ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักการเขียนนิยาย(ฉบับปรับปรุง)

    ลำดับตอนที่ #12 : เขียนอย่างไรให้ซึ้ง มีมุกตลก และระทึกใจ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.35K
      63
      20 มี.ค. 56

     


    โว้ว! ในที่สุดน้องๆ ก็ร้องออกมาว่า บทนี้อยากทราบมานานแล้ว(หรือพี่สาวคิดไปเอง ว่าน้องๆ อยากรู้ หว่า)

     

    ทักทายกันก่อน บทนี้เป็นบทที่ 12 แล้ว ซึ่งตามปกติพี่สาวจะเขียนคอมเม้นต์พูดคุยไว้ที่ด้านล่าง แต่สำหรับตอนนี้ขอยกมันขึ้นมาไว้ด้านบนซ้ากกะหน่อย

     

    คิดว่าบทขึ้นนำนี้ พี่สาวบอกเล่าเก้าสิบให้น้องๆ ฟังแล้วกันนะ

     

    เอาล่ะ น้องๆ กำลังคิดว่า จะให้ทำอะไรก็บอกมาเถอะ ไม่ต้องเขียนอะไรให้ งง หนักหนา

     

    งั้นเชิญ [ คลิก!!] ที่นี่เลย ส่วนรายละเอียดให้ไปอ่านเอาข้างในนะเจ้าคะ

     

    เอาละ กลับเข้าเนื้อหากันเลย เฟี้ยว~

     

     

     

     

    เขียนอย่างไรให้ซึ้ง มีมุกตลก และระทึกใจ

     

     

     

    เป็นคำถามที่นักเขียนหลายคนอยากรู้(ที่ไม่อยากรู้ ก็เริ่มอยากรู้) บางคนเขียนนิยายเพื่อสนุก เพื่อเฮฮา เพื่อความชอบส่วนบุคคล

     

    แต่บางคนต้องการเขียนให้เป็นงานประจำ

     

    ดังนั้น กลเม็ดเคล็ดลับที่ได้แนะนำกันไปเป็น 10 กว่าบทแล้ว ก็ทำให้ หลายๆ คนในที่นี้ เริ่มรู้ลึกซึ้งเข้าไปอีกขั้น และตอนนี้ก็จำเป็นต้องรู้เรื่องการสร้างอารมณ์ให้มากขึ้นเป็นอีกเท่าตัว(เอาไว้ใช้งานแบบเรื่อยๆ)

     

    เคยไหมที่ตั้งคำถามในใจแบบนี้?

     

    นิยายบางเรื่องอยากเขียนให้ตลก แต่มุกฝืดเสียจนหาที่จะขำไม่ได้(คนเขียน ขำเองคนเดียว)

     

    บางฉากอยากเรียกน้ำตาคนอ่าน แต่ก็ทำไม่ได้อีกนั่นแหละ เพราะไม่รู้จะกระแทกอารมณ์คนอ่านอย่างไร

     

    และบางที อยากให้คนอ่านหลอน กลัว ระทึก กลับทำได้เพียงกระตุกหนวดแมวเท่านั้น(*กระตุกหนวดแมวหมายถึง แมวต้องดึงหนวดตัวเองมากระตุก ถึงจะตกใจ)

     

    ซึ่งหลายๆ คำถามที่ถามมานั้น ขอตอบเพียงสั้นๆ ว่า ทำได้ง่ายเหมือนกินกล้วย(ไม่ต้องปลอกเลยด้วย)

     

    อยากเขียนงานให้ตลก ก็หาข้อมูลรอบตัวที่ทำให้ตัวเองตลกก่อน ว่าตัวเองขำตอนไหนบ้าง  อมยิ้มที่ไหน แล้วทำไมเราถึงขำ แน่นอนว่า มันต้องมีที่มาที่ไป และจังหวะในตอนที่จะทำให้ขำออก

     

    ซึ่งสิ่งที่จะทำให้คนอ่านตลก ระทึก หรือซึ้งได้มาจากอะไรบ้าง

     

    เอ้า! มาดูกัน

     

    -ตัวละคร

    อุปนิสัยของตัวละคร ส่วนใหญ่ที่พี่สาวเคยได้เขียนบรรยายไปแล้ว(บทไหนจำไม่ได้) ซึ่งส่วนนี้แหละ ที่จะช่วยให้นักเขียนสร้างมุกขึ้นมาได้เรื่อยๆ ถ้ามีการออกแบบตัวละครที่ดี

     

