ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #192 : พระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เธเรซาแห่งออสเตรีย พระจักรพรรดินีผู้ยิ่งใหญ่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 624
      1
      2 ก.ค. 52



    สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรีย (ภาษาเยอรมัน Maria Theresia von Österreich, ภาษาอังกฤษ Maria Theresa of Austria) (พระนามเต็ม: มาเรีย เทเรเซีย วาร์ลบูก้า อมาเลีย คริสติน่า; Maria Theresia Walburga Amaliae Christina von Habsburg (ภายหลังเป็น Habsburg-Lorraine)) เป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีมเหสีแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์หลังจากอภิเษกสมรส แต่พระราชอำนาจทั้งหมดอยู่ที่พระองค์เพียงผู้ดียว นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี โบฮีเมีย โครเอเชีย และสลาโวเนีย ถือว่า พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระประมุขผู้ทรงอำนาจที่สุดในทวีปยุโรปเลยทีเดียว

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] พระราชประวัติ

    สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซาเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2260 เป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ คริสตีนแห่งบรันสวิค-วูล์ฟเฟ็นบืทเทล (พระธิดาในดยุคลุดวิก รูดอล์ฟแห่งบรันสวิค-ลืนย์เบิร์ก และเจ้าหญิงคริสตีน หลุยส์แห่งเอิททินเจน-เอิททินเจน มีพระเชษฐา 1 พระองค์ แต่สิ้นพระชนม์ขณะยังทรงพระเยาว์ และพระขนิษฐาอีก 3 พระองค์ ทั้ง 4 พระองค์ทรงได้รับการศึกษาในราชสำนัก โดยสมเด็จพระราชบิดาทรงให้ครูมาให้การศึกษา โดยพระองค์ทรงเล็งเห็นว่า พระราชธิดาองค์โตพระองค์นี้ จะต้องเป็นองค์พระประมุของค์ต่อไป ซึ่งตามหลักของกฎมณเฑียรบาลเรื่องการสืบราชบัลลังก์นั้น จะให้พระบรมวงศานุวงศ์เพศชายเท่านั้นที่จะอยู่ในลำดับการสืบสัตติวงศ์ได้ แต่พระองค์ทรงไม่มีพระราชโอรสแล้ว พระองค์จึงทรงให้ครูเข้มงวดในเรื่องของการศึกษาของพระราชธิดาองค์โตด้วย

    [แก้] องค์รัชทายาทหญิง

    เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระราชธิดาองค์โตของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และเนื่องจากพระราชโอรสพระองค์เดียว อาร์คดยุคลีโอโพลด์ โจฮันน์ มกุฎราชกุมารได้สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อนแล้ว สมเด็จพระราชบิดาจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการเขียนพระราชกฤษฎีกาอนุมัติกฎมณเฑียรบาลพิเศษ ฉบับพ.ศ. 2256 (Pragmatic Sanction of 1713) ซึ่งสามารถให้พระราชธิดาองค์โต สามารถสืบราชบัลลงก์ต่อจากพระราชบิดาได้ ทำให้มีการลงประชามติจากองค์พระประมุขหลายพระองค์ทางยุโรปตอนเหนือ ซึ่งเห็นด้วยกับการออกพระราชกฤษฎีกาของพระองค์ แต่ยังไม่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านพระองค์ การที่พระองค์ได้ทรงเป็นองค์รัชทายาทหญิงแห่งออสเตรียนั่นเอง เป็นเหตุให้มีการก่อสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรีย (War of Austrian Succession) ขึ้นในปีพ.ศ. 2283 เนื่องจากมีผู้ไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ผู้หญิงมาสืบราชบัลลังก์แห่งจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ได้ โดยเฉพาะสมเด็จพระราชาธิบดีฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ซึ่งทรงเกรงว่าจะทำให้ระบอบการปกครองสั่นคลอน โดยพระองค์ทรงยื่นข้อเสนอให้กับสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลว่า ให้พระราชธิดาอภิเษกสมรสกับพระองค์เสียเอง โดยทรงอ้างว่าจะรักษาความสมดุลของระบอบการปกครองของจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ได้

    อย่างไรก็ตามหลังจากที่สมเด็จพระราชาบิดาเสด็จสวรรคต เจ้าหญิงมาเรียก็ทรงได้รับการสืบราชบัลลังก์อิมพีเรียลแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี พ.ศ. 2283 แต่ยังไม่ได้ครองราชย์เพราะเนื่องจากสงครามสืบราชบัลลงก์ออสเตรีย พระองค์จึงทรงมองบัลลังก์ให้กับสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 7 แห่งราชวงศ์วิทเตลส์แบช แล้วอีก 5 ปีต่อมา สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลเสด็จสวรรคต พระองค์จึงทรงสืบราชบัลลังก์ต่อ โดยการอภิเษกสมรสกับดยุคฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอร์เรน และสถาปนาให้พระสวามีของพระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และพระองค์ก็จะทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีมเหสี (Empress Consort) แทน แต่พระอำนาจและการบริหารบ้านเมืองทั้งหมด จะอยู่ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว

