ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    หลักการเขียนนิยาย(ฉบับปรับปรุง)

    ลำดับตอนที่ #18 : จุดจบของเรื่อง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.08K
      23
      20 มี.ค. 56


    ย้ายบทความในส่วนรูปขำๆ คั่นเวลาไปที่ 9Gag in Dek-D เพื่อความสะดวกในการรับชม และไม่ปะปนกับบทความ หลักการเขียนนิยาย

    ใครอยากคลายเครียดก็ตามไปเสพได้


    สำหรับบทที่ 18 นี้ เชิญอ่านได้ด้านล่าง

    ------------------------------------------------------------------->>>


    จุดจบของเรื่อง

     

     

    หลายๆ คนเขียนนิยายมาตั้งนาน อาจจะเริ่มตั้งแต่ 1 เดือน จนถึง 5 ปี หรือนานกว่านั้น ก็ไม่สามารถเขียนจบได้ เพราะพวกเขาเหล่านั้น ไม่เคยคิดถึงจุดจบของเรื่องเลย

     

    "มันก็ดีนะ ที่ไม่ต้องมีจุดจบ เขียนๆ ไป อยากจบเมื่อไหร่ก็จบ"

     

    แต่ในความเป็นจริงแล้ว จุดจบก็เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เรื่องดำเนินมาได้เรื่อยๆ ถ้านักเขียนได้คิดเผื่อไว้

     

    การมองเห็นจุดจบก่อน ก็ทำให้กรอบที่จะเขียนดำเนินมาจนถึงขีดสิ้นสุด และถ้าหากไม่ได้คิดจุดจบก่อน ความหนักเบาของเนื้อหาในนิยายจะเป็นพวก หลักลอย ขึ้นมาทันที(หลักลอยคือ ไม่รู้ว่าเรื่องดำเนินไปสิ้นสุดตรงไหน เพียงแต่ดำเนินไปเรื่อยๆ และเรื่อยๆ)

     

    หลายๆ ครั้งไม่รู้ว่านักเขียนจะรู้ตัวหรือไม่(สำหรับคนที่ไม่ได้วางจุดจบไว้) ว่าตัวละครของท่านดำเนินเรื่องไปโดยขาดแรงจูงใจ และขาดเป้าหมายในการดำเนินเรื่อง ซึ่งตัวละครเหล่านั้น ได้แต่แก้ปมไปเรื่อยๆ แบบไม่มีที่สุด

     

    เพราะไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดตรงไหน

     

    ดังนั้นวันนี้จะมาแนะนำวิธีกำกับเรื่องให้มีเส้นสิ้นสุด หรือจบเรื่องกัน

     

    1.เวลาคิดโครงเรื่อง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คิดถึงจุดกำเนิดของเรื่อง และจุดจบของเรื่อง

    2.Line Peak ใหญ่ที่สุด คือจุดจบของเรื่อง(บางคนอาจจะวางให้ปมสุดท้าย เบาๆ คลายสมองก็ได้ แล้วแต่คนจะกำหนดปม Line Peak อย่างไร จบแบบหนัก หรือจบแบบเบาๆ ก็ขึ้นอยู่กับผู้เขียนทั้งสิ้น)

    3.มองความพอดีของจุดจบ และ จุด Peak ที่ใหญ่ที่สุดในกลางเรื่อง ที่จะทำให้ตัวละครดำเนินเรื่องไปตามสิ่งที่วางเอาไว้ จนถึงเส้นสิ้นสุดที่กำหนด

     

    แต่พี่อัญก็คิดไว้แล้วว่า อธิบายแบบนี้ น้องๆ หลายคนคง งง เป็นไก่ตาแตก เพราะใช้ศัพท์ Advance เกินไป ดังนั้นจะรวบย่อมาอธิบายเป็นภาษาชาวบ้านแล้วกัน(เปรียบเทียบ)

     

    มันก็เหมือนน้องๆ ฟังเพลง 1 เพลง ซึ่งแต่ละเพลงก็มีหลายท่อน

     

    ท่อน Intro (เปิดตัวเพลงนั้นๆ ด้วยเสียงเครื่องดนตรี)

     

    ท่อน ร้องนำ (ร้องขึ้นต้นธรรมดาๆ ประกอบดนตรี)

     

    ท่อน ก่อนฮุค (ท่อนที่จะส่งดนตรี ปรับเปลี่ยนจังหวะเข้าสู่ท่อนฮุค)

     

    ท่อนฮุค (ท่อนที่นิยมเล่นซ้ำ และมีเนื้อหาหรือคำโดนๆ ช่วงกลางเพลง หรือเรียกว่าท่อน Peak ของเพลง)

