apinitta
ดู Blog ทั้งหมด

ความแตกต่างระหว่าง นิยาย กับ นวนิยาย

เขียนโดย apinitta

นวนิยาย

เรื่องสั้น และนวนิยายสมัยใหม่ในประเทศไทยเกิดพร้อมๆ กับการรับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมอื่น ๆ จากชาติตะวันตก ในปี พ.ศ. 2378 คณะมิชชันนารีอเมริกันได้นำเทคนิควิทยาการการพิมพ์เข้ามาในประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยเกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2400 ชื่อ "ราชกิจจานุเบกษา" และทำให้เกิด หนังสือพิมพ์ตามมากอีกหลายฉบับ 

สำหรับการแต่งนวนิยายเป็นเรื่องแรกนั้นผู้รู้หลายท่านมักจะกล่าวว่าเรื่อง "สนุกนิ์นึก"ซึ่งแต่งโดยกรมหลวง    พิชิตปรีกำเนิดของเรื่องสั้น  และนวนิยายสมัยใหม่ในประเทศไทยเกิดพร้อม   ๆ    กับการรับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมอื่น ๆ จากชาติตะวันตก ในปี พ.ศ. 2378  คณะมิชชันนารีอเมริกันได้นำเทคนิควิทยาการการพิมพ์เข้ามาใน ประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยเกิดเมื่อ  ปี พ.ศ. 2400 ชื่อ "ราชกิจจานุเบกษา"  และทำให้เกิด หนังสือพิมพ์ตามมากอีกหลายฉบับ 

สำหรับการแต่งนวนิยายเป็นเรื่องแรกนั้นผู้รู้หลายท่านมักจะกล่าวว่าเรื่อง "สนุกนิ์นึก"ซึ่งแต่งโดยกรมหลวง พิชิตปรีชาการ    ซึ่งตีพิมพ์หนังสือวชิรญาณวิเสศ   (แผ่น 28 วันที่ 6 เดือน 8  ปีจอ  อัฐศก  1248)   เป็นเรื่องแต่ง  ที่มีแนวโน้มจะเป็นนิยายเรื่องแรกของไทยที่แต่งเลียนแบบนวนิยายตะวันตก อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็แต่ง    ได้เพียงตอนเดียวก็ถูกระงับ เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหากระทบกระเทียบต่อศาสนาในสมัยนั้น นวนิยายเต็มเรื่อง   เรื่องแรกของไทยเป็นนิยายแปลเรื่อง "ความพยาบาท" ที่ แม่วัน แปลมาจากหนังสือชื่อ vandetta ของ marie corelli ซึ่งตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือลักวิทยา ในช่วงปี พ.ศ. 2445 และหลังจากนั้น ก็สร้างแรงจูงใจให้ "ครูเหลี่ยม" เขียนนวนิยายไทยที่เป็นเนื่องเรื่องแบบไทยแท้ล้อเลียนเรื่องแปลของแม่วัน โดยใช้ชื่อว่า "ความไม่พยาบาท" ในปี พ.ศ. 2458 

งานเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งช่วง พ.ศ. 2471-2472 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา ที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งของประวัติวรรณคดีไทย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เกิดนักเขียนซึ่งทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ ให้มีการเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายในยุคต่อมา คือ ในปี พ.ศ. 2471 กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพาแต่ง"ลูกผู้ชาย" ซึ่งได้รับความนิยมมาก พ.ศ. 2472 ดอกไม้สด แต่ง "ศตรูของเจ้าหล่อน" และ หม่อมเจ้าอากาศ ดำเกิงรพีพัฒน์ แต่ง "ละครแห่งชีวิต" 

นักเขียนทั้งสามท่านเขียนเรื่องราวออกมาจากโดยใช้พล็อต หรือแนวเรื่องแตกต่างจากนวนิยายต่างประเทศ ในสมัยนั้น ทำให้นักเขียนทั้งสามท่านได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดการเขียนซึ่งวางโครงเรื่องเป็นแบบ ไทย และเป็นต้นแบบการเขียนนวนิยายมาจนถึงปัจจุบัน

