยู่ด้านหลังอีก  รู เครื่องดนตรีชนิดนี้ระดับเสียงอยู่ระหว่าง  Ab  - Eb  เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงที่ดังมากจึงเหมาะสำหรับการบรรเลงกลางแจ้ง

                   

          1.3 เครื่องเป่าประเภทแคน

                    โซะ ( So ) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลแคน  มีลักษณะคล้ายคลึงกับ  เช็ง (Sheng)  ของจีน  และโช (Sho)  ของญี่ปุ่น  เครื่องดนตรีนี้บางครั้งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  ปองโซะ  (Pong - so) 

                    โซะ  ประกอบด้วยลำหลอดเสียงที่ทำจากไม้ซางจำนวน  16  ลำ  ลำหลอดเสียงหรือลูกแคนทั้ง  16  ลูกจะสอดและผนึกอยู่กับกรอบไม้เนื้อแข็ง  ซึ่งมีทรวดทรงคล้ายกับปีกของนก  การเทียบเสียงของลูกแคนทั้ง  16  นอกจากจะเกิดจากขนาดความยาวของลำลูกแคนที่มีขนาดลดหลั่นกันแล้ว  ในการปรับระดับรายละเอียดของเสียง  จะอาศัยวิธีการเพิ่มและลดปิริมาณของขี้ผึ้ง เครื่องดนตรีชนิดนี้สามารถลดระดับครึ่งขันเสียง   (Semitone) จากระดับ  C – D#  โดยทั่วไปใช้บรรเลงร่วมอยู่ในพิธีบวงสรวงตามประเพณีของราชสำนักเกาหลีที่รับมาจากจีน

                   

           1.4 เครื่องเป่าที่ทำจากดิน

                    ฮุน  (Hun)  เป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปร่างคล้ายลูกตุ้มยกน้ำหนัก  ทำจากดินเหนียวที่ผ่านการเผา  ด้านบนสุดมีรูสำหรับเป่า  รู  รอบลำตัวของฮุนมีรูสำหรับปิดเปิดเสียง  รูสำหรับมือซ้าย  2 รู  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วก้อยควบคุมการปิดเปิด  และอีก  รูสำหรับมือขวา  โดยมีนิ้วหัวแม่มือ  นิ้วกลาง  และนิ้วก้อยทำหน้าที่ควบคุมปิดเปิดระดับเสียงต่าง ๆ ตามความต้องการ  คุณภาพการของเสียงเครื่องดนตรีชนิดนี้  ขึ้นอยู่กับขนาดและทรวดทรง  ประกอบกับกรรมวิธีในการเผาดินเหนียวก่อนที่จะมาเป็นเครื่องดนตรีเครื่องนี้ว่ามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด  เครื่องดนตรีชนิดนี้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศเกาหลีในช่วงสมัยโกเรียว  ซึ่งตรงกับราชวงศ์ซ้องของจีน   ฮุนเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมในดนตรีประกอบพิธีกรรมในลัทธิขงจื้อ

                     ปัจจุบันประเทศเกาหลีไม่ได้มีการปกครองในระบอบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่เพื่อเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม รัฐบาลเกาหลีโดยหน่วยงานรับผิดชอบด้านวัฒนธรรม ดังนั้นในทุกปีได้จัดให้มีพระราชพิธีแบบดั้งเดิม โดยเชื้อพระวงศ์ลำดับต่างๆ จะได้รับเกียรติร่วมในพิธี

     

         1.5 เครื่องเป่าประเภทแตร

                    นาปาล (Napal)  นาปาลเป็นเครื่องเป่าตระกูลแตรเดี่ยวที่ใช้ในกิจการดนตรีกองทัพของเกาหลี  เครื่องดนตรีชนิดนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับแตรลาปา  (La-Pa)  ลำตัวที่เป็นท่อเสียงของนาปาลทำด้วยโลหะ  แบ่งเป็น  ท่อน สามารถถอดแยกออกจากกันหรือนำมาประกอบติดต่อกันได้  แตรนาปาลไม่มีรูปิดเปิดสำหรับบังคับเสียงเหมือนเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าชนิดอื่น ๆ ปัจจุบันเครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงในขบวนเดินแถวทหารแบบโบราณของเกาหลี  เครื่องดนตรีชนิดนี้มีเสียงที่ดังลึก  นิยมเป่าเพียงระดับเสียงเดียว  ควบคู่ไปกับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน  เช่น  แตรสังข์  เป็นต้น

