ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บิทเติ้ล แต่งเพลง

    ลำดับตอนที่ #30 : มาแต่งเพลงกันเต๊อะ ตอนที่ ๑

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 314
      0
      14 พ.ค. 55


             สวัสดีครับ เห็นมีพี่ๆน้องๆหลายคนถามกันมาเรื่องแต่งเพลง บีทเติ้ล นายแต่งยังไงนิ ผมก็เลย อ้ะ ลองเรียบเรียงมาเล่าให้ฟัง จะเล่าเป็นตอนๆไปนะครับ จากความเข้าใจของตัวเอง อยากจะมาเล่าประสบการณ์ของตัวเอง เผื่อจะมีประโยชน์กับใครที่อยากเขียนเพลง แต่งเพลง เหมือนกันเด้อคับเด้อ

    ก่อนอื่นต้องบอกว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการฝึกเขียนเพลงผมว่าก็เหมือนการฝึกอย่างอื่นๆ นั่นคือความพยายาม อย่างที่เค้าบอกว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเ็ร็จอยู่ที่นั่น อาจไม่ง่ายดายเหมือนปอกกล้วย แต่ไม่เกินความสามารถของเราอย่างแน่นอน เพียงแต่ต้องหมั่นฝึกฝน อย่าละความพยายามไปเสียก่อนนะครับ

                มีคำถามมาว่า เล่นดนตรีไม่เป็นเลยจะแต่งเพลงได้รึเปล่า อันที่จริงควรจะเล่นได้เล็กๆน้อยๆสักชิ้นนึง อย่างผมเล่นกีต้าร์ได้นิดนึง (นิดจริงๆนะ กากมากก) แต่ก็พอที่จะเข้าใจเรื่องจังหวะอะไรบ้าง แต่ละคนคงมีวิธีการไม่เหมือนกัน ที่จะไปถึงเป้าหมายเดียวกัน ส่วนของผมเองเนื่องจากอย่างที่บอกว่าเล่นดนตรีแทบไม่เป็นเลย จึงใช้วิธี
    จับปากกา หรือพรมคีย์บอร์ด เริ่มนึก จินตนาการ ฮัมเพลงออกมา พอฮัมเจอเมโลดี้ถูกใจก็ โอ๊ะ ! แล้วก็หาคำที่เหมาะเจาะลงไปในเมโลดี้นั้น ลำดับมันไปจนจบเพลง วิธีการนี้ ไอ่ทีแรกมันก็ฟังไม่เป็นเพลง ทำนองมั่วซั่ว เพราะเราไม่เป็นดนตรีนินา แต่ผมอาศัยฟังเพลงเยอะๆ พยายามจับเค้าโครงเมโลดี้ และวิธีการเนื้อเพลง ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้น พอหัดแต่งบ่อยเข้า ผมเลยพอจะแต่งเพลงออกมาได้เป็นแบบที่ทุกคนได้ฟังกันอยู่ครับ

               ผลจากการฝึกแต่งเพลงมาแบบนี้ เวลาแต่งเพลงผมจึงแต่งด้วยมือเปล่า แต่งที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องมีเครื่องดนตรีเลย เพราะสำหรับตัวผมเอง การนั่งเล่นกีต้าร์ไปด้วย แต่งเพลงไปด้วย ยากยิ่งกว่าวิธีของผมอีกครับ เพราะเราเล่นไม่คล่องไง

