ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักการเขียนนิยาย(ฉบับปรับปรุง)

    ลำดับตอนที่ #10 : มาเริ่มเขียนเรื่องสั้นกันก่อนจะเป็นเรื่องยาวกันเถอะ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.74K
      47
      20 มี.ค. 56




    มาเริ่มเขียนเรื่องสั้นกันก่อนจะเป็นเรื่องยาวกันเถอะ

     

     

     

    จั่วหัวบทความนี้ น้องๆ อ่านไม่ผิดหรอกค่ะ ตรงตามหัวข้อเป๊ะๆ เอาเป็นว่าบทความนี้จะสื่อถึงอะไรพี่สาวขอรวบมาพูดในย่อหน้าต่อไปเลยแล้วกัน เดี๋ยวจะหาว่า ทำไมต้องพามาเขียนเรื่องสั้นกันก่อน ทั้งๆ ที่ ผม/ฉัน อยากเขียนเรื่องแบบยาวๆ บางคนอาจจะอยากเขียนนิยายเป็นไตรภาคเลยด้วยซ้ำ แล้วทำไมต้องมาเริ่มเขียนด้วยล่ะ!

     

    ดังนั้น มาฟังสาเหตุกันเลย

     

    จริงๆ แล้วหลักการนี้ไม่ได้มีในหลักสูตรสอนเขียนนิยายเลย แต่ก็มีหลายๆ คนแนะนำว่าควรจะฝึกเขียนจากเรื่องสั้นกันก่อนทั้งนั้น แม้แต่เหล่าคณาจารย์สอนศาสตร์แขนงนี้หลายๆ ท่านยังแนะนำ พี่สาวเลยเอามาบอกเล่าสู่กันฟังเจ้าค่ะ

     

    เพราะอะไร เรื่องสั้นถึงจำเป็นต้องเริ่มเขียน ทั้งๆ ที่เราอยากเขียนเรื่องให้ยาวๆ

     

    แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว รู้ไหมว่า เรื่องสั้นสามารถ จบในตอนเดียว และสัมผัสได้ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

     

    รวมไปถึงกลิ่นอายด้วย

     

    บทนี้ขอยกตัวอย่างอะไรที่เข้าใจง่ายๆ มาอธิบายแล้วกัน(จริงๆ แทบทุกบทพี่สาวก็เขียนให้แบบเข้าใจง่ายๆ อยู่แล้วแหละค่ะ)

     

    รู้ไหมว่า สำนักพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นหลายเจ้า นิยมให้นักเขียนการ์ตูนประกวดเรื่องสั้นกันก่อน

     

    แล้วหลังจากนั้นพวกเขาจะมาคัดเรื่องสั้นต่างๆ มาทำเป็นซีรี่ย์ ไม่เว้นแม้แต่ วันพีช,นารุโตะ,ดราก้อน บอล,Reborn, รวมไปถึงเหล่าการ์ตูนชั้นนำทั้งหลาย ที่น้องๆ เคยสัมผัส

     

    แล้วทำไมต้องเขียนเป็นเรื่องสั้นก่อน

     

    แน่นอนค่ะ เพราะกองบรรณาธิการจะได้ตัดสินใจได้ง่ายๆ ว่าสนุกหรือไม่สนุก สมควรตีพิมพ์ หรือไม่สมควร ซึ่งนักเขียนจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาเขียนต่อ หรือเขียนจบแล้วไม่ได้ตีพิมพ์ชะเอิงเอย

     

    หลังๆ มา สำนักพิมพ์ นิยาย ในญี่ปุ่นก็ใช้มาตรการนี้เช่นกัน ในการคัดเลือกนิยายลงในนิตยสารประจำสัปดาห์

     

    แต่... สำหรับพวกเรา ทำไมต้องเขียนเรื่องสั้นก่อนล่ะ?

    เหตุที่พี่สาวเชิญชวนน้องๆ มาเขียนเรื่องสั้นกัน ก็เพื่อจะให้น้องๆ รวบยอดดูสภาวะโดยรวมของเรื่องสั้น มาตัดสินใจกันดู ว่าเราเองมีจุดบกพร่องตรงไหน ก่อนจะลากมันไปต่อยอดดำเนินเป็นเรื่องยาว

     

    เรื่องสั้นที่อยากให้ทดสอบฝีมือกัน ก็คือเรื่องยาวที่น้องๆ เขียนอยู่นี่แหละ ลองเอามาตัดจบ หรือสรุปจบในตอนเดียวดูซิ ซึ่งมันก็คล้ายๆ การทำเรื่องย่อ แต่ไม่ใช่เรื่องย่อก็เท่านั้นแหละ

     

    ข้อดีในการเขียนเรื่องสั้น

     