     

    2.  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย

         2.1 ประเภทเครื่องดีด

                    ในการแบ่งหมวดหมู่เครื่องดนตรีตามระบบจีน  ซึ่งเกาหลีเคยใช้มาในอดีต  เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดถูกจัดอยู่ในประเภทเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไหม  ปัจจุบันเครื่องดนตรีประเภทนี้แบ่งออกเป็น  กลุ่ม  ตามลักษณะของการวางเครื่องดนตรีขณะบรรเลงได้แก่  เครื่องดนตรีประเภทตั้งพื้นแนวนอนและเครื่องดนตรีประเภทจับในแนวตั้ง

                    กายาคึม (Kayagum)  เป็นเครื่องดนตรีชนิดตั้งราบขนานไปกับพื้นเช่นเดียวกับจะเข้ของไทย ลักษณะโครงสร้างโดยรวมของเครื่องดนตรีชนิดนี้ คล้ายคลึงกับเจง (Cheng) ของจีน และโกโตะ (Koto) ของญี่ปุ่น

                    เครื่องดนตรีชนิดนี้เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า  กายาโกะ (Kayako)  เกาหลีได้รับแบบอย่างมาจากเจงของจีน  หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกายาโกะปรากฏครั้งแรกในดินแดนเกาหลีช่วงคริสต์ศตวรรษที่  6 โดยเชื่อกันว่ากษัตริย์กาสิล (Kasil)  แห่งเมืองกายา  (Kaya)  ในแถบภาคใต้ของเกาหลีเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา  ภายหลังเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้เผนแพร่เข้าสู่ไปสู่ราชสำนักญี่ปุ่นในสมัยนารา (คริสต์วรรษที่  6 – 9 )  ซึ่งรู้จักกันในญี่ปุ่นสมัยนั้นว่า  ชิระคิโกโตะ (Shiragikoto)  ซึ่งหมายถึงโกโตะจากพระราชอาณาจักรสิลลา  เครื่องดนตรีที่นักดนตรีชาวเกาหลีได้นำติดตัวไปเผยแพร่ในญี่ปุ่นระยะแรก ๆ ยังคงเก็บรักษาไว้ในพระราชวัง  Shosion  เมืองนารา    กายาคึม  แบ่งออกเป็น  ประเภทตามลักษณะของการใช้งานคือ  1)  ชองอั๊ก  กายาคึม  (Chongak  Kayakum ) และ  2 )  ซันโจะ  กายาคึม  (Sanjo  Kayakum)   ชองอั๊ก  กายาคึม  ใช้บรรเลงร่วมในวงดนตรีราชสำนัก  ส่วนซันโจะ  กายาคึม  ใช้ร่วมบรรเลงทั่วไปในรูปแบบของดนตรีพื้นบ้าน กายาคึมทั้งสองประเภทมีสาย 12 สาย สายแต่ละสายพาดลงบนหย่องที่ทำเป็นรูปทรงตัววีคว่ำ  (L)   ตั้งอยู่ตามตำแหน่งเสียงต่าง ๆ บนลำตัวของกายาคึม ลักษณะทั่วไปของกายาคึมทั้ง 2 ชนิด มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แตกต่างเฉพาะในส่วนของขนาดและการประดับตกแต่ง  ในการบรรเลงผู้บรรเลงจะใช้นิ้วหัวแม่มือ  นิ้วกลาง  ของมือขวาดีดลงไปที่สาย  ขณะเดียวกันก็ใช้นิ้วหัวแม่มือ  และนิ้วกลางของมือซ้ายกดลงไปบนตำแหน่งใกล้กับหย่อง  คล้ายกับวิธีการกดนิ้วลงบนนมจะเข้ของไทย    การเทียบเสียงของกายาคึมทั้ง  2 ประเภท มีลักษณะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้วเครื่องดนตรีชนิดนี้มีศักยภาพในการผลิตเสียงได้ประมาณ 2 ช่วงทบเสียงจาก Eb – Bb   กายาคึมจัดเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเกาหลี  เครื่องดนตรีชนิดนี้  มีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น  เสมือนกับเป็นตัวแทนของดนตรีเกาหลี  ในลักษณะที่เหมือนกับโกโตะที่เป็นเครื่องดนตรีตัวแทนของดนตรีญี่ปุ่น  หรือซีตาร์  เป็นเครื่องดนตรีตัวแทนของดนตรีอินเดีย

