ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #137 : พระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ยายแห่งยุโรป

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 612
      0
      25 มิ.ย. 53

     

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria of the United Kingdom พระนามแบบเต็ม อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย พระราชสมภพ 24 พฤษภาคมพ.ศ. 236222 มกราคมพ.ศ. 2444) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายนพ.ศ. 2380 และสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดียพระองค์แรกตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมพ.ศ. 2419 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 22 มกราคมพ.ศ. 2444 รัชกาลของพระองค์ยาวนานถึง 63 ปี 7 เดือน 2 วัน ซึ่งยาวนานกว่ารัชกาลใดของพระประมุขอังกฤษพระองค์อื่น โดยทั่วไปแล้วยุคสมัยที่เกิดขึ้นในรัชกาลของพระองค์เป็นที่รู้จักว่า "สมัยวิกตอเรีย" (Victorian Era)

    สมัยวิกตอเรียเป็นจุดสูงสุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งความก้าวหน้าครั้งสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของสหราชอาณาจักร รัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียยังเห็นถึงการขยายตัวครั้งใหญ่ของจักรวรรดิอังกฤษครั้งหนึ่ง ซึ่งช่วงนี้จักรวรรดิได้เจริญถึงขีดสุดจนกระทั่งกลายเป็นมหาอำนาจของโลกชั้นแนวหน้าแห่งยุคด้วย

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 และเป็นเชื้อสายพระองค์หนึ่งของราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในยุโรป อีกทั้งยังทรงเป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮาโนเวอร์สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชโอรสทรงอยู่ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

    เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุคแห่งเคนต์และสแตรเธิร์น พระราชโอรสพระองค์ที่สี่ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีชาร์ล็อต ทรงอภิเษกสมรสเมื่อพระชนมายุ 50 พรรษา กับ เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระธิดาเพียงพระองค์เดียวของทั้งสองพระองค์ประสูติเมื่อในวันที่ 24 พฤษภาคมพ.ศ. 2362พระราชวังเคนซิงตันกรุงลอนดอน เมื่อแรกประสูติ พระองค์ทรงอยู่ในอันดับที่ห้าของการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ

    เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเข้ารับศีลจุ่มเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนพ.ศ. 2362 ณ ห้องเพดานโค้ง ในพระราชวังเคนซิงตัน โดยอัครมหาสังฆราชแห่งแคนเทอร์เบอรี่ (ชาร์ลส์ แมนเนอร์-ซัตตัน) [1] แม้ทรงได้รับการขนานพระนามว่า อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย และทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรียแห่งเคนต์ (HRH Princess Victoria of Kent) มาตั้งแต่แรกประสูติ แต่พระองค์ทรงมีพระนามเรียกเล่นๆ ในหมู่พระญาติว่า "ดรินา"[2] พระองค์ทรงได้รับการถวายพระอักษรภาษาเยอรมันภาษาอังกฤษภาษาอิตาลีภาษากรีกภาษาจีน และภาษาฝรั่งเศส วิชาเลขคณิต ดนตรี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาโปรด[3] ผู้ถวายพระอักษรคือ สาธุคุณ จอร์จ เดวี่ส์ และบารอนเนส หลุยส์ เลห์เซิน พระอาจารย์พี่เลี้ยง[4] เมื่อเจ้าหญิงทรงทราบจากบารอนเนสเลห์เซินว่าจะเสวยราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถ พระองค์ตรัสตอบว่า "เราจะเป็นให้ดี" (I will be good) [5]

    พระนามของเจ้าหญิง ซึ่งแม้ว้าลงเอยในตอนท้ายเป็น อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย ได้เป็นที่ถกเถียงกันระหว่างพระชนนีและบรรดาพระปิตุลา สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 เสนอพระนามว่า เอลิซาเบธ ในขณะที่ทรงคัดค้านการขนานพระนามเจ้าหญิงตามพระชนนี โดยตรัสว่า วิกตอเรีย"ไม่เคยเป็นชื่อทางศาสนาคริต์ที่รู้จักมาก่อนในประเทศนี้" แต่ดัชเชสแห่งเคนต์ทรงปฏิเสธ แม้พระนามชาร์ล็อตก็ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติแก่เจ้าหญิงชาร์ล็อต ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติกาลก่อนหน้านี้

    พระชนกของเจ้าหญิงวิกตอเรียสิ้นพระชนม์ด้วยโรคมะเร็ง หลังจากการประสูติได้เพียงแปดเดือน และสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระอัยกาได้เสด็จสวรรคตในอีกหกวันต่อมา เจ้าชายผู้สำเร็จราชการ จึงเสวยราชสมบัติสืบต่อมาเป็นสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แต่พระองค์เสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทเมื่อเจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุ 11 พรรษา ตอนนี้ราชบัลลังก์จึงตกเป็นของดยุคแห่งคลาเรนซ์และเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งเถลิงพระปรมาภิไธยเป็น สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4

    รัชทายาทในราชบัลลังก์

    เจ้าชายแห่งเวลส์ ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงมีพระราชธิดาอยู่เพียงพระองค์เดียวคือ เจ้าหญิงออกัสตา ชาร์ล็อตแห่งเวลส์ เมื่อเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2360 พระโอรสที่ยังไม่ได้ทรงอภิเษกสมรสของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ต่างทรงรีบเร่งที่จะอภิเษกสมรสและมีพระโอรสธิดาเพื่อรักษาลำดับการสืบราชบัลลังก์[6]

    แม้ว่าสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ทรงเป็นพระชนกของพระโอรสธิดานอกกฎหมายจำนวนสิบคนที่เกิดจากโดโรธี จอร์แดน ซึ่งเป็นนางสนม โดยมีอาชีพเป็นนางละคร พระองค์ไม่ทรงมีพระโอรสธิดาที่ถูกต้องตามกฎหมายเลย เจ้าหญิงวิกตอเรียจึงทรงเป็นรัชทายในราชบัลลังก์ที่เปลี่ยนแปลงได้ (heiress presumptive)

    กฎหมายในขณะนั้นไม่ได้ให้สิทธิ์แก่พระมหากษัตริย์เด็ก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการหากเจ้าหญิงวิกตอเรียเสวยราชสมบัติก่อนการมีพระชนมายุครบ 18 พรรษา รัฐสภาจึงผ่านพระราชบัญญัติผู้สำเร็จราชการปี พ.ศ. 2373 (Regency Act 1830) กำนดให้เจ้าหญิงวิกตอเรีย ดัชเชสแห่งเคนต์ พระชนนีทรงปฏิบัติพระราชภารกิจแทนในฐานะผู้สำเร็จราชการขณะที่พระราชินีนาถยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ อีกทั้งรัฐสภายังมิได้แต่งตั้งคณะองคมนตรีเพื่อจำกัดอำนาจของผู้สำเร็จราชการ สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 มิทรงโปรดดัชเชสแห่งเคนต์เลย และครั้งหนึ่งเคยตรัสว่าพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะดำรงพระชนม์ชีพอยู่จนกระทั่งถึงวันประสูติครบรอบ 18 พรรษาของเจ้าหญิงวิกตอเรีย การปกครองโดยผู้สำเร็จราชการจึงไม่จำเป็นต้องไม่มีอีกต่อไป

    เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา

    เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงพบกับเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา พระราชสวามีในอนาคตเมื่อพระชนมายุ 16 พรรษาในปี พ.ศ. 2379[7] แต่เป็นการพบกันครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2382 ที่พระองค์ตรัสถึงเจ้าชายว่า "...อัลเบิร์ตที่รัก...เขาช่างมีเหตุผล เมตตา ใจดี และอัธยาศัยดีมากเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วยังมีลักษณะภายนอกและหน้าตาที่น่าพึงพอใจและน่ายินดีเป็นที่สุดเท่าที่เธอจะเห็นได้เลยล่ะ"[8] เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในเจ้าหญิงวิกตอเรีย โดย เจ้าชายแอร์นส์ที่ 1 ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา พระชนกในเจ้าชายทรงเป็นพระเชษฐาของพระชนนีของเจ้าหญิง ในฐานะพระประมุข พระองค์ต้องทรงขอ เจ้าชายอัลเบิร์ตอภิเษกสมรสด้วย การอภิเษกสมรสของทั้งสองถือว่ามีความสุขอย่างยิ่ง[9]

    ต้นรัชกาล

    พระราชินีวิกตอเรียในวันครองราชสมบัติ

    ในวันที่ 24 พฤษภาคมพ.ศ. 2380 เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงมีพระชนมายุ 18 พรรษา ซึ่งหมายความว่าจะไม่จำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการอีกแล้ว รุ่งเช้าวันหนึ่งในอีกสี่สัปดาห์ต่อมาพระชนนีของเจ้าหญิงได้ทรงปลุกให้ตื่นจากบรรทมเพื่อรับทราบว่าเมื่อตอน 2 นาฬืกา 12 นาทีของวันที่ 20 มิถุนายนพ.ศ. 2380 สมเด็จพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 4 เสด็จสวรรคตด้วยอาการพระหทัยล้มเหลวขณะทรงมีพระชนมพรรษา 71 พรรษา จึงทำให้เจ้าหญิงทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ อย่างไรก็ดี พระองค์ไม่ได้ทรงเสวยราชสมบัติของฮาโนเวอร์ ซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีพระประมุของค์เดียวกันกับประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ พ.ศ. 2257 แล้ว

    รัฐฮาโนเวอร์ได้มีรัฐธรรมนูญของตนในปี พ.ศ. 2376 ซึ่งกล่าวถึงกฎหมายมรดกของตระกูลเวลฟ์ไว้ว่าถ้าไม่มีรัชทายาทในพระมหากษัตริย์ที่เป็นชาย สายเวลฟ์ของนครบรันสวิค-วอลเฟ็นบึตเติลจะได้สืบราชสมบัติอาณาจักรแห่งฮาโนเวอร์ (ซึ่งเป็นราชอาณาจักรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2349) ยกเว้นว่าสายนั้นไม่มีทายาทอีกต่อไป ผู้หญิงจึงสามารถสืบราชบัลลังก์ได้ สมเด็จพระราชาธิบดีโอโพลด์ที่ 1 ในอนาคตทรงเป็นที่ปรึกษาหลักแก่พระราชนัดดาของพระองค์ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระธิดาในเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ พระเชษฐภคินี พระญาติชั้นที่หนึ่งของสมเด็จพระราชินีในสายของกษัตริย์เลโอโพลด์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโพลด์ที่ 2 และ สมเด็จพระจักรพรรดินีคาร์โลตาแห่งเม็กซิโก

    สมเด็จพระราชินีก็ยังทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งฮาโนเวอร์และดัชเชสแห่งบรันสวิคและลืนบูร์กตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ แต่ราชบัลลังก์ของฮาโนเวอร์ได้ตกไปเป็นของดยุคแห่งคัมเบอร์แลนด์และเทวิอ็อตเดล พระปิตุลาซึ่งทรงกลายเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีเออร์เนส ออกัสตัสที่ 1 แห่งฮาโนเวอร์ เนื่องมาจากว่าสมเด็จพระราชินีวัยดรุณียังมิได้ทรงอภิเษกสมรสและยังมิทรงมีพระราชโอรสและธิดา กษัตริย์เออร์เนส ออกัสตัสจึงยังทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์อังกฤษจนกระทั่งพระราชธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีประสูติในปี พ.ศ. 2383

    ในช่วงที่เจ้าหญิงวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ รัฐบาลส่วนมากจะมาพรรควิก ที่อยู่ในอำนาจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2373 ยกเว้นการเว้นช่วงสั้นไปหลายครั้ง ลอร์ดเมลเบิร์น ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีสังกัดพรรควิกครั้งหนึ่งเคยมีอิทธิพลอันแรงกล้าต่อชีวิตอันอ่อนประสบการณ์ทางการเมืองของสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งต้องทรงพึ่งพาคำแนะนำในเรื่องต่างๆ ของเขา (บางคนก็ถึงกับกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็น "นางเมลเบิร์น") คณะรัฐมนตรีของเมลเบิร์นไม่ได้อยู่ในอำนาจเป็นเวลานานนัก เนื่องจากเริ่มไม่เป็นที่ชื่นชอบมากขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นยังต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างมากในการปกครองอาณานิคมต่างๆ ของอังกฤษ ในประเทศแคนาดา อังกฤษต้องเผชิญกับการปฏิวัติ (ดูเรื่อง การจลาจลในปี พ.ศ. 2380 ที่มีการก่อการกบฏหลายครั้งกินเวลาถึงปี พ.ศ. 2382) และในประเทศจาเมกา สภานิติบัญญัติแห่งอาณานิคมได้ต่อต้านนโยบายของอังกฤษโดยการปฏิเสธการผ่านกฎหมายใดๆ ออกมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2382 รัฐบาลของเมลเบิร์นได้ลาออกไปเนื่องจากว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในดินแดนโพ้นทะเลได้

    สมเด็จพระราชินีนาถทรงมอบหมายให้เซอร์ โรเบิร์ต พีล ซึ่งเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคทอรี่ตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมา แต่ว่าต้องเผชิญกับความล้มเหลวซึ่งรู้กันในเรื่องของกรณีห้องพระบรรทม ในเวลานั้นถือเป็นธรรมเนียมสำหรับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักพระราชวังต้องอยู่บนพื้นฐานของระบบอุปถัมภ์ (ซึ่งก็คือ นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งสมาชิกของสำนักพระราชวังบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์ภายในพรรคตนเอง) นางกำนัลประจำห้องพระบรรทมของพระราชินีจำนวนมากเป็นภรรยาของนักการเมืองพรรควิก แต่เซอร์ โรเบิร์ต พีลกลับต้องการให้จะเปลี่ยนเป็นเหล่าภรรยาของนักการเมืองพรรคทอรี่แทน สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงคัดค้านอย่างมากกับการปลดนางกำนัลเหล่านี้ ซึ่งทรงเห็นเป็นเหมือนพระสหายสนิทมากกว่าเป็นเหล่าข้าราชบริพารที่ทำตามระเบียบพิธีการ เซอร์ โรเบิร์ต พีล รู้สึกว่าเขาไม่สามารถจะบริหารงานใต้ข้อจำกัดจากสมเด็จพระราชินีได้ ดังนั้นจึงได้ถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง ทำให้เมลเบิร์นกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง

    อภิเษกสมรส

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอัลเบิร์ต ซึ่งทรงเป็นพระญาติชั้นที่หนึ่งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2383โบสถ์หลวงพระราชวังเซนต์เจมส์ เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในฐานะ เจ้าชายพระราชสวามี (Prince Consort) แม้ว่าจะไม่ได้ทรงรับการสถาปนาเป็นทางการจนกระทั่งปี พ.ศ. 2400 เจ้าชายมิเคยทรงได้รับบรรดาศักดิขุนนางเลย พระองค์มิทรงเป็นเพียงแค่ผู้ดูแลสมเด็จพระราชินีอย่างใกล้ชิด แต่ยังเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเมืองคนสำคัญแทนลอร์ดเมลเบิร์นในฐานะบุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำในชีวิตของพระองค์อีกด้วย

    ในการทรงพระครรภ์แรกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เอ็ดเวิร์ด อ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งมีอายุ 18 ปีได้พยายามลอบปลงพระชนม์พระราชินีขณะทรงประทับรถม้าพระที่นั่งกับเจ้าชายอัลเบิร์ตในกรุงลอนดอน อ็อกซ์ฟอร์ดได้ยิงปืนออกไปสองครั้ง แต่กระสุนพลาดเป้าไปทั้งสองนัด เขาถูกพิจารณาว่าเป็นกบฎต่อชาติ แต่เขาได้รับการตัดสินให้พ้นความผิดเนื่องจากความวิกลจริต คำแก้ต่างของเขาเป็นที่สงสัยต่อหลายคน กล่าวคือ เขาอาจพยายามเรียกร้องความสนใจ แต่มีหลายคนกล่าวว่าการวางแผนประทุษร้ายจากพวกปฏิรูปการเมืองอยู่เบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้ บางกลุ่มให้ข้อมูลว่าเป็นแผนการของกลุ่มสนับสนุนของกษัตริย์ เออร์เนส ออกัสตัสแห่งฮาโนเวอร์ ซึ่งทรงเป็นรัชทายาทอยู่ในขณะนั้น ทฤษฎีในการวางแผนประทุษร้ายเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสความรักชาติและความจงรักภักดีขึ้นภายในประเทศขึ้นมา

    การลอบยิงไม่ได้มีผลกระทบต่อพระพลานามัยของสมเด็จพระราชินีหรือพระครรภ์แม้แต่น้อย พระธิดาพระองค์แรกในเก้าพระองค์ของทั้งสองพระองค์ ซึ่งมีพระนามว่า วิกตอเรีย ประสูติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนพ.ศ. 2380

    เมื่อพรรควิกภายใต้การนำของเมลเบิร์นแพ้การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2381 และพรรคทอรี่ภายใต้การนำของพีลได้เข้ามารับหน้าที่แทน ก็ไม่มีเหตุการณ์กรณีห้องพระบรรทมเกิดขึ้นมาอีกครั้ง สมเด็จพระราชินีนาถยังคงทรงมีพระราชหัตถเลขาโต้ตอบอย่างลับๆ กับลอร์ดเมลเบิร์น ซึ่งอิทธิพลของเขาค่อยๆ จางหายลงไปในขณะที่ของเจ้าชายอัลเบิร์ตเพิ่มมากขึ้น

    ในวันที่ 13 มิถุนายนพ.ศ. 2385 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟเป็นครั้งแรก โดยเสด็จออกจากสถานีรถไฟสโลฟ (ใกล้กับปราสาทวินด์เซอร์) ไปยังสะพานบิช็อป ที่อยู่ใกล้กับแพดดิงตัน (ในกรุงลอนดอน) ด้วยตู้ขบวนพระที่นั่งพิเศษที่จัดถวายโดยบริษัท Great Western Railway ในครั้งนี้มีผู้โดยเสด็จพร้อมกับพระองค์คือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี และ อิซามบาร์ด คิงด็อม บรูเนล วิศวกรของบริษัท

    การลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียสามครั้งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2385 ในวันที่ 29 พฤษภาคม ที่พระราชอุทยานเซนต์เจมส์ จอห์น ฟรานซิส (ซึ่งมีแนวโน้มว่าต้องการเรียกร้องความสนใจมากกว่า) ได้ยิงปืนไปที่พระราชินี (ซึ่งประทับในรถม้าพระที่นั่ง) แต่ถูกรวบตัวได้ทันควันโดยนายตำรวจชั้นสูงคนหนึ่งชื่อ วิลเลี่ยม เทรานซ์ ส่วนฟรานซิสได้ถูกตัดสินมีโทษฐานเป็นกบฏต่อชาติ แต่โทษตายของเขาได้ถูกลดหย่อนเหลือแค่การเนรเทศออกนอกประเทศตลอดชีวิต เจ้าชายอัลเบิร์ตทรงเห็นว่าความพยายามในการลอบปลงพระชนม์ได้รับแรงจูงใจจากการปล่อยตัวอ็อกซ์ฟอร์ดในปี พ.ศ. 2383 ในวันที่ 3 กรกฎาคม เพียงไม่กี่วันหลังจากฟรานซิสได้รับการหย่อนโทษ ก็มีเด็กวัยรุ่นชายอีกคนหนึ่งคือ จอห์น วิลเลียม บีนได้พยายามที่จะยิงสมเด็จพระราชินีนาถ แม้ว่าที่ปืนของเขาจะบรรจุด้วยกระดาษและยาสูบ การก่ออาชญากรรมของเขาก็ทำให้มีโทษถึงแก่ชีวิตได้ เจ้าชายอัลเบิร์ตซึ่งทรงเห็นว่าการลงโทษเช่นนี้ทารุณเกินไป จึงทรงสนับสนุนให้รัฐสภาออกพระราชบัญญัติการทรยศต่อชาติปี พ.ศ. 2385 (Treason Act of 1842) ซึ่งระบุว่าการเล็งปืนพกยังพระราชินี ลอบทำร้ายพระองค์ ขวางปาสิ่งของยังพระองค์ ผลิตปืนพกหรืออาวุธอันตรายใดๆ ต่อการปรากฏพระองค์ด้วยเจตนาให้พระองค์ตกพระทัย สามารถลงโทษได้ด้วยการจำคุกเป็นเวลาเจ็ดปีและการเฆี่ยนตี ดังนั้นบีน จึงได้รับโทษจำคุกเป็นเวลาสิบแปดเดือน อย่างไรก็ดี ทั้งตัวเขาและบุคคลอื่นที่ได้ละเมิดพระราชบัญญัติในอนาคตต่างก็ไม่ได้ถูกเฆี่ยนเลย

    พระราชสกุล

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงอยู่ในราชวงศ์ฮาโนเวอร์ แม้บางคนจะให้ราชสกุล d'Este หรือ Welf กับพระองค์ แต่ก็มิทรงจำเป็นต้องใช้ราชสกุลเหล่านี้ (เชื้อสายพระองค์อื่นในราชวงศ์ฮาโนเวอร์ได้ใช้ราชสกุลฮาโนเวอร์ในประเทศอังกฤษ) ส่วนพระราชสวามีของพระองค์ทรงอยู่ในราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธาและหลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ราชวงศ์นี้ได้ครองราชสมบัติอังกฤษด้วยตัวบุคคลคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชโอรสและรัชทายาทในราชบัลลังก์ ตามธรรมเนียมปฏิบัติของพวกผู้ดีและเชื้อพระวงศ์ ภรรยาจะไม่ได้รับการเป็นสมาชิกในบ้านของสามี แต่ยังคงเป็นของบ้านตนเองอยู่ ดังนั้นสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียจึงมิได้ทรงอยู่ในราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ในฐานะทรงเป็นสตรีสมรสแล้ว นักวงศ์วานวิทยาได้กำหนดราชสกุลของพระองค์เป็น ฟอน เว็ตติน (von Wettin) ซึ่งอิงหลักฐานจากสำนักงานตราประจำราชตระกูลแห่งอังกฤษ (College of Arms) ดังนั้นบางครั้งพระองค์ทรงเป็นรู้จักว่า อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย ฟอน เว็ตติน ราชสกุลเดิม ฮาโนเวอร์

