Tamonwan
ดู Blog ทั้งหมด

เธอกำลังเข้าใจและใช้ Mind Map กันแบบผิดๆรึปล่าว

เขียนโดย Tamonwan

เราเข้าใจผิดมาตลอด ว่าเขียนแบบนี้ เค้าเรียกว่า MIND MAP

หากแต่ นี้มันไม่ใช่ MIND MAP แต่เป็น CONCEPT MAP
เอาล่ะสิ ที่อ.สั่งให้ทำ Mind map มาตลอด เราทำอะไรลงไป

ตอน แรก เราเคยนึกเอะใจ ตั้งแต่อ่านหนังสือพี่หนูดี(น่าจะประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว TT) เล่ม อัจฉริยะเรียนสนุก พี่เค้าใช้ Mind Map จด lecture ทั้งยังบอกถึงคุณสมบัติของ Mind Map ไว้ว่า สามารถเติมข้อมูลได้เรื่อยๆ

ตั้งแต่นั้นมา เราก็พยายามที่จะทำแบบที่พี่เค้าแนะนำ นั้นคือ การใช้ Mind Map
แต่!!! หารู้ไม่ เราไม่ยอมไปศึกษาจริงๆ ว่า Mind Map ที่พี่เค้ากล่าวถึงนั้น เขียนอย่างไร แล้วเราก็ใช้แบบผิดๆ ไม่ได้ผลตามที่พี่เค้าบอกไว้ ในใจก็คิดว่า

ก็ มันเคยเขียนมาตั้งแต่ประถมแล้วนินา แล้วก็เคยรู้ว่า การเขียนมายด์แมพ เป็นอิสระ ไม่มีผิดถูก มายด์แมพก็แค่ เขียนหัวข้อตรงกลาง วาดก้อนเมฆล้อม ลูกศรชี้ออก ขีดๆเขียนๆ บ้างก็ทำสวยๆแปลกแหวกแนว บ้างรีบๆก็ แค่เขียนหยึกๆหยักมาล้อม

นี่เป็นความคิดที่ทำให้เรารู้สึกเสียใจอย่างมาก ว่าทำไมตอนนั้นเราถึงไม่หาข้อมูลของ Mind Map ให้มากกว่านี้นะ

จน เมื่อหลายวันที่ผ่านมา เรานำหนังสือที่เกี่ยวกับการเรียน ความจำที่เคยซื้อมาอยู่ มาอ่านอีกครั้ง (บางเล่มซื้อมาตั้งนาน ก็ยังไม่มีโอกาสได้อ่าน) แล้วพอวันเสาร์ เราไม่รู้ไปทำอีท่าไหน ถึงได้ไปค้นเจอข้อมูลนี่เข้า
"CONCEPT MAP ไม่ใช่ MIND MAP"
##concept map ตามต้นฉบ้บ น่าจะไม่เขียนหัวข้อตรงกลาง แต่เขียนบนสุด แล้วไล่อ่านจากบนลงล่าง mind map ที่เรารู้จักกันนี้ จึงน่าจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จากการเข้าใจแบบผิดๆ ที่ส่งต่อกันมาเรื่อยๆ ในวงการการศึกษาไทย##
จาก บทความนี้ http://www.oknation.net/blog/hackerlife/2009/11/19/entry-1

นั่น เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราเริ่มศึกษาเกี่ยวกับ Mind Map อย่างจริงจัง  ทั้งประโยชน์ที่แท้จริง รูปแบบการเขียนที่พัฒนาสมอง รวมไปถึง Concept Map และ เครื่องมือ หรือ method ต่างๆที่ช่วยในการศึกษาเล่าเรียน

ปัญหาของการเขียน MIND MAP แบบผิดๆ (เท่าที่เรารู้และเจอมากับตัวเอง)
+เขียนแล้วตัน เติมต่อไม่ได้ โดนปิดล้อม
+ข้อมูลเยอะแล้วดูยาก ยุ่งเหยิงไปหมด ไม่รู้เส้นไหนเป็นเส้นไหน
+ใช้สีเยอะจนมั่ว สมองล่ะงง ><!
+
ใช้เวลาเขียนนานกว่า และทำให้สวยยากกว่า เวลาดูแมปอีกครั้ง ก็ไม่เข้าใจ
+เมื่อดูยากแล้ว จึงทำให้จำยากด้วย
+ข้อมูลไม่ได้เชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ ไม่สนับสนุนการทำงานของสมอง เพราะ กล่อง ก้อนเมฆ รูปทรงพื้นฐาน ปิดข้อความ ทำให้ข้อมูลไม่เชื่อมโยงกัน และ เส้นตรง หรือลูกศรที่ไว้เชื่อม ไม่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์