                    โกมุมโกะ  เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสามอาณาจักรหรือสามก๊กของเกาหลี  โดยการเริ่มของมหาเสนาบดี  วังชาน  อั๊ก  (Wang san ak) แห่งราชวงศ์โกกูเรียว ในสมัยรัฐรวมสิลลา โกมุนโกะเป็นดนตรีที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากร่วมกับกายาคึมและปิปะ

                    เครื่องดนตรีชนิดนี้นิยมใช้บรรเลงร่วมอยู่ในวงดนตรีราชสำนักและวงดนตรีพื้นบ้านทั่วไป  ลักษณะของเครื่องดนตรีชนิดนี้หากมองอย่างผิวเผิน  จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับกายาคึม แต่หากพิจารณาในรายละเอียด  เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้จะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างกัน  กล่าวคือ  โกมุนโกะมีสาย  6 สาย  สายทั้งหมด ทำมาจากเชือกไหมที่บิดขวั้นจนเป็นเนื้อเดียวกันและคล้ายกับซอสามสายของไทย ในจำนวนสายทั้ง 6 นั้น  สายที่  2, 3, และ  4 พาดลงบนนมจำนวน  16 อัน  โดยนมทั้ง  16  อันจะยึดติดแน่นไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้  ในขณะที่สายที่เหลืออีก  สายคือสายที่  1, 5  และ พาดลงบนนมที่มีลักษณะเป็นทรงตัววีคว่ำ   (Lเช่นเดียวกันกับนมของกายาคึม  (Kayagum)  โดยนมทั้งสามจะสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ตามความต้องการ 

                    ในขณะบรรเลง  นักดนตรีจะใช้มือด้านขวาถือไม้ดีดที่ทำจากไม้ไผ่  สำหรับใช้ดีดให้เกิดเสียง  ขณะที่มือซ้ายกดตามนมตำแหน่งต่างๆเพื่อให้เกิดเสียงตามที่ต้องการ  บรรดาเครื่องดนตรีของเกาหลีด้วยกัน  โกมุนโกะจัดได้ว่าเป็นเครื่งอดนตรีทีมีช่วงพิสัยของเสียงกว้างที่สุด  โดยสามารถผลิตเสียงได้ถึง  3 ช่วงทบเสียงจาก  Bb – Bb

                    ปิปะ (Pipa)  ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก  ได้แก่ จีน  ญี่ปุ่น  และเกาหลี  เป็นดินแดนที่ปรากฏพบเครื่องดนตรีประเภทดีดรูปทรงลิวท์ (Lute)  ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค  โดยแต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป  กล่าวคือ  จีนเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า  ปิปะ  (Pipa)  ญี่ปุ่นเรียกว่า  บิวะ (Biwa) และเกาหลีเรียกว่า  หยางปิปะ  ซึ่งหมายถึงพิณเกาหลี

                    ในปัจจุบันประเทศเกาหลีมีพิณทรงลิวท์ที่ใช้บรรเลงในปัจจุบันอยู่  2 ชนิด ได้แก่ หยางปิปะ และถังปิปะ โดยเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้รับอิทธิพลมาจากจีน ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่ประเทศเกาหลีในช่วงสมัยสามก๊กของเกาหลี