     

    ท่อน Solo (ท่อนที่ปล่อยให้ กีต้าร์ หรือเครื่องดนตรีที่มีเสียงนำ โชว์พลังออกตัวโน๊ต แทนเสียง Vocal นักร้องนำ)

     

    ท่อน จบ(ท่อนจบคือการลงจังหวะในการปิดเพลงแต่ละเพลง)

     

     

     

    แต่ก็มีบางวงนะ ที่เอาท่อนฮุคมาร้องขึ้นก่อน

     

    และก็มีบางวงเอาท่อน Solo ขึ้นเลย

     

    หรือบางวง ร้องธรรมดาขึ้นก่อน

     

    ซึ่งทั้งหมดนั้น ไม่ได้ผิดกิจลักษณะในเรื่องของการทำเพลงเลยสักนิด เพราะมันไม่ได้มีกฎตายตัวสักหน่อย ซึ่งจุดจบในเพลงก็เช่นเดียวกัน

     

    เอาล่ะ อธิบายเปรียบเทียบขนาดนี้ ใครยังไม่เข้าใจอีก ยกมือขึ้น

     

    โอ้ว~ เพียบเลย(ช่วงนี้ผีเข้า ถามเอง ตอบเอง ห้าๆ)

     

    พี่สาวกำลังจะสื่อว่า การกำหนดเป้าหมายในเรื่องต่างๆ จะทำให้เรื่องดำเนินไปแบบต่อเนื่อง มากกว่าเรื่องที่ไม่เคยคาดคิดจุดจบให้กับตัวละครเพื่อเป็นโจทย์ในการค้นหาเป้าหมายเลย

     

    แน่นอน! ใครจะเขียนหักมุม นิยายรักซึ้งๆ หรือแฟนตาซีจบสวยๆ

     

    ซึ่งงานพวกนี้ล้วนมีเงื่อนไขในการจบของตัวละครแล้วทั้งนั้น ซึ่งบทสรุปของเรื่องอาจจะคิดได้ในช่วงที่กำลังแต่งจุดเริ่มต้น หรือกำลังเขียนเนื้อหากลางเรื่องอยู่

     

    เอ้า! มาดูวิธีคิดจุดจบกัน

     

    1.ถ้าหากลืมคิดถึงจุดจบของเรื่อง คนเขียนก็ไร้เป้าหมายในการเขียน(เขียนไปน่ะเขียนได้ แต่จะหมดมุก หรือตันในที่สุด เพราะไม่รู้เป้าหมายที่จะดันให้ตัวละครไปถึง)

    2.คิดว่าจะจบเมื่อไหร่ค่อยนึกเอา(คิดแบบนี้นิยายคงยาวเป็นไตรภาคกันเลยทีเดียว)

    3.คิดไว้แล้ว แต่แบบหลวมๆ นะ(ข้อนี้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะเมื่อตัวละครดำเนินเรื่องมาถึงจุดจบ คนเขียนจึงค่อยเลือกจุดจบที่ร่างไว้คร่าวๆ มาเขียนใส่อารมณ์เข้าไป ซึ่งจะพบว่า จบแบบนี้จะได้อารมณ์ตัวละครมากที่สุด)

    4.คิดไว้แล้ว แต่เป๊ะ! มาก (คิดแบบนี้ก็ดี แต่ตัวละครจะโดนบังคับให้ดำเนินตามจุดจบเกินไป ทำให้การแสดงออกแข็งๆ ขัดๆ)

     

    ซึ่งสิ่งที่อยากฝากให้น้องๆ นำไปคิดในบทนี้มากๆ หลังจากที่พบปัญหา มุกตัน กันมา

     

    น้องๆ เคยคิดจุดจบของเรื่องแล้วหรือยัง?

     

    ถ้าไม่คิด โอกาสตันสูงแน่นอน

     

    สวัสดี

     

     

     

    จบไปอีกบท ซึ่งบทนี้ขอบอกว่า เขียนขึ้นมาหลังจากเฝ้าสังเกตน้องๆ หลายคน ที่ชอบมุกตัน

     

    เลยมานั่งวิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุอันใด

     

    และพบว่า สาเหตุหลักๆ คือไม่ได้กำหนดจุดจบไว้เลยแม้แต่เศษเสี้ยวเดียว

     

    เจอคำผิดเมื่อใด โพสบอกได้ทันทีี ข้าพเจ้าจะให้เครดิตในการแก้ไขบทความ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×