ตัวอย่าง รูปแบบ MIND MAP ตามต้นฉบับ ref::http://www.tonybuzan.com/gallery/mind-maps/

ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากเราใช้ MIND MAP ตามต้นฉบับ จาก TONY BUZAN
ก่อนอื่นอ้างอิงต้นกำเนิดก่อนว่า คุณปู่ Tony Buzan ตอนเรียนในระดับมัธยมมีผลการเรียนดีมาก แต่เมื่อขึ้นมหาวิทยาลัย การจด lecture แบบเก่า ทำให้เขาได้คะแนนน้อยลง คุณปู่จึงเริ่มศึกษาการจดของคนเก่งๆระดับโลก เช่น ไอน์สไตน์ ฯลฯ คุณปู่สังเกตว่า พวกเขาเหล่านั้น มักใช้สี ใช้ภาพ ใช้เส้น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาสมองซีกขวา**ไปในตัว คุณปู่นำความรู้เหล่านั้น คิดค้น จนได้เป็น MIND MAP ที่สามารถใช้จด lecture ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถพัฒนาสมองทั้งสองซีกได้เป็นอย่างดี

** แก้ไขจาก ซ้ายเป็นขวาค่ะ ::แก้ไข 4/3/57 19:34

+จำง่าย ข้อมูลต่างๆเชื่อมโยงกันอย่างเห็นได้ชัด และแบ่งย่อยตามความคิด
+เขียนเร็ว เวลาเขียนจะเขียนแค่
1 Keyword ต่อ กิ่งเท่านั้น เวลาต่อกิ่ง ก็แค่เขียนเส้นโค้งๆสวยๆขึ้นมาสักเส้น
+ดูง่าย
เส้นทุกเส้นจะเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ มีลักษณะเหมือนกิ่งไม้
+หากฝึกจนชำนาญ จะสามารถนำไปเขียนในขณะเรียนได้เลย เร็วกว่าการจดแบบเดิมแน่ๆ
+เป็นรูปแบบการเขียน ที่เหมาะสมกับสมอง ข้อมูลมีการเชื่อมโยงกันอย่างมีระบบ
+สามารถใช้ได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเรียน อ่าน วางแผน หรือ จดความคิดที่กำลังฟุ้งซ่าน

## ควรที่จะฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะได้รับประสิทธิภาพของ Mind Map สูงสุด ::แก้ไข 4/3/57 19:34

 

จากที่ดูมาคร่าวๆ รูปแบบ ของ concept map กับ mind map มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป concept map จะเหมาะกับการสรุปความรู้ นำไปสอนในห้องเรียน แต่จะไม่เหมาะกับการจำ เพราะค่อนข้างที่จะใช้คำมากกว่า และการเชื่อมโยงเป็นระบบไม่ดีเท่า mind map

ในขณะที่ mind map จะเหมาะกับการจดส่วนบุคคล จำได้ดีกว่า และฝึกพัฒนาสมองทั้งสองซีก
ศึกษาความแตกต่างของเครื่องมือที่ใช้ในการเรียน ไม่ว่าจะเป็น concept map/ mind map และรูปแบบอื่นๆ (ภาษาอังกฤษ) ::: http://liquidbriefing.com/twiki/pub/Dev/RefEppler2006/comparison_between_concept_maps_and_other_visualizations.pdf

ศึกษาข้อมูลการเขียน mind map ตามต้นฉบับที่ถูกต้องได้ตามลิงค์เหล่านี้
by อ.ธัญญา ผลอนันต์
Mind Maps – การเขียนแผนผังความคิด (เป็นคลิปแนะแนวการเรียนอย่างถูกวิธี ที่ได้ผลดี)
:: http://www.youtube.com/watch?v=OS7MErvhBUw