    ขณะที่เจ้าชายทรงอยู่ในราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ราชวงศ์เยอรมันได้สืบเชื้อสายมาจากนสาขาของเจ้าชายเออร์เนสแห่งราชวงศ์เว็ตติน สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงขอให้เจ้าพนักงานกำหนดหาสาขาของเจ้าชายอัลเบิร์ตและราชสกุลในการอภิเษกของพระองค์เองว่าเป็นอันใด หลังจากการตวจสอบบันทึกต่างๆ จากจดหมายเหตุในราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา พวกเขารายงานว่าราชสกุลส่วนพระองค์ของพระราชสวามี ในฐานะที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสมาชิกพระองค์อื่นทั้งในสาขาของเจ้าชายเออร์เนสและเจ้าชายอัลเบิร์ต นั่นคือ เว็ตติน (หรือ ฟอน เว็ตติน) เอกสารต่างๆ ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียยังบันทึกถึงการไม่โปรดชื่อของราชสกุลนี้ไว้อีกด้วย

    สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระราชนัดดาของพระองค์ทรงศึกษาถึงประเด็นดังกล่าวอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งเมื่อทรงเปลี่ยนชื่อราชสกุลและราชวงศ์เป็นวินด์เซอร์ในปี พ.ศ. 2460 สำนักงานตราประจำราชตระกูลได้แจ้งพระองค์ทรงทราบว่าราชสกุลเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงคือ เว็ตติน ในปี พ.ศ. 2501 พระบรมราชโองการตามคำแนะนำของคณะองคมนตรีได้ปรับเปลี่ยนการตัดสินใจในปี พ.ศ. 2460 โดยการให้เชื้อสายในสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 บางพระองค์ใช้ชื่อราชสกุลเป็น เม้านท์แบ็ตเต็น-วินด์เซอร์ การให้ใช้ชื่อราชสกุลนี้ไม่ได้นำมาใช้กับเจ้าชายแห่งเวลส์และพระโอรสทั้งสองพระองค์ แต่แค่ใช้กับเชื้อสายพระองค์อื่นของสมเด็จพระราชินีนาถกับเจ้าชายฟิลิปที่ไม่ได้ขึ้นครองราชสมบัติเพียงเท่านั้น ตามตัวบทกฎหมายแล้ว องค์พระประมุขที่ครองราชย์"ทุกพระองค์"ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นไปทรงมีพระราชสกุล "วินด์เซอร์" แม้ว่าจะเสด็จพระราชสมภพในพระราชวงศ์หรือไม่ก็ตาม

    การเมืองในยุควิกตอเรียตอนต้น

    คณะรัฐมนตรีของพีลต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์อย่างหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับการเลิกล้มกฎหมายข้าวโพด (ภาษีสินค้านำเข้าพวกธัญพืช) พวกพรรคทอรี่หลายๆ คน (ตอนนั้นก็เป็นที่รู้จักว่า พวกอนุรักษ์นิยม) คัดค้านการล้มเลิกกฎหมายดังกล่าว แต่ว่าพวกพรรคทอรี่ (หรือ "พวกพีลไลท์") และพวกพรรดวิกโดยส่วนมากสนับสนุนกฎหมายนี้ พีลได้ลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2389 หลังจากการเลิกล้มกฎหมายได้ผ่านความเห็นชอบไปอย่างหวุดหวิด และลอร์ด จอห์น รัสเซลล์ได้เข้ามาทำหน้าที่แทน ถึงแม้ว่าคณะรัฐมนตรีของรัสเซลล์เป็นพวกวิกแต่ก็ไม่เป็นที่โปรดปรานต่อสมเด็จพระราชินีนาถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ก้าวร้าวต่อพระองค์คือ ลอร์ดพาล์มเมอร์สตันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งทำการใดๆ โดยไม่ปรึกษาคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีและสมเด็จพระราชินีนาถอยู่บ่อยครั้ง

    ในปี พ.ศ. 2392 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงฝากคำติเตียนกับลอร์ดรัสเซลล์ โดยทรงอ้างว่าพาล์มเมอร์สตันได้ส่งแถลงการณ์ทางราชการต่างๆ ไปยังประมุขต่างประเทศโดยที่พระองค์ไม่ทรงรับรู้ด้วย พระองค์ทรงเน้นย้ำถึงการคัดค้านอยู่หลายครั้งในปี พ.ศ. 2393 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 ลอร์ดพาล์มเมอร์สตันได้ถูกปลดออกจากตำแหน่ง โดยในตอนนั้นเขาได้ประกาศความเห็นชอบของรัฐบาลอังกฤษต่อการก่อรัฐประหารของประธานาธิบดี หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ตในประเทศฝรั่งเศสโดยไม่ได้ปรึกษากับนายกรัฐมนตรีมาก่อนล่วงหน้า

    ในช่วงเวลาที่รัสเซลล์เป็นนายกรัฐมนตรียังได้เห็นถึงการทำให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงทุกข์โดยส่วนตัว ในปี พ.ศ. 2392 ก็มีผู้ชายชาวไอริชที่ตกงานและอารมณ์หงุดหงิดที่ชื่อว่า วิลเลี่ยม แฮมิลตัน พยายามทำให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงตกพระทัยโดยการยิงปืนบรรจุดินปืนขณะที่รถม้าพระที่นั่งดำเนินไปตามถนน Constitution Hill ในกรุงลอนดอน แฮมิลตันมีโทษตามพระราชบัญญัติปี พ.ศ. 2385 โดยยอมรับว่าได้กระทำผิดและรับโทษสูงสุดด้วยการถูกเนรเทศออกนอกประเทศเป็นเวลาเจ็ดปี

    ในปี พ.ศ. 2393 สมเด็จพระราชินีทรงได้รับการบาดเจ็บเมื่อพระองค์ทรงถูกจู่โจมจากโรเบิร์ต เพท ที่คาดว่าเป็นอดีตทหารในกองทัพที่วิกลจริต ในขณะที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงประทับมาในรถม้าพระที่นั่ง เขาตีพระองค์ด้วยปืน ทำให้พระมาลาหลุดกระเด็นออกมาและทำให้พระองค์มีอาการฟกช้ำ ต่อมาเพทได้ถูกสอบสวนพิจารณาคดี เขาได้รับการพิสูจน์ว่าไม่มีความวิกลจริตเลยและได้รับโทษเช่นเดียวกับแฮมิลตัน