    -บทบรรยาย

    การบรรยายบางช่วงที่นักเขียนใส่อารมณ์เข้าไป เคยได้ยินไหมว่า เวลาเขียนนิยายนั้น หากเรารู้สึกเศร้า หรือตลก จะมีผลกระทบต่อบทบรรยายทั้งนั้น แม้แต่ในเวลาที่ท้อเช่นกัน ซึ่งควรบิ้วอารมณ์นักขียนเองก่อน จะเขียนฉากนั้นๆ ขึ้น เพื่อให้บทบรรยายได้อารมณ์

     

    -สถานที่

    จริงๆ แล้ว ไม่จำเป็นเลย ซึ่งพี่สาวเขียนขึ้นมาเฉยๆ เพราะมันรวมอยู่ในบทบรรยายอยู่แล้ว แต่พอร่างว่าจะเขียนบทความนี้ขึ้นมา(มีเจ้านี่อยู่ด้วย) ก็เลยต้องเลยตามเลย ดังนั้น บอกตรงๆ ว่า อาจจะมีบ้างที่นักเขียนยกเอาสถานที่เพี้ยนบันลือโลกมาบรรยายจนทำให้ฮา แต่ก็น้อยนักที่จะทำให้ฮาในจุดนี้ได้(เรื่อยๆ) เพราะไม่มีบ้านเมืองไหนเพี้ยน หรือแปลกจนทำให้คนอ่านขำได้ตลอด(จะเขียนให้ขำทุกตอน คงต้องใช้เมืองเป็นสิบเมือง) เรียกได้ว่า ถ้าจะพยายามเล่นมุกประเภทนี้บ่อยๆ มันจะฝืด

     

    เช่น

     

    เมืองแห่งนี้มีแต่คนไม่เต็มบาทอาศัยอยู่ โดยทุกๆ เช้าของทุกๆ วัน ทุกๆ คนจะตื่นนอนขึ้นมาแล้วทำท่าทางปิงโกะๆ นั่นหมายถึงการทำท่าทางโบกไม้โบกมือให้ชาวบ้านทั่วไปเป็นเชิงสวัสดี ในขณะที่ตัวเองใส่แต่ชุดนอน พร้อมระดม ตด ออกมาประสานเสียงเป็นเพลงคริสมาสต์เพื่อทักทายเช้าวันใหม่

     

    -บทสนทนา

    เอาเข้าจริงๆ แล้วมันก็ยกไปรวมกับพวกอุปนิสัยของตัวละครแหละ แต่จะมีที่เล่นมุกตลกได้บ้าง ก็ต่อเมื่อเรากำหนดฉาก และสถานให้ตัวละครได้พบเจอแล้ว

     

    เช่น ว่า...(บทสนทนาไม่เกี่ยวกับอุปนิสัยส่วนตัว แต่เป็นเหตุการณ์ที่อีกฝ่ายสงสัยอย่างมากว่า เพื่อนไปทำอะไรมา??)

     

    นาย A : นั่น!! อะไรเหลืองๆ ติดกางเกงนายวะ

    นาย B : สีเหลือง

    นาย A : นายเป็นศิลปินวาดภาพ หรือไง

    นาย B : เปล่า..

    นาย A : นายบังเอิญ ไปนั่งทับสีเหลือง ที่ยังไม่แห้งมาใช่ปะ?

    นาย B : ก็ไม่เชิง

    นาย A : แล้วตกลงมันอะไรล่ะ ไปทำอะไรมา

    นาย B : อย่าสนใจไปเลยน่ะ นั่งทำงานต่อเถอะ

    นาย A : ก็คนมันสงสัยนี่นา (ทำท่าทางคะยั้นคะยอ)

     

    แล้วนาย B ก็หน้าแดง พลันนิ่งไปชั่วอึดใจ(นี่คือการเว้นวรรคอารมณ์ให้คนอ่านได้สงสัย)

     

    นาย B : ตูขี้แตก พอเข้าใจมะ ม่าง~ ถามอยู่ได้?

     

    (เฉลยมุก)

     

    และเราก็ตบมุกต่อเลยทันที ให้คนอ่านขำต่อเนื่อง

     

    นาย A : ถึงว่าล่ะ!!! เหม็นฉิบหาย เพราะเมื่อกี้ ตูสงสัยเลยเอานิ้วไปป้ายขึ้นมาดม(เจ้านี่ควายยิ่งกว่าเพื่อนอีก)

     

    (ตบมุก)

     

    สังเกตได้ว่า การเล่นมุกนั้น เมื่อเริ่มมุกขึ้นมา ก็ต้องมีการตบมุก รับมุก และโยนมุก

     