    บางคนบอกว่า เฮ้ยเจ๋งว่ะ ไม่ต้องหัดเล่นดนตรีเลย เอาแบบนี้ๆๆล้ะ แต่จริงๆแล้ว ผมว่าไอ้เจ้าวิธีนี้มันก็มีข้อเสียอยู่นะ มันทำให้เกิดข้อจำกัดหลายประการ เพราะการไม่รู้ทฤษฎีดนตรีเลย ทำให้ไม่มีเครื่องตรวจสอบว่า ไอ้ที่เราแต่งๆไปนั่น มันผิด มันไม่พลาดตรงไหนไปหรือเปล่า เอ้ะ มันเพี้ยนรึเปล่าวะเนี่ย ต้องใช้หูตัวเองฟังเอาล้วนๆ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีข้อเสียข้อใหญ่ๆอีกคือ ผมจะไม่สามารถแต่งเพลงได้ไกลไปกว่าแนวเพลงง่ายๆ ไม่ซับซ้อน หรือไกลไปกว่าแนวเพลงที่ฟังจนคุ้นชินได้เท่าไร เพราะนึกคิด จินตนาการไปไม่ถึง (แต่บางคนอาจทำได้ก็ได้นะ) ในขณะที่นักแต่งเพลงที่รู้ เชี่ยวชาญทฤษฎีดนตรี สามารถจัดวางโน้ตโดยอาศัยทฤษฏี นำไปสู่่เป้าหมายที่เขาวางไว้ ง่ายดายกว่ากันเยอะ
                อีกอย่างนึง
    การเล่นดนตรีไม่เป็นงี้ ทำให้ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นทำดนตรีตลอดเลย เวลาเราแต่งเพลงมาเสร็จปั๊ป อยากให้คนฟัง มันก็ต้องมีดนตรีใช่ไหม เราเล่นไม่เป็น ก็ทำเองไม่ได้ไง เพลงก็จะได้แต่แต่งไว้ ไม่ได้เผยแพร่ออกไปให้ใครฟังสักที ดองเค็ม เปรี้ยวเลย
                 ผมขอเปรียบเปรยวิธีการแต่งเพลง เสมือนการฝึกวิทยายุทธ์ 555 ถ้าใครเคยอ่านนิยายกำลังภายในคงนึกออก วิธีที่ผมฝึกแต่งเพลงเหมือนพวกฝ่ายอธรรม ใช้วิธีฝึกปรือผิดธรรมดา แรกๆก้าวหน้าเร็ว แต่พอถึงจุดหนึ่งจะชะงักงัน ไปไม่เป็น วิิทยายุทธไม่รุดหน้า ส่วนฝ่ายธรรมะ เขาค่อยๆฝึก ตอนแรกจะช้าหน่อย ต้องใช้เวลาปรับพื้นฐาน แต่ด้วยพื้นฐานที่หนักแน่น พอถึงจุดเดียวกันกับไอ้อธรรม เขาก็พุ่งทะยานไปข้างหน้าได้ไม่หยุดยั้ง 555 ลองเลือกเอาดูนะครับว่าฝึกแบบไหนดี แต่ผมก็คงได้แต่เล่าด้วยวิธีจากประสบการณ์ของผมเองนะครับ

             พักเรื่องจากประสบการณ์ของผมเท่านี้ก่อน เดี๋ยวมาเล่าต่อวันหลัง มาแจกแจงหัวองค์ประกอบของเพลงกันดีกว่า เป็นงานเป็นการ

                องค์ประกอบอย่างคร่าวๆของเพลงๆหนึ่งมีอะไรบ้าง

    1. เนื้อร้อง - เนื้อหาของเพลง คือ คำ วลี ประโยค ที่เรียงกัน เพื่อสื่อสารความหมาย ความรู้สึกแก่ผู้ฟัง

    2. ทำนอง - ลำดับเสียงสูงต่ำ สั้นยาว เร็วช้า ที่ร้อยเรียงกัน ให้ความรู้สึก สื่อสารความหมายได้ เช่นเดียวกัน

                ทั้งสองอย่างนี้รวมกันเป็นเพลงหนึ่งเพลง จัดวางลงบนดนตรีที่ได้รับการเรียบเรียงเสียงประสานมา ขับร้องโดยนักร้อง ผ่านกระบวนการขั้นตอนการผลิตเพลงออกมาสู่ผู้ฟัง

                ใครเคยดูหนังเรื่อง Music & Lyrics บ้างครับ? มันคือภาพยนตร์รักโรแมนติก ชื่อไทยว่า สีห้องใจนี้มีแต่เสียงเธอ นำแสดงโดย ฮิวห์ แกรนท์ และ ดรู แบรี่มอร์ กำกับการแสดงโดย มาร์ค ดี. ลอว์เรนซ์ 

     


    อเล็กซ์ เฟลทเชอร์ (ฮิวห์ แกรนท์) ราชาเพลงป็อปตกยุครุ่น 80 ที่ต้องย่ำต๊อกเดินสายตามงานแฟร์และสวนสนุก นักดนตรีเจ้าเสน่ห์และเปี่ยมพรสวรรค์ ได้รับโอกาสหวนคืนสู่วงการอีกครั้ง เมื่อ คอร่า คอร์แมน (เฮลีย์ เบนเน็ทท์) ราชินีเพลงผู้โด่งดัง เชื้อเชิญเขาให้แต่งเพลงและบันทึกเสียงร้องคู่กับเธอ แต่ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ อเล็กซ์ไม่ได้แต่งเพลงอะไรมาหลายปีแล้ว เขาไม่เคยจรดปากกาเขียนเนื้อร้อง แต่เขาจะต้องแต่งเพลงฮิตขึ้นมาให้ได้ภายในไม่กี่วัน...

