ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #169 : พระจักรพรรดิฟรานซิสที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์ เมื่อนโปเลียนมายุ่ง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 204
      0
      29 มิ.ย. 52

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ภาษาเยอรมัน: Franz II, Heiliger Römischer Kaiser, ภาษาอังกฤษ: Francis II, Holy Roman Emperor) (พระนามเต็ม: ฟรานซ์ โจเซฟ คาร์ล, ภาษาอังกฤษ: Franz Joseph Karl von Habsburg-Lorraine) ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2335 - พ.ศ. 2349 หลังจากที่พระองค์ถูกรุกรานและก้าวก่ายทางการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อันนำไปสู่สงครามในสมรภูมิออสเตอร์ลิตส์ ทำให้พระองค์ต้องยุบจักรวรรดิ และเปลี่ยนจักรวรรดิรวมทั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ โดยระหว่างปีพ.ศ. 2347 - พ.ศ. 2349 พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ 2 จักรวรรดิเลยทีเดียว โดยหลังจากเปลี่ยนจักรวรรดิแล้ว พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย หลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงนำกองทัพออสเตรีย ไปชำระแค้นกับจักรวรรดิฝรั่งเศส ในสงครามนโปเลียน แต่ก็ยังปราชัยอยู่ดี พระองค์จึงส่งพระราชธิดาองค์โต อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับนโปเลียน เพื่อเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการ และเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างจักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิฝรั่งเศส

    พระปรมาภิไธยเต็มของพระองค์คือ His Imperial Majesty Franz II, Holy Roman Emperor และ His Imperial and Royal Apostolic Majesty Franz I, Emperor of Austria, and the Apostolic King of Hungary

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] พระราชประวัติ

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองฟลอเรนซ์ แคว้นทัสคานี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ซึ่งขณะนั้น ทรงเป็นแกรนด์ดยุคแห่งทัสคานี ตั้งแต่พ.ศ. 2308 - พ.ศ. 2333) และเจ้าหญิงมาเรีย หลุยซ่าแห่งสเปน (พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลอสที่ 3 แห่งสเปน) เมื่อทรงพระเยาว์นั้น พระบรมวงศานุวงศ์รวมทั้งประชาชนได้คาดหมายพระองค์ว่า จะได้เป็นองค์จักรพรรดิในอนาคต เพราะเนื่องจากพระปิตุลาของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟ ไม่ทรงมีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเลย แล้วนอกจากนี้ พระราชอนุชาของพระองค์ อาร์คดยุคลีโอโพลด์ ซึ่งก็ทรงเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระจักรพรรดิ ก็ทรงอยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ที่ลำดับที่ 1 อีกด้วย ดังนั้น พระองค์จึงต้องไปทรงศึกษาอย่างเคร่งครัด ณ อิมพีเรียล คอร์ต (Imperial Court) กรุงเวียนนา เพื่อในการเตรียมตัวสำหรับอนาคตของพระองค์

    สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟ ผู้เป็นพระราชปิตุลา ทรงทราบถึงการพัฒนาการของพระราชนัดดาของพระองค์ และรู้ซึ้งถึงระบอบการปกครองย่างเคร่งครัด ซึ่งแตกต่างจากระบอบการปกครองของแกรนด์ ดยุคลีโอโพลด์ ผู้เป็นพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นองค์พระประมุขแห่งแคว้นทัสคานี อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระราชปิตุลายังทรงเห็นว่า การศึกษาที่เคร่งครัดและระเบียบวินัยในตัวพระราชนัดดายังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากพระองค์ถูกแยกให้ศึกษาพระองค์เอง สมเด็จพระราชปิตุลาทรงเกรงว่า อาจทำให้พระราชนัดดาล้มเหลวในการพึ่งพาตนเอง เพราะพระองค์ไม่ได้รับการศึกษาพร้อมกับผู้อื่น แต่ถึงอย่างไร ว่าที่สมเด็จพระจักรพรรดิฟรารนซ์ทรงประทับใจและนับถือสมเด็จพระราชปิตุลาเป็นพระองค์ตัวอย่าง โดยพระองค์ทรงตั้งอกตั้งใจเข้ารับการศึกษาอย่างเต็มที่ ต่อมา พระองค์ทรงได้เข้ารับการฝึกทหาร และร่วมรบในประเทศฮังการี พระองค์จึงทรงซึมซาบความเป็นทหารอย่างเต็มที่...

    เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟเสด็จสวรรคตเมื่อปีพ.ศ. 2333 แกรนด์ ดยุคลีโอโพลด์ พระราชบิดาได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชเชษฐา ซึ่งขณะนั้น พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการสะสางความบาดหมางทางการเมืองการปกครอง อาร์คดยุคฟรานซ์ จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นมกุฏราชกุมารแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เมื่อฤดูหนาว พ.ศ. 2334 พระราชบิดาทรงมีพระอาการประชวรอย่างหนัก ภาวะตึงเครียดมาถึงพระราชวงศ์ทันที โดยเฉพาะอาร์คดยุคฟรานซ์ พระอาการประชวรเลวร้ายลงเรื่อยๆ จนในที่สุด ช่วงบ่ายของวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2335 สมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ทรงเสด็จสวรรคตอย่างสงบ ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 44 พรรษา อาร์คดยุคฟรานซ์จึงทรงได้สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดาด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา

    [แก้] สมเด็จพระจักรพรรดิ

    เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว วิกฤติแรกในเข้ามาคือ คำขู่จากนโปเลียน โบนาปาร์ต หรือสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส ที่ได้เข้ามาก้าวก่ายการเมืองการปกครองและระบอบต่างในราชสำนักหลายประเทศในทวีปยุโรป รวมทั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงภาวะตึงเครียดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจักรวรรดิโรมันกับจักรวรรดิฝรั่งเศส เพราะว่าสมเด็จพระราชปิตุจฉาของพระองค์ สมเด็จพระราชินีมารี อังตัวเนตแห่งฝรั่งเศส ทรงถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตินในการปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2336 โดยที่พระองค์ไม่ทรงสนพระทัยใยดีและทรงเฉยเมยต่อชะตากรรมของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เพราะเนื่องจากสมเด็จพระราชินีมารี อังตัวเนตไม่ทรงสนิทสนมกับพระราชบิดาของพระองค์เท่าใดนัก ทั้งที่ทรงเป็นพระเชษฐภัคินีแท้ๆของพระองค์ และทรงเป็นสมเด็จพระปิตุจฉาของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์เสียด้วยซ้ำ ถึงแม้พระองค์จะทรงไม่เคยเห็น จอร์ช แดนตัน ประธานองคมนตรีและสมุหนายก ได้มีการเจรจากับพระองค์ให้ทรงเข้าช่วยเหลือปล่อยสมเด็จพระราชปิตุจฉาจากที่คุมขัง แต่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเมินเฉย โดยต่อมา พระองค์ทรงนำกองทัพเข้าร่วมรบในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส โดยกองทัพของพระองค์ถูกโจมตีจากกองทัพของนโปเลียน โดยในสมรภูมิแคมโป ฟอร์มีโอ พระองค์ทรงยอมจำนน ยกไรน์ให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนกับเวนิส และดาลมาเทีย แต่ต่อมา พระองค์ทรงนำกองทัพจู่โจมฝรั่งเศสในสมรภูมิออสเตอร์ลิตส์ แต่ได้รับความพ่ายแพ้ไป โดยมีการทำสนธิสัญญาเพรสบูร์กขึ้น ซึ่งเป็นยุบระบอบการปกครองของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ลง และก่อตั้งจักรวรรดิออสเตรียเป็นจักรวรรดิใหม่

    เมื่อปีพ.ศ. 2352 พระองค์ได้นำกองทัพเข้าจู่โจมฝรั่งเศสอีกครั้ง เพื่อหวังผลประโยชน์จากสงครามคาบสมุทรที่นโปเลียนสามารถยึดสเปนได้ แต่ก็ถูกโจมตีและได้รับความพ่ายแพ้อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ พระองค์ทรงนึกคิดอยากจะกระชับความสัมพันธ์กับจักรวรรดิฝรั่งเศส โดยทรงมีพระมีพระบรมราชโองการให้พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์ไปอภิเษกสมรสกับนโปเลียน แต่นโปเลียนเห็นว่าพระองค์ทรงส่งพระราชธิดามาอภิเษกเหมือนเป็นการส่งราชบรรณาการ ฝรั่งเศสจึงได้ออสเตรียเป็นเมืองประเทศราช เหมือนเมืองทาส เพราะนโปเลียนได้ประเทศอื่นๆในยุโรปเป็นเสมือนทาสรับใช้ เช่น ประเทศในแถบเยอรมัน รวมทั้งปรัสเซียด้วย