                 หยางปิปะ  มีกล่องเสียงเป็นรูปทรงมนรี  มีสาย  5 สาย  สายทั้ง  พาดผ่านบนนมจำนวน  10  อัน  ในการบรรเลง  ผู้บรรเลงจะใช้ไม้ดีดที่ทำเป็นแท่งคล้ายกับจะเข้ของไทย  แต่มีขนาดที่ยาวกล่าวเล็กน้อย

                    ถังปิปะ  เป็นพิณชนิดที่มี  4 สาย  พาดผ่านลงบนนม  จำนวน  อัน ซึ่งติดอยู่บริเวณกล่องเสียง  ในขณะที่บริเวณคอพิณจะมีนมอีกจำนวน  อัน  ที่ทำเป็นรูปทรงโค้งนูน  ผู้บรรเลงจะใช้แผ่นไม้บาง ๆ สำหรับเป็นไม้ดีด  ในปัจจุบันทั้งหยางปิปะ  และถังปิปะ  ไม่นิยมนำมาบรรเลงร่วมกัน

                    วากองฮู (Wa – Konghu)  เป็นรูปพิณทรงฮาร์ฟที่มีรูปทรงคล้ายกับพิณ  ซองกก (Saung – Gauk)  ของพม่า  และพิณกุงหัว  (Kung – hoa)  ของจีน ในอดีตเกาหลีมีรูปทรงพิณฮาร์ฟอยู่  ชนิดด้วยกัน  ได้แก่  1)  วากองฮู  (Wa-konghu)  พิณรูปทรงฮารฟ์ในขณะบรรเลงจะตั้งเครื่องดนตรีขนานไปกับพื้น  2)  ซูกองฮู (Su-konghu)  พิณที่บรรเลงในแนวตั้ง  และ  3)  เตกวงฮู (Tae-Konghu)  พิณที่มีรูปทรงคล้ายคลึงกับพิณของชาว  Assyrian

                    หลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของจีนระบุว่าพิณทั้ง  3 ชนิดนี้ เกาหลีได้ใช้ในการบรรเลงร่วมในวงดนตรีแบบต่าง ๆ อย่างน้อยสุดตั้งแต่สมัยราชวงศ์ปักเซ นอกจากนั้นยังได้ระบุด้วยว่าพิณชนิดนี้ได้เผยแพร่เข้าไปในญี่ปุ่นช่วงสมัยเดียวกัน โดยที่ญี่ปุ่นเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า กุดาระ-โกโตะ ซึ่งหมายถึงเครื่องดนตรีจากปักเซ

                    โวลคัม (Wolgum)  ความหมายตามอักษรศาสตร์คำว่า  "โวลคัมหมายถึง  "จันทรวีณาหรือ  พิณที่มีรูปทรงกลมดุจดวงจันทร์  เหมือนหยู่ฉิน  (Yueh – chin)  ของจีนและพิณเค็กกิน  (Gekkin)  ของญี่ปุ่น  แตกต่างกันเฉพาะพิณโวลคัมของเกาหลีมีคอพิณที่ยาวในขณะที่อยู่ฉินของจีนมีคอที่สั้น 

                    โวลคัม  เป็นพิณชนิดมี  สาย  เครื่องดนตรีชนิดนี้ปรากฎหลักฐานเป็นภาพวาดสมัยโกคูเรียว (37  ปีก่อนคริสต์ศักราชถึง  668 )  ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ยี  เครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงร่วมอยู่ในวงดนตรีแบบหยางอั๊ก (Hyang–Ak) ปัจจุบันเครื่องดนตรีชนิดนี้ไม่นิยมนำมาบรรเลงร่วมในการประสมวง

     

         2.2 เครื่องสายดนตรีประเภทสี

                   อาเจ็ง  (Ajaeng)  รูปทรงโดยรวมของอาเจ็ง มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับ กายาคึมและโกมุนโกะ   กล่าวคือยังคงเป็นเครื่องดนตรีที่ตั้งตามแนวราบขนานไปกับพื้น ลักษณะเช่นเดียวกับจะเข้ของไทย แตกต่างกันเฉพาะอาเจ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ผลิตเสียงโดยวิธีสี

