ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #285 : สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษ

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 328
      0
      1 พ.ค. 53



    สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งอรากอน คาสตีลและเนเปิล และสมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์

    สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ในราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นผู้ซึ่งฟื้นฟูศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษ พระนางได้ดำเนินการเผาเหล่าบุคคลต่างศาสนา ต่างนิกายกว่า 300 คนทั้งเป็น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า แมรี่บ้าเลือด หรือ แมรีผู้กระหายเลือด (Bloody Mary)

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] ช่วงต้นของชีวิต

    สมเด็จพระราชินีนาถแมรีทรงเป็นธิดาของ สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับ พระมเหสีองค์แรกคือสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน พระองค์ทรงมีพระกนิษฐาที่สิ้นพระชนม์แต่แรกเกิดและพระเชษฐา 3 พระองค์ที่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่อายุยังน้อย รวมทั้งดยุคเฮนรีแห่งคอร์นวอร์ ทางพระมารดาของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นพระนัดดาในพระเจ้าเฟรนานโดที่ 2 แห่งอารากอน กับ สมเด็จพระราชินีอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล พระนางประสูติที่พระราชวังพลาเซนเทียใน กรีนิช กรุงลอนดอนเมื่อวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 และเข้าพิธีศีลจุ่มในวันพฤหัสบดี กับ พระคาร์ดินัล โธมัส วอลซี เจ้าหญิงแมรีทรงประชวรอยู่เสมอ ความสามารถในการมองเห็นไม่ค่อยดี เป็นไซนัสอักเสบ และมักจะปวดพระเศียรอยู่เสมอ

    อย่างไรก็ตาม แมรีเป็นเด็กที่มีความสามารถมากกว่าเด็กวัยเดียวกัน การศึกษาความสามรถต่างๆพระองค์ทรงได้มาจากพระมารดาของพระองค์ แมรีได้ทรงศึกษาภาษากรีก วิทยาศาสตร์และดนตรีด้วย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2064 ทรงมีพระชนมายุ 5 ชันษา พระองค์ได้ต้อนรับแขกต่างเมืองด้วยการแสดงเล่นเวอร์จินนอล พระเจ้าเฮนรีได้โอ้อวดในแขกผู้มาเยี่ยมว่า "เด็กหญิงผู้ไม่เคยร้องไห้"

    โดยตลอดในวัยเด็กพระเจ้าเฮนรีมักจะหาคู่สมรสให้โดยตลอด เมื่อพระนางมีพระชนมายุ 2 ชันษา พระนางต้องสัญญาว่าจะอภิเสกสมรสกับ เจ้าชายดูรฟิน ฟรานซิส ซึ่งเป็นโอรสของ พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส แต่ 3 ปีผ่านไปข้อตกลงต้องเป็นอันยกเลิก

    เจ้าหญิงแมรี่ในค.ศ. 1544

    ขณะที่การครองคู่ของพระบิดาและพระมารดาเริ่มไม่ค่อยดี เพราะสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีนมิได้ทรงประสูติพระโอรสตามที่พระเจ้าเฮนรี่ทรงปรารถนา พระเจ้าเฮนรี่พยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนเป็นอันโมฆะ แต่ต้องผิดหวังเพราะสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ไม่ยินยอม การตัดสินใจของสันตะปาปาถูกบีบบังคับด้วยอำนาจของจักรพรรดิชารล์ที่ 5 แมรีนั้นแต่เดิมนั้นได้หมั้นกับหลานของพระมารดาของพระนาง พระเจ้าเฮนรีได้เรียกร้องว่า การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระนางแคทเธอรีนนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะพระนางเคยอภิเษกสมรสมาก่อนแล้ว แม้ว่าทั้งคู่ทรงอภิเษกสมรสกันอย่างสมบูรณ์ ในพ.ศ. 2076พระเจ้าเฮนรี่ได้ทรงอภิเษกสมรสอย่างลับๆกับสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน หลังจากนั้นไม่นานโธมัส เครนเมอร์ อาร์คบิชอปแห่งเคนเตอร์เบอร์รี่ ได้ประกาศว่าการอภิเษกกับ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอนถือเป็นอันโมฆะ และการอภิเษกสมรสกับ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถือเป็นอันถูกต้อง พระเจ้าเฮนรี่ประกาศไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปาแห่งโรมันคาทอลิก และประกาศตนเป็นหัวหน้าแห่งโบสถ์แห่งอังกฤษ ทำให้พระนางแคทเธอรีนต้องถูกถอดยศจากสมเด็จพระราชินีและลดชั้นกลายเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ที่เป็นหม้าย เจ้าหญิงแมรี่ได้กลายเป็นบุตรนอกสมรส ตำแหน่งของพระนางต้องถูกรับช่วงต่อโดย เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษและเป็นธิดาในสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน เจ้าหญิงแมรี่จึงกลายเป็น เลดี้ แมรี่

