ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #7 : สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงอลิซ ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 952
      0
      17 เม.ย. 55

     

    เลดี้ อลิซ คริสตาเบล มอนเตกู-ดักลาส-สก็อต (Lady Alice Christabel Montagu-Douglas-Scott) หรือ เจ้าฟ้าหญิงอลิซ ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์ (Princess Alice, Duchess of Gloucester; 25 ธันวาคมพ.ศ. 2444 - 29 ตุลาคมพ.ศ. 2547) ทรงเป็นพระชายาในเจ้าฟ้าชายเฮนรี ดยุคแห่งกลอสเตอร์ พระราชโอรสพระองค์ที่สามของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และ สมเด็จพระราชินีแมรี จึงทำให้เป็นพระกนิษฐาภาดาในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 และ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และทรงเป็นพระชนนีในดยุคแห่งกลอสเตอร์คนปัจจุบัน นอกจากนั้นก็ยังเป็นพระปิตุจฉาในสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธี่ 2 โดยผ่านทางการอภิเษกกับพระปิตุลาของพระองค์ด้วย

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] ชีวิตในวัยเยาว์

    เลดี้อลิซเกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมพ.ศ. 2444 ณ ตำหนักมอนเตกู กรุงลอนดอน เป็นธิดาคนที่ 3 ของจอห์น มอนเตกู ดักลาส-สก็อต ดยุคแห่งบักเคลิชและควีนส์เบอร์รี กับ เลดี้ มาร์กาเร็ต บริดจ์แมน จึงทำให้มีเชื้อสายผ่านทางผู้ชาย (แม้ว่าจะนอกกฎหมาย) โดยไม่ขาดสายของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เลดีใช้เวลาในวัยเด็กอยู่ที่บ้านพักต่างๆ ในชนบท อาทิ ตำหนักโบตันในมณฑลนอร์แธมป์ตันไชร์ ปราสาทดรัมลานริกในมณฑลดัมไฟรส์และกัลโลเวย์ และโบฮิลล์ในมณฑลสกอตติชบอร์ดเดอร์ ได้เข้าเรียนในโรงเรียนเซ็นต์เจมส์ เมืองเวสต์มาลเวิร์น มณฑลวอร์สเตอร์ไชร์ และต่อมาก็ได้ไปประเทศฝรั่งเศสและประเทศเคนยา

    [แก้] อภิเษกสมรส

    ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2478 เลดี้อลิซได้หมั้นหมายกับเจ้าชายเฮนรี ดยุคแห่งกลอสเตอร์ พระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 และได้อภิเษกสมรสด้วยพิธีหลวงส่วนตัวในห้องสวดมนต์ต์ต์ของพระราชวังบัคกิงแฮม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน ในตอนแรกทั้งดยุคและดัชเชสแห่งกลอสเตอร์ได้อาศัยอยู่ในเมืองอัลเดอร์ช็อต ซึ่งเป็นที่ที่ดยุคได้เข้ามาฝึกเป็นทหารอยู่ ต่อมาดยุคแห่งกลอสเตอร์ก็ได้ทรงลาออกจากกองทัพเพื่อมาปฏิบัติพระกรณียกิจมากขึ้นในคราวการสละราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2479

    ทั้งสองพระองค์ได้รับพระราชทานตำหนักยอร์ค ซึ่งเป็นพระราชสมบัติในพระประมุขของอังกฤษ โดยเป็นส่วนหนึ่งในพระราชวังเซนต์เจมส์กรุงลอนดอน และก็ยังได้ซื้อคฤหาสน์บาร์นเวลล์ในมณฑลนอร์แธมป์ตันไชร์ในปี พ.ศ. 2481 ไว้อีกด้วย

    [แก้] การเปลี่ยนแปลงสถานภาพ

    ในวันที่ 10 มิถุนายนพ.ศ. 2517 เจ้าชายเฮนรีได้สิ้นพระชนม์ลงและตำแหน่งดยุคแห่งกลอสเตอร์ได้ตกทอดต่อไปยังเจ้าชายริชาร์ด พระโอรสองค์ที่สอง (เจ้าชายวิลเลียม พระราชโอรสพระองค์โตและทายาทสืบตำแหน่งดยุคได้สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในปี พ.ศ. 2515) พระชายาหม้ายของดยุคได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกับสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ให้ทรงดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าหญิงอลิซ ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์ (HRH Princess Alice, Duchess of Gloucester) แทน สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงดัชเชสหม้ายแห่งกลอสเตอร์ (HRH The Dowager Duchess of Gloucester) สมเด็จพระราชินีทรงอนุญาตให้พระปิตุจฉาใช้พระอิสริยยศนี้เพื่อเป็นการเลี่ยงความสับสนในตำแหน่งกับดัชเชสแห่งกลอสเตอร์คนปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระชายาในพระโอรส (เดิมคือ บริจิตต์ เอวา ฟาน เดอร์ส)