                    เครื่องดนตรีชนิดนี้มีสาย  7 สาย สายทั้ง 7 พาดผ่านลงบนนมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงตัววีคว่ำ (L) เช่นเดียวกับนมของกายาคึมและโกมุมโกะ คันชักของอาเจ็งทำจากไม้เนื้อแข็งโดยปราศจากขนหางม้า ก่อนการบรรเลง นักดนตรีจะใช้ยางสนฝนบนคันชักไม้ในตำแหน่งที่จะใช้สีในลักษณะเช่นเดียวกับการที่ถูยางสนที่ขนหางม้าของซอไทย

                     แฮคึม  (Haegum)  เป็นซอ  สาย  ลักษณะเหมือนกันกับซอฮู ฉิน  (Hu – Chin)  ของจีน  และคล้ายคลึงกับซอด้วงของไทย  นักดนตรีวิทยาเชื่อกันว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้เผยแพร่เข้ามาสู่เกาหลีช่วงสมัยโกเรียวา (คริสต์ศักราช  918 – 1392)  แฮคึมในบรรเลงนำทำนอง  ร่วมประสมอยู่ในวงดนตรีเกาหลีแบบดั้งเดิม  หรือดนตรีแบบหยางอั๊ก (Huang – Ak)  นอกจากนั้นยังนิยมใช้บรรเลงประกอบการร่ายรำ

     

        2.3 เครื่องสายประเภทตี

                    ยังคึม  (Yanggum)  เป็นเครื่องสายประเภทตี มีลักษณะคล้ายกับขิมจีนหรือยังฉิน (yang – chin) ซันตรู (Santoor) ของชาวเปอร์เซียและอินเดีย ตลอดทั้งขิมที่ใช้บรรเลงในวงเครื่องสายผสมของไทย

                    ยังคึมจัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทสายชนิดเดียวของเกาหลีที่สายทำด้วยโลหะ ทั้งนี้เพราะเครื่องสายทุกชนิดทั้งดีดและสี  ล้วนมีสายที่ทำมาจากไหมหรือส่วนผสมของไหมทั้งสิ้น

                    เครื่องดนตรีชนิดนี้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศจีนครั้งแรกเมื่อประมาณสมัยราชวงศ์หมิงของจีน  ภายใต้การนำของบาทหลวงชาวคริสต์  ครั้งถึงสมัยในราชวงศ์จิ๋น  ยังคึมได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศเกาหลีอีกทอดหนึ่ง  ปัจจุบันเครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงในวงดนตรีเกาหลีทั่วไป

     

    3.  เครื่องดนตรีประเภทเคาะ

                  ปัก  (Pak)   เครื่องดนตรีชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายคลึงกับกรับพวงของไทย แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าเกาหลีได้รับอิทธิพลเครื่องดนตรีชนิดนี้มาจากจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงร่วมในดนตรีจีนหรือดนตรีถัง (Tang-Ak) ตั้งแต่รัชสมัยของกษัตริย์มุงจอง (Mongjong) แห่งราชวงค์โกเรียว 

                    ปัก  หรือกรับพวงของเกาหลีประกอบด้วยแผ่นไม้จำนวน  อัน  โดยแผ่นไม้ทั้ง  อัน  ผูกยึดติดกันด้วยหนังกวาง  ในจำนวนแผ่นไม้ทั้ง  อัน  ไม้  อัน  จะใช้เป็นกรอบ  ซึ่งมีขนาดที่หนากว่าไม้อีก  อัน  ซึ่งอยู่ระหว่างกรอบทั้งสอง  เครื่องดนตรีชนิดนี้นับได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก  ทั้งนี้เพราะในการบรรเลงร่วมในวงดนตรีราชสำนักและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในลัทธิขงจื้อ  ปักจะมีหน้าที่เป็นผู้ให้สัญญาณทุกครั้ง  ก่อนการบรรเลงและก่อนที่จะจบการบรรเลง  ผู้บรรเลงจะตีปัก  ครั้งติดต่อกันให้เกิดเสียง  "ปัก  ปัก  ปักเพื่อเป็นสัญญาณให้นักดนตรีในวงได้ทราบ เพื่อจะได้ขึ้นเพลงและลงจบเพลงได้อย่างพร้อมเพียงกัน