    เลดี้ แมรี่ถูกขับไล่ออกจากราชวงศ์ ทำให้เธอต้องมาคอยรับใช้เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระนางไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบพระมารดาอีกและไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมพิธีฝังศพพระมารดาใน พ.ศ. 2079 พระนางแอนน์ โบลีนพยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้พระเจ้าเฮนรียอมรับให้ผู้ทรงปัญญามีอำนาจในการปกครองโบสถ์แห่งอังกฤษ โดยปฏิเสธคนจากสันตะปาปาและยอมรับว่าการสมรสของบิดา มารดาของพระนางเป็นอันผิดกฎหมาย

    เลดี้ แมรี่คาดว่าปัญหาทุกอย่างจะจบลงเมื่อสมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถูกถอนยศและถูกประหารชีวิตใน พ.ศ. 2079 และเจ้าหญิงเอลิซาเบธถูกลดชั้นมาเป็นเลดี้ เอลิซาเบธเช่นเดียวกับพระนางและถูกตัดออกจากการสืบสันติวงศ์ หลังจากพระนางแอนน์ โบลีนถูกประหารไปเพียง 2 สัปดาห์ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ได้อภิเษกสมรสใหม่กับสมเด็จพระราชินีเจน เซมัวร์ผู้ซึ่งสิ้นพระชนม์หลังจากให้กำเนิดโอรส ผู้ซึ่งต่อมาคือซึ่งก็คือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ เลดี้ แมรี่ต้องกลายเป็นแม่อุปถัมภ์ให้แก่พระอนุชา และเป็นผู้ที่โศกเศร้ามากที่สุดในวันฝังพระศพสมเด็จพระราชินีเจน เซมัวร์ ต่อมาพระเจ้าเฮนรียินยอมให้พระนางเข้ามาอาศัยในพระราชวังหลวงได้

    ในปี พ.ศ. 2086 พระเจ้าเฮนรีได้อภิเษกสมรสกับพระมเหสีองค์ที่ 6 และเป็นองค์สุดท้าย คือ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน พารร์ ปีต่อมา พระเจ้าเฮนรีได้ให้เลดี้ แมรี่ และ เลดี้ เอลิซาเบธกลับคืนสู่ราชวงศ์ อย่างไรก็ตามทั้งสองพระองค์ก็ยังเป็นลูกนอกสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

    ในปี พ.ศ. 2090 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคต เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระบิดา

    [แก้] สิทธิในการครองราชย์

    เลดี้เจน เกรย์

    เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตด้วยวัณโรคในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 สิริพระชนมายุได้ 15 พรรษา พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไม่ต้องการให้เจ้าหญิงแมรี่ครองราชสมบัติ เพราะเกรงว่าพระนางจะฟื้นฟูโรมันคาทอลิกและอาจล้มล้างการปฏิรูปศาสนาของพระองค์ เพราะเหตุผลนี้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงวางแผนที่จะตัดพระนางออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาของพระองค์ไม่แนะนำให้ตัดสิทธิของเจ้าหญิงแมรี่ แต่พระองค์ก็ตั้งใจให้สิทธิในการครองราชย์แก่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ตัดสิทธิในการครองราชย์ทั้งสองคน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้ให้สิทธิในการครองราชย์แก่เลดี้เจน เกรย์ ลูกสะใภ้ของจอห์น คัดเลย์เอิร์ล แห่ง วอร์วิก ต่อมากฎหมายใน พ.ศ. 2087 ได้ให้เจ้าหญิงทั้งสองกลับมาสู่สิทธิในการสืบราชสมบัติอีกครั้ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์ เจ้าหญิงแมรี่ได้ถูกเรียกตัวกลับมาลอนดอน อย่างไรก็ตาม ในตอนแรกพระนางสงสัยว่าการเรียกตัวครั้งนี้อาจเป็นข้ออ้างในการจับกุมพระนาง ในการกระทำครั้งนี้เป็นการทำให้ เลดี้เจน เกรย์รับสิทธิในการครองราชย์สะดวกขึ้น ในวันที่ 10 กรกฎาคม เลดี้เจน เกรย์ยอมรับในการขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ การครองราชย์ของเจน เกรย์มีผู้สนับสนุนน้อย หลังจากนั้น 9 วันพระนางได้ถูกเชิญลงจากตำแหน่ง เจ้าหญิงแมรี่ได้เดินทางมาลอนดอนท่ามกลางผู้สนับสนุนมากมาย ท้ายที่สุด เลดี้เจน เกรย์ และ จอห์น ดัดเลย์ ถูกส่งไปจำคุกและคอยการประหารที่หอคอยลอนดอน

    พระราชกรณียกิจแรกของสมเด็จพระราชินีแมรี่คือ สั่งให้ปลดปล่อยโรมันคาทอลิก และสั่งจำคุกโธมัส ฮอเวิร์ด และสตีเฟน การ์ดิเนอร์ ที่หอคอยลอนดอน สมเด็จพระราชินีแมรี่ได้เข้าพิธีสวมมงกุฏในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2096

    [แก้] ครองราชย์

    [แก้] อภิเษกสมรส

    พระเจ้าเฟลิเปและพระนางแมรี
    พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน

    เมิ่อสมเด็จพระราชินีแมรี่มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา พระนางเริ่มเอาใจใส่ในการหาคู่และสร้างทายาท เพื่อขัดขวางไม่ให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งเป็นโปรแตสแตนต์เป็นทายาทสืบบัลลังก์ต่อจากพระนาง พระนางได้ปฏิเสธ เอ็ดเวิร์ด เคาน์เทอนีเอิรล์ แห่ง เดวอนเมื่อพระนางคาดการณ์ไว้ว่า พระญาติของพระนางคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 ได้แนะนำให้พระองค์สมรสกับบุตรของเขา ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งสเปนคือ ฟิลิป ซึ่งต่อมาคือ พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน เมื่อพระนางทอดพระเนตรรูปของเจ้าชายฟิลิป พระนางก็ตกหลุมรักและยืนยันจะอภิเษกสมรสกับเขา ทั้งคู่อภิเษกสมรสกันวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 ทั้งที่พระเจ้าฟิลิปไม่เคยรักพระนางเลยแต่พระองค์สมรสเพื่อต้องการครอบครองราชอาณาจักรอังกฤษเพื่อผนวกอังกฤษเข้ากับสเปน

    [แก้] การเมืองในประเทศ

    การจราจลเริ่มเกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระราชินีแมรี่อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน คยุคแห่งซัฟฟอล์กได้ประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้งว่าบุตรสาวของเขาเลดี้เจน เกรย์เป็นราชินี ในการสนับสนุนพระนางเอลิซาเบธ โธมัส วาทได้นำกำลังทหารจากเคนท์มาที่ลอนดอนแต่ได้ถูกปราบ หลังจากการกบฎถูกปราบลงแล้ว คยุคแห่งซัฟฟอล์ก,เลดี้เจน เกรย์และพระสวามีถูกตัดสินประหารชีวิต ถึงแม้ว่าเอลิซาเบธจะปฏิเสธในการสมรู้ร่วมคิดในแผนการของโธมัส วาทแต่ก็ทำให้พระนางถูกจองจำอยู่ในหอคอยลอนดอนเป็นเวลา 2 เดือนจากนั้นได้ถูกส่งไปจองจำที่พระราชวังวู้ดสต็อก

