ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #194 : เจ้าหญิงลิเลียน ดัชเชสแห่งฮัลลันด์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 155
      0
      6 มิ.ย. 57



    เจ้าหญิงลิเลียน ดัชเชสแห่งฮัลลันด์ (อังกฤษPrincess Lilian, Duchess of Halland; ประสูติ: 30 สิงหาคม ค.ศ. 1915 — สิ้นพระชนม์: 10 มีนาคม ค.ศ. 2013) พระชายาในเจ้าชายเบอร์ติล ดยุกแห่งฮัลลันด์ พระองค์เป็นพระปิตุลานี (ป้าสะใภ้) ในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดนองค์ปัจจุบัน และเป็นพระมาตุลานีของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

    เจ้าหญิงลิเลียนถือเป็นพระบรมวงศานุวงศ์สวีเดนที่มีพระชันษายืนที่สุดในรัชกาล[2] พระองค์สิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ. 2013 สิริพระชนมายุ 97 พรรษา[1]

     

     

    พระประวัติ[แก้]

    เจ้าหญิงลิเลียนแห่งสวีเดน ประสูติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1915 ณ เมืองสวอนซี แคว้นเวลส์ สหราชอาณาจักร เป็นธิดาของวิลเลียม จอห์น เดวีส์ และกลาดีส์ แมรี คูร์รัน มีพระขนิษฐาบุญธรรมอีกสองท่านในสวอนซี[2] บิดาและมารดาของพระองค์เริ่มมีปัญหาระหองระแหงและแยกกันอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 จนกระทั่งหย่าร้างกันในปี ค.ศ. 1939

    พระองค์มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า ลิลเลียน เมย์ เดวีส์ (อังกฤษLillian May Davies)[3] ต่อมาพระองค์ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ โดยตัดตัว L ไปหนึ่งตัว เป็น ลิเลียน(อังกฤษLilian) เมื่อพระองค์เริ่มเข้าวงการนางแบบ

    การสมรส[แก้]

    การสมรสครั้งแรก[แก้]

    เจ้าชายเบอร์ติล และลิเลียนที่ซึ่งในขณะนั้นเธอยังมิได้หย่าขาดจากสามีเก่า

    ในปี ค.ศ. 1940 ลิเลียน เดวีส์ ได้สมรสกับอิวาน เคร็ก นักแสดงที่เมืองฮอร์เชม เวสต์ซัสเซ็กซ์[4] จนเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สามีของเธอได้ออกไปพำนักในแอฟริกา[4] นางลิเลียน เคร็ก ได้ทำงานในโรงงานเพื่อผลิตวิทยุสร้างความบันเทิงสำหรับราชนาวีของสหราชอาณาจักร รวมไปถึงทีโรงพยาบาลสำหรับทหารที่เจ็บป่วยและพักรักษาตัว

    การอภิเษกสมรส[แก้]

    ในปี ค.ศ. 1943 เธอได้มีปฏิสันถารครั้งแรกกับเจ้าชายเบอร์ติล ดยุกแห่งฮัลลันด์ ในกรุงลอนดอนที่งานเลี้ยงค็อกเทลที่เสด็จมาเพื่อเป็นเกียรติในวาระวันเกิดของเธอที่เธอมีอายุ 28 ปี หลังจากการพบกันครั้งนั้นทั้งสองก็รักกัน ตอนนั้นเธอยังมิได้หย่าขาดจากอดีตสามีจนสองปีให้หลังจึงมีการหย่าร้างกับอดีตสามีในปี ค.ศ. 1945[4]

    ต่อมาเจ้าชายเบอร์ติลก็ได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนพระเชษฐาที่สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1947 และทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการให้แก่พระโอรสของพระเชษฐา นั้นคือ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ซึ่งขณะนั้นมีทรงพระเยาว์ ทั้งนี้เนื่องจากต้องทำตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ (เนื่องจากการอภิเษกสมรสของเจ้าเบอร์ติลจะไม่ได้รับการยอมรับ) เจ้าชายเบอร์ติลจึงไม่อภิเษกสมรสกับลิเลียนเนื่องจากเขาจะไม่มีสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่อย่างไรก็ตามทั้งสองก็ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างง่าย ๆ และดำรงพระชนม์อย่างรอบคอบร่วมกันโดยไม่อภิเษกสมรสกว่า 30 ปี