                    ชิง (Ching)  เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลฆ้องชนิดที่ไม่มีปุ่ม  มีลักษณะเหมือนกับโล่  (Lo)  หรือ  หลัว  (Lao)  ของจีน เจาะรูด้านบน  รู  เพื่อร้อยเชือกสำหรับเป็นที่ถือ  ไม้ตีทำด้วยไม้หุ้มผ้าที่ส่วนปลาย

                    ในอดีต  ชิงใช้บรรเลงในขบวนทหารศึกควบคู่ไปกับกลอง   ปัจจุบันเครื่องดนตรีชนิดนี้บรรเลงร่วมอยู่ในวงดนตรีสำหรับสวนสนามแบบดั้งเดิมของเกาหลี  นอกจากนั้นยังนิยมใช้บรรเลงประกอบในดนตรีนองอั๊ก  (Nong-Ak) หรือดนตรีชาวนา ในพิธีกรรมของชาวพุทธและประกอบพิธีในรูปแบบของดนตรีราชสำนัก

                    เกว็งคาริ  (Kkwaenggwari)  เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลฆ้องเช่นเดียวกับชิง แต่มีขนาดเล็กกว่า เกว็งคาริสามารถเปรียบเทียบกับที่ฆ้องเช็งโล่ (Cheng – lo) ของจีน เครื่องดนตรีชนิดนี้มีเสียงที่ดังคมชัด นิยมใช้บรรเลงร่วมกับชิง

                    ชาบาระ  (Chabaraเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะจังหวะ มีลักษณะรูปทรงเหมือนกับฉาบของไทย เครื่องดนตรีชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลายขนาด ขนาดใหญ่ที่สุดใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมตามวัดพุทธทั่วไป ขนาดเล็กนิยมใช้บรรเลงประกอบการเต้นรำ โดยผู้เต้นรำจะผูกชาบาระที่นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วกลาง ในอดีตเครื่องดนตรีชนิดนี้นิยมใช้ในการทำศึกสงคราม

     

    4.  เครื่องดนตรีประเภทหุ้มด้วยหนัง

                    ชางโกะ  (Changgo)  เป็นกลองที่มีรูปทรงนาฬิกาทราย ในลักษณะเช่นเดียวกันกับบัณเฑาะว์ของไทย ชางกุ (Chang- ku) ของจีน และซานโนะตึสซุมิ (Sannotsuzami) ของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามขนาดของกลองชางโกะจะใหญ่กว่ากลองชางกุและซานโนะตึสชูมิ

                    กลองชนิดนี้นับว่ามีบทบาทสำคัญในการบรรเลงร่วมกับวงดนตรี  ทั้งในอดีตและปัจจุบัน  ตามที่ปรากฏเป็นหลักฐานที่ทำเป็นภาพวาดที่สุสานสมัยโกคุเรียว (Koguryo)  และคำบรรยายที่นิยมเขียนไว้บนระฆังขนาดใหญ่ตามวัดพุทธหลายแห่ง ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ยีเป็นต้นมา ได้มีการนำเอากลองชางโกะมาใช้บรรเลงในพระราชพิธีและประกอบการแสดงอย่างจริงจัง

