ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #129 : พระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 361
      0
      16 ธ.ค. 53

     

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย (สมเด็จพระราชาธิบดีฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งฮังการี) พระนามเต็ม: ฟรานซ์ โจเซฟ คาร์ล (Franz Joseph Karl von Habsburg-Lorraine) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย และ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งการี และทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิและพระราชาธิบดีพระองค์แรกในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 พระองค์ทรงเป็นองค์พระประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดเป็นอันดับที่สามในยุโรป รองจากเจ้าชายโจฮันน์ที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้ทรงครองราชย์เป็นเวลา 70 กว่าปีเท่ากัน พระปรมาภิไธยเต็มของพระองค์คือ His Imperial and Royal Apostolic Majesty Franz Joseph I, Emperor of Austria, and the Apostolic King of Hungary

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] พระราชประวัติ

    อาร์คดยุคฟานซ์ โจเซฟและอาร์คดัชเชสโซฟี พระชนนี

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 18 สิงหาคมพ.ศ. 2373พระราชวังเชินบรุนน์กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย ทรงเป็นพระราชโอรสและพระราชบุตรองค์โตในอาร์คดยุคฟรานซ์ คาร์ล (ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) และเจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวาเรีย เมื่อปีพ.ศ. 2378 พระราชปิตุลาของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ ทรงสละราชสมบัติกระทันหัน เนื่องจากเกิดการปฏิวัติในกรุงเวียนนา โดยมีประชามติให้พระองค์สละราชสมบัติ เพราะพระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองไม่ดีพอ อาร์คดยุคฟรานซ์ คาร์ล ซึ่งเป็นพระอนุชาจึงทรงแนะนำให้ผู้เป็นพระเชษฐาสละราชสมบัติให้กับพระโอรสของพระองค์ อาร์คดยุคฟรานซ์ คาร์ล และอาร์คดัชเชสโซฟีจึงมีพระบัญชาให้พระโอรสของพระองค์เตรียมตัวขึ้นเป็นจักรพรรดิ โดยให้ทรงตระหนักถึงภาระหน้าที่ ความหมั่นเพียร อาร์คดยุคฟรานซ์ โจเซฟจึงทรงดีพระทัยที่จะได้เป็นองค์พระจักรพรรดิ ทรงเกิดความเคารพนับถือและเลื่อมใสสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1พระอัยกาของพระองค์ว่าทรงเป็นตัวอย่างที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ ซึ่งทรงเสด็จสวรรคตเมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษาเท่านั้น เมื่อเจริญพระชนมายุ 13 พรรษา พระองค์ทรงเข้าร่วมการฝึกทหารในราชนาวีกองทัพออสเตรีย พระองค์ทรงได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มงวด ชนิดที่ออกนอกกรอบไม่ได้เลยทีเดียว ดังนั้น พระองค์จึงทรงเครื่องแบบทหารราชนาวีตลอดมาจนเมื่อได้ทรงครองราชสมบัติ

    หลังจากที่เจ้าชายคลีเมนส์ เว็นเซิล แห่งเม็ทเตอร์นิช สมุหนายกแห่งออสเตรียได้ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากการปฏิวัติในกรุงเวียนนาเมื่อปีพ.ศ. 2391 อาร์คดยุคฟรานซ์ โจเซฟ ในฐานะที่จะได้สืบราชสมบัติต่อจากพระราชปิตุลา ทรงแต่งตั้งเจ้าชายแห่งเม็ทเตอร์นิชให้เป็นผู้ว่าการรัฐแห่งโบฮีเมีย เมื่อวันที่ 6 เมษายน หลังจากนั้นไม่นาน วันที่ 29 เมษายน พระองค์ทรงเสด็จเยือนประเทศอิตาลี เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทั้ง 2 ประเทศโดยมีจอมพลโจเซฟ โรเด็ทสกี้ วอน ราเด็ทส์ เป็นผู้ติดตาม ในขณะเดียวกัน พระองค์ทรงถูกเรียกกลับประเทศอย่างกระทันหัน พระบิดาและพระมารดาของพระองค์ทรงเรียกให้มาที่เมืองอินส์บรุครัฐทีโรล ซึ่งที่นั่นเองทำให้พระองค์ได้พบกับพะญาติของพระองค์ ดัชเชสเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย ซึ่งเป็นผู้ที่จะเป็นเจ้าสาวของพระองค์ในอนาคต ซึ่งขณะนั้น ดัชเชสเอลิซาเบธมีพระชันษาเพียง 10 ปี

    เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมพ.ศ. 2391 พระราชปิตุลาของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ ทรงสละราชสมบัติกระทันหัน โดยตอนแรก ทรงสละราชสมบัติให้กับอาร์คดยุคฟรานซ์ คาร์ล แต่พระองค์ทรงมอบราชบัลลังก์ให้กับพระโอรสของพระองค์เสียเอง อาร์คดยุคฟรานซ์ โจเซฟ จึงทรงครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย และ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิเพียง 18 พรรษา

    [แก้] การปฏิวัติทางการเมือง (พ.ศ. 2391-2403)

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ

    1 ปีผ่านไป ของการเป็นจักรพรรดิ พระองค์ได้รับคำแนะนำของเจ้าชายเฟลิกซ์แห่งชวาร์เซ็นเบิร์ก นายกรัฐมนตรีของออสเตรีย ซึ่งแนะนำให้พระองค์ทรงระมัดระวัง ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งในเวลาเดียวกันนั้นเอง ทหารได้เข้าจับกุมชาวฮังการีกลุ่มหนึ่งซึ่งก่อการกบฏ โดยมุ่งหมายที่จะล้มล้างและโจมตีราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ทำให้พระองค์ทรงได้เผชิญหน้าทำสงครามกับสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์โล อัลเบอร์โตแห่งซาร์ดิเนีย ซึ่งทรงชวนฮังการีมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิทรงทราบ พระองค์จึงทรงทำสงครามกับซาร์ดิเนียในสมรภูมิคัสโตซ่า เมื่อเดือนมีนาคมพ.ศ. 2392 ผลของสงครามครั้งนี้คือ ฝ่ายออสเตรียเป็นฝ่ายชนะ และสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งซาร์ดิเนียทรงสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิรบด้วย เมื่อเสร็จสิ้นสงครามแล้ว พระองค์ก็ยังทรงต้องสะสางปัญหาทั้งหมดในจักรวรรดิ คือ การปฏิวัติในฮังการีเมื่อปีค.ศ. 1848 ซึ่งชาวแม็กยาร์ (ฮังการี) ได้เรียกร้องเอกราชจากออสเตรีย พระองค์จึงทรงเจรจากับผู้นำปฏิวัติให้มั่นใจในระบอบการปกครองของพระองค์ ซึ่งผลจากการเจรจาก็คือ ฮังการียอมสลายการปฏิวัติและจงรักภักดีต่อพระองค์และพระราชวงศ์อิมพีเรียล แต่ปัญหาใหม่ก็มาคือ ปรัสเซียได้กีดกันออสเตรียไม่ให้ร่วมสมาชิกสหพันธรัฐเยอรมัน (German Ferderation) ซึ่งปรัสเซียเป็นผู้นำ ซึ่งการกีดกันไม่ให้ออสเตรียเป็นสมาชิกนี้ มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรียและประเทศอื่นๆด้วย แต่ออสเตรียก็ยังเป็นสมาชิกสมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation) โดยเมื่อพ.ศ. 2395 เจ้าชายชวาร์เซ็นเบิร์ก นายกรัฐมนตรีออสเตรียถึงแก่อสัญกรรม และไม่มีใครมาดำรงตำแหน่งแทน และไม่สามารถหาคนอื่นมาดำรงตำแหน่งแทนได้ พระองค์จึงทรงเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเสียเอง โดยต่อจากนี้ไปพระองค์จะทรงมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งหมด...

