ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป

    ลำดับตอนที่ #98 : สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 428
      0
      12 ธ.ค. 53


     

    สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย หรือ เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ (มารี อเล็กซานดรา วิกตอเรีย, 29 ตุลาคมพ.ศ. 2418 - 18 กรกฎาคมพ.ศ. 2481) ทรงเป็นหนึ่งในสมาชิกของพระราชวงศ์อังกฤษ ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนียพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย

    เนื้อหา

    [ซ่อน]

    [แก้] ช่วงต้นของชีวิต

    เจ้าหญิงทรงประสูติในวันที่ 29 ตุลาคมพ.ศ. 2418 ที่ อีสเวล ปาร์กเค้นท์ ทรงเป็นพระธิดาพระองค์โตในเจ้าฟ้าชายอัลเฟรด ดยุคแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธากับแกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย พระบิดาของพระองค์ทรงเป็นพระโอรสพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรกับเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต เจ้าชายพระราชสวามี พระมารดาของพระองค์ทรงเป็นพระธิดาเพียงพระองค์เดียวที่ยังทรงมีชีวิตอยู่ในสมเด็จพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซียกับพระจักรพรรดินีมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย พระนางได้ทำพิธีแบ็ฟติสท์ที่โบสถ์ในพระราชวังวินด์เซอร์ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2418 พระบิดาพระมารดาอุปถัมภ์ของพระนางคือ พระจักรพรรดินีมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย และ มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย,ดัสเชสแห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา,เจ้าหญิงแห่งเวลส์และดยุคแห่งคอนน็อต พระบิดาของพระองค์ทรงเป็นราชนาวีอังกฤษ ทำให้ในวัยเด็กส่วนมากพระนางใช้ชีวิตอยู่ที่มอลตา

    [แก้] อภิเษกสมรส

    ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเอดินบะระ

    ในวัยสาว เจ้าหญิงมารีได้พิจารณาเลือกคู่ที่เหมาะสมในราชวงศ์ยุโรป พระญาติพระองค์แรกของพระนางคือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรทรงตกหลุมรักพระนางและวางแผนอภิเษกสมรส พระบิดาของเจ้าหญิงมารีและพระบิดาของเจ้าชายจอร์จทรงเห็นชอบด้วย แต่พระมารดาของเจ้าหญิงมารีทรงไม่เห็นชอบการอภิเษกสมรสกับราชวงศ์อังกฤษ ทรงต้องการให้พระธิดาอภิเษกสมรสกับราชวงศ์อื่นที่ไม่ใช่ราชวงศ์อังกฤษ

    เจ้าหญิงมารีทรงอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารแห่งโรมาเนีย พระนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนียที่เมืองซิกมารินเกนประเทศเยอรมนีในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2436 เจ้าสาวในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 17 พรรษาส่วนเจ้าบ่าวทรงมีพระชนมายุมากกว่าพระนาง 10 ปี ทรงมีพระธิดา 3 พระองค์และพระโอรส 3 พระองค์ พระนางทรงติดต่อกันทางจดหมายกับเพื่อนสนิทของพระนางเป็นเวลานานอย่างเป็นความลับ เกอร์ท ฟูลเล่อร์นักเต้นรำชาวอเมริกันได้ออกมาเปิดเผยว่า"ความรังเกียจ ที่เติบโตขึ้นจากการขยะแขยง" บุตร 2 พระองค์สุดท้ายทรงประสูติหลังจากเจ้าหญิงมารีพบกับคู่รักที่ทรงคบหากันมานานคือ บาร์บู สเตอร์เบย์และนักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปได้ตกลงว่าเจ้าชายเมอร์เซียเป็นพระโอรสของเขา เนื่องจากมีพระเนตรสีน้ำตาลคล้ายสเตอร์เบย์ และไม่เหมือนพระเจ้าเฟอร์ดินานด์และเจ้าหญิงมารี

