ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #181 : เจ้าหญิงมาเรีย ลูโดวิกาแห่งออสเตรีย-เอสต์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 184
      0
      30 มิ.ย. 52

    อาร์คดัชเชสมาเรีย ลูโดวิก้าแห่งออสเตรีย-เอสต์ (ภาษาเยอรมัน: Maria Ludovika von Österreich-Este, ภาษาอังกฤษ: Archduchess Maria Ludovika of Austria-Este) (พระนามเต็ม: มาเรีย ลูโดวิก้า เบียทริกซ์, Maria Ludovika Beatrix von Habsburg-Lorraine) ทรงเป็นสมาชิกราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน และทรงเป็นพระชายาองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] พระราชประวัติ

    อาร์คดัชเชสมาเรีย ลูโดวิก้าทรงประสูติเมื่อวันที่14 ธันวาคม พ.ศ. 2330 ณ เมืองมอนซา ประเทศอิตาลี ทรงเป็นพระธิดาองค์สุดท้องจากทั้งหมด 10 พระองค์ ของอาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์ และพระชายาเจ้าหญิงมาเรีย เบียทริซ ริคคิอาร์ด้าแห่งเอสต์ (องค์รัชทายาทหญิงแห่งแคว้นโมเดน่าและเรจจิโอ้) โดยเมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงมีพระนามเดิมว่า มาเรีย ลุยเกีย (Archduchess Maria Luigia of Austria-Este)

    พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาพร้อมกับพระเชษฐา และพระเชษฐภัคินี โดยทุกพระองค์ทรงได้รับการศึกษาอย่างเข้มงวดจากสมเด็จพระราชอัยกี สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซ่า โดยพระองค์ทรงมีพระบัญชาให้อาจารย์สอนอย่างเข้มงวด ทั้งเรื่องมารยาทและขนบธรรมเนียมประเพณี ในช่วงทรงพระเยาว์ อาร์คดัชเชสมาเรีย ลุยเกียทรงประทับอยู่ในปราสาทมอนซาในนครมิลาน พระบิดาของพระองค์ทรงเป็นผู้ว่าการรัฐลอมบาร์ดี พระบิดา พระมารดา รวมทั้งพระเชษฐา และพระเชษฐภัคินีทรงประทับอยู่ในมิลานจนถึงการรุกรานของนโปเลียน โบนาปาร์ตที่นำกองทัพฝรั่งเศสามารถยึดครองมิลานได้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2339 พระบิดาได้พระชายาและพระบุตรหลบหนีไปยังเมืองทรีเอสต์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ พระนัดดาทรงส่งขบวนราชรถไปรับสมเด็จพระราชปิตุลามายังกรุงเวียนนา อาร์คดัชเชสมาเรีย ลุยเกียและพระบิดา พระมารดา รวมทั้งพระเชษฐาและพระเชษฐภัคินีทรงประทับอยู่ที่พระราชวังดีทริชสไตน์ จนพระบิดาสิ้นพระชนม์เมื่อปีพ.ศ. 2349

    [แก้] อภิเษกสมรส

    เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2341 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระญาติของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ภายหลังทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย) โดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ ซึ่งเป็นพระราชปิตุลาของพระองค์ โดยการอภิเษกสมรสครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 ของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทรงอภิเษกสมรส 2 ครั้งกับเจ้าหญิงเอลิซาเบธแห่งวืร์ทเต็มเบิร์ก และเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่าแห่งทู ซิชิลีส์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่าย ทั้ง 2 พระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสโดยทรงรับคำถวายพระพรกับอาร์คดยุคคาร์ล บิชอปแห่งเอ็สเตอร์โกม ซึ่งเป็นพระเชษฐาในอาร์คดัชเชสมาเรีย หลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย และพระองค์ทรงเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น มาเรีย ลูโดวิก้า (Her Imperial and Royal Majesty The Empress Maria Ludovika of Austria) ทั้งสองพระองค์ทรงไม่มีพระราชโอสหรือพระราชธิดาเลย แต่พระองค์ทรงเป็นพระราชชนนีที่ดีต่อพระราชบุตรของพระราชสวามี ที่ประสูติจากพระชายาองค์ก่อน เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่า

