ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักการเขียนนิยาย(ฉบับปรับปรุง)

    ลำดับตอนที่ #14 : ลำดับความสำคัญ และจุดไคลแมกซ์ของเรื่อง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 4.42K
      45
      5 เม.ย. 56

     



    ลำดับความสำคัญ และจุดไคลแมกซ์ของเรื่อง

     

     

    มันคงจะแย่น่าดู ถ้าคนเขียนยังลำดับเรื่องราวของตัวเองไม่ถูก ไม่ลงตัว ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่คนอ่านเขาจะมึนงงได้เช่นกัน

     

    ความสำคัญของเนื้อเรื่องมันมีจุด Peak เป็นลำดับนะเจ้าคะ หาใช่ว่า นิยายดีๆ หลายๆ เรื่องจะดำเนินเรื่องไปแบบเอ้อระเหยสักกะหน่อย

     

    เพราะถ้าเป็นแบบนั้นจริง นิยายมันจะสนุกได้อย่างไรเจ้าคะ?

     

    LINE PEAK คือเส้นที่จะบ่งบอกว่า นักเขียนกำลังจะกระตุกต่อมคนอ่านแบบไหน และจะเพิ่มความสนุกขึ้นเรื่อยๆ ไปในทิศทางใด

     

    ไม่มีนิยายดีๆ ระดับตำนานเรื่องไหนที่เปิดตัวมาด้วยความตื่นเต้น แต่พอปลายเรื่องกลับมาแผ่วปลายอย่างน่าเบื่อหรอก

     

    ซึ่งทั้งหมดนั้นคือการจัด

    LINE PEAK ให้เป็นลำดับ ก่อนถึงจุดไคลแมกซ์

     

    มันก็เหมือนเราฟังเพลง 1 เพลง

     

    ในเพลงหนึ่งจะมี ท่อนร้องธรรมดา ท่อนก่อนฮุก และท่อนฮุก

     

    ท่อนก่อนฮุก ส่วนมากใน 1 เพลงจะไว้เร่ง หรือคอยเปลี่ยนจังหวะไปเป็นท่อนฮุก

     

    ใน 1 เพลงท่อนฮุกจะมีไว้ PEAK และร้องซ้ำๆ 2-3 รอบ ของเพลงๆ หนึ่ง

     

    ลองนำไปสังเกตดูว่า เป็นจริงอย่างนั้นหรือเปล่า ซึ่ง 100 เปอร์เซ็นต์ของเพลงที่ดี จะต้องมีท่อนฮุกไว้เร้าอารมณ์คนฟัง

     

    แน่นอน นิยายก็เช่นกัน แต่ท่อนฮุกในนิยายไม่นิยมนำมันมาร้องซ้ำก็เท่านั้น

     

    ลองมาจัดลำดับความสำคัญดูนะ

     

    1.เกริ่นเรื่อง มักจะเปิดตัวละครเอก ดำเนินเรื่องเพื่อจะเข้าสู่เรื่อง

    2.วางปมเรื่อง

    3.แก้ไขเรื่อง

    4.เฉลย

    5.จุดจบ

     

    ส่วนมากนิยายก็เป็นแบบนี้ แต่หากเรามีการจัดลำดับความสำคัญเพื่อเร้าอารมณ์คนอ่านให้ติดเก้าอี้ล่ะ

     

    1.เปิดเรื่องมา ปมเรื่อง

    2.เปิดตัว ตัวละคร

    3.แก้ไขปมเรื่อง

    4.เฉลย(หลอก)

    5.แก้ไขปมเรื่องอีกรอบ

    6.เฉลย พร้อมเจอปมเรื่องที่ใหญ่กว่านั้น

    7.จุดจบของเรื่อง

     

    บอกตามตรงว่า หากนักเขียนที่จัดลำดับความสำคัญของเรื่องเป็น ก็สามารถดึงคนอ่านให้วางหนังสือ(อ่านในเว็บ)ไม่ลง

     