    พระราชินีแมรี่อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 ภายใต้สนธิสัญญา พระเจ้าฟิลิปเปจึงมีพระยศเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ มีเหรียญตรารูปพระเศียรของทั้งสองพระองค์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้อังกฤษต้องถูกบังคับให้สนับสนุนด้านการทหารของพระบิดาของพระเจ้าเฟลิเปคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาร์ลส์ที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิสิทธิ์ในทุกสมรภูมิ อย่างไรก็ตามพระนางแมรี่และพระเจ้าเฟลิเปก็มิใช่ผู้ปกครองร่วมกันเหมือน สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ

    [แก้] ด้านการศาสนา

    พระราชินีแมรี่ได้ปรองดองกับทางโรมและฟื้นฟูนิกายโรมันคาทอลิก พระคาดินัล เรจินาด โพล บุตรชายของเคานท์เตสแห่งซาลิสเบอรี่ได้เป็น อาร์คบิชอปแห่งเคนเตอร์บูลี่ และพระนางได้สั่งประหาร โธมัส เครนเมอร์ผู้ซึ่งเห็นชอบกับการหย่าของพระบิดาและพระมารดาของพระนาง พระนางทรงไว้ใจเรจินาด โพลเป็นอย่างมาก

    กฎหมายของพระเจ้าเอ็ดเวิรด์เกี่ยวกับการศาสนาได้ถูกเลิกล้มโดยกฎหมายแรกของรัฐสภาซึ่งพระนางแมรี่เห็นชอบด้วย (พ.ศ. 2096) และโบสถ์ได้ฟื้นฟูอีกครั้ง พระนางได้ชักชวนให้สภายกเลิกกฎหมายว่าด้วยนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8และได้มีการเห็นพ้องกันมากหลาย

    [แก้] การลงโทษ

    ผู้นำนิกายโปรเตสแตนต์ถูกประหารไปมากมายในการลงโทษมาเรียน ชาวโปรเตสแตนต์ที่ร่ำรวยได้ตัดสินใจออกนอกประเทศ ประมาณ 800 คนที่หนีออกจากประเทศ ผู้ที่ถูกฆ่าด้วยเรื่องของศาสนาที่สำคัญได้แก่ จอห์น โรเจอร์ (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098) , ลอเรนซ์ ซอนเดอร์ (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098) , โรว์แลนด์ เทย์เลอร์ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098) และ จอห์น โฮเปอร์ บิชอปแห่งโกลเชสเตอร์ (9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2098) โดยรวมมีชาวโปรเตสแตนต์ถูกฆ่าถึง 284 คน

    [แก้] นโยบายเกี่ยวกับต่างประเทศ

    นโยบายของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ต่อราชอาณาจักรไอร์แลนด์ใน พ.ศ. 2085 มิได้เห็นคุณค่าของนิกายโรมันคาทอลิกเลย ใน พ.ศ. 2098 พระราชินีแมรีได้รับสิ่งล้ำค่าจากพระสันตะปาปาทำให้ได้รับการยืนยันว่า พระนางและพระเจ้าเฟลิเปเป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ ด้วยเหตุนั้นโบสถ์คาทอลิกจึงตกลงที่จะเชื่อมต่อระหว่างราชอาณาจักรอังกฤษกับราชอาณาจักรไอร์แลนด์