    [แก้] เรื่องอื้อฉาวกับคานตาคูเซเน

    ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย

    ในพ.ศ. 2440 ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นมกุฎราชกุมารีแห่งโรมาเนีย พระนางได้ติดต่ออย่างลึกซึ้งกับกวีชื่อ ซีซิ คานตาคูเซเน เรื่องอื้อฉาวนี้กระจายไปอย่างรวดเร็วทำให้สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนียทรงต้องปกปิดข่าวนี้ อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ. 2440 ฤดูใบไม้ผลิ พระนางทรงตั้งพระครรภ์ หลังจากทรงมาจากโคบูร์ก พระนางทรงพระประสูติกาลอย่างลึกลับ พระบุตรผู้ที่ไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ มีการพูดว่าทรงนำพระบุตรไปไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ไม่ว่าอะไรก็ตามความเป็นจริง ประวัติเกี่ยวกับพระบุตรผู้ลึกลับของพระนางมารีเป็นเรื่องลึกลับเรื่องหนึ่งว่า "she ... took ... to the grave."(หล่อน...นำ...ไปที่สุสาน)

    [แก้] การประสูติกาลเจ้าหญิงมาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งยูโกสลาเวียในอนาคต

    เจ้าหญิงมิกนอลและพระนางมารี

    ในปีพ.ศ. 2442 พระนางทรงพระครรภ์ มิกนอล(เจ้าหญิงมาเรีย) พระนางทรงขอพระราชานุญาตจากสมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 เพื่อจะได้ทรงไปประสูติกาลพระบุตรที่เมืองโคบูร์ก ซึ่งเป็นที่พำนักของพระบิดาของพระองค์ หลังจากทรงไม่อนุญาต พระนางจึงทรงประกาศว่า พระบุตรที่อยู่ในพระครรภ์เป็นบุตรของพระนางกับแกรนด์ดยุคบอริส วลาดิมีรอวิชแห่งรัสเซีย พระราชาทรงตกพระทัยอย่างยิ่งและทรงผ่อนปรนแก่พระนาง ดังนั้นพระนางจึงทรงประสูติการพระธิดาที่เมืองโคบูร์ก พระนามว่า มารี แต่ในหมู่ราชวงศ์มักถูกเรียกว่า มิกนอล มกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์ทรงรับเป็นพระบิดาของเจ้าหญิง

    [แก้] การประสูติของเจ้าชายนิโคลัส

    เจ้าชายนิโคลัสทรงเป็นบุตรองค์ที่ 4 และพระโอรสพระองค์ที่ 2 ของเจ้าหญิงมารี ทรงประสูติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2446 มีรูปลักษณ์ละม้ายคล้าย พอลีน แอสเตอร์ น้องสาวของพระสหายของเจ้าหญิงมารีคือ วัลดอล์ฟ แอสเตอร์ ได้มีการพิจารณากันอย่างแพร่หลายว่าน่าจะเป็นพระบิดาของเจ้าชายนิโคลัสจริงมิใช่มกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์ เช่นเคยเหมือนกับกรณีเจ้าหญิงมิกนอล มกุฎราชกุมารทรงรับอุปการะเจ้าชายนิโคลัสและเมื่อทรงเจริญพระชันษาขึ้นมาเจ้าชายนิโคลัสทรงมีพระพักษร์คล้ายคลึงพระราชวงศ์โฮเฮนโซเลนมากกว่าตระกูลแอสเตอร์

    [แก้] สมเด็จพระราชินีและสมเด็จพระราชชนนีแห่งโรมาเนีย

    พระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์และพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย

    ในปีพ.ศ. 2457 สมเด็จพระราชาธิบดีคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนียเสด็จสววรคต มกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์ทรงครองราชสมบัติต่อ เจ้าหญิงมารีทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้ง 2 พระองค์ไม่ได้สวมมงกุฎจนกระทั่งพ.ศ. 2463

    ราชินีทรงกลายเป็นชาวโรมาเนียผู้รักชาติ ทรงจูงใจประชากรไปในวงกว้าง เอ.เอล.อีสเตอร์แมนได้บันทึกว่า "พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงเป็นคนเงียบ และง่ายๆ ไม่มีความสำคัญใดๆ ไม่ใช่พระองค์แต่เป็นมารีผู้ควบคุมประเทศนี้อย่างแท้จริง" เขาได้เชื่อถือในความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของพระราชินีมารีต่อฝ่ายสัมพันธมิตร "ส่วนใหญ่การรักชาติภายใต้การนำของพระราชินีได้นำพาประเทศไปยังฝ่ายของพวกเขา"ในสงคราม