ถึงแม้เรื่องสั้น และนวนิยายถูกนับว่าเป็นบันเทิงคดี คือเรื่องที่แต่งขึ้นมาจากจินตนากรของผู้เขียนเป็นส่วนใหญ่ แต่นวนิยายก็มีประโยชน์และมีคุณค่าในตัวของมันเอง เรื่องสั้นและนวนิยายสามารถบอกเรื่องราว และความนึกคิด ของคนในสมัยต่าง ๆ ได้ เช่น เรื่องสี่แผ่นดิน ของ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่สะท้อนเรื่องราวของชีวิตไทยในอดีต เรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่สองใน คู่กรรม เป็นต้น

นวนิยาย” กับคำว่า “นิยาย” แตกต่างกันอย่างไร 

หรืออาจเป็นเพราะต้องการตัดคำให้สั้นขึ้น เพื่อสะดวกในการเรียกอย่างนั้นหรือ…อันที่จริงคำว่า“นวนิยาย”  กับ”นิยาย”นั้น มีความแตกต่างกันในบางรายละเอียด แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์กันอยู่  คำว่า”นวนิยาย”  นั้นจะหมายถึง  เรื่องที่แต่งขึ้นจากความจริงหรือจินตนาการของผู้เขียน โดยมีเนื้อหาและการดำเนินเรื่องที่ซับซ้อน  เข้าถึงตัวละครแต่ละตัวได้อย่างดี  ส่วนคำว่า “ นิยาย” นั้น จะมีเนื้อหาและการดำเนินเรื่องที่ตรงไป ตรงมา  ไม่ซับซ้อนเท่าที่ควร  เน้นการเล่าเรื่องและการสนทนาโต้ตอบเป็นสำคัญ   เนื้อเรื่องจะวนเวียนอยู่กับเรื่องของความรัก  เรื่องผี  หรือบู๊ล้างผลาญ  ส่วนหน้าปกก็มักนิยมนำรูปของดาราวัยรุ่นมาเป็นจุดเรียกร้องความสนใจของผู้ซื้อ

เนื่องจาก”นวนิยาย” กับ”นิยาย”  มีความคล้ายคลึงและเกี่ยวเนื่องกันอยู่  เพราะจุดประสงค์โดยรวมแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายหรือนิยายของนักเขียนทุกคนต่างก็ต้องการที่จะนำเสนอผลงานของตัวเองเพื่อป้อนตลาด  และคำนึงถึงความต้องการของผู้ซื้อ  ดังนั้นเนื้อหาที่ปรากฏในนวนิยาย หรือนิยาย ทั้งจึงหนีไม่พ้นที่จะต้องกล่าวถึง  เรื่องราวความรัก และเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องและ สอดคล้องกับสภาพทางสังคมและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในสังคมที่เป็นอยู่ในแต่ละยุคนั้นๆ   และหากจะพิจารณาในแก่นของเรื่องแล้วก็จะพบเรื่องราวของการต่อสู้ ปนด้วยความรักที่ยังมีการแง่งอน  ทะเลาะกันระหว่างตัวละครเอกในเรื่อง  ซึ่งตรงจุดนี้ทำให้สังเกตได้ว่านวนิยาย  ที่ออกมาในแต่ละยุคสมัยจะมีความซ้ำกัน และวนเวียนไปมา ดังนั้นนวนิยายจึงมีลักษณะที่เหมือนกับ “การพายเรืออยู่ในอ่าง”  ลักษณะเช่นนี้เองที่ทำให้คำว่านวนิยาย  หรือนิยาย น้ำเน่าเกิดขึ้น   ดังเช่นในแนวความคิดของ  ชูศักดิ์   ภัทรกุลวณิชย์  ที่ได้เสนอความคิดเห็นผ่านบทความที่ชื่อ  “ทศวรรษหน้าของนวนิยายไทย” (นิตยสาร “สารคดี” ฉบับที่ 142 ปีที่ 12 เดือนธันวาคม 2539 )