Mind Map by อ.ธัญญา ผลอนันต์ ตอน 1-2.flv(คลิปอบรมครู ตอนที่ 1ให้ใช้ Mind Map ถูกต้อง และนำไปฝึกให้เด็กนร.ได้ลองใช้)
:: http://www.youtube.com/watch?v=jpmKgqdHKB0

 

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราแค่คิดว่า ไม่อยากให้ใครเข้าใจผิดแบบเรา และใช้แบบผิดๆไม่ได้ประโยชน์ของ Mind Map อย่างเต็มที่แบบเราอีก
ส่วนตัวเราคิดว่า ข้อมูลเหล่านี้ ไม่มีการเผยแพร่มากนัก เพราะขนาดตัวเราเอง เป็นคนที่ชอบอ่านจำพวกเทคนิคการเรียนการอ่านเยอะพอสมควร ยิ่งตามเว็บไซต์มีใครแนะนำอะไรมา ใครมีเทคนิคดีๆ กระทู้เทคนิคการเรียน อันไหนที่น่าสนใจ เราก็จะอ่านเก็บไปใช้ แต่ยังไม่เคยเจอว่ามีใคร มากล่าวถึงความเข้าใจผิดนี่อย่างจริงๆจังๆมาก่อน
(ทำให้เราเข้าใจผิดและใช้อย่างผิดๆมานานมาก T^T ) จะกล่าวก็เพียงแค่วิธีการเขียนตามต้นฉบับ หรือกล่าวลอยๆในเทคนิคการเรียนว่าให้ใช้ Mind Map  หรือ บอกกฎมาว่าต้องทำอย่างไร ไม่ค่อยมีเว็บไซต์ไหนที่จะกล่าวลึกถึงรายละเอียดว่าทำไมถึงต้องทำตามกฎที่กล่าวมานี้ แต่ถ้าหากศึกษาตามคลิปของ อ.ธัญญา ที่ให้ไว้ อ.จะกล่าวถึง เหตุและผลอย่างระเอียด เข้าใจได้ไม่ยากเลยว่าทำไมรูปแบบของ Mind Map ถึงต้องเป็นแบบนั้น

มีใครเข้าใจผิดแบบเรา แล้วเพิ่งรู้จากกระทู้เราบ้าง เราอยากรู้ว่า มีจำนวนมากน้อยแค่ไหน คือ เราคิดอยากจะตั้งกลุ่มขึ้นมาอย่างจริงจัง ร่วมกันเผยแพร่วิธีการเขียน Mind Map ที่ถูกต้อง ตามโรงเรียนต่างๆ ทั้งประถมและมัธยม เพราะประโยชน์ของ Mind Map ที่ถูกต้องนี้มีมากเหลือเกิน เราไม่อยากปล่อยให้น้องๆต้องเข้าใจผิดเหมือนกับที่เราเจอ อาจเป็นเพราะเรารู้สึกสงสารตัวเอง ว่าทำไมถึงได้รู้ช้าขนาดนี้ ทั้งๆที่ต้องเขียนมาตั้งแต่ประถม ถ้าจะทำขึ้นจริงๆ ก็ตั้งใจว่า จะหาแนวร่วมที่เห็นความสำคัญจุดนี้ มาร่วมกันวางแผน และทำงานกันในช่วงปิดเทอมใหญ่ ที่นานที่สุดครั้งนี้ แล้วลงพื้นที่เมื่อเปิดเทอม หาผู้นำหลักตามจังหวัด เขต หรืออำเภอต่างๆ มาช่วยกันคิด แก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง และเผยแพร่ให้เด็กทุกคนได้รู้รูปแบบของ Mind Map ที่ถูกต้องเหมือนๆกัน

ถ้ามีใครเห็นด้วยที่จะร่วมกันเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องนี้ให้กับ น้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆ ซึ่งบางคนเค้าอาจไม่ได้มีโอกาสเข้ามานั่งเปิดกระทู้เด็กดีที่เราบอกอยู่นี้ ก็ลงความเห็น หรือส่งข้อความมาทาง ID ของ DEK-D ถ้ายังมีคนจำนวนมากเข้าใจผิดอยู่ เห็นทีว่าต้องทำอย่างจริงจังแล้วล่ะ