    [แก้] การถูกลอบปลงพระชนม์ พ.ศ. 2396

    ภาพเขียนการลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ

    เมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2396 สมเด็จพระจักรพรรดิทรงรอดชีวิตจากการลอบปลงพระชนม์ของนักชาตินิยมชาวฮังการี แจนอส ลีเบนยี ซึ่งขณะนั้น พระองค์ทรงแปรพระราชอัธยาศัยกับราชเลขาของพระองค์ตามทางเดินริมแม่น้ำ ลีเบนยีก็วิ่งตรงเข้าหาพระองค์ โดยใช้มีดแทงเข้าที่ข้างหลังและพระศอของพระองค์อย่างจัง แต่ด้วยความที่พระองค์ทรงโปรดฉลองพระองค์ของทางราชการตลอด โดยฉลองพระองค์ที่พระองค์ทรงสวมใส่ตอนนั้น มีคอปกเสื้อที่ปิดพระศอโดยทำมาจากวัสดุที่เหนียวและหนา ดังนั้นพระองค์ทรงไม่มีบาดแผลที่พระศอ แต่ทรงมีบาดแผลที่ข้างหลัง ส่วนลีเบนยีผู้ลอบปลงพระชนม์นั้น ถูกจับกุมโดยทหารรักษาพระองค์ และนำส่งตัวไปพิจารณาคดีในชั้นศาล ศาลตัดสินให้ประหารชีวิต หลังจากการลอบปลงพระชนม์ไม่สำเร็จแล้ว พระราชอนุชาของพระองค์ อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ แม็กซีมีเลียน โจเซฟ ภายหลังทรงเถลิงราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซีโก ได้ทรงขอให้พระราชวงศ์ต่างๆในทวีปยุโรปบริจาคเงินสมทบทุนเพื่อสร้างวิหารใหม่ เพื่อเป็นที่หลบภัยของพระเชษฐาและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในยุโรป โดยวิหารนี้ตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยเวียนนา ชื่อว่า โวทิฟเคิร์ช

    [แก้] การอภิเษกสมรส

    เมื่อพระองค์ทรงเถลิงราชสมบัติในตอนแรกนั้น พระมารดาของพระองค์ทรงทูลกับพระองค์ให้ทรงรีบอภิเษกสมรส เพื่อที่จะได้มีองค์รัชทายาท โดยพระมารดาของพระองค์ทรงเลือกเจ้าสาวให้ โดยอาร์คดัชเชสโซฟีทรงเลือกจัดเตรียมไว้ให้แล้ว คือพระนัดดาของพระองค์ ดัชเชสเฮเลนแห่งบาวาเรีย พระธิดาองค์โตในเจ้าหญิงลูโดวิก้า ผู้ทรงเป็นพระขนิษฐาของอาร์คดัชเชสโซฟี โดยดัชเชสเฮเลนนั้นทรงพระชนมายุอ่อนกว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเพียง 4 ปี แต่พระองค์ไม่ทรงโปรดที่จะอภิเษกสมรสกับดัชเชสเฮเลน พระองค์กลับทรงเลือกที่จะอภิเษกสมรสกับพระขนิษฐาของดัชเชสเฮเลนแทนคือ ดัชเชสเอลิซาเบธ หลังจากได้ทรงพบรู้จักและวิสาสะกันเพียงไม่กี่วัน ท่ามกลางการคัดค้านของพระราชวงศ์อิมพีเรียล เพราะทรงเห็นว่าดัชเชสเฮเลนเหมาะสมที่สุดที่จะเป็นองค์พระจักรพรรดินีและพระมเหสีของพระองค์ แต่พระองค์ทรงไม่สนพระทัยต่อคำพ้องของพระราชวงศ์รวมทั้งพระมารดา อย่างไรก็ตามพระราชวงศ์บาวาเรียทรงยอมจัดพระราชพิธีหมั้นให้ เพราะทรงเห็นว่าเป็นพระราชประสงค์ขององค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิออสเตรีย

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟและดัชเชสเอลิซาเบธทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่24 เมษายนพ.ศ. 2397มหาวิหารเซนต์ สตีเฟนกรุงเวียนนา ชีวิตสมรสของทั้งสองพระองค์ไม่ค่อยราบรื่นเท่าไหร่นัก เพราะฝ่ายหญิงถูกกีดกันโดยอาร์คดัชเชสบางพระองค์ รวมทั้งอาร์คดัชเชสโซฟี ผู้เป็นพระสัสสุต่างๆนาๆ เพื่อลดความสำคัญของพระองค์ไป แต่ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นองค์พระจักรพรรดินี พระชายาแห่งองค์ประมุขแห่งจักรวรรดิออสเตรีย พระองค์ทรงได้รับความช่วยเหลือและความมีน้ำพระทัยจากอาร์คดยุคและอาร์คดัชเชสบางพระองค์ รวมทั้งพระสวามีของพระองค์ด้วย