    -สามารถทำให้นักเขียนอ่านรวบงานของตัวเองได้มากที่สุด ในการวิเคราะห์ หรือการสัมผัสว่าเรื่องนี้ตรงใจนักเขียนหรือเปล่า พอที่จะเขียนต่อไหม(เพราะหลายๆ คนเขียนเรื่องยาวไป ก็ไปตัน หมดมุก หรือไม่อยากเขียนต่อ เพราะไม่ถูกใจเรื่องของตัวเอง)

    -สามารถทำให้สัมผัสกลิ่นอายบรรยากาศในเรื่องได้มากขึ้น(อาจจะไม่เกี่ยว แต่ก็ทำให้มองภาพรวมได้แหละ)

    -สามารถดูชั้นเชิงบทบาทของตัวละคร นิสัยใจคอของตัวเอกว่าน่าสนใจหรือไม่

    -บทสรุปจบในเรื่องสั้น ก่อนที่จะเป็นเรื่องยาวนั้น สามารถตรวจสอบ และแก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอนได้ง่าย รวมไปถึงการวางปมปริศนาต่างๆ ในเรื่องยาวที่นักเขียนจะเขียนในอนาคตด้วย จะได้ดูไปเลยว่ามันเข้าท่าเข้าทางหรือเปล่า และควรจะแก้ หรือวางปมไปในทางใดดี เพราะถ้าให้มาแก้ในตอนทำเรื่องยาว อาจจะต้องรื้อ-แก้ไขในหลายๆ ตอน จนขาดความต่อเนื่อง หรือสมเหตุสมผล

    -มันสั้น ง่ายต่อการดัดแปลง

     

    และอื่นๆ อีกเยอะ ที่พี่สาวนึกไม่ออกในตอนนี้ ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเอาอะไรไปใช้ประโยชน์อย่างไร

     

    อ้อ! ลืมบอกไป Avatar หนังดัง ก็เคยเป็นเรื่องสั้นมาก่อน ก่อนที่จะมาต่อยอดทำเป็นเรื่องยาว

     

    Titanic ก็เช่นกัน รวมไปถึง Starwar ด้วย

     

    และที่ทำให้น้องๆ ต้องตกใจอย่างที่สุดคือ The lord of the ring , Harry Potter ก็เคยเป็นเรื่องสั้น

     

    ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างในตอนที่ เจ เค โรลลิ่ง ให้บทสัมภาษณ์ตอนหนึ่งในนิตยสาร TIME ว่า

     

    ใน พ.ศ. 2533 เจ. เค. โรลลิ่งอยู่ในรถไฟที่มีคนเนืองแน่นจากแมนเชสเตอร์ไปยังลอนดอน เมื่อแนวคิดแฮร์รี่ "ตกลงมาใส่(เข้าสู่)หัวของเธอ" ทันใดนั้นเอง โรลลิ่งเล่าถึงประสบการฯณ์บนเว็บไซต์ของเธอโดยระบุว่า ฉันเคยเขียนค่อนข้างต่อเนื่องเรื่อยมาตั้งแต่อายุได้หกขวบ แต่ฉันไม่เคยตื่นเต้นกับแนวคิดไหนมาก่อน ฉันเพียงแค่นั่งลงและคิด เป็นเวลาสี่ (รถไฟล่าช้า) ชั่วโมง และทุกรายละเอียดก็ผุดขึ้นในสมองของฉัน และเด็กชายผอมกะหร่อง ผมดำ สวมแว่นตาผู้ไม่รู้ว่าตนเองเป็นพ่อมดนี้ก็ค่อย ๆ กลายเป็นจริงขึ้นสำหรับฉัน

     

    และหลังจากนั้น เจ เค โรลลิ่งก็ได้เขียนเรื่องสั้นขึ้น เกี่ยวกับ แฮร์รี่ พอตเตอร์ รวมไปถึง สมุดนิทานทำมือ เกี่ยวกับ Elder wand

     

    ก่อนที่จะนำมันไปพัฒนาเป็นเรื่องยาว ในชื่อตอนว่า ศิลาอาถรรพ์ เล่มแรกของหนังสือชุดนี้

     

    เรื่องสั้นทำให้ การวางปมเรื่อง ทำได้สลับซับซ้อนกว่าการเขียนด้วยเรื่องยาวเลย เพราะเรื่องสั้นทำให้มองภาพรวมออกหมด และในตอนต่อยอดเป็นเรื่องยาว ก็ยืดเรื่องออกและวางปมเก็บรายละเอียดได้ง่าย

     

    นักเขียนบางคนเริ่มต้นได้ดี แต่หนังสือของเขาจบแบบห่วยแตกก็มี เพราะในการเขียนจบนั้น กลับไม่สามารถคลี่คลายปมที่วางเอาไว้ในต้นเรื่องได้ (แบบเขียนไว้ โดยหวังว่าจะให้เป็นปริศนา แล้วให้ตัวละครมาแก้ จนกระทั่งลืมประเด็นของปริศนาที่ตัวเองเคยวางไป เรียกว่า ออกทะเลไปจนลืมแก้)