ชูศักดิ์ได้กล่าวไว้ว่า  “การที่กลุ่มนิยาย หรือนิยายในแนวโรมานซ์ได้รับความนิยมก็เนื่องมาจากการที่ผู้อ่านมีความผูกพันกับนักเขียนเป็นรายบุคคล หรือชื่นชอบนวนิยายแนวนั้นเป็นการส่วนตัว  จึงทำให้ผู้เขียนต้องสร้างเอกลักษณ์อย่างชัดเจน จึงทำให้นวนิยายต้องอยู่ในกรอบของตนเอง  ดังนั้นการที่จะเรียกร้องให้นวนิยายยอดนิยมเลิกทำตัวเป็นนวนิยายน้ำเน่า  นั้น นับว่าเป็นการเรียกร้องในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย  เพราะหัวใจของนวนิยายยอดนิยมอยู่ที่ความเป็นน้ำเน่า   ของนวนิยายประเภทนี้  ตรงประเด็นนี้เองที่ผู้เขียนมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกับคำกล่าวของ ชูศักดิ์ในข้างต้น  ดังนี้

  • ประการที่1.   ในปัจจุบันนวนิยายที่แต่งขึ้นนั้นจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตของผู้คนในสังคมดังนั้นนักเขียนจึงได้นำเนื้อหา  เรื่องราวต่างๆจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างมาเป็นองค์ประกอบในงานเขียนของตนเอง แต่เนื้อเรื่องก็ยังหลีกหนีไม่พ้นจากการที่พระเอกรักนางเอกข้างเดียว  หรือเป็นเรื่องที่ความรัก ต้องถูกกีดกัน แต่สุดท้ายก็ลงเอยกันด้วยดี  หรือจะต้องมีการแย่งความรักกันจนเป็นเรื่องชุลมุน  ดังเช่น  นวนิยาย เรื่อง รอยมาร ของพัดชา  หรือปริศนา ของ วณ.ประมวญมารค  เป็นต้น   ดังนั้นนวนิยายในกลุ่มนี้จึงเป็นที่ชื่นชอบ ของกลุ่มผู้อ่านจำนวนมาก  และเมื่อนำมาทำเป็นบทละครทางโทรทัศน์แล้วก็ยิ่งทำให้ผู้อ่านติดตามดูและชื่นชอบนวนิยายเรื่องนั้นเป็นอย่างมาก  จนต้องไปซื้อหานวนิยายเรื่องนั้นมาอ่านกันหลายๆ รอบ
  • ประการที่ 2.   นวนิยายต่างๆ ที่นักเขียนได้นำเสนอออกมาหลายต่อหลายเรื่องนั้น ถึงแม้จะมีการแสวงหาแนวคิด  และกลวิธีในการผูกเรื่องให้มีความให้มีความแตกต่างต่างนวนิยายที่ผ่านมาของตนเอง  หรือของนักเขียนคนอื่นก็ตาม  แต่เรื่องราวก็ยังไม่หลุดพ้นจากเรื่องของความรัก  การต่อสู้  และการแสวงหาสัจธรรมความจริงของชีวิต   ลักษณะเช่นนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไปในสังคม   เป็นความจริงที่เกิดได้ไม่มากก็น้อย   ดังนั้นนักเขียนที่มีแนวความคิดที่จะนำเรื่องทางสังคมมาผสมผสานในงานของตัวเองมากขึ้น  ทำให้นวนิยายมีเนื้อหาและลักษณะของการดำเนินเรื่องที่แปลกใหม่เป็นจำนวนมาก และลักษณะของความแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นมากมายขนาดนี้จึงทำให้เนื้อหาของนวนิยายมีลักษณะวนเวียน  ซ้ำไป ซ้ำมา  เหมือนการพายเรือในอ่าง ซึ่งในลักษณะดังกล่าวทำให้นวนิยายของไทย ไม่มีทางที่จะหลุดพ้นจากความเป็นน้ำเน่าได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทั้งนวนิยายหรือนิยายไทยนั้นยังคงมีกลิ่นไอของความเป็นน้ำเน่าแฝงอยู่ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด  เพราะนักเขียนยังต้องเอาใจกลุ่มผู้อ่านเป็นสำคัญ  เพราะผู้เขียนมีความเข้าใจดีว่าในแต่ละยุคนั้น กลุ่มผู้อ่านมีความสนใจในเรื่องประเภทใด  ผู้เขียนนวนิยายจึงได้สร้างงานเขียนของตัวเองให้ออกมาตรงตามความชอบของผู้อ่าน  เพื่อให้กลุ่มผู้อ่านเกิดการยอมรับ และสนใจที่จะซื้อหาอ่านงานต่างๆ เหล่านั้น  ผลสืบเนื่องที่สำคัญแก่งานเขียนของไทยมากที่สุดอันดับหนึ่ง  จากการที่มีคนไทยไปรับการศึกษาในยุโรปก็คือ การรับเอาวรรณกรรมในรูปแบบที่เรามาเรียกว่า"นวนิยาย"และ"เรื่องสั้น"เข้ามาในประเทศไทย 

