ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #33 : เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีองค์แรกแห่งสวีเดน

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 906
      0
      18 เม.ย. 55


     

    เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (ภาษาอังกฤษ: Her Royal Highness Crown Princess Victoria of Sweden; หรือ ภาษาสวีเดน: Henne Kunglig Höghet Kronprinsessan Victoria, Sveriges kronprinsessa; พระนามเต็ม วิกตอเรีย อิงกริด อลิซ เดซิเร ประสูติ 14 กรกฎาคมพ.ศ. 2520กรุงสต็อกโฮล์ม) ทรงเป็นรัชทายาทอันดับหนึ่งในราชบัลลังก์สวีเดน หากเมื่อเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ พระองค์จะทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถลำดับที่สี่ของประเทศ (ต่อจาก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 1 สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินา และสมเด็จพระราชินีนาถอุลริคา เอเลโอนอรา)

    นอกจากนี้พระองค์ยังทรงถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 7 ของราชนิกุลรุ่นเยาว์ที่เซ็กซี่มากสุดในโลก

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] พระชนม์ชีพในวัยเยาว์

    เจ้าหญิงประสูติเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมพ.ศ. 2520โรงพยาบาลแคโรลินสกา ในกรุงสต็อกโฮล์ม โดยทรงเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ และ สมเด็จพระราชินีซิลเวีย และเป็นสมาชิกในราชวงศ์เบอร์นาด็อต อีกทั้งมีเชื้อสายส่วนใหญ่เป็นเยอรมัน พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (heir-apparent) ซึ่งเป็นสตรีเพียงองค์เดียวในโลก (แม้มีรัชทายาทหญิงในราชบัลลังก์อยู่อีกหลายองค์ แต่เป็นเพียงพระธิดาองค์ใหญ่ในรัชทายาทหรือมกุฎราชกุมาร) และทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน (HRH The Crown Princess) นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังทรงอยู่ในอันดับที่ 192 ของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ โดยผ่านทางพระชนก ซึ่งทรงเป็นพระปนัดดาในเจ้าฟ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งคอนน็อต พระราชนัดดาของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร จึงทำให้ทรงมีศักดิ์เป็นพระประยูรญาติ (เช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน คาร์ลอสที่ 1 แห่งสเปน) ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 หากเมื่อเจ้าหญิงเสวยสมบัติจะทรงได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสวีเดน

    พระนามเรียกขานทั้งหมดของเจ้าหญิงวิกตอเรียเป็นการให้เกียรติแก่พระญาติต่างๆ โดยพระนามแรกมาจากเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งบาเดิน พระเปตามหัยยิกา (ย่าทวด) และพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 5 (แต่ก็เป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียด้วย) ส่วนพระนามอื่นๆ มาจากเจ้าหญิงอิงกริดแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก; อลิซ ซอมเมอร์ลาธ (สกุลเดิม เด โตเลโด) คุณยายชาวบราซิล และเดซิเร คลารี พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 15 โยฮันแห่งสวีเดน และอดีตคู่หมั้นของนโปเลียน โบนาปาร์ต

    เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเข้ารับศีลจุ่มเมื่อวันที่ 27 กันยายนพ.ศ. 2520 ณ มหาวิหารหลวง ในกรุงสต็อกโฮล์ม โดยมีพ่อและแม่ทูนหัวคือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ ราล์ฟ ซอมเมอร์ลาธ ซึ่งเป็นพี่ชายของสมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงเดซิเร่แห่งสวีเดน บารอนเนสซิลฟ์แวร์สคิเอิลด์ พระปิตุจฉา

    เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเป็นแม่ทูนหัวให้กับพระโอรสธิดาของพระราชวงศ์อื่น ส่วนมากเป็นอนาคตรัชทายาทในราชบัลลังก์คือ เจ้าหญิงอิงกริด-อเล็กซานดราแห่งนอร์เวย์เจ้าหญิงคาธารีนา-อาเมเลียแห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายคริสเตียนแห่งเดนมาร์ก รวมไปถึงเจ้าหญิงเอเลโอนอร์แห่งเบลเยียม

    [แก้] การศึกษา

    [แก้] การเปลี่ยนแปลงพระราชสถานะ

    เจ้าหญิงทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารีและรัชทายาทลำดับแรกแห่งราชบัลลังก์เมื่อวันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2523 จากการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติการสืบราชสมบัติแห่งปี พ.ศ. 2353 (Successionsordningen) ในปลายปี พ.ศ. 2522 การปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นหมายถึงเชื้อสายคนโตของพระมหากษัตริย์สามารถสืบราชสมบัติได้ไม่ว่าจะเป็นเพศใด สวีเดนเป็นประเทศแรกที่นำเอากฎหมายการสืบสันตติวงศ์โดยไม่คำนึงถึงเพศมาใช้ นอกจากจะทำให้เจ้าหญิงวิกตอเรียทรงเป็นรัชทายาทหญิงในราชบัลลังก์สวีเดนแล้ว ยังทำให้ได้ทรงเป็นสตรีพระองค์แรกในลำดับการสืบราชสมบัติ การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงโปรดจะให้พระโอรสเป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 และยังคงทรงมีความเห็นแบบนี้อยู่ เมื่อเจ้าหญิงทรงเป็นรัชทายาท ก็ยังทรงมีพระอิสริยยศเป็นดัชเชสแห่งวาสเตอร์เกิตลานด์ ซึ่งเป็นชื่อมณฑลที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศสวีเดนอีกด้วย