    ในปีพ.ศ. 2356 ออสเตรียได้เข้าจู่โจมฝรั่งเศสอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 และเป็นครั้งสุดท้าย โดยครั้งนี้ออสเตรียได้ร่วมมือกับสหราชอาณาจักร รัสเซีย และปรัสเซียโจมตีนโปเลียน โดยออสเตรียได้เปรียบในตอนสุดท้าย คือการตั้งการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) โดยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง เจ้าชายคลีเมนส์ เว็นเซิลแห่งเม็ทเตอร์นิชเป็นองค์ประธาน เพื่อช่วยในการปฏิรูประบอบการปกครองของราชอาณาจักรหรือจักรวรรดิต่างๆ รวมทั้งมีการก่อตั้งกลุ่มสมาพันธรัฐเยอรมัน (German Confederation) เพื่อเป็นหน่วยย่อยในการดูแล ควบคุมระบอบการเมืองการปกครองของกลุ่มประเทศเยอรมัน โดยการประชุมที่เวียนนาได้จัดระบบประเทศต่างๆของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยให้สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์เป็นองค์ประธานในการประชุมที่เวียนนาและกลุ่มสมาพันธรัฐเยอรมัน โดยพระองค์ทรงเป็นเจ้าภาพร่วมกับพระราชวงศ์ประเทศอื่นในการประชุม แต่อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้ทรงตัดความสัมพันธ์กับรัสเซียและปรัสเซีย คือสมเด็จพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย และสมเด็จพระราชาธิบดีฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ในการเจรจาสนธิสัญญาลับในการฟื้นฟูสถาปนาสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศสให้เป็นองค์พระประมุขฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง

    [แก้] เหตุการณ์ภายในประเทศ

    หลังจากเหตุการณ์ปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งสร้างความประทับพระทัยต่อพระองค์เป็นอย่างมาก โดยช่วงเวลานั้น พระองค์ทรงอารมณ์ดีตลอดเวลา แต่พระองค์ไม่ทรงไว้ใจพวกหัวรุนแรงในออสเตรียที่ตามมาหลังจากเหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส ในปีพ.ศ. 2337 มีการก่อตั้งกองทัพราชนาวีออสเตรียและฮังการีอย่างลับๆ โดยผู้นำได้อยู่ในการพิจารณา แต่คำตัดสินของคณะลูกขุนได้ให้หาทางจัดการกับขอบเขตภายนอกของการก่อตั้งกองทัพอย่างลับๆนี้ อาร์คดยุคอเล็กซานเดอร์ ลีโอโพลด์ (ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งสมุหนายกแห่งฮังการี) ทรงเป็นองค์ประธานของคณะลูกขุนที่เข้าจัดการเกี่ยวกับการก่อตั้งกองทัพอย่างลับๆนี้ ซึ่งในที่สุด สามารถจับกุมตัวการทั้งหมดได้ ศาลตัดสินให้ประหารชีวิตบ้าง และจำคุกตลอดชีวิต

    สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นคนขี้ระแวง พระองค์ทรงก่อตั้งตำรวจ สายลับในเครือข่ายที่กว้างขวาง เพื่อตรวจสอบสภาพการเมืองทั้งหมดอย่างลับๆ อันที่จริงแล้ว พระองค์ทรงสืบสานต่อพระปณิธานพระราชบิดาที่ทรงก่อตั้งสายลับตรวจสอบสภาพการเมืองอย่างลับๆที่แคว้นทัสคานี โดยการก่อตั้งสายลับนี้ พระราชอนุชาของพระองค์ อาร์คดยุคคาร์ล และอาร์คดยุคโจฮันน์ทรงเป็นผู้ร่วมก่อตั้งด้วย นอกจากนี้ พระองค์ก็ทรงนำนโยบายในการบริหารประเทศจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มาใช้ในการปกครองจักรวรรดิด้วย ถึงแม้ว่า ตอนนี้ พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย โดยพระองค์ทรงถอดถอนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ออกจากกลุ่มเยอรมัน ซึ่งสร้างความเคลือบแคลงให้กับสภากฎหมายแห่งรัฐธรรมนูญ

    [แก้] อภิเษกสมรส

    สมเด็จพระจักรพรรดิพร้อมด้วยพระชายาและพระราชบุตร

    สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ทรงอภิเษกสมรสถึง 4 ครั้ง ดังนี้...

    [แก้] ช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ

    เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2378 43 ปีแห่งการครองราชย์ของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ทรงเสด็จสวรรคต จากการประชวรไข้อย่างหนัก รวมพระชนมายุได้ 67 พรรษา พระศพถูกจัดขึ้นอย่างสมพระเกียรติ โดยในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรียและสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีการเก็บพระศพของพระองค์ไว้ที่มหาวิหารเซนต์ สตีเฟน กรุงเวียนนา 3 วัน จากนั้นนำไปฝังไว้ที่วิหารฮับส์บูร์ก ซึ่งเป็นสถานที่ฝังพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรียมาช้านาน พระศพของพระองค์ถูกฝังไว้ท่ามกลางพระศพของพระชายาทั้ง 4 พระองค์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×