     

    เจ เค โรลลิ่ง เริ่มเขียนในปี 2533 และเขียนจบเล่มแรกในปี 2538 ใช้เวลาแก้ไขเรื่องสั้น 2 ปี และเก็บรายละเอียดในเรื่องยาว 3 ปี

     

    ดังนั้น แง่มุมปริศนาของนิยายชุดนี้จึงมีที่มาที่ไป ไม้เว้นแม้แต่ ลูกอม หรือสารพัดสิ่งของในเรื่อง เพราะ เธอใช้เวลาพัฒนามันมาจากเรื่องสั้นของเธอทั้งหมด

     

    เรื่องสั้น Elder Wand ของเธอ พูดถึงของวิเศษ 3 อย่าง และยมทูต (ซึ่งเธอก็เอามันมาบวกลงไปในนิยายเรื่องยาวของเธอด้วย และเรื่องยาวเรื่องนั้นก็คือเจ้าแฮร์รี่ พอตเตอร์นี่แหละ)

    เรื่องสั้น ช็อกโกแลตกบ ก็ถูกนำมาต่อยอดเป็นขนมพิลึกในเรื่องยาวของเธอเช่นกัน

    รวมไปถึง เรื่องสั้นที่เธอเขียนไม่จบ ก็คือ ผู้คุมวิญญาณ แห่งอัสคาบาล ก็ถูกจับลงไปใส่ด้วย

    ยังไม่รวมถึงเรื่องสั้นเกี่ยวกับมังกรทั้งหลาย และเวทมนต์ต่างๆ

     

    ซึ่งทุกอย่างนำมาต่อยอดลงในเรื่องยาวทั้งหมด จนเป็น HARRY POTTER

     

    จึงทำให้นิยายชุดนี้เป็นชุดที่ขายดีที่สุดในโลกไปแล้ว

     

    การจับข้อดีของเรื่องสั้นตัวเองหลายๆ เรื่องมาใส่ในเรื่องยาวของตัวเอง ก็เป็นวิธีที่ทำให้นิยายมีพลังมากขึ้น เพราะถ้าเรื่องสั้นดีๆ หลายเรื่องมารวมกันได้เป็นเรื่องเดียว อรรถรสที่ได้จะมากมายแค่ไหน น้องๆ ลองจินตนาการดู

     

    แต่การจะใช้เรื่องสั้นมารวมกัน ก็ต้องมีทิศทางที่สามารถนำมารวมได้ หรือไม่ได้ด้วย ต้องดูกลิ่นอาย และความน่าจะเป็น รวมไปถึงแนวทางที่สามารถจะบีบมันรวมเข้าไปได้ มิเช่นนั้น บรรยากาศในเรื่องมันจะมั่ว ขาดความน่าสนใจลงทันที

     

    สุดท้ายนี้น้องๆ จะนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวของน้องๆ เอง เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้ว นักเขียนปัจจุบันก็ไม่ได้เริ่มจากเรื่องสั้นก่อน แต่พวกเขาเริ่มเขียนเรื่องยาวจากโครงเรื่องที่พวกเขาร่างขึ้นเลย

     

    และมันก็ไม่ได้มีอยู่ในหลักสูตร ตามที่พี่สาวเคยกล่าวไว้ เพียงแค่นำมาแนะนำ เผื่อใครอยากลองดูบ้างเท่านั้น

     

    นิยายที่ดี ส่วนมากใช้เวลาเขียนนาน เพราะต้องเก็บรายละเอียดค่อนข้างมาก

     

    แต่ก็ใช่ว่าจะนำมาตัดสินนิยายได้ทั้งหมด ว่านิยายไหนดี หรือไม่ดี

     

    นิยายที่ดี คือนิยายที่คนเขียนเอาใจใส่มันต่างล่ะ

     

     

    ยอมรับว่าบทนี้ ไม่ได้ตั้งใจจะมาเขียนแนะนำ แต่เพราะเห็นว่าพี่สาวนำมันมาใช้แล้วได้ผล อย่างต่อเนื่อง เลยนำมาเล่าสู่กันฟังเจ้าค่ะ

     

    และต้องบอกตามตรงว่า วันนี้เผอิญอ่านเจอใน วิกิ พีเดีย และในนิตยสาร time ฉบับเก่าๆ (พี่สาวซื้อมานานแล้ว) ก็เลยคิดว่า บางที น้องๆ มือใหม่อาจจะได้ประโยชน์ ไม่มากก็ได้ ละ ถ้าได้ความรู้จากจุดนี้ไป

     

    รักเสมอ สวัสดีค่ะ

    บทความนี้ อาจจะมีความผิด เพราะขณะพิมพ์ง่วงนอน ดังนั้นใครเจอคำผิด ฝากบอกด้วยนะเจ้าคะ ^^

    แก้ไขบทความโดย เจ้าลม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×