    สมเด็จพระจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาทรงริเริ่มช่วยเหลือในการปฏิรูปทางการเงินและการศึกษา อีกทั้งทรงช่วยเหลือทางด้านการค้าขายทางธุรกิจ การพัฒนาการเกษตรกรรม และการจัดการทางการทหาร พระองค์ทรงจัดตั้งกองทัพขึ้นใหม่ เนื่องจากออสเตรียยังมีความขัดแย้งกับปรัสเซีย สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งปรัสเซียยังทรงต่อต้านออสเตรียที่มีองค์พระประมุขหญิง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงได้ต่อสู้กับราชอาณาจักรปรัสเซีย เป็นเหตุให้มีการต่อสู้ในสงครามเจ็ดปี ซึ่งอยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 2299 ถึง พ.ศ. 2306 และสงครามสืบราชบัลลังก์บาวาเรีย (War of Bavarian Succession)

    [แก้] ครองราชย์

    [แก้] ช่วงต้นรัชกาล

    เหรียญกษาปณ์Maria Theresa thaler (MTT) จะมีอักษรจารึกเป็นภาษาละตินว่า M[ARIA] THERESIA D[EI] G[RATIA] R[OMANORVM] IMP[ERATRIX] HV[NGARIAE] BO[HEMIAE] REG[INA], แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "Maria Theresa, by the Grace of God, Empress of the Romans, Queen of Hungary and Bohemia" เหรียญนี้ถูกผลิตขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2433กรุงเวียนนา

    สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ล พระราชบิดามิได้พระราชทานการศึกษาเรื่องรัฐศาสตร์ให้แก่เจ้าหญิงมาเรีย ทำให้เจ้าหญิงทรงเรียนรู้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งก่อนสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระราชบิดา 2 ปี การทหารและกลาโหมของประเทศได้อ่อนแอลงมาก ซึ่งหลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิเสด็จสวรรคตแล้ว เจ้าหญิงก็ได้ทรงเข้าพิธีเถลิงวัลย์ราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการี ณ มหาวิหารเซนต์ มาร์ติน เมืองปอลโซนี (ปัจจุบันคือกรุงบราติสลาวา เมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย) พิธีเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมีขึ้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2284

    สงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียยังคงมีอยู่เรื่อยมา เพราะเนื่องจากสมเด็จพระราชาธิบดีฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียได้ทรงนำกองทัพรุกรานหวังจะยึดครองซีลีเซีย ขณะที่บาวาเรีย และฝรั่งเศสได้ร่วมกันรุกรานดินแดนทางตะวันตกของออสเตรีย เพราะเนื่องจากปรัสเซียได้ให้บาวาเรียกับฝรั่งเศสรุกรานออสเตรีย สมเด็จพระราชาธิบดีฟรีดริชจึงได้พระสมญานามว่า เฟรเดอริกมหาราช (Frederick The Great) พระองค์จึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็ทรงเพ่งจุดเด่นไปยังนโยบายทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกเพื่อการต่อสู้กับปรัสเซีย เป็นเหตุให้ออสเตรียชนะสงครามในที่สุด ปรัสเซียก็ได้รับความพ่ายแพ้ไป อีกทั้งสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งปรัสเซียก็ทรงยอมรับพระองค์ในฐานะองค์พระประมุขหญิงแห่งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้แผ่นดินคืน หลังจากที่เคยถูกยึดไป และได้มีการทำสนธิสัญญาอิกส์-ลา-ชาแปลล์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2291 โดยผลของสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว มีผลให้ฝรั่งเศสได้ให้ดินแดนออสเตรีย-เนเธอร์แลนด์ และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถทรงยกดินแดนปาร์มา ปิอาเซนซ่า และกูแอสตาลล่าให้กับเจ้าฟ้าชายเฟลิปเป้แห่งสเปน (ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นองค์พระประมุขแห่งปาร์มา)