ถ้าเราคิดเห็นผิดตรงไหน ทุกคนบอกเราได้ เราอยู่หลังเขาไม่รู้อยู่คนเดียวรึปล่าว หรือเราเข้าใจส่วนไหนผิดไป บอกกันได้เลย ไม่มีโกรธแค้นเคืองแต่อย่างใด ดีซะอีก ถ้าเราเข้าใจผิดอยู่คนเดียว ก็ไม่ต้องมานั่งเหนื่อยแก้ปัญหานี้

ความคิดเห็น

My_Kaze
My_Kaze 4 มี.ค. 57 / 05:47
ขอบคุณค่ะ ^^

เข้าใจผิดมานานมากเลย

แต่อยากใช้สีเยอะๆเหมือนกันนะคะ แล้วเราจะใช้สีอะไรเนี่ย =[]=
Tamonwan
Tamonwan 4 มี.ค. 57 / 07:23
ใช้สีเยอะๆก็ได้นะคะ อาจจจะใช้แต่ละกิ่งใหญ่เป็นโทนสี อย่างกิ่งหนึ่งโทนสีแดง พอแตกย่อยๆ สีก็อ่อนลงไป จนไปเป็นสีชมพู อย่างนั้นก็น่าอ่านไม่น้อยเลยค่ะ
เพียงแต่ที่เราบอกว่าเคยใช้สีเยอะๆ เราใช้แบบมั่วน่ะคะ ตรงนั้นสีนึง ตรงนี้สีนึง สมองมันงงค่ะ ^^
foeii
foeii 4 มี.ค. 57 / 21:05
ขอบคุณมากเลยค่ะ T^T เข้าใจผิดมาตลอดเลย
Seon-mul
Seon-mul 9 มี.ค. 57 / 10:33
เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากเลยค่ะ! > <
ต่อไปจะทำอย่างถูกต้อง และฝึกๆทำให้ดีขึ้นแล้วค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากนะคะ
ดีใจที่ได้มาอ่านบล็อคนี้จริงๆค่ะ
ถ้ามีการทำกลุ่มเมื่อไร บอกกันมั่งนะคะ อยากเข้าร่วมจริงๆ~
hello.p
hello.p 10 มี.ค. 57 / 17:53
อ่านเจอมาจากหนังสือของพี่หนูดีเหมือนกันค่ะ
เรียนมาตั้งแต่ประถม จำมาผิดจริงๆ อ่านแล้วคิดถึงตอนเรียนเลยว่าครูให้ทำไมน์แม็ปนะ ผิดเว้ยนี่มันคอนเซ็ปท์แม็ปต่าหาก โอ้ย 5555555
ขอบคุณมากนะคะ ข้อมูลครบถ้วนมากๆ 
perfume
perfume 12 มี.ค. 57 / 07:16
เห เพิ่งรู้นี่ล่ะค่ะ ขอบคุณนะคะที่แนะนำกันแบบนี้ กระจ่างเลยล่ะค่ะ
พี่นก
พี่นก 10 พ.ค. 57 / 07:15
พี่อยากเข้าร่วมกลุ่มด้วยค่ะ
ธัญญา ผลอนันต์
ขอบคุณครับที่พยายามช่วยกันนำเพื่อนไปสู่องค์ความรู้ที่ถุูกต้อง
Mark Twain เคยปรียบเทียบไว้ว่าความแตกต่างระหว่างความรู้ที่ถูกกับผิดนั้น เปรียบเสือนแสงหิ่งห้อยกับสายฟ้าแลบ

Concept Map, Ishikawa Diagramme, Tree Diagramme และ graphic diagramme อื่นก็สามารถให้แสงสว่างได้ แต่ส่องส่างได้แค่แสงหิ่งห้อย แต่ Mind Map นั้งส่องสว่างดังสายฟ้าแลบ
mai memory
mai memory 1 มิ.ย. 58 / 19:48
เคยเป็นหนึ่งในผู้ที่เข้าใจผิดเรื่อง Mind Map มาตลอด
และก็เคยเกลียด Mind Map เอามากๆ เพราะทำไปก็ไม่เห็นจะช่วยอะไรได้เลย
พอมารู้จักมันจริงๆ กลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง 10ปีแล้วกับ
Miind Map ที่ถูกต้อง ขอบคุณอาจารย์ธัญญาที่พา Mind Mapมาให้คนไทยได้รู้จักค่ะ