ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #204 : พระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 115
      0
      7 มิ.ย. 57



    สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย (พระนามเต็ม: เอลิซาเบธ อมาลี่ ยูจีนี่; อังกฤษ: Elisabeth Amalie Eugenie von Habsburg-Lorraine, ราชสกุลเดิม: Wittelsbach) ทรงเป็นดัชเชสแห่งบาวาเรีย และทรงเป็นจักรพรรดินีมเหสีแห่งออสเตรีย และสมเด็จพระราชินีแห่งฮังการี ตั้งแต่ทรงอภิเษกสมรสกีบสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์ พระองค์มีพระนามเล่นว่า ซีซี่ โดยพระราชวงศ์ ครอบครัวและพระสหายทรงเรียกพระองค์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์

    เนื้อหา

    พระราชประวัติ

    ดัชเชสเอลิซาเบธทรงเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมพ.ศ. 2380ปราสาทโพเซ็นฮอฟเฟ็น เมืองมิวนิกราชอาณาจักรบาวาเรีย เป็นพระธิดาองค์ที่ 2 ในดยุคแม็กซีมีเลียน โจเซฟแห่งบาวาเรีย (พระโอรสองค์เดียวในดยุคพิอุส ออกัสตัสแห่งบาวาเรียและเจ้าหญิงอาเมลี่ หลุยส์แห่งอาเรนเบิร์ก) และเจ้าหญิงลูโดวิก้าแห่งบาวาเรีย (พระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีแม็กซีมีเลียนที่ 1 แห่งบาวาเรียและเจ้าหญิงแคโรไลน์แห่งบาเดน เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์มีพระนามเล่นว่า ซีซี่ (Sisi) โดยพระองค์ทรงชอบเล่นผาดโผน ทรงม้าล่าสัตว์ และทรงหลงไหล สนพระทัยในธรรมชาติ พระองค์มีพระเชษฐา 2 พระองค์ พระเชษฐภัคินี 1 พระองค์ พระอนุชา 2 พระองค์ และพระขนิษฐา 3 พระองค์ โดยพระบิดาและมารดานั้น โดยเฉพาะพระมารดา ทรงเข้มงวดเรื่องการจัดหาคู่ครองให้พระราชบุตร โดยครั้งแรกนั้น พระมารดาของพระองค์ทรงจัดหาคู่ครองให้ ดัชเชสเฮเลน นั่นคือสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย พระโอรสในเจ้าหญิงโซฟี ผู้เป็นพระเชษฐภัคินีของเจ้าหญิงลูโดวิก้า และเป็นพระมาตุจฉาในดัชเชสเฮเลน และดัชเชสเอลิซาเบธ โดยทั้ง 3 พระองค์นั้นเสด็จไปแปรพระราชฐานในรัฐอัปเปอร์ ออสเตรียประเทศออสเตรีย ตามคำทูลเชิญของเจ้าหญิงโซฟี โดยทั้ง 4 พระองค์ได้หวังว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟจะทรงสนพระราชหฤทัยในตัวดัชเชสเฮเลน ซึ่งขณะนั้น สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระชนมายุ 23 พรรษา และดัชเชสเฮเลนมีพระชนมายุ 18 ชันษา แต่แทนที่พระองค์จะทรงเลือกดัชเชสเฮเลน ในการเป็นพระมเหสีนั้น พระองค์กลับเลือกดัชเชสเอลิซาเบธแทน ซึ่งขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียงแค่ 15 ชันษา การที่สมเด็จพระจักรพรรดิเลือกพระองค์เป็นองค์พระจักรพรรดินีมเหสีนั้น สร้างความประหลาดใจและเสียงคัดค้านจากพระมารดาของทั้งสอง โดยเฉพาะพระมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ทรงไม่ชอบพระองค์ตั้งแต่ที่สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเลือกที่จะอภิเษก สมรสด้วย หลังจากที่ทั้ง 2 พระองค์ทรงได้พบรู้จักและวิสาสะกันเพียงไม่กี่วัน