                    ในการบรรเลงดนตรี  นักดนตรีจะใช้ฝ่ามือตีที่หน้ากลองด้ายซ้าย  ซึ่งอาจมีเสียงทุ้มต่ำลแะนุ่มนวล  มือขวาจะถือไม้ตีที่ทำมาจากไม้ไผ่  โดยจะตีลงบนกลองด้านขวามือ  จะมีเสียงดังและระดับเสียงที่สูงกว่าหน้ากลองด้านซ้าย  วิธีการปรับระดับเสียงให้มีความสมบูรณ์  ผู้บรรเลงจะอาศัยการเลื่อนหนังรัดอก  ที่ห่อหุ้มเชือกเร่งหน้ากลอง  ซึ่งขึ้นไว้เป็นรูปทรงตัววี  (V)  ในลักษณะเช่นเดียวกันกับการเร่งระดับเสียงของกลองที่ใช้บรรเลงในวงโยธวาทิต

                    ชัวโกะ  (Chawgo)  กลองที่หุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า มีขนานย่อม รูปทรงโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายคลึงกับกลองตึซาริไดโกะ (Tzaridaiko) กลองชัวโกะจะแขวนอยู่บนกระจังที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เครื่องดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงในวงดนตรีราชสำนัก

                    ยองโกะ  (Yonggo)  ในเชิงภาษาศาสตร์คำว่า "ยองโกะ" หมายถึง "สิงโต" กลองชนิดนี้ขึ้นหนังด้วยหมุดทั้งสองหน้า นิยมใช้บรรเลงในขบวนเดินแถว และการแสดงปันโซริ (Pansori) ซึ่งเป็นการแสดงแบบดั้งเดิมของเกาหลี ผู้บรรเลงจะใช้เชือกผูกร้อยที่ลำตัวกลอง และคล้องพาดเฉียงลงไปบนไหล่เพื่อให้เกิดความสะดวกขณะเดินบรรเลง

                    เคียวบังโคะ  (Kyobanggo)  เป็นกลองที่ขึงหนังทั้งสองหน้าด้วยหมุด  เช่นเดียวกับกลองชัวโกะ  แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่ามาก  กลองชนิดนี้จะตั้งอยู่บนขาตั้งที่มี  ขา  เดิมทีเดียวกลองชนิดนี้นิยมใช้บรรเลงเฉพาะในวงดนตรีแบบจีนหรือถังอั๊ก (tang – Ak) เท่านั้น  แต่ในปัจจุบันนี้นิยมใช้บรรเลงประกอบการแสดงระบำกลอง  โดยผู้รำซึ่งเป็นสตรีจะเป็นผู้บรรเลงเอง ลีลาการระบำกลองชุดนี้ มีลักษณะที่น่าจะเปรียบเทียบได้กับการรำกลองสะบัดชัยของชาวล้านนา (ภาพที่ 90)

                    โซโกะ  (Sogo)   เป็นกลองที่มีขนาดเล็กและบางขึงหนังทั้งสองหน้า โดยอาศัยเชือกผูกโยงสำหรับเร่งระดับเสียง ส่วนต่อจากลำตัวหรือหุ่นของกลองจะมีไม้ยื่นต่อออกมาสำหรับให้นักดนตรีสามารถถือได้สะดวกในขณะที่ต้องเดินบรรเลง กลองชนิดนี้ทำให้เกิดเสียงโดยอาศัยไม้ตีจำนวน 1 อัน

                    กลองโซโกะ  มีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากในการบรรเลงร่วมในดนตรีพื้นบ้าน  เช่น ดนตรีชาวนา (น้องอั๊กและประกอบการระบำรำฟ้อน

                    โนะโดะ  (Nodo)  เป็นกลองชุดที่มีขนาดเล็กจำนวน 2 - 3 ใบ มีรูปทรงป่องตรงกลาง กลองเหล่านี้จะถูกเจาะรูและเสียบไว้กับแกนขาตั้งที่ทำด้วยไม้ ด้านข้างของกลองจะมีเชือกที่ส่วนปลายผูกเป็นปุ่ม เมื่อต้องการบรรเลง ผู้บรรเลงจะหมุนแกนไม้ ซึ่งจะทำให้ปุ่มเชือกทั้งสองข้างตีลงบนหน้ากลอง ลักษณะเช่นเดียวกับบัณเฑาะว์ของไทย       

     
    เครดิต  http://home.kku.ac.th/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×