    ในรัชสมัยของพระองค์อังกฤษต้องเข้าร่วมในการทำสงครามต่อต้านฝรั่งเศสเพื่อผลประโยชน์ของสเปนในอิตาลี การค้ากับต่างประเทศของอังกฤษก็ต้องถูกระงับไปหากไปขัดกับนโยบายของสเปน แม้กระทั่งการแสวงหาอาณานิคมหรือการสร้างอำนาจทางกองทัพเรือก็ต้องแล้วแต่ความเห็นชอบของพระราชาสเปน เสมือนว่าอังกฤษได้กลายเป็นเมืองขึ้นสเปน

    [แก้] การค้าขายและรายได้

    ความตกต่ำของการค้าขายเสื้อผ้าเป็นปัญหาที่เด่นชัดในสมัยของพระองค์ ถึงแม้ว่าพระนางแมรี่ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าเฟลิเป อังกฤษจะไม่ได้ผลประโยชน์ในการติดต่อค้าขายกับโลกใหม่ สเปนได้ป้องกันผลประโยชน์ของตัวเอง พระนางแมรี่ไม่ให้อภัยกับการค้าที่ผิดกฎหมายเพราะพระนางได้เป็นมเหสีของชาวสเปน ในความจริงพระนางได้พยายามช่วยเหลือเศรษฐกิจอังกฤษ พระนางได้ดำเนินนโยบายนอร์ธัมเบอร์แลนด์อันเป็นนโยบายเกี่ยวกับการค้นหาเมืองท่าใหม่นอกยุโรปต่อ

    ด้านการเงินพระนางได้ยอมรับความคิดใหม่ๆจากรัฐบาล และได้แต่งตั้ง วิลเลียม พอเล็ท มาควิสแห่งวินเชสเตอร์เป็นผู้ตรวจรายได้

    [แก้] สวรรคต

    สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ วาดโดย ฮันส์ เอวอร์ท

    สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 เสด็จสวรรคตในวันที่17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101สิริพระชนมายุได้ 42 พรรษา ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ การสวรรคตของพระนางถูกพิจารณาว่าสาเหตุเนื่องมาจากการพยายามมีทายาทของพระนาง ทั้งที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์แต่พระนางคิดว่าตัวพระนางเองมีบุตรจึงเกิดภาวะครรภ์เทียมทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆจนสวรรคตแต่การสวรรคตของพระองค์ยังสรุปไม่ได้ว่าทรงสวรรคตด้วยภาวะครรภ์เทียมหรือทรงเป็นเนื้องอกในมดลูก ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระนางคือพระขนิษฐาต่างมารดา เจ้าหญิงเอลิซาเบธซึ่งต่อมาเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