    และแล้ว โซฟี ฟิชเชอร์ (ดรู แบรี่มอร์) ก็ก้าวเข้ามา เธอเป็นคนดูแลต้นไม้สาวสวยที่มีความแปลกอยู่ในตัว ทว่ามีคำคมที่สามารถเข้ากับเสียงดนตรี ของนักแต่งเพลงผู้กำลังตกที่นั่งลำบาก โซฟีซึ่งเพิ่งฟื้นตัวจากความสัมพันธ์เลวร้ายที่ผ่านมานั้น ไม่อยากทำงานร่วมกับใครทั้งสิ้น โดยเฉพาะกับอเล็กซ์ผู้มุ่งมั่น ในขณะที่สัมพันธภาพของพวกเขาเริ่มจะคุกรุ่น ทั้งบนและใต้เปียโน อเล็กซ์และโซฟีจะต้องเผชิญหน้ากับความกลัวของพวกเขา - และเสียงเพลง - ถ้าพวกเขาอยากตามหารัก และความสำเร็จ ที่ทั้งคู่ควรได้รับให้เจอ...

    จาก : http://www.mono2u.com

    หนังเรื่องนี้ดูสนุก น่ารัก มีฉากเรียกน้ำตาจากความซึ้งของคนดูอยู่หลายฉาก เรื่องราวดำเนินไปโดยที่ตัวละครทั้งสองพยายามจะเขียนเพลงๆนึงขึ้น พร้อมๆกับการเกิดขึ้นของความรักระหว่างทั้งคู่ พวกเขาเรียนรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอีกให้ผ่านพ้นอดีตที่เลวร้าย และมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ฟันฝ่าอุปสรรค จนประสบความสำเร็จในที่สุด เล่ามาตั้งยาว ที่อยากจะยกมาให้ฟังก็คือ คำพูดดีๆจากปากของโซฟีในภาพยนตร์ที่มีแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแต่งเพลง โซฟีให้นิยามการของเพลงๆหนึ่งว่า ท่วงทำนองเปรียบเสมือนบุคลิกลักษณะภายนอกของคนๆหนึ่ง แต่เนื้อร้อง คือตัวตนที่แท้จริงของเขา เวลาฟังเพลงเสียงดนตรี ท่วงทำนองจะดึงดูดความสนใจให้เราอยากฟัง แต่เราจะอยากอยู่กับมันนานๆก็เพราะตัวตน หรือเนื้อแท้ของเขา

               เป็นการนิยาม เนื้อร้อง-ทำนองเพลง ที่น่าสนใจ คุณคิดว่าไง?

               จากคำพูดโซฟี เนื้อร้อง จึงมีความสำคัญในฐานะของตัวตนของเพลงๆหนึ่ง และมากกว่านั้น คือเครื่องสื่อสารก้อนความคิดความรู้สึกจากผู้ประพันธ์ไปยังผู้ฟัง ด้วยกลวิธีเล่าเรื่องในลักษณะต่างๆ เพื่อให้คนฟังเกิดความรู้สึก และความคิดบางอย่างตามจุดประสงค์ของผู้ประพันธ์ ส่วนความสำคัญของท่วงทำนองคือ มีเพื่อใช้เป็นตัวช่วยในการนำเสนอ สร้างความน่าสนใจและนำพาอารมณ์คนฟังไปสู่ความรู้สึกของเพลง ให้คนฟังได้มาซึ่งสาร
    ที่เพลงต้องการจะนำเสนอ ด้วยกลวิธีต่างๆทางดนตรีอีกเช่นกัน

                เอ๋ แต่อาจจะทำตรงข้ามกันก็ได้ เพลงบางเพลงอาจอาศัยท่วงทำนองอย่างเดียวก็สื่อสารความหมาย ความรู้สึกได้เลย ไม่ต้องมีเนื้อร้องก็ได้ อย่างพวก Instrumental Music หรือดนตรีบรรเลงต่างๆ หรออาจมีบางเพลงทีใช้เน้อเพลงเป็นตัวช่วย แต่ส่วนคำพูดที่เพลงจะพูดกับคนฟังจริงๆไปอยู่กับดนตรีแทน ก็เป็นได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับแนวคิดของผู้แต่งเป้นสำคัญ ว่าจะใช้เลืือกนำเสนอความคิด ความรู้สึกของตนเอง ด้วยวิธีการใด

                ขอจบการรายงานแต่เพียงเท่านี้ เดี๋ยววันหลังมาเล่าให้ฟังต่อ ขอบคุณครับ :D



    "A Painter paints picture on convas

    But

    A Musician paints their picture on silence"

    - Leopold Stokowski

     



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×