    [แก้] การคุกคามของนโปเลียน โบนาปาร์ต

    หลังจากทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกสมรสไม่นาน กองทัพฝรั่งเศส นำโดยนโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ประกาศสงครามเพื่อล้างแค้นอีกครั้ง โดยกองทัพฝรั่งเศสได้บุกเข้าโจมตีรัสเซีย ปรัสเซีย รวมทั้งออสเตรียด้วย โดยเมื่อกองทัพเดินทางเข้ามาถึงจักรวรรดิออสเตรีย อาร์คดยุคคาร์ล บิชอปแห่งเอ็สเตอร์โกม ได้ทรงเดินทางมาเจรจากับนโปเลียน ทรงทูลกับนโปเลียนให้จบสงครามโดยเร็ว เพราะการก่อสงครามกับออสเตรียนั้น จะส่งผลกระทพต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งการอภิเษกสมรสซึ่งผ่านมาไม่นานอีกด้วย สงครามน่าจะจบลงตั้งแต่ตอนนั้น แต่สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย ลูโดวิก้าทรงลุกฮือขึ้นมาต่อต้านและประณามการกระทำของนโปเลียน ที่มาวิพากย์วิจารณ์การอภิเษกสมรสของพระองค์ ซึ่งถือเป็นเรื่องส่วนพระองค์ พระองค์จึงทรงสนับสนุนพระราชสวามีทำสงครามกับจักรวรรดิฝรั่งเศสทันที พระองค์ทรงนำกองทัพเข้าร่วมสงครามจนได้รับชัยชนะเมื่อปีพ.ศ. 2343 โดยในระหว่างสงคราม สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย ลูโดวิก้าทรงเป็นองค์แม่ทัพฝ่ายในปกป้องกรุงเวียนนาจากข้าศึก หลังจากข้าศึกแล้ว

    แต่ฝรั่งเศสยังไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมถอยกองทัพ สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย ลูโดวิก้าทรงสนับสนุนให้สมเด็จพระราชสวามีให้นำกองทัพเข้าไปจู่โจมฝรั่งเศสอีกครั้ง โดยทรงได้คำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ โจฮันน์ ฟิลลิป สเตเดียน, เค้านท์แห่งวอร์เธาเซ็น หลังจากนั้นไม่นาน สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ทรงสถาปนาพระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2344 ณ เมืองบราติสลาวา (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย) การสถาปนาพระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฮังการนั้น สร้างความพึงพอใจต่อพสกนิกรชาวฮังการีเป็นอย่างมาก ที่จะได้มีการปรับโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งทางด้านการทหารอีกด้วย พระองค์จึงเป็นองค์แม่ทัพหญิงแห่งกองทัพฮังการี ที่จะนำไปร่วมรบในสมรภูมิกับพระสวามี นอกจากจะมีกองทัพของออสเตรียและฮังการีแล้ว พระองค์สามารถทูลขอความช่วยเหลือจากสเปนมาช่วยร่วมรบสงครามอีกด้วย และยังได้รับความช่วยเหลืออีกทางจากกลุ่มสมาพันธรัฐแห่งไรน์ (Rhine Confederation) รวมทั้งปรัสเซียอีกด้วย ในที่สุดออสเตรียก็สามารถเอาชนะฝรั่งเศสได้ ฝรั่งเศสยอมถอยทัพกลับไป หลังจากสงครามแล้ว สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย ลูโดวิก้าก็ทรงเป็นที่รักใคร่ของประชาชน ที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงเป็นพระองค์หลักในการป้องกันประเทศจากศึกสงคราม แทนที่จะเป็นพระสวามี ซึ่งทรงนำกองทัพออกรบในสมรภูมิ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้ทางฝรั่งเศสปล่อยตัวเจ้าชายคลีเมนส์ เว็นเซิลแห่งเม็ทเตอร์นิช ซึ่งเป็นนักการทูตและองค์ประธานของการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) ซึ่งทรงถูกฝรั่งเศสกักตัวไว้ ขณะที่ทรงเดินทางไปสเปน

    ดังนั้น ตั้งแต่นั้นมา พระองค์ทรงเป็นศัตรูตัวฉกาจของนโปเลียน ซึ่งให้สมญาพระนามแก่พระองค์ว่า The Greatest Enemy in Europe หลังจากนั้น จักรวรรดิออสเตรียก็ได้รับการกล่าวขวัญและชื่นชมยินดีจากหลายๆประเทศ เช่น ประเทศในกลุ่มสมาพันธรัฐแห่งไรน์ และสมาพันธรัฐแห่งเยอรมัน รวมทั้งจักรวรรดิรัสเซีย และปรัสเซียที่สามารถเอาชนะศัตรูตัวฉกาจของนโปเลียนที่บังอาจรุกล้ำ แก้วก่ายการเมืองการปกครอง รวมทั้งพระราชสำนักยุโรป จึงมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในออสเตรีย

    หลังจากเสร็จสิ้นสงครามแล้ว พระองค์ทรงเป็นที่รักของพสกนิกร พระองค์ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของพระสวามี โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายอย่าง ถึงแม้พระองค์จะทรงประชวร แต่พระองค์ก็ยังทรงเด็ดเดี่ยว ทรงงานและพระราชกรณียกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยเมื่อพระสวามีเสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างประเทศ พระองค์ก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระสวามีทุกอย่าง รวมทั้งทรงดูแลพระราชโอรส และพระราชธิดาด้วย

    [แก้] สิ้นพระชนม์

    สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย ลูโดวิก้าทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2359 ด้วยโรควัณโรค ขณะที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศบ้านเกิดของพระองค์ รวมพระชนมพรรษาเพียง 28 พรรษา

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×