นวนิยายคืออะไร     

นวนิยายเป็นรูปแบบวรรณกรรมที่ใหม่สำหรับฝรั่งนั่นเอง จึงมีชื่อเรียกว่า novel แปลว่าของใหม่  เป็นสิ่งสืบเชื้อสายมาจากการเล่านิยาย อันเป็นพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์  แต่นวนิยายมีกลวิธีใหม่ขึ้นจากนิยายซึ่งเล่ากันมาแต่โบราณด้วยประการต่อไปนี้  นิยาย ทั้งของฝรั่งและของตะวันออก มันเป็นเรื่องเล่ายาว อาจเป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้ว ผู้แต่งมักทำประหนึ่งว่าเป็นเรื่องจริงเล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุค มักเป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์  หรือเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์  หรือตำนานทางศาสนา  กลวิธีมีเพียงการบรรยาย  ในการดำเนินเรื่อง  ผู้แต่งหรือผู้เล่าจะลำดับเหตุการณ์ตามปฏิทิน  คือเมื่อกล่าวถึงตัวละคร  ก็จะกล่าวถึงตั้งแต่ยังเป็นเด็ก  แล้วเดินเรื่องไปถึงเป็นหนุ่มเป็นสาว ไปจนถึงวัยชรา  อาจมีกล่าวถึงตัวผู้เล่าในวัยชราเล่าถึงเรื่องตัวเองบ้าง  แต่ก็คงดำเนินเรื่องด้วยวิธีลำดับเหตุการณ์ตามกาละดังกล่าวแล้ว  การสนทนาหรือบทเจรจา  จำใช้วิธีของการบรรยายนั่นเอง  คือผู้แต่งจะเป็นผู้เล่าถึงการสนทนานั้นจะไม่ปล่อยให้ตัวในเรื่องสนทนากันตามสำนวนของตัวในเรื่อง   