    ก่อนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ รัชทายาทในราชบัลลังก์ในตอนนั้นคือ เจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุคแห่งแวร์มลานด์ พระอนุชาในเจ้าหญิง ตอนนี้พระองค์ทรงอยู่ในลำดับที่สองของการสืบราชสมบัติ นอกจากนี้ยังทรงมีพระกนิษฐาอีกพระองค์หนึ่งคือ เจ้าฟ้าหญิงเมดเดลีน ดัชเชสแห่งฮาลซิงลานด์และกาสตริคลานด์

    [แก้] พระราชกรณียกิจ

    เจ้าหญิงมกุฎราชกุมารีทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงพระราชอิสริยยศรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์สวีเดนอย่างเป็นทางการในงานพระราชพิธี ณ ห้องโถงใหญ่ พระราชวังหลวงสต็อกโฮล์มในวันที่ 14 กรกฎาคมพ.ศ. 2538 โดยทรงกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้ารัฐสภาสวีเดน (Riksdag) เป็นครั้งแรก พระองค์ได้ทรงเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในฐานะตัวแทนของราชอาณาจักรสวีเดนอยู่หลายครั้ง โดยครั้งแรกเป็นการเสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งได้เสด็จไปส่งเสริมการออกแบบของประเทศสวีเดน ต่อมาได้เสด็จเยือนโคโซโวในปี พ.ศ. 2545 ประเทศอียิปต์และสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2546 และในต้นปี พ.ศ. 2547 เจ้าหญิงมกุฎราชกุมารีได้เสด็จเยือนประเทศซาอุดีอาระเบีย ในฐานะที่ทรงเป็นส่วนหนึ่งในคณะผู้แทนทางธุรกิจอย่างเป็นทางการกลุ่มใหญ่จากสวีเดน หนึ่งในการเสด็จเยือนต่างประเทศเป็นการส่วนพระองค์ครั้งล่าสุดคือ การเยือนประเทศฮังการีในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นประธานเปิดงานนิทรรศการ และการเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียอย่างเป็นทางการครั้งล่าสุดของพระองค์ก็เพื่อไปส่งเสิรมการออกแบบของประเทศสวีเดน ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 พระองค์ทรงเข้าร่วมการสัมมนาทางธุรกิจของสวีเดนและการฉลองวันสวีเดนที่กรุงอังการา ประเทศตุรกีในช่วงการเสด็จเยือนในทางประวัติศาสตร์ซึ่งจัดถวายโดยสถานทูตสวีเดน ณ กรุงอังการาและคณะมนตรีการค้าแห่งสวีเดน ณ กรุงอิสตันบูล และได้เสด็จเยี่ยมชมสถานที่ทางประวัติศาสตร์หลายแห่งในกรุงอิสตันบูล อาทิ มัสยิดสีน้ำเงิน พระราชวังทอปกาปีและโบสถ์ฮาเจียโซเฟีย นับเป็นการเยือนประเทศตุรกีอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประเทศสวีเดนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477

    [แก้] การหมั้นหมายและอภิเษกสมรส

    สื่อในประเทศสวีเดนได้ติดตามข่าวการหมั้นหมายและอภิเษกสมรสที่จะมีขึ้นของเจ้าหญิงวิกตอเรียมาเป็นหลายเวลาหลายปีนับแต่ทรงเริ่มมีความสัมพันธ์ และเมื่อในวันที่ 24 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2552 ข่าวลือของการวางแผนงานอภิเษกสมรสซึ่งใกล้จะเกิดขึ้นกลายเป็นประเด็นสำคัญเกิดขึ้นก่อนหน้าในสภาคณะมนตรีระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีกับนายเฟรดริค ไรน์เฟลด์นายกรัฐมนตรีแห่งสวีเดน[1] ทั้งนี้ภายใต้ข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์แห่งสวีเดน รัฐบาลต้องเห็นชอบการอภิเษกสมรสของเจ้าชายหรือเจ้าหญิงแห่งสวีเดน ตามพระราชบัญชาของพระมหากษัตริย์ มิเช่นนั้นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงพระองค์นั้นต้องสละสิทธิในลำดับการสืบราชสมบัติ ในเวลาต่อมาของวันเดียวกัน จึงเป็นที่ยืนยันว่าทรงมีพระบรมราชานุญาตออกมาและเจ้าหญิงวิกตอเรียจะทรงอภิเษกสมรสกับแดเนียล เวสต์ลิง ในช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2553[2] วันอภิเษกสมรสได้กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 19 มิถุนายนพ.ศ. 2553 ณ มหาวิหารหลวง ในกรุงสต็อกโฮล์ม[3] ซึ่งเป็นการครบรอบปีที่ 34 ในการอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ และสมเด็จพระราชินีซิลเวีย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 และหลังจากการอภิเษกสมรส แดเนียลจะได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าชายแดเนียล ดยุคแห่งวาสเตอร์เกิตลานด์ (Prince Daniel, Duke of Västergötland)[4][5] นับว่าเป็นครั้งแรกของราชวงศ์สวีเดนที่บุรุษสามัญชนมาเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงรัชทายาทและได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ นอกจากนี้สมาชิกในราชวงศ์เบอร์นาด็อตซึ่งได้อภิเษกสมรสในวันเดียวกันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 1 แห่งสวีเดน กับ ดัชเชสโยเซฟีนแห่งลอยช์เต็นแบร์ก เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนพ.ศ. 2366 และ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 15 แห่งสวีเดน กับ เจ้าหญิงหลุยส์แห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนพ.ศ. 2393[6]


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×