    ในระหว่างสงครามพระนางได้อาสาสมัครปฏิบัติภารกิจพยาบาลในหน่วยกาชาดเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยและพระองค์ได้เริ่มเขียนหนังสือเรื่อง My Countryเพื่อเพิ่มกองทุนให้แก่สภากาชาด แต่นี้ก็ไม่ใช่การบริจาคที่สำคัญที่สุดของพระนาง ประเทศได้ถูกรุกล้ำโดยทหารเยอรมันไปกว่าครึ่ง พระนางและกลุ่มที่ปรึกษาทางทหารได้วางแผนการแก่กองทัพโรมาเนีย แต่ทหารค่อนข้างอยากจะหลบหนีเข้าประเทศรัสเซีย และได้เลือกที่จะสู้แบบสามเส้า และด้วยจดหมายถึงโลอี ฟูเลอร์ พระนางได้ใส่ญัตติเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่ซึ่งได้นำการกู้ยืมเงินทุนของอเมริกันที่โรมาเนีย ซึ่งจัดหาเงินทุนและสิ่งที่จำเป็นไว้ให้

    พระราชินีมารีในฉลองพระองค์ทหาร ทำให้ทรงได้รับพระฉายาว่า "ราชินีทหาร"(Soldier Queen)

    หลังจากสงครามยุติ ประเทศมหาอำนาจได้ตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (1919) จุดประสงค์ของโรมาเนียได้รับดินแดนจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจากรัสเซียด้วยเหตุที่เหล่านักวิจารณ์ชาวโรมาเนียได้ถกเถียงกันไว้ ด้วยคณะผู้แทนของโรมาเนียได้สูญเสียดินแดนจากการเจรจา นายกรัฐมนตรีเอียน ไอ.ซี.บราเทียนูได้บอกให้พระราชินีเดินทางไปฝรั่งเศส พระราชินีมารีทรงมีชื่อเสียงจากการที่ทรงประกาศว่า"โรมาเนียต้องการหน้าตา และฉันจะเป็นหน้าตานั้น" การคาดการณ์อันชาญฉลาดที่ว่าความกดดันในนานาชาติได้เติบโตขึ้นและไม่มีวันสิ้นสุดของการเจรจาและจะไม่เป็นการเดินทางซึ่งไม่สามารถต่อต้านใด ผู้ที่มาถึงมักถูกเรียกว่า Soldier Queen เป็นกระแสที่ตื่นเต้นต่อสื่อนานาชาติ พระนางทรงถกเกียงอย่างกระตือดือร้นที่มหาอำนาจตะวันตกควรจะให้ศักดิ์ศรีเกี่ยวกับภาวะการเป็นหนี้ของโรมาเนีย หลังจากนั้นพระนางได้ผันผวนอัตราค่าที่สูงขึ้นแก่ผู้นำฝ่านสัมพันธมิตร

    มกุฎราชกุมารคาโรล พระโอรสของพระเจ้าเฟอร์ดินานด์กับพระราชินีมารี ทรงไม่สนิทกับพระบิดา โดยบางครั้งเจ้าชายคาโรลทรงเป็นผู้ใหญ่ ทำให้เจ้าชายทรงทำเป็นปริปักษ์ต่อพระบิดา เจ้าชายทรงสนิทกับพระมารดามากกว่า แต่พระนางมารีต้องการให้เจ้าชายอภิเษกสมรสกับเชื้อพระวงศ์ เจ้าชายชอบพอกับแม็กดา ลูเพสคูพระมเหสีลับ ทั้งๆที่ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเฮเลนแห่งกรีซและเดนมาร์กอยู่ก่อนแล้ว พระนางทรงเป็นหนึ่งในสมาชิกของศาสนาบาไฮ และทรงประกาศเป็นเชื้อพระวงศ์พระองค์แรกที่นับถือศาสนานี้

    หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระสวามีในปีพ.ศ. 2470 พระนางยังคงพำนักอยู่ในประเทศโรมาเนีย ทรงพระนิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของพระองค์ ชื่อว่า The Story of My Life พระนางเสด็จสวรรคตที่ปราสาทเปเรส เมืองซินายอา ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 พระศพถูกฝังเคียงข้างพระสวามีในพระอารามแห่งเคอร์เทีย เดอ อาร์ก ในพินัยกรรมของพระนางประสงค์ให้นำพระหทัยของพระนางไปเก็บรักษาไว้ที่วัดในพระราชวังบาลชิคที่ซึ่งพระนางทรงสร้างขึ้น เมื่อพระราชวังนี้ได้กลับไออยู่ภายใต้การปกครองของบัลแกเรียจากสนธิสัญญาคราอิโอวา พระหทัยของพระราชินีมารีได้ถูกย้ายไปที่ปราสาทบราน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×