ผู้เล่าหรือผู้แต่งจะปรับปรุงให้เป็นสำนวนคล้ายคลึงกันหมดดังที่รู้กันอยู่แล้วในนิยายของไทย เช่นเรื่องสามก๊ก  หรือราชาธิราช  กิริยาอาการของตัวในเรื่อง ผู้เล่าจะไม่พรรณนาละเอียด แล้วทิ้งให้ผู้อ่านวาดภาพเอาเอง  แต่ผู้แต่งจะแปลภาพให้ เช่น  จะกล่าวว่า  ผู้นั้นผู้นี้ก็กล่าวขึ้นด้วยความโกรธว่าดังนั้นดังนี้  ไม่ใช่บอกแต่ คำพูดของตัวในเรื่อง และให้ผู้อ่านสันนิษฐานว่าคำพูดเช่นนั้นเป็นคำพูดที่กล่าวเพราะความโกรธ ดังนี้เป็นตัวอย่าง นวนิยายนั้นเป็นร้อยแก้ว  ผู้แต่ไม่มีทีท่าว่าใคร่จะให้ผู้อ่านเชื่อว่าเป็นเรื่องที่อิงความจริง  เป็นที่เข้าใจว่าเป็นเรื่องแต่ง และการดำเนินเรื่องนั้น จะตั้งตันเมื่อตัวละครอยู่ในวัยเด็ก  แล้วเล่าต่อไปถึงวัยหนุ่มสาวตามกาละเหมือนปฏิทิน  หรือจะตั้งต้นเมื่อหนุ่มสาวย้อนเล่าไปถึงวัยเด็ก  กล่าวล่วงหน้าไปถึงวัยชรา  แล้วย้อนกลับมาวัยไหนอีกก็ได้  และมีวิธีการอีกหลายอย่างซึ่งผู้แต่งใช้ตามความพอใจ และที่ถือกันเป็นข้อกำหนดและยึดกันมาเป็นแบบฉบับในบรรดานักเแต่งนวนิยายในประเทศตะวันตกก็คือ คำพูดของตัวละครในเรื่องต้องเป็นคำพูดที่เหมาะแก่ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาของตัวนั้นๆ และการสนทนาหรือการเจรจาจะเห็นชัดว่าเป็นสำนวนของตัวละคร  อีกทั้งมีการแบ่งแยกกันเด่นชัดระหว่างสำนวนการบรรยายเรื่องหรือพรรณนาเหตุการณ์ต่างๆ ของผู้แต่ง กับสำนวนสนทนาของตัวละคร 

ความแตกต่างระหว่างนวนิยาย กับนิยาย ยังมีที่จะกล่าวได้อีกมาก แต่ในที่นี้กล่าวแต่พอเป็นสังเขป  นวนิยายเกิดเป็นรูปแบบวรรณกรรมเด่นชัดชึ้นในศตวรรษที่ ๑๘ คริสตกาล คือราวรัชการที่ ๓ และแพร่หลายในรัชกาลที่ ๔ ก่อนที่จะมีคนไทยไปศึกษาในยุโรปเป็นจำนวนมาก  ประมาณสามชั่วอายุคน  เมื่อมีคนไทยไปศึกษากันมากในยุโรปนั้น เป็นเวลาตกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ หรือรัชกาลที่ ๕ ในระยะนั้นนวนิยายเป็นที่รับรองกันว่าเป็นวรรณกรรมแบบหนึ่งแล้วในสังคมตะวันตก และมีนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง ได้รับความยกย่องในสังคมของชนชั้นสูงแล้ว อาทิ  ออลิเวอ  โกลด์สมิท (Oliver Goldsmith) และ เจน ออสเตน (Jane Austen) แทคเคอเรย์  ก็เป็นนักประพันธ์ที่ได้รับการยกย่อง  แต่ต้นศตวรรษที่ ๑๙ และในรัชสมัยพระนางเจ้าวิกตอเรีย เซอร์ อาเธอร์ โคแนนดอยล์ และ เซอร์ วอลเตอร์ สก๊อตก็มีชื่อเสียงแล้ว  ส่วนเรื่องสั้น (short story) นั้น ก็คือนวนิยายน้อยๆ นั่นเอง  จนบัดนี้ยังไม่มีกฎเกณฑ์ในประเทศตะวันตกที่แน่นอนว่า เรื่องสั้นแค่ไหนจึงเป็นเรื่องสั้น  และยายแค่ไหนจึงเป็นนวนิยาย  แต่เรื่องสั้นมักจะมีแนวคิดแนวเดียวและนวนิยายมักมีแนวคิดมากกว่าหนึ่งแนว  ซ้อนกันเป็นแนวเอกแนวรอง  คงเป็นเพราะถูกขนาดความยาวของเรื่องบังคับนั่นเอง  ส่วนกลวิธีที่เห็นเด่นว่าเป็นกลวิธี่ของเรื่องสั้นไม่ใช่นวนิยายก็คือ 