    ในปี ค.ศ. 1946 เจ้าชายเบอร์ติลได้ประทับส่วนพระองค์อยู่ในแซงต์มาซีม (ฝรั่งเศสSainte-Maximeประเทศฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน เจริญพระชันษาสามารถปกครองประเทศได้โดยพระองค์เองแล้ว และได้มีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าชายเบอร์ติลสามารถอภิเษกสมรสกับลิเลียนผู้เป็นสตรีสามัญชนได้ โดยทั้งคู่ได้อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1976 ณ โบสถ์ภายในพระราชวังดรอตต์นิงโฮล์ม

    พระสวามีสิ้นพระชนม์[แก้]

    เจ้าชายเบอร์ติล สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1997 ณ พระตำหนักส่วนพระองค์ ซึ่งเจ้าหญิงลิเลียนประทับอยู่ที่นั้นด้วย หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสวามีพระองค์ก็ปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นตัวแทนของพระบรมวงศานุวงศ์ตลอดมา พระองค์ได้อุปถัมภ์องค์กรต่าง ๆ จำนวนมาก และเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์กลุ่มองค์กรและสมาคมต่าง ๆ

    ปลายพระชนม์และการสิ้นพระชนม์[แก้]

    วิลลาโซลบักเคินในสตอกโฮล์ม ที่ประทับของพระองค์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 2013

    ในปี ค.ศ. 2000 เจ้าหญิงลิเลียนทรงนิพนธ์อัตชีวประวัติระหว่างพระองค์กับเจ้าชายเบอร์ติล และในปัจจุบันเจ้าหญิงลิเลียนถือเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีพระชนมายุสูงที่สุด

    จนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 พระองค์ทรงลื่นล้มจนกระดูกพระโสภี (สะโพก) แตกภายในอพาร์ตเมนต์ของพระองค์[5] และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ได้มีการประกาศเกี่ยวกับการประชวรของพระองค์ จนท้ายที่สุดในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2010 ได้มีการประกาศว่าพระองค์ประชวรด้วยโรคอัลไซเมอร์ ทำให้ไม่สามารถปรากฏพระองค์ต่อสาธารณชนอีกต่อไป[6] พระองค์ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายพระชนม์ในวิลลาโซลบักเคิน พระตำหนักเดิมของเจ้าชายเบอร์ติลที่ยูการ์เดนโดยมีนางพยาบาลคอยถวายการดูแล 3 คน[4]

    เจ้าหญิงลิเลียน ดัชเชสแห่งฮัลลันด์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2013 ที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน สิริพระชนมายุ 97 พรรษา การนี้ทางสำนักพระราชวังของสวีเดนมิได้ประกาศถึงสาเหตุของการสิ้นพระชนม์ ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าหญิงลิเลียนทรงทนทุกข์ทรมานจากอัลไซเมอร์และพระพลานามัยที่ย่ำแย่มานาน[1][4][7]

    พระราชพิธีปลงพระศพถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคมปีเดียวกันนั้น และได้มีการถ่ายทอดสดผ่านช่อง SVT ของสวีเดน การนี้สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ล กุสตาฟที่ 16 และสมเด็จพระราชินีซิลเวีย พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์สวีเดน ได้แก่ เจ้าหญิงมาร์กาเรธาเจ้าหญิงบิร์กิตตาเจ้าหญิงเดซีเรเจ้าหญิงคริสตินามกุฎราชกุมารีวิกตอเรียเจ้าชายคาร์ล ฟิลิปเจ้าหญิงมาเดอลีน และเจ้าชายดาเนียล[8] ในการนี้เจ้าหญิงอัสตริด เชื้อพระวงศ์นอร์เวย์ได้เสด็จมาร่วมในพระราชพิธีดังกล่าวด้วย[9]

    พระเกียรติยศ[แก้]

    พระอิสริยยศ[แก้]

    • นางสาวลิลเลียน เมย์ เดวีส์ (30 สิงหาคม ค.ศ. 1915 — ไม่มีข้อมูล )
    • นางสาวลิเลียน เมย์ เดวีส์ (ไม่มีข้อมูล — ค.ศ. 1940)
    • นางอีวาน เคร็ก (ค.ศ. 1940 — ค.ศ. 1945)
    • นางลิเลียน เมย์ เคร็ก (ค.ศ. 1945 — 7 ธันวาคม ค.ศ. 1976)
    • เจ้าหญิงลิเลียนแห่งสวีเดน ดัชเชสแห่งฮัลลันด์ (7 ธันวาคม ค.ศ. 1976 — 10 มีนาคม ค.ศ. 2013)

    เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×