    มันเป็นรายละเอียดที่ควรจัดการตั้งแต่ตอนคิดโครงเรื่อง(ซึ่งพี่สาวดันมาเขียนเอาตอนที่บท 14 ห้าๆ)

     

    เพราะการคำนวณในจุดนี้นั้น สำคัญมาก ถ้าพลิกแพลงได้สักหน่อย คนอ่านก็อยากรู้อยากเห็นจนต้องตามอ่านต่อ และนักเขียนหลายคนลืมจุดนี้ไป ทั้งๆ ที่มันสำคัญ

     

    การลำดับเรื่องจนถึงจุดไคลแมกซ์ได้นั้น เราแค่ทำการร่าง และจดบันทึกลงไป ก่อนจะเอาเหตุการณ์ต่างๆ มาสลับที่กันเพื่อดึงคนอ่านให้สนใจ

     

    ตรงไหนควรอยู่ตรงไหน ควรเริ่มตรงไหนก่อนน้องๆ คงจะทราบได้เอง แต่คงไม่มีใครคิดที่จะมานั่งวางแบบเก็บรายละเอียดเท่าไหร่

     

    จริงๆ แล้วถ้ามานั่งดู มานั่งจัดการเกี่ยวกับลำดับของเรื่อง จะทำให้เราทราบว่าตรงไหน จุดไหน ควรแก้ไขอีกด้วย เพื่อความปะติดปะต่อของเรื่อง

     

    และถ้าทำได้ดีสุดๆ เรื่องก็จะสื่ออารมณ์ให้คนอ่านเข้าถึง ทั้งสนุก ทั้งเศร้า ตามที่คนเขียนอยากให้เป็น

     

    สุดท้ายนี้ พี่สาวอยากให้น้องๆ เห็นประโยชน์จากการลำดับเรื่อง ซึ่งเอาตามที่น้องๆ เห็นว่าสนุก อะไรควรอยู่ก่อน อยู่หลังก็พอ เพราะตอนที่น้องๆ เขียนไปจนจะจบเรื่องแล้วนั้น หากให้น้องๆ มานั่งแก้ไขใหม่เนี่ย มันค่อนข้างจะลำบากกว่านะ และการที่วางแผนที่ดี มันทำให้เราไม่ต้องวกกลับเขียนใหม่เลย(ไม่ต้องแก้)

     

    บทความนี้จริงๆ ไม่มีอะไรมาก แค่อยากชี้ให้เห็นความสำคัญของการจัดลำดับเรื่อง

    LINE PEAK และจุดไคลแมกซ์(เฉลยปม)เท่านั้นเอง

     

    และมันจะทำให้น้องๆ เห็นความน่าสนใจของเรื่องตัวเองทั้งหมด ว่ามันดีพอแล้วหรือยัง ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เริ่มเขียน

     

    สวัสดี

     

     

     

    เป็นอีกบทที่ตกหล่นมาแสนไกล จริงๆ มันควรอยู่รวมกับพวกโครงเรื่องด้วยซ้ำ แต่ด้วยว่าพี่สาว(ลืม) จึงทำให้มันต้องมาอยู่บทที่ 14

    แต่สำหรับน้องๆ ที่ใช้เวลาอ่านบทความ หลักการเขียนนิยาย มาตั้งแต่ต้น และยังไม่ได้เริ่มเขียนเรื่องไหนเลย คงจะมีประโยชน์มิใช่น้อย หากน้องๆ อ่านจนมาถึงบทนี้

     

    ต้องขออภัยจริงๆ ^^ อย่าได้โกรธกันนะ แก้ตอนนี้ยังทัน ลองอามันมาตรวจสอบดูอีกครั้งแล้วกัน

    ว่าตรงไหนPeak และ ตรงไหนควรจะอยู่ส่วนไหนของเรื่อง

     

    แล้วเจอกันบทหน้า (วันที่ 8 ดันมีภารกิจสำคัญ เพราะไฟลนก้น ขออภัยที่ไม่ได้อัพเดทตั้งแต่เมื่อวาน)

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×