    เจ้าหญิงอลิซไม่ทรงประสงค์เป็นดัชเชสพระชายาหม้ายและได้ดำรงพระยศตามแบบอย่างเจ้าฟ้าหญิงมารีนา ดัชเชสแห่งเคนต์ พระกนิษฐภาดาเมื่อคราวการอภิเษกสมรสของพระโอรสองค์โตเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2504 แต่อย่างไรก็ดี เจ้าหญิงมารีนาเป็นเจ้าหญิงตั้งแต่แรกประสูติ ดัชเชสหม้ายแห่งกลอสเตอร์ตามสิทธิโดยชอบจึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้เรียกว่าเจ้าหญิงอลิซตามอัธยาศัยจากสมเด็จพระราชินีนาถ แม้ว่าจะไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหญิงแบบเฉพาะเจาะจงตามพระราชโองการเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ทรงได้รับการขนานพระนามพระองค์เองให้เป็นเจ้าหญิงอังกฤษ ถึงแม้จะไม่ได้ประสูติเป็นเจ้าหญิงก็ตาม

    [แก้] ปลายพระชนม์ชีพ

    ในปี พ.ศ. 2518 เจ้าหญิงอลิซทรงเป็นสตรีพระองค์แรกที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งบาธชั้นที่ 1 และต่อมาในปี พ.ศ. 2524 ทรงได้พิมพ์บันทึกความทรงจำของพระองค์ออกมาในชื่อ "The Memoirs of Princess Alice, Duchess of Gloucester" (บันทึกความทรงจำของเจ้าหญิงอลิซ ดัชเชสแห่งกลอสเตอร์) และในปี พ.ศ. 2534 พระองค์ได้ทรงพิมพ์ฉบับแก้ไขใหม่ในชื่อ "Memories of Ninety Years" (บันทึกความทรงจำในเวลาเก้าสิบปี)

    ในปี พ.ศ. 2537 หลังจากสมาชิกครอบครัวกลอสเตอร์ได้ขายคฤหาสน์บาร์นเวลล์ ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทางด้านการเงิน เจ้าหญิงอลิซจึงได้ทรงย้ายจากคฤหาสน์บาร์นเวลล์ไปประทับยังพระราชวังเคนซิงตัน ซึ่งเป็นที่ประทับของดยุคและดัชเชสแห่งกลอสเตอร์คนปัจจุบัน

    ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2544 พระราชวงศ์อังกฤษได้จัดพิธีเฉลิมฉลองวันประสูติครบรอบ 100 พรรษาให้แก่เจ้าหญิงอลิซ ซึ่งเป็นการจัดครั้งที่สองที่เกิดขึ้นในปีนั้น (โดยครั้งแรกเป็นของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี) และในพิธีนี้เป็นการปรากฏพระองค์ต่อหน้าสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเจ้าหญิงอลิซ (และของเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต พระขนิษฐาในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ) และต่อมาในวันที่ 24 กรกฎาคมพ.ศ. 2546 เจ้าหญิงทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์อังกฤษที่มีพระชนม์ชีพยาวนานที่สุดที่ยังไม่ใครเกินหน้าได้ต่อจากสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระบรมราชชนนี

    เจ้าหญิงอลิซสิ้นพระชนม์ลงด้วยพระอาการสงบเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมพ.ศ. 2547 ณ พระราชวังเคนซิงตัน ขณะมีพระชนมายุ 102 พรรษา งานพิธีศพจัดขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายนพ.ศ. 2547โบสถ์เซนต์จอร์จปราสาทวินด์เซอร์ พระศพได้ฝังลงเคียงข้างเจ้าชายเฮนรี พระสวามีและเจ้าชายวิลเลี่ยม พระโอรสองค์โตในสุสานฝังศพหลวงที่ฟร็อกมอร์ สมเด็จพระราชินีนาถและเหล่าสมาชิกพระราชวงศ์ได้เสด็จมาร่วมงานพระศพด้วย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×