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ และสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธทรงมีพระราชธิดา 3 พระองค์ และพระราชโอรสเพียง 1 พระองค์ รวมพระราชบุตรทั้งหมด 4 พระองค์ ดังนี้

    [แก้] ช่วงเวลาการครองราชย์

    โดยช่วงเวลาที่พระองค์ทรงครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย และสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการีนั้น ได้เกิดเหตุร้ายต่าๆนาๆ โดยเมื่อปีพ.ศ. 2432 อาร์คดยุครูดอล์ฟ มกุฏราชกุมารและพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ทรงตัดสินใจปิดพระชนม์ชีพพระองค์เองด้วยพระแสงปืนที่ คฤหาสน์ล่าสัตว์มาเยอร์ลิ่งรัฐโลเวอร์ ออสเตรียพร้อมด้วยนางสนมของพระองค์ บารอนเนสแมรี่ เว็ทเซร่า ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2441 สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธ ผู้เป็นพระมเหสีอันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ขณะทรงแปรพระราชฐานพักร้อน พระองค์ถูกมีดแทงจนสิ้นพระชนม์โดยนักอธิปไตยนิยมชาวอิตาลี การสูญเสียครั้งนี้สร้างความเสียพระทัยของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสมเด็จพระจักรพรรดิผู้เป็นพระสวามี พระองค์ทรงอยู่ในห้วงระทมทุกข์ตลอดพระชนม์ชีพ โดยเมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1นั้น พระองค์ได้ทรงพาอาร์คดัชเชสซีต้า พระชายาในอาร์คดยุคคาร์ล พระนัดดา (ภายหลังทรงเป็นจักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย) และพระราชบุตรไปหลบภัย ณ พระราชวังเชินบรุนน์ พระองค์ทรงมีพระปฏิสันถารกับสมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าเกี่ยวกับพระมเหสีของพระองค์ว่า You'll never know how important she was for me (เจ้าไม่ทางรู้หรอกว่าพระนางมีความสำคัญกับข้าพเจ้ามากแค่ไหน)

    ในช่วงปีค.ศ. 1850 มีความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาทางการเมืองการปกครอง ซึ่งผลกระทบมาจากสงครามไครเมีย การมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธไมตรีกับรัสเซียสงครามออสเตรีย-ซาร์ดิเนีย และอุปสรรคของการเป็นสมาชิกสหพันธรัฐเยอรมัน จนนำไปสู่สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียเมื่อปีพ.ศ. 2409 ซึ่งเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ โดยยุบจักรวรรดิออสเตรียลง เปลี่ยนมาใช้ระบอบการปกครองแบบองค์พระประมุขควบคู่ (Dual Monarchy) เพื่อรักษาเสถียรภาพและความสมดุลทางการเมือง คือจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเมื่อปีพ.ศ. 2410

    พระศพสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟพร้อมด้วยพระมเหสีและพระราชโอรส

    ต่อมาปีพ.ศ. 2457อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ พระนัดดาของพระองค์ ซึ่งทรงดำลงตำแหน่งเป็นองค์รัชทายาทต่อจากอาร์คดยุครูดอล์ฟซึ่งสิ้นพระชนม์ไป ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยพระแสงปืนพร้อมด้วยพระชายา ณ เมืองซาราเยโวบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งการลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทันที

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟทรงเสด็จสวรรคตอย่างสงบเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนพ.ศ. 2459พระราชวังเชินบรุนน์ ท่ามกลางอาร์คดยุคและอาร์คดัชเชส พระราชนัดดาหลายพระองค์ รวมทั้งอาร์คดัชเชสซีต้าด้วย พระองค์ทรงสวรรคตในระหว่างสงคราม สิริพระชนมพรรษาได้ 86 พรรษา รวมระยะเวลาการครองราชย์ได้ 68 ปี พระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ที่วิหารฮับส์บูร์กกรุงเวียนนา โดยมีพระศพของสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธและอาร์คดยุครูดอล์ฟ มกุฏราชกุมารตั้งอยู่เคียงข้าง

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×