การบรรยายถึงพื้นฉาก (scene or setting) ของเรื่อง  จะรีบทำให้เสร็จสิ้นเป็นที่เข้าใจแก่ผู้อ่านโดยเร็ว  ชักช้าไม่ได้  และตัวละครที่สำคัญแก่ท้องเรื่องก็มักจะปล่อยออกมาให้ปรากฏแก่ผู้อ่านในระยะใกล้ๆ กัน ไม่เหมือนนวนิยาย ซึ่งอาจจะค่อยๆ ปล่อยทีละตัวสองตัว  หรือปล่อยออกมาให้ปรากฏเกือบหมดทุกตัว ในตอนต้นเรื่องหรือเก็บตัวสำคัญไว้ปล่อยในตอนท้ายของเรื่องก็ได้ 

นวนิยายและเรื่องสั้นรุ่นแรกของไทย  

               เป็นการยากที่จะระบุให้แน่ชัดว่ากำเนิดขึ้นในไทยเมื่อใด ในรัชสมัยใด ทั้งนี้เพราะการเก็บรักษาหนังสือไทยเรา ไม่ได้กระทำกันอย่างจริงจังและถี่ถ้วน  กิจการบรรณารักษ์เป็นกิจการที่เพิ่งเป็นหลักฐานเมื่อไม่นานมานี้เอง  เมื่อสอบถามผู้ที่มีอายุพาที่จะรำลึกไปถึงปลายรัชกาลที่ ๕ หรือต้นรัชกาลที่ ๖ ได้ ก็มักจำได้แต่นวนิยายที่แปลจากภาษาอังกฤษ ที่จำกันได้มากและนิยมกันว่าเป็นหนังสือแปลดี ก็คือ เรื่อง  "ความพยาบาท" ของแม่วัน เป็นนามปากกาของ พระยาสุรินทราชา(นกยูง วิเศษกุล) ท่านเป็นคนรุ่นเดียวกับ น.ม.ส. (ผู้แต่งนิทานเวตาล) เรื่องที่แปลนี้ เจ้าของเรื่องเดิมเป็นนักประพันธ์สตรีชื่อ มาเรีย  คอเรลลี่ เป็นนักเขียนที่มีชื่อพอใช้ในสมัยที่แปลหนังสือนั้น  และมีผู้แปลหนังสือของนักประพันธ์ผู้นี้เป็นภาษาไทยต่อมาอีกหลายเรื่อง  มีเรื่อง  เตลมา ผู้แปลคือ ม.จ.หญิง  สุขศรีสมร และเรื่อง เถ้าสวาท แม่อนงค์เป็นผู้แปล  เป็นที่น่าเสียดายที่วรรณกรรมที่ได้กลายมาเป็นวรรณคดีของอังกฤษ  ได้รับความสนใจจากนักแปลของไทยน้อยแม้จนกระทั่งทุกวันนี้ ควรเป็นที่สังเกตว่า นักแปลนวนิยายภาษาอังกฤษออกเป็นภาษาไทยสมัยเริ่มแรกนั้น สนใจแปลหนังสือที่ตื่นเต้นผาดโผน  ไม่แปลหนังสือที่มีคุณค่าทางวรรณกรรมที่กลายมาเป็นวรรณคดีของอังกฤษในสมัยนี้  เช่น วอลเตอร์ สก๊อต  ชารลส์ ดิกเคินส์ ยอร์จ เอเลียต แทคเคอเรย์เป็นต้น  ในรัชกาลที่ ๖ ความสนใจของนักแปลก็ยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก นวนิยายอังกฤษที่แปลออกเป็นภาษาไทยมักจะลงในหนังสือรายวันเป็นตอนสั้นๆ และในนิตยสารรายเดือน  รายสัปดาห์ก็มี ทั้งมีตีพิมพ์ออกเล่นเล่มเล็กๆด้วย เรื่องที่รู้จักกันมากก็มีเช่น ของ ไรเดอร์  แฮกการ์ด ได้แก่เรื่อง สาวสองพันปี ขุมทรัพย์พระเจ้า โสโลมอน และหนังสือเกี่ยวกับสืบสาวคดีลึกลับ เช่น ชุดเชอร์ลอกโฮมส์ ของ เซอร์อาเธอร์ โคแนนดอยล์เป็นต้น หนังสือนวนิยาย (fiction) คือ เรื่องราวที่เกิดขึ้นจากจิตนาการของผู้เขียนเพื่อความเพลิดเพลินใจ 