    หลังจากที่พ่ายแพ้จากสงครามซีลีเซียครั้งที่ 1 และ 2 พระองค์ก็ทรงริเริ่มที่จะปฏิรูปอาณาจักรของพระองค์ให้ทันสมัย โดยทรงได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากฟรีดริช วิลเฮล์ม วอน ฮอว์กวิทซ์ สมุหนายกแห่งสภาจักรวรรดิ อย่างไรก็ตาม การพ่ายแพ้สงครามซีลีเซียได้ทำให้พระองค์ทรงมีกำลังพระทัยน้อยลง ที่จะเป็นองค์พระประมุขที่ดีได้ พระองค์ทรงเพิ่มจำนวนกำลังทหารและกองทัพถึง 200 เปอร์เซ็นต์ และทรงเพิ่มค่าภาษีเพื่อที่จะได้สร้างความมั่นใจของระบอบการเมืองการปกครอง และรัฐบาลที่มั่นคงของจักรวรรดิ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงรวมอำนาจของรัฐบาลมายังจุดศูนย์กลาง โดยทรงรวมระบอบสมุหนายกของออสเตรีย และโบฮีเมียซึ่งเคยถูกแบ่งแยก มารวมไว้ที่สำนักบริหารระบอบการปกครอง โดยก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงศาลสูงสุด เพื่อมีหน้าที่ดูแลความยุติธรรมในระบอบเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองของจักรวรรดิ

    สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรีย

    ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นคริตศาสนิกชน นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นนิกายประจำราชวงศ์ พระองค์จึงทรงเคร่งครัดในเรื่องของศาสนาเป็นอย่างมาก ซึ่งในขณะยังทรงพระเยาว์นั้นทรงได้รับการศึกษาในเรื่องของศาสนา ณ มหาวิหารมาเรียเซลล์ เมืองมาเรียเซลล์ ประเทศออสเตรีย พระองค์ทรงมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม อีกทั้งทัศนคติที่ไม่ทรงยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง กล่าวคือ พระองค์ไม่ทรงยอมรับการนับถือนิกายแตกต่างจากพระองค์ ในปีพ.ศ. 2284 พระองค์ทรงขับไล่ชาวยิว ออกจากเมืองปราก ระบอบการเมืองการปกครองของพระองค์ ทำให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจจากราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ที่พระองค์ทรงมีส่วนพิจารณาการก่อตั้งนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ (Church of England) โดยพระองค์ทรงมีพระดำริถึงการมีความเป็นนอกศาสนา

    พระองค์ได้ทรงตัดบริเตนใหญ่จากการเป็นพันธมิตร โดยทรงได้รับคำแนะนำจากสมุหนายกรัฐบุรุษเว็นเซล แอนตัน วอน คอว์นิทซ์ และหันไปจับมือเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิรัสเซีย และฝรั่งเศส พระองค์ทรงก่อตั้งสถานศึกษากรมทหารเทเรเซียน (Theresian Military Academy; อักษรย่อ MilAk) เมื่อปี พ.ศ. 2295 และต่อมาในปี พ.ศ. 2297 ได้ทรงก่อตั้งวิทยาลัยวิทยาศาตร์อุตสาหกรรมขึ้น และยังทรงมีพระราชดำริให้ใช้งบประมาณในการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวียนนาอีกด้วย

    ทั้งหมดที่พระองค์ได้ทรงกระทำนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ในการกลาโหม และการแพทย์ที่จะรักษาทหารที่เจ็บป่วยในการสงคราม ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ทรงนำกองทัพไปรบกับปรัสเซียอีกครั้งในปี พ.ศ. 2299 เหตุสงครามนี้ เกิดจากการที่สมเด็จพระราชาธิบดีฟรีดริชทรงรุกรานแซ็กโซนี ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรของออสเตรีย ซึ่งการก่อสงครามนี้เอง ทำให้นำไปสู่สงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War) เมื่อสงครามเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2306 สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถทรงลงพระนามในสนธิสัญญาฮิวเบอร์ตัสบูร์ก (Treaty of Hubertusburg) โดยให้ปรัสเซียได้ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของซีลีเซีย

    หลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ พระราชสวามีเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ได้ทรงเฉลิมพระองค์ไว้ทุกข์ตลอด 15 ปีต่อมา โดยในระหว่างไว้ทุกข์นั้น พระองค์ก็มิได้ทรงละจากการเมืองการปกครอง พระองค์ทรงวางแผนที่จะยึดแผ่นดินซีลีเซียคืน โดยพระองค์ทรงให้คำแนะนำแก่สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟ พระราชโอรสองค์โตที่ได้ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา โดยพระองค์ทรงให้ความมีอำนาจจำกัดของพระราชโอรส ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ พระพันปีหลวง พระองค์ทรงเห็นว่า พระราชโอรสของพระองค์ทรงหลงใหลในพระราชอำนาจมากเกินไป พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยกับสิ่งต่างๆ ที่พระราชโอรสทรงกระทำ แต่ทรงเห็นด้วยกับการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 1 (First Partition of Poland) เมื่อปีพ.ศ. 2315 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของยุโรปของคริสต์ศตวรรษที่ 18