    มิเช่นนั้น คนอ่านก็อ่านไม่เข้าใจ เพราะคนเขียนจะรู้เรื่องเพียงคนเดียวอีก ถ้าไม่ใช้บทบรรยายคายมุกออกมา

     

    การเริ่มมุก คือการที่นักเขียน ตั้งมุกขึ้นมาให้คนอ่านเตรียมตัวขำ

     

    การโยนมุก คือโยนให้ตัวละครเป็นคนเล่นมุก ให้บังเกิดความขำ

     

    การตบมุก คือการเฉลยมุก รอบสุดท้าย ซึ่งรับ โยน ตบ จำเป็นต้องมีในการเล่นมุก

     

    แต่การไม่รับมุก ก็ทำให้ขำได้เช่นกัน

     

    ตัวอย่าง

     

     

     

    นาย A : B แกขี้แตกเหรอวะ

     

    แต่นาย B กลับนิ่ง แล้วพูดลอยๆ ขึ้นมาว่า

     

    แล้วไง

     

    ซึ่งนาย A ก็ทำสีหน้าตะลึง ประมาณว่า ไอ้หมอนี่ไม่สะทกสะท้านเลย หน้าด้านฉิบหาย~!!! ในขณะที่นาย B ก็ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ปล่อยให้ขี้เปรอะตูดอยู่อย่างนั้น

     

     

    ถ้าน้องๆ เคยดูตลกคาเฟ่มาก่อนจะเข้าใจได้เลยว่า การรับมุก โยนมุก ตั้งมุก ทำยังไง และจะนำมันมาใช้ในนิยายค่อนข้างได้ผลด้วยการเริ่มเขียนแบบไหน(เป็นนักเขียน : ความรู้รอบตัวต้องแน่นนะจ๊ะ) ด้วยการลำดับฉากที่จะปล่อยมุก

     

    และการจะปล่อยมุกทั้งทีต้องดูจังหวะของเรื่องด้วย (ควรไปทบทวน ลมหายใจของเรื่อง ในบทก่อนหน้านี้)

     

    ส่วนการจะเขียนให้ซาบซึ้งตึงทรวงควรองค์ประกอบของมันต้องมากขึ้น และใช้บรรยากาศเข้าช่วยด้วย(นะฮ๊า~) ซึ่งจำเป็นที่ต้องบิ้วอารมณ์คนอ่านมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว แล้วค่อยตบกระบาลคนอ่านเปรี้ยงเดียว ให้นั่งซึมไปเลย (ตัวอย่าง กรุณาคลิกไปอ่าน เพราะจะเขียนซึ้ง องค์ประกอบต้องครบ ทำเล่นๆ มันก็เรียกซึ้งไม่ได้) กรุณาเข้าไปอ่านเพื่อศึกษาจังหวะเอง พี่สาวเขียนไว้เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ ให้แล้ว(น่าจะดูออกล่ะเนอะ)

     

    แน่นอน จังหวะของเรื่องสำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆๆ

     

    ที่ต้องบอกแบบนี้ก็คือน้องๆ ส่วนมากมักมองข้ามเพราะ ถ้าเราทำได้ถูกจังหวะ น้องๆ ก็เรียกได้ทั้งน้ำตา ความฮา ระทึกหรืออื่นๆ ที่น้องๆ อยากให้เป็น เรียกว่าควบคุมอารมณ์นักอ่านได้ชะงัดแล

     

    สุดท้ายนี้ ก็ต้องขอจรลีจากลาบทความแต่เพียงเท่านี้
     


     

    สวัสดีเจ้าค่ะ

     

    (จังหวะจบ แบบห้วนๆ แบบนี้ น้องๆ คงอารมณ์ค้าง ห้าๆ แต่พี่สาวแนะนำว่า หลังจากค้างแล้ว น้องๆ จะได้คิดมากขึ้น เพราะการคิดด้วยตัวเอง จะทำให้น้องๆ นำไปใช้ได้ประโยชน์ดีอย่างที่สุด)


    ส่วนเจ้าระทึก ทำอย่างไร

    ลองดูนี่นะ จะทำให้ดู


    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -

    เว้นบรรทัด ก็ช่วยเพิ่มความอยากรู้ และพออยากรู้ เวลาเฉลย ก็ลุ้นระทึกไปในตัว

    ห้าๆ ง่ายๆ ใช่ไหม เว้นให้ถูกช่วง(ไม่ต้องทำขนาดนี้นะ อันนี้พี่สาวแค่ใช้จิตวิทยาแสดงให้เห็น) และบรรยายดีๆ สักหน่อย ก็โอเคแล้ว

    สู้ๆ เจ้าค่ะ






    จบ




    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×