    ทั้งสองพระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 24 เมษายนพ.ศ. 2397มหาวิหารเซนต์ สตีเฟนกรุงเวียนนา โดยหลังจากที่พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งออสเตรียแล้ว พระองค์ทรงถูกกีดกัน กลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา โดยอาร์คดัชเชสบางพระองค์ รวมทั้งอาร์คดัชเชสโซฟี พระสัสสุด้วย เพื่อลดความสำคัญของพระองค์ลงไป แต่พระองค์ก็ทรงได้รับความช่วยเหลือ และความเมตตาจากอาร์คดยุคและอาร์คดัชเชสหลายพระองค์ รวมทั้งพระสวามีของพระองค์ด้วย สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ และสมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธมีพระราชโอรส 1 พระองค์ และพระราชธิดา 3 พระองค์ ดังนี้

    สมเด็จพระจักรพรรดินี

    สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธ ทรงได้ชื่อว่าเป็นจักรพรรดินีที่สิริโฉมที่สุดในโลก เพราะด้วยพระพักตร์ที่ทรงสิริโฉมงดงาม อีกทั้งพระเกศายาวเกือบจรดพระบาท โดยพระองค์มักจะไม่ออกงานสังคม หรือปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันใด เหตุเนื่องจากทรงประทับอยู่แต่ในพระราชวังอิมพีเรียลฮอฟบูร์ก เพื่อบำรุงความงามของพระองค์ โดยนาน ๆ ครั้ง พระองค์จะทรงยอมปรากฏพระองค์ต่อสาธารณชนสักครั้ง ทำให้ทุกครั้งที่เสด็จออกปรากฏพระองค์ พสกนิกรจะคอยรับเสด็จเพื่อชมพระโฉมของพระองค์อย่างแน่นขนัดทุกครั้ง อย่างเช่นครั้งหนึ่ง ทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกับสมเด็จพระราชสวามีไปยังมหาวิหารเซนต์ สตีเฟนกรุงเวียนนา ปรากฏว่าพสกนิกรมาเฝ้ารับเสด็จจำนวนมาก เหตุที่มาเฝ้ารับเสด็จก็เพราะเนื่องจากอยากเห็นความงามของพระองค์นั่นเอง

    ด้วยความที่ทรงสิริโฉมงดงามนี่เอง ทำให้มีบรรดาอาร์คดัชเชสหลายพระองค์ รวมทั้งอาร์คดัชเชสโซฟี พระสัสสุที่ทรงไม่ชอบพระองค์มาตั้งแต่ต้น ทรงคอยให้ร้าย ทรงอิจฉา ริษยาพระองค์ตลอดเวลา ส่วนตัวพระองค์เองจึงทรงหลบพระองค์ไปแปรพระราชฐานที่ต่าง ๆ เช่นเกาะมาไดร่าประเทศโปรตุเกสฮังการีประเทศอังกฤษ หรือก็เกาะคอร์ฟูประเทศกรีซ เพื่อทรงหลีกเลี่ยงเรื่องวุ่นวายทั้งหลายในราชสำนัก และเพื่อทรงพักผ่อนอีกทั้งบำรุงความงามของพระองค์ เพื่อเรียกความมั่นพระทัยในพระองค์กลับคืนมา นอกจากนี้ พระองค์ยังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระราชวังอาร์คิเลียน ที่เกาะคอร์ฟูขึ้น เพื่อทรงใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ (หลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีทรงซื้อไว้เป็นพระราชฐานส่วนพระองค์) โดยเมื่อพระองค์ทรงประทับอยู่ในเกาะคอร์ฟู พระองค์จะมีพระบรมราชโองการให้ครูสอนภาษากรีกมา สอนพระองค์ และนอกจากนี้ พระองค์ยังทรงศึกษาประวัติศาสตร์และความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักของประชาชน โดยให้ความสำคัญมากพอๆกับ สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซเลยทีเดียว

    พระเกศาของพระองค์ที่ยาวเกือบจรดพระบาท

    พระองค์ไม่ได้ทรงขึ้นชื่อลือชาในเพียงในเรื่องของความงาม เป็นเรื่องของการแต่งฉลองพระองค์ การลดน้ำหนัก และการออกกำลังพระวรกายของพระองค์อีกด้วย ซึ่งพระองค์จะทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ทุ่มเทให้กับความงามของพระองค์ โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า พระกฤษฎี หรือบั้นพระเอวของพระองค์ทรงมีความยาวแค่ 20 นิ้ว หรือ 50 เซนติเมตร พร้อมกับความสูงของพระองค์ 172 เซนติเมตร และน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ซึ่งในสมัยปัจจุบันเห็นว่าค่อนข้างน้อยสำหรับความสูงขนาดนี้ ซึ่งด้วยความที่พระองค์ทรงมัวแต่หมกมุ่นเรื่องของความงามงาม พระองค์ทรงไม่สนพระทัยที่ พระสวามีของพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับนักแสดงหญิง แค็ททารีน่า แชร็ท

    โดยส่วนของพระวรกายที่พระองค์ทรงพอพระทัยมากที่สุดคือ พระเกศาที่ยาวเกือบจรดเท้า ที่พระองค์ทรงใช้เวลาบำรุงรักษาพระเกศาของพระองค์ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ โดยจะมีพระบัญชาให้ช่างพระเกศาส่วนพระองค์ถักพระเกศาเป็นเปียรวบขึ้นไปม้วน เป็นพระเศียร โดยต้องสระพระเกศาทุกๆ 3 สัปดาห์ ซึ่งแต่ละครั้งใช้เวลาถึง 1 วันเต็มๆ โดยใช้ครีมแชมพูที่คิดดัดแปลงอยู่เรื่อยๆ ส่วนธรรมดาก็จะบำรุงรักษาพระเกศาอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้เวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง ดังนั้น ช่างพระเกศาจึงเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในราชสำนัก ที่จะคอยสอดส่องดูแลพระเกศาของพระองค์ตลอดเวลา

    ในปีพ.ศ. 2432 พระทัยของพระองค์แทบแตกสลาย เพราะเนื่องจากการสิ้นพระชนม์กะทันหันของพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว มกุฏราชกุมารรูดอล์ฟ ซึ่งทรงสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงปืน โดยทรงยิงปลิดพระชนม์ชีพพระองค์เอง และนางสนมลับที่พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ลับด้วย บารอนเนสแมรี่ เว็ทเซร่า โดยพระศพถูกพบที่คฤหาสน์ล่าสัตว์มาเยอร์ลิ่ง

    หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระราชโอรสแล้ว พระองค์ก็ทรงประพาสแปรพระราชฐานเพื่อในการฟื้นฟูพระทัยให้กลับมาสู่สภาวะ ปกติ แทนที่พระองค์จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆพร้อมพระราชสวามี พระองค์ทรงหันกลับมาทำการบำรุงความงามและพระเกศาดังเดิม…

    การลอบปลงพระชนม์

    ตราประจำพระองค์สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธ

    เมื่อวันที่ 10 กันยายนพ.ศ. 2441 สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธทรงถูกปลงพระชนม์ ณ เมืองเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งขณะนั้น พระองค์กำลังทรงพักผ่อนแปรพระราชฐาน พร้อมด้วยนางกำนัลคนสนิท เค้านท์เตสสตาร์เรย์ โดยทรงถูกมีดแทงกลางพระหทัยโดยนักอนาธิปไตยนิยม ลุยกิ ลูเชนี โดยเมื่อลูเชนีถูกนำตัวขึ้นศาล เขากล่าวว่าจะปลงพระชนม์พระบรมวงศานุวงศ์ราชวงศ์ออลีญงส์ของฝรั่งเศสเท่า นั้น โดยเขาคิดว่าพระองค์คือพระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศส แต่หลังจากนั้น เขาพูดว่า "