ประเภทของนวนิยาย   

การแบ่งประเภทของนวนิยาย ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ตายตัว ไม่มีทฤษฎีใด ๆ มาบอกว่าใครแบ่งถูกหรือผิด บางคนก็แบ่งได้มากและละเอียดยิบ บางคนก็แบ่งเอาง่าย ๆ คร่าว ๆ ไม่มีไม่มีใครว่ากัน แต่ความสำคัญและจำเป็นของการแบ่งประเภทของนวนิยายเท่าที่เห็นแน่ ๆ ก็คือ มันง่ายต่อการทำตลาด และเหมาะสำหรับนักเขียนใหม่ ที่ควรจะรู้เอาไว้เป็นแนวในการเขียนเท่านั้น แต่ก็อีกแหละ ...เวลานักเขียนเขาเขียนนวนิยายจะไม่มัวมาขีดเส้นแบ่งหรอกว่า กำลังเขียนนวนิยายประเภทไหนอยู่ เพราะมันใช้ร่วมกันได้ ดังนั้นการแบ่งในที่นี้จึงขอแบ่งกว้าง ๆ ดังนี้

  • นวนิยายรัก (Romance fiction) เป็นนวนิยายที่มีเรื่องราวของความรักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นแกนกลางของเรื่อง จะเป็นเรื่องที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเป็นสำคัญ นวนิยายประเภทนี้มีมากที่สุดในตลาดนวนิยาย และพล็อตเกี่ยวกับความรักก็จะสอดแทรกเข้าไปอยู่ในนวนิยายเกือบทุกประเภท
  • นวนิยายลึกลับ (Mystery fiction) จะเน้นไปที่นวนิยายประเภทสืบสวนสอบสวน หรือเป็นนวนิยายนักสืบ
  • นวนิยายสยองขวัญ (Horror fiction) เป็นนวนิยายที่เสนอเรื่องสยองขวัญระทึกขวัญเช่นเรื่องเกี่ยวปีศาจ สัตย์ร้ายมหึมา เรื่องผีดิบดูดเลือด แวมไพร์ หรือเรื่องของหญิงสาวบริสุทธิ์น่าสงสารตกอยู่ในการขู่เข็ญของคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • นวนิยายวิทยาศาสตร์ (Sciences fiction) เป็นนวนิยายที่เอาเรื่องทางวิทยาศาสตร์มาเป็นแกนสำคัญในการสร้างเรื่อง
  • นวนิยายมหัศจรรย์ (Fantasy fiction) นวนิยายที่เน้นในเรื่องเวทมนตร์ ความเชื่อและศรัทธาอันก่อให้เกิดอภินิหาร เรื่องราวเหนือธรรมชาติ แต่หลัง ๆ มานี่มักจะมีการรวมกันเอาทั้งวิทยาศาสตร์และเวทมนตร์เข้าด้วยกัน กลายเป็นประเภท sciences fantasy ขึ้นมา
  • นวนิยายแนวกามารมณ์ (Erotica fiction) นวนิยายที่เน้นในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก และเขียนถึงฉากกามารมณ์มากเป็นพิเศษในเรื่อง
  • นวนิยายที่สะท้อนปัญหาสังคม เป็นนวนิยายที่คนแต่งมุ่งแสดงหรือเปิดเผยให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองลงในเรื่อง โดยผ่านตัวละคร ส่วนทางแก้นั้นก็แล้วแต่ผู้เขียนเหมือนกันว่าจะเสนอเอาไว้ไหม หรือเพียงแต่บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นเท่านั้น ที่เหลือ ให้คนอ่านคิดเอาเอง 
ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library/novel/
 

ความคิดเห็น

ยังไม่มีความคิดเห็น