    [แก้] พระราชสมบัติอันโด่งดัง

    พระราชสมบัติสมบัติที่ตกทอดมาแต่สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่1 ที่ได้รับการกล่าวขานคือ ไข่มุก La Peregrina อันโด่งดัง ไข่มุกรูปทรงหยดน้ำสีขาวอมชมพู ขนาด50กะรัตนี้ (1กะรัตหนัก 0.2กรัม) ถูกพบที่ เกาะไข่มุก อ่าวปานามา ปีค.ศ. 1513โดยทาสชาวแอฟริกา น้ำหนักแรกพบคือ 223.8 เกรน (55.95 กะรัต) เมื่อล้างทำความสะอาดเหลือน้ำหนัก 203.84เกรน (50กะรัต) La Peregrina ในภาษาสเปนหมายถึง "the Pilgrim" or "the Wanderer." ซึ่งขณะที่พบนั้นนับเป็นไข่มุกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันกลายเป็นไข่มุก ที่มีรูปทรง pear-shapedที่ใหญ่ที่สุดเม็ดหนึ่งของโลก พระเจ้าเฟอร์ดินานที่5แห่งสเปน (ค.ศ. 1479-1516) นำมุกนี้ไปประดับมงกุฏและตกทอดถึงพระเจ้าชาร์ลที่5 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 1516-1556) พระเจ้าฟิลิปที่2แห่งสเปน พระโอรสของชาร์ลที่5 (ค.ศ. 1556-1598) แล้วนไข่มุกนี้ถูกนำไปมอบแก่สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่1โดยทรงนำมาทำเข็มกลัดพระดับพระอุระ โดยใช้ทรงในวันอภิเษกสมรสกับพระเจ้าฟิลิปที่2แห่งสเปนในปีค.ศ. 1554ด้วย แม้เวลาทรงงานก็ทรงเสมอๆ หลังจากที่พระนางแมรี่ที่1สวรรคตในปีค.ศ. 1558 ไข่มุกถูกนำกลับสเปนนานถึง250ปี พระเจ้าฟิลิปที่4 แห่งสเปนทรงนำไปประดับบนหมวกทรงของพระองค์ สมเด็จพระราชินีแห่งสเปนหลายพระองค์ถัดมาทรงโปรดปรานยิ่งนัก บ้างก็ทรงนำไปประดับเข็มกลัด จี้พระศอ จนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่1 แห่งฝรั่งเศสยกสเปนให้โจเซฟ โบนาปาร์ต พี่ชาย โจเซฟมาถึงมาดริดได้ครองสเปนในค.ศ. 1808 ภายหลังได้นำไข่มุกกลับฝรั่งเศสและมอบไข่มุกต่อให้หลานขอบเขา ชาร์ล หลุยส์ นโปเลียน ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่3 หลังจากนั้นไข่มุกก็ถูกขายไปอยู่ในมือครอบครัว ดยุกแห่งอเบอร์คอน ( the Dukes of Abercorn) ปีค.ศ. 1848ในลอนดอน โดยมีมาร์ควิสที่2 แห่งอเบอร์คอน ลอร์ดเจมส์ เฮอร์มิตัน (2nd Marques of Abercorn) เป็นเจ้าของเขอได้มอบไข่มุกนี้พร้อมชุดเครื่องประดับไข่มุกแก่ภรรยา Lady Louisa Jane Russel ซึ่งเธอได้ทำหายไปในงานเลี้ยงอาหารคำที่ปราสาทวินเซอร์ เธอสั่งหยุดรถไฟแล้วกลับไปหาก็พบอยู่บนโซฟา ในที่สุดเธอก็มอบไข่มุกเม็ดงามแก่บุตรชาย 2nd Duke of Abercorn เป็นคนต่อมาก่อนตกสู่มือของผู้ครอบครองคนปัจจุบันคือ ดาราฮอลลีวูดที่โด่งดังพอๆกับไข่มุก อลิซาเบธ เทย์เลอร์ โดยเธอได้รับเป็นของขวัญวันวาเลนไทน์ในปีค.ศ. 1969 จากริชาด เบอร์ตัน (คนเดียวกับที่มอบเพชร เทย์เลอร์-เบอร์ตัน สีขาว ขนาด 68กะรัตให้เธอ ) ในการประมูลที่อังกฤษ the House of Sotheby กรุลอนดอน ในราคา37,000เหรียญ และริชาดได้ค้นพบว่า สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่1 ทรงไข่มุกเม็ดนี้ด้วยจากภาพวาดพระนางใน British National Portrait Gallary (ภาพบนสุดจะเห็นได้ว่าพระนางแมรี่ทรงไข่มุกไว้ที่พระอุระ) อลิซาเบธได้ปรับปรุงจากเข็มกลัดเดิมไปเป็นจี้ไข่มุกเดี่ยวตรงกลางจี้ประดับทับทิมและเพชรซึ่งไข่มุกจะห้อยอยู่ด้านล่างสุดใส่ร่วมชุดกับสร้อยไข่มุกนำงามสายคู่ ผลงานการออกแบบนี้เป็นของคาร์เทียร์ โดยรวมแล้วว่ากันว่าเครื่องประดับที่เธอเป็นเจ้าของทั้งหมดมีมูลค่ารวมแล้วถึง 200 ล้านเหรียญซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นของกำนัลจากสามีหลายๆคนของเธอเองมอบให้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×