    [แก้] ช่วงปลายรัชกาล

    ในช่วงปี พ.ศ. 2303 ได้มีโรคไข้ทรพิษลุกลามเชื้อโรคมายังพระบรมวงศานุวงศ์อิมพีเรียล พระองค์ก็ทรงติดเชื้อจากไข้ทรพิษด้วย แต่ทรงหายจากอาการประชวรได้ในปีพ.ศ. 2310 หลังจากทรงหายจากพระอาการประชวรแล้ว พระองค์จึงทรงริเริ่มให้คณะแพทย์ทำการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ โดยเริ่มทำการฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่พระราชบุตรของพระองค์ทั้งหมด จากนั้นจึงพระราชทานวัคซีนให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ

    ช่วงปลายรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการให้ปฏิรูปกฎหมายใหม่ เป็นกฎหมายระบอบเผด็จการทางการเมือง ทำให้ระบอบเศรษฐกิจของจักรวรรดิมีความมั่นคง หลังจากที่สูญเสียดินแดนซีลีเซีบให้กับปรัสเซีย

    ในปีพ.ศ. 2314 พระองค์ และสมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟ พระราชโอรส ทรงประกาศแจกจ่ายแรงงานโรบ๊อท พาเท็นท์ (Robot Patent) โดยทรงวางระเบียบควบคุมรายจ่ายของแรงงานของจักรวรรดิทั้งหมด ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของออสเตรีย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงช่วยเหลือทางด้านการศึกษาทั่วทั้งจักรวรรดิ โดยในปีพ.ศ. 2315 ทรงก่อตั้งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และวรรณคดีหลวง (Imperial and Royal Acedemy of Science and Literature) ทำให้ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงอุปถัมภ์ประชาชนที่ยากไร้ โดยเฉพาะกรุงเวียนนา พระองค์ทรงเป็นแรงหนุนให้ประชาชนที่ยากไร้ ได้มีอนาคตที่ดี ทำให้ประชาชนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง

    [แก้] อภิเษกสมรส

    สมเด็จพระจักรพรรดิ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ และพระราชบุตร

    พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดยุคฟรานซิสที่ 3 สตีเฟนแห่งลอร์เรน ซึ่งเป็นองค์พระประมุขแห่งลอร์เรน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2279 ซึ่งขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา หลังจากการอภิเษกสมรสของทั้ง 2 พระองค์ ได้มีการก่อตั้งราชสกุลใหม่ขึ้นว่า ราชสกุลฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน (House of Habsburg-Lorraine) โดยสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถทรงอยู่ในราชสกุลฮับส์บูร์ก (Habsburg) และดยุคฟรานซิสทรงอยู่ในราชสกุลลอร์เรน (Lorraine) พระราชบุตรของพระองค์จะดำรงในราชสกุลนี้ และยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ดำรงอยู่ในราชสกุลนี้จวบจนถึงปัจจุบัน

    หลังจากอภิเษกสมรสแล้ว สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถทรงมีพระบรมราชโองการสถาปนาดยุคฟรานซิส สตีเฟน พระราชสวามีขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่พระราชอำนาจทั้งหมดจะอยู่ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว ในฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถ และสมเด็จพระราชินีนาถ

    ทั้ง 2 พระองค์ทรงมีพระราชโอรส 5 พระองค์ และพระราชธิดา 11 พระองค์ รวมพระราชบุตรทั้งหมดถึง 16 พระองค์ ดังนี้

    หลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 1 เสด็จสวรรคต สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟ พระราชโอรสองค์โต ได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา แต่พระราชอำนาจส่วนใหญ่ก็ยังคงอยู่ที่สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเช่นเดิม ส่วนพระองค์เอง ก็ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินี พระพันปีหลวง (The Dowager Empress, The Empress Mother)

    [แก้] สวรรคต

    ที่ประดิษฐานพระบรมศพของสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถและพระราชสวามี ณ วิหารฮับส์บูร์ก กรุงเวียนนา

    สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถมาเรีย เทเรซ่าแห่งออสเตรีย พระราชชนนีพันปีหลวง เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2323 สิริพระชรรษาได้ 63 พรรษา พระองค์ทรงเป็นองค์พระประมุขหญิงพระองค์เดียวในราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ในรอบ 650 ปี ถือได้ว่า ทรงเป็นหนึ่งในพระประมุขผู้ทรงอำนาจที่สุดในทวีปยุโรป พระบรมศพของพระองค์ถูกนำไปฝังเคียงข้างสมเด็จพระจักรพรรดิ พระราชสวามี ณ วิหารฮับส์บูร์ก (The Imperial Crypt) กรุงเวียนนา

    โดยหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว พระราชโอรสองค์โต สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟ ก็ได้ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชมารดา และเถลิงวัลยาชสมบัติเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี โบฮีเมีย โครเอเชีย และสลาโวเนีย





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×