    ไอร์แลนด์

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในวัยดรุณีทรงตกหลุมรักประเทศไอร์แลนด์ โดยทรงเลือกที่จะเสด็จไปพักผ่อนที่เมืองคิลลาร์เนย์ ในมณฑลเคอร์รี่ ที่อยู่ในระหว่างกระบวนการที่ทำให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นแนวหน้าเมืองหนึ่งของศตวรรษที่ 19 ความรักในเกาะไอร์แลนด์ของพระองค์เข้ากันได้กับควาบอบอุ่นแบบไอริชช่วงแรกต่อสมเด็จพระราชินีนาถในวัยดรุณี เมื่อปี พ.ศ. 2388 ไอร์แลนด์ประสบกับปัญหามันฝรั่งเหี่ยวแห้งที่ทำให้ชาวไอริชเสียชีวิตไปจำนวนหนึ่งล้านคนมากกว่าสี่ปีและอีกล้านคนได้อพยพออกนอกประเทศไป ในการตอบสนองปัญหาที่ต่อมาได้เรียกว่า "ความอดอยากมันฝรั่งในไอร์แลนด์" (Irish Potato Famine) สมเด็จพระราชินีนาถทรงบริจาคเงินส่วนพระองค์ (จำนวน 5000 ปอนด์สเตอริง) ให้กับชาวไอริชที่หิวโหย

    นโยบายต่างๆ ของลอร์ดรัสเซลล์ได้รับการตำหนิอยู่บ่อยครั้งในเรื่องการทำให้ความอดอยากอย่างรุนแรงเลวร้ายมากขึ้นไปอีก ทำให้ชาวไอริชหนึ่งล้านคนต้องเสียชีวิต ซึ่งส่งผลกระทบในด้านลบต่อชื่อเสียงของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศไอร์แลนด์

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นผู้สนับสนุนเข้มแข็งต่อชาวไอริช พระองค์ทรงสนับสนุนความแย้ง Maynooth Grant และได้ทรงทำให้เกิดเรื่องใหญ่ขณะเสด็จเยือนประเทศไอร์แลนด์ด้วยการเสด็จไปเยี่ยมโรงเรียนสอนศาสนา

    การเสด็จเยือนไอร์แลนด์อย่างเป็นทางการครั้งแรกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในปี พ.ศ. 2392 ได้จัดขึ้นอย่างเป็นเฉพาะกิจโดยลอร์ดคลาเร็นดอน ซึ่งเป็นผู้ว่าราชแห่งไอร์แลนด์ หัวหน้ากลุ่มบริหารของอังกฤษที่พยายามจะดึงความสนใจจากเรื่องความอดอยากและทำให้นักการเมืองอังกฤษตื่นตัวกับเรื่องความตึงเครียดของวิกฤติดังกล่าวในไอร์แลนด์โดยผ่านการเสด็จมาของสมเด็จพระราชินีนาถ ถึงแม้จะมีผลกระทบด้านลบในเรื่องความอดอยากต่อชื่อเสียงของสมเด็จพระราชินีนาถ พระองค์ก็ยังทรงเป็นที่นิยมชมชอบอย่างเพียงพอสำหรับพวกชาตินิยมในการจบการประชุมพรรคด้วยการร้องเพลง God Save the Queen

    อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 1870 และ 1880 ความชื่นชอบในระบอบกษัตริย์ได้เสื่อมถอยลงอย่างมาก โดยส่วนหนึ่งมาจากสมเด็จพระราชินีนาถทรงปฏิเสธที่จะเสด็จเยือนไอร์แลนด์เพื่อไปในการคัดค้านการตัดสินใจของเทศบาลเมืองดับลินที่จะไม่ร่วมแสดงความยินดีกับการอภิเษกสมรสของเจ้าชายแห่งเวลส์กับเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก และการประสูติของเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ พระโอรสองค์โตของทั้งสองพระองค์

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงปฏิเสธความกดดันอันซ้ำซากจากนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการไอร์แลนด์และแม้แต่สมาชิกในพระราชวงศ์ต่างๆ มากมายในการสร้างพระราชฐานในประเทศไอร์แลนด์ ลอร์ดมิเดิลตัน อดีตหัวหน้าพรรคสหภาพแรงงานของไอร์แลนด์ ซึ่งเขียนบันทึกความทรงจำในปี พ.ศ. 2473 เรื่อง Ireland: Dupe or Heroine? (ไอร์แลนด์ การหลอกลวงหรือความกล้าหาญ) โดยบรรยายว่าการตัดสินใจดังกล่าวของพระองค์ถึงว่าเป็นหายนะแก่ระบอบกษัตริย์และการปกครองของอังกฤษในประเทศไอร์แลนด์

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จเยือนประเทศไอร์แลนด์เป็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2443 เพื่อทรงขอให้ชายชาวไอริชเข้าร่วมในกองทัพบกอังกฤษและสู้รบในสงครามบัวร์ครั้งที่สอง พวกฝ่ายค้านชาตินิยมต่อการเสด็จมาเยือนไอร์แลนด์ของพระองค์นำโดยอาร์เธอร์ กริฟฟิธ ที่ได้ก่อตั้งองค์กรหนึ่งที่ชื่อว่า Cumann na nGaedheal (ภาษาไอร์แลนด์ สมาคมแห่งชาวเกลส์) เพื่อรวมตัวกันคัดค้าน ในอีกห้าปีต่อมา กริฟฟิธได้ใช้ความคุ้นเคยต่างๆ ที่สร้างในช่วงการรณรงค์ต่อต้านการเสด็จเยือนไอร์แลนด์ของสมเด็จพระราชินีนาถเพื่อสร้างความเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่ที่เรียกว่า Sinn Fein

    การเป็นหม้าย

    เจ้าชายพระราชสวามีสิ้นพระชนม์ด้วยโรคไทฟอยด์[10]อย่างที่สงสัยกันเมื่อวันที่ 14 ธันวาคมพ.ศ. 2404 ได้สร้างความโทมนัสอย่างแสนสาหัสให้กับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียซึ่งได้ทรงตกอยู่ในสภาพการไว้ทุกข์กึ่งถาวรและฉลองพระองค์เป็นสีดำตลอดพระชนม์ชีพที่เหลือ พระองค์ทรงหลีกเลี่ยงการปรากฏองค์ในที่สาธารณะและไม่ค่อยเสด็จเข้ากรุงลอนดอนในอีกหลายปีต่อมา การหลบพระองค์จากสาธารณชนทำให้ทรงมีพระนามเรียกเล่นๆ ว่า "แม่หม้ายแห่งวินด์เซอร์" พระองค์ทรงเห็นเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ที่ทรงใช้ชีวิตวัยเยาว์อย่างไม่รอบคอบและเหลวไหลไร้สาระ เป็นต้นเหตุของการสิ้นพระชนม์ของพระชนก

    สมเด็จพระราชินีนาถทรงพึ่งพามหาดเล็กชาวสก็อตชื่อ จอห์น บราวน์ เพิ่มมากขึ้น ถึงกับได้มีการกล่าวอ้างว่าทรงมีความสัมพันธ์แบบชู้สาวหรือการอภิเษกสมรสแบบเงียบๆ เกิดขึ้น แต่ทั้งสองข้อหาเป็นเพียงแค่การทำให้เสียชื่อเสียง ย่อหน้าหนึ่งในบทความของเปโตรเนลลา ไวแอ็ต ในหนังสือพิมพ์เดลีเมล์ (ฉบับวันที่ 2 พฤศจิกายนพ.ศ. 2549) กล่าวว่า วูดโรว์ ไวแอ็ต ซึ่งเป็นบิดาของเธอได้พบกับเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน พระราชชนนีในสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในทศวรรษที่ 1980 และทรงเสด็จมาที่บ้านเพื่อรับประทานพระกระยาหารกลางวันและค่ำอยู่เป็นประจำ ครั้งหนึ่งของการรับประทานอาหารการสนทนาดำเนินมาถึงเรื่องของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียกับจอห์น บราวน์ พระราชชนนีก็ทรงอ้างว่าพระองค์ทรงพบเอกสารในหอจดหมายเหตุของพระราชวงศ์ที่ปราสาทวินด์เซอร์ ซึ่งในนั้นเขียนไว้ว่าทั้งสองคนได้อภิเษกกัน เมื่อทรงถามพระองค์ว่าทรงทำเช่นไรกับการค้นพบเอกสารฉบับนั้น พระองค์ตรัสตอบว่าพระองค์ได้ทรงเผามันทิ้งไป

    สมุดบันทึกเล่มหนึ่งที่ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้บันทึกคำสารภาพที่คิดเอาเองขณะมีอาการตรีทูตของบาทหลวงประจำพระองค์สมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งเขาได้ยอมรับกับนักการเมืองคนหนึ่งว่าเขาได้เป็นประธานในการอภิเษกสมรสอย่างลับๆ ระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียกับจอห์น บราวน์ นักประวัติศาสตร์แค่เพียงบางคนก็เชื่อความน่าเชื่อถือของสมุดบันทึกเล่มนี้ อย่างไรก็ดี พระศพของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้วางลงอยู่ในพระศพ โดยมีของที่ระลึกสองชุดวางไว้บนพระศพตามความต้องการของพระองค์ ขวามือของพระองค์จะมีเสื้อคลุมของเจ้าชายอัลเบิร์ตตัวหนึ่งวางอยู่ ส่วนทางซ้ายมือจะเป็นเส้นผมของบราวน์วางไว้คู่กับรูปภาพของเขา ข่าวลือเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการอภิเษกสมรสทำให้พระองค์ทรงมีพระนามเรียกเล่นๆ อีกอย่างหนึ่งว่า "นางบราวน์"

    การปลีกพระองค์อยู่โดดเดี่ยวจากสาธารณชนทำให้ความนิยมในระบอบกษัตริย์เสื่อมถอยลงอย่างมาก และแม้กระทั่งผลักดันให้เกิดความเคลื่อนไหวของพวกสนับสนุนการเป็นสาธารณรัฐเพิ่มขึ้นไปด้วย แม้ว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมาย แต่ก็มิได้ทรงมีบทบาทในการปกครองมากเท่าใดนัก ยังคงหลบซ่อนพระองค์อยู่ในพระราชฐานอย่างปราสาทบัลมอรัลในสก็อตแลนด์ หรือ ตำหนักออสบอร์น บนเกาะไวท์ ในขณะนั้นรัฐสภาก็ได้การผ่านกฎหมายฉบับหนึ่งที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 19 คือ พระราชบัญญัติการปฏิรูปปี พ.ศ. 2410 (Reform Act 1867) ออกมา ลอร์ดพาล์มเมอร์สตันค้ดค้านการปฏิรูปการเลือกตั้งอย่างชนิดหัวชนฝา แต่สมัยการเป็นนายกรัฐมนตรีของเขาหมดลงหลังจากถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2408 ซึ่งเอิร์ลรัสเซลล์ (ซึ่งเป็นลอร์ด จอห์น รัสเซลล์ ในอดีต) ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน จากนั้นก็เป็นลอร์ดดาร์บี้ ซึ่งในสมัยการเป็นนายกรัฐมนตีของเขาก็ได้ผ่านพระราชบัญญัติการปฏิรูปออกมาเป็นผลสำเร็จ

    ปลายพระชนม์ชีพ

    ในปี พ.ศ. 2430 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ก็ได้จัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษกในกับสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย พระองค์ทรงครองราชสมบัติครบรอบปีที่ห้าสิบในวันที่ 20 มิถุนายนพ.ศ. 2430 โดยมีการจัดงานเลี้ยงพระกระยาหารซึ่งกษัตริย์และเจ้าชายจากราชวงศ์ในยุโรป 50 พระองค์ทรงได้รับเชิญมา แม้ว่าพระองค์จะมิทรงตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น แต่ก็มีการวางแผนไว้อย่างเปิดเผยโดยพวกต่อสู้เพื่ออิสรภาพชาวไอริชที่จะระเบิดมหาวิหารเวสต์มินส์เตอร์ขณะที่สมเด็จพระราชินีนาถเสด็จไปร่วมในงานขอบคุณพระเจ้า การลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันว่า "The Jubilee Plot" (แผนลอบสังหารในงานกาญจนาภิเษก) วันต่อมาพระองค์ทรงประทับในขบวนเสด็จ ซึ่งมาร์ค ทเวนได้กล่าวไว้ว่า "ทอดยาวไปสุดสายตาตลอดสองข้างฝั่ง" ในช่วงเวลานั้นสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นองค์พระมุขอังกฤษที่เป็นที่นิยมอย่างสูงสุด

    พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในงานพระราชพิธีพัชราภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2440

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียก็ต้องทรงอดทนกับสมัยการเป็นนายกรัฐมนตรีของวิลเลี่ยม เอวาร์ต แกลดสโตนอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2435 หลังจากพระราชบัญญัติปกครองตนเองของไอร์แลนด์ของเขาไม่ได้รับคะแนนเสียง เขาจึงลาออกไปในปี พ.ศ. 2437 แล้วมีผู้มารับหน้าที่แทนคือ ลอร์ดโรสเบอรี่ ซึ่งสังกัดพรรคเสรีนิยมที่สนับสนุนลัทธิจักรวรรดินิยม แล้วมีผู้สืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคือ ลอร์ดซอลส์เบอรี่ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจวบจนกระทั่งสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

    วันที่ 22 กันยายนพ.ศ. 2439 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงแซงหน้าสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในฐานะที่ทรงเป็นองค์พระประมุขที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษสก็อตแลนด์ และสหราชอาณาจักร พระองค์จึงทรงประสงค์ให้เลื่อนการเฉลิมฉลองของประชาชนแบบพิเศษต่างๆ ออกไปถึงปี พ.ศ. 2440 พร้อมพระราชพิธีพัชราภิเษกของพระองค์ นายโจเซฟ แชมเบอร์เลนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาณานิคมได้เสนอว่าพระราชพิธีพัชราภิเษกควรจะจัดให้เป็นการเฉลิมฉลองทั่วจักรวรรดิอังกฤษ

    ดังนั้นนายกรัฐมนตรีของอาณานิคมที่ปกครองตนเองต่างๆ พร้อมกับครอบครัวได้รับเชิญให้มาร่วมในงานฉลอง ในขบวนเสด็จที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงเข้าร่วมประกอบด้วยกองทหารจากอาณานิคมและดินแดนในปกครองอังกฤษแต่ละแห่ง พร้อมกับทารที่ส่งมาจากเจ้าครองรัฐหรือหัวหน้าดินแดนของอินเดีย (ซึ่งขึ้นกับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย จักรพรรดินีแห่งอินเดีย) การเฉลิมฉลองพระราชพิธีพัชราภิเษกก็ได้เป็นโอกาสที่แสดงถึงความรักอันท่วมท้นอย่างมากต่อสมเด็จพระราชินีนาถในวัย 70 พรรษาเศษ ซึ่งในขณะนั้นได้ประทับอยู่บนรถเข็น

    นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงฉลองพระองค์สีขาวในพระราชพิธีพัชราภิเษกเพียงเท่านั้น ถึงแม้จะมิทรงสีดำอย่างที่ทรงฉลองพระองค์มาตลอดเวลาตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของพระราชสวามี

    ช่วงปลายพระชนม์ชีพของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย สหราชอาณาจักรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามบัวร์ครั้งที่สอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นจากพระองค์ ชิวิตส่วนพระองค์ก็ทรงพบกับความโทมนัสอยู่หลายครั้ง รวมถึงการสิ้นพระชนม์ของพระราชโอรสทั้งสองพระองค์คือ เจ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา (ซึ่งก็คือ ดยุคแห่งเอดินเบอระ) และเจ้าชายเลโอโพลด์ ดยุคแห่งออลบานี และพระราชธิดาคือ เจ้าหญิงอลิซ (ต่อมาคือ แกรนด์ดัชเชสพระชายาแห่งเฮสส์) และพระราชนัดดาสามพระองค์คือ เจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ ดยุคแห่งคลาเรนซ์เจ้าชายอัลเฟรดแห่งเอดินเบอระและแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา และเจ้าชายคริสเตียน วิกเตอร์แห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์ การปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านพิธีการต่อประชาชนครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2442 เมื่อเสด็จไปในการวางฐานหินสำหรับอาคารหลังใหม่ของพิพิธภัณฑ์เคนซิงตันใต้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ต

    สวรรคต

    ตามธรรมเนียมที่ได้ทรงปฏิบัติมาตลอดตั้งแต่การเป็นหม้าย สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงใช้เวลาในวันคริสต์มาสที่ตำหนักออสบอร์น (เจ้าชายอัลเบิร์ต ทรงออกแบบไว้) อยู่บนเกาะไวท์ พระองค์เสด็จสวรรคตในที่แห่งนั้นด้วยอาการเส้นพระโลหิตแตกในสมองเมื่อวันที่ 22 มกราคมพ.ศ. 2444 สิริพระชนมพรรษา 81 พรรษา ขณะใกล้สวรรคตได้มีพระราชโอรส ซึ่งจะขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์องค์ต่อไปและสมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี พระราชนัดดาพระองค์ใหญ่เสด็จมาเฝ้า พระราชโอรสของพระองค์ได้ยกพระศพลงในโลง ซึ่งฉลองพระองค์สีขาวและผ้าคลุมหน้าอภิเษกสมรสอย่างที่ทรงมีพระประสงค์เอาไว้ งานพระราชพิธีศพมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และหลังจากตั้งพระศพไว้ให้ประชาชนเคารพเป็นเวลาสองวัน พระศพของพระองค์ถูกฝังลงเคียงข้างเจ้าชายอัลเบิร์ตในสุสานหลวงฟร็อกมอร์ ปราสาทวินด์เซอร์[11] เนื่องจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมิทรงโปรดงานพิธีศพสีดำ กรุงลอนดอนจึงประดับประดาด้วยระย้าที่เป็นสีม่วงและสีขาว ที่จริงแล้วเมื่อพระศพฝังลงในสุสานหลวงฟร็อกมอร์แล้ว หิมะก็เริ่มตกลงมาทำให้พื้นดินกลายเป็นสีขาว ซึ่งทำให้แนวคิดเรื่องงานพิธีศพของพระองค์สมบูรณ์แบบ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงครองสิริราชสมบัติรวมทั้งสิ้นหกสิบสามปี เจ็ดเดือน สองวัน ซึ่งเป็นรัชกาลที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ

    การสืบราชบัลลังก์

    เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงสืบราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 การเสด็จสวรรคตของพระองค์ทำให้การปกครองของราชวงศ์ฮาโนเวอร์สิ้นสุดลงในสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ส่วนสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ทรงอยู่ในราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา ซึ่งสืบทอดมาจากพระชนกคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต

    พระราชอิสริยยศ

    • พ.ศ. 2362 - พ.ศ. 2380: สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรียแห่งเคนต์ (Her Royal Highness Princess Victoria of Kent)
    • พ.ศ. 2380 - พ.ศ. 2444: สมเด็จพระบรมราชินีนาถ (Her Majesty The Queen)

    และในบางโอกาส นอกสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และเกี่ยวกับประเทศอินเดีย

    • พ.ศ. 2419 - พ.ศ. 2444: สมเด็จพระบรมราชินี-จักรพรรดินีนาถ (Her Imperial Majesty The Queen-Empress)

    [แก้] พระราชโอรสและธิดา

    ดูเพิ่มเติมที่ พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย

    [แก้] มรดกตกทอด

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นพระประมุขสมัยใหม่พระองค์แรกของประเทศอังกฤษ พระประมุของค์ก่อนๆ ทรงเป็นผู้เข้าไปมีบทบาทอย่างแท้จริงในกระบวนการปกครองบ้านเมือง ความต่อเนื่องของการปฏิรูปด้านกฎหมายต่างๆ ทำให้เห็นถึงอำนาจของสภาสามัญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อสภาขุนนางและสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะบทบาทขององค์ประมุขกลายเป็นสัญลักษณ์มากขึ้น นับตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นต้นมา องค์พระประมุข "ทรงมีสิทธิจะได้รับคำปรึกษา มีสิทธิจะแนะนำ และมีสิทธิจะตักเตือน" ตามคำกล่าวของวอลเตอร์ เบจฮอต นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ

    ในฐานะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นทางสัญลักษณ์มากกว่าทางการเมือง มันก็แสดงถึงการมุ่งเน้นอย่างแข็งขันถึงคุณค่าของครอบครัวและศีลธรรมจรรยา ตรงข้ามกับเรื่องอื้อฉาวส่วนบุคคล ทางการเงินหรือทางเพศ ซึ่งได้เกี่ยวข้องกับสมาชิกคนก่อนๆ ในราชวงศ์ฮาโนเวอร์และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องมัวหมอง รัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้สร้างแนวความคิดในการเป็น"สถานบันพระมหากษัตริย์แบบครัวเรือน"ให้กับประเทศอังกฤษซึ่งชนชั้นกลางที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วสามารถร่วมอยู่ได้

    ในทางระหว่างประเทศ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นบุคคลที่สำคัญโดดเด่น ไม่ใช่เพียงแค่ภาพพจน์หรืออิทธิพลของอังกฤษอันผ่านทางจักรวรรดิ แต่ยังมาจากความเชื่อมโยงของครอบครัวทั่วทั้งพระราชวงศ์ต่างๆ ในทวีปยุโรป ก็ทำให้ทรงมีพระนามเรียกเล่นแบบรักใคร่ว่า "พระอัยยิกาแห่งยุโรป" ตัวอย่างของสภาวะดังกล่าวสามารถเห็นได้จากความจริงที่ว่าพระประมุขสามพระองค์หลักที่ประเทศของพระองค์ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในสงครามโลกครั้งที่ 1โดยอยู่คนละฝ่ายทรงเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียหรืออภิเษกสมรสกับหนึ่งในพระราชนัดดาของพระองค์ พระราชโอรสและธิดาแปดในเก้าองค์ทรงอภิเษกสมรสกับสมาชิกในพระราชวงศ์ต่างๆ ของยุโรป ส่วนอีกพระองค์ที่เหลือคือ เจ้าหญิงหลุยส์ ทรงอภิเษกสมรสกับข้าหลวงใหญ่แห่งแคนาดาคนแรก

    สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นพาหะของโรคเฮโมฟีเลียที่เป็นที่รู้จักพระองค์แรกในเชื้อสายกษัตริย์ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าพระองค์ทรงเป็นพาหะได้อย่างไร มันอาจจะเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของเชื้ออสุจิ เพราะพระชนกของพระองค์ทรงมีพระชนมายุห้าสิบสองพรรษาเมื่อทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ อีกทั้งยังมีข่าวลือว่าดยุคแห่งเคนต์มิใช่พระชนกที่แท้จริงของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และที่จริงทรงเป็นพระธิดาของเซอร์ จอห์น คอนรอย ซึ่งเป็นราชเลขานุการส่วนพระองค์และชู้รักนามกระฉ่อนชาวไอริชของพระชนนี ขณะมีหลักฐานบางอย่างในการกล่าวอ้างถึงความสัมพันธ์ระหว่างดัชเชสกับคอนรอย (พระองค์ทรงอ้างกับดยุคแห่งเวลลิงตันว่าทรงเห็นเหตุการณ์ระหว่างทั้งสองด้วยพระองค์เอง) แต่ประวัติทางการแพทย์ของคอนรอยก็ไม่แสดงถึงหลักฐานการเป็นโรคเฮโมฟีเลียในครอบครัวของเขา หรือได้รับเชื้อผ่านมาทางสายผู้ชายในครอบครัวเลย

    มันน่าจะเป็นไปได้อย่างมากว่าพระองค์ทรงได้รับโรคเฮโมฟีเลียมาจากพระชนนี แม้ว่าจะไม่พบประวัติการเป็นโรคดังกล่าวในราชวงศ์ของพระชนนี สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมิได้ทรงเป็นโรคเฮโมฟีเลีย แต่ทรงถ่ายทอดไปยังไปยังเจ้าหญิงอลิซและเจ้าหญิงเบียทริซในฐานะพาหะของโรค และเจ้าชายเลโอโพลด์ทรงได้รับผลกระทบจากโรคนี้อย่างเต็มที่ บุคคลซึ่งรับเคราะห์จากโรคเฮโมฟีเลียอันโด่งดังที่สุดในพระราชสันตติวงศ์ของพระองค์เป็นพระราชปนัดดา พระนามว่า แกรนด์ดยุคอเล็กซิส มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย อย่างไรก็ดี เชื้อสายของโรคเฮโมฟีเลียในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียน่าจะสูญสิ้นไปแล้ว ก็ยังอาจจะมีสาขาที่เป็นโรคนี้หลงเหลืออยู่ในราชวงศ์สเปน แต่ในปี พ.ศ. 2550 โรคเฮโมฟีเลียยังมิได้เกิดขึ้นมาให้เห็นเลย

    ในปี พ.ศ. 2550 องค์พระประมุของค์ปัจจุบันและอดีตพระประมุขในราชวงศ์ต่างๆ ของทวีปยุโรปที่ทรงสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียคือ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร (พระราชสวามี) สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสวีเดนสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์กสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปนสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งกรีซ (ถูกปลดออกจากราชบัลลังก์) และสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งโรมาเนีย (ถูกปลดออกจากราชบัลลังก์) แล้วยังมีผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์แห่งเซอร์เบียรัสเซียปรัสเซียและเยอรมนีแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธาฮาโนเวอร์เฮสส์ และบาเดินที่ล้วนเป็นพระราชสันตติวงศ์ของพระองค์ด้วยเช่นกัน

    [แก้] เกร็ดความรู้เล็กน้อย

    • 510 บุคคลแรกในรายชื่อของสายลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
    • พระทรงเป็นพระอัยยิกาเมื่อพระชนมพรรษา 39 พรรษา และพระปัยยิกาเมื่อพระชนมพรรษา 59 พรรษา
    • พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานกว่าพระราชโอรสและธิดาสามในเก้าพระองค์ ในอีกเจ็ดเดือนจะเป็นพระองค์ที่สี่ (คือ เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระวรราชกุมารี พระราชธิดาองค์โต ซึ่งสิ้นพระชนม์ด้วยมะเร็งในกระดูกสันหลังเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2444 สิริพระชนมายุ 60 พรรษา)
    • พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานกว่าพระราชนัดดาสิบเอ็ดในสี่สิบสองพระองค์
    • พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพยาวนานกว่าพระราชปนัดดาสามในแปดสิบแปดพระองค์
    • ในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2552 มีพระราชปนัดดาซึ่งยังทรงพระชนม์ชีพพระองค์สุดท้ายของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย คือ เค้านท์ คาร์ล โยฮัน เบอร์นาด็อต (ประสูติ 31 ตุลาคมพ.ศ. 2459 ขณะนี้มีพระชนมายุ 93 พรรษา)
    • สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นพระราชินีนาถแห่งแคนาดาพระองค์แรกโดยทางพฤตินัย ดินแดนในปกครองแห่งแคนาดา (The Dominion of Canada) ได้สถาปนาขึ้นมาในช่วงรัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ทำให้ทรงเป็นพระประมุขแห่งแคนาดาพระองค์แรก
    • สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเป็นพระราชินีนาถแห่งออสเตรเลียพระองค์แรกในทางพฤตินัยจากการรวมตัวเป็นสหพันธรัฐเมื่อวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2444 จนกระทั่งถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์ในวันที่ 22 มกราคมพ.ศ. 2444
    • การกระทำสิ่งแรกหลังจากเสวยราชสมบัติแล้วคือ การย้ายพระแท่นบรรทมออกจากห้องของพระชนนี
    • ในทุกวันเป็นเวลาสี่สิบปีหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายพระราชสวามี สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงรับสั่งให้วางฉลองพระองค์ต่างๆ ของเจ้าชายใหม่ทุกครั้งบนพระแท่นบรรทมในห้องชุดของพระองค์ที่ปราสาทวินด์เซอร์
    • สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงเริ่มประเพณีการสวมชุดสีขาวของเจ้าสาวในวันแต่งงาน ก่อนหน้าการอภิเษกสมรสของพระองค์ เจ้าสาวจะใส่ชุดที่สวยที่สุดโดยไม่มีสีที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ
    • ในปี พ.ศ. 2403 พระองค์ทรงเป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์แรกที่ทรงฉายพระรูป โดยช่างภาพคือ โจเบซ เอ็ดวิน มายาล
    • พระองค์ทรงแซงหน้าสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 พระอัยกาธิราชในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขอังกฤษซึ่งทรงมีพระชนม์ชีพยืนยาวที่สุดเมื่อทรงมีพระชนมพรรษา 81 พรรษา 240 วันเมื่อวันที่ 19 มกราคมพ.ศ. 2444 เพียงสามวันก่อนการเสด็จสวรรคต
    • พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพสามในสี่ส่วนเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดของประมุขอังกฤษพระองค์ใดๆ นับแต่การคืนสู่ระบอบกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2103
    • เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีทรงนำต้นคริสต์มาสเข้ายังราชสำนักและก็ไม่ช้าได้กลายเป็นต้นแบบนำไปใช้แก่พสกนิกรของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
    • พระองค์ทรงถนัดพระหัตถ์ซ้ายและทรงได้ถ่ายทอดพันธุกรรมการถนัดมือซ้ายไปสู่พระราชสันตติวงศ์อีกหลายพระองค์ ซึ่งรวมไปถึงเจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ พระมหากษัตริย์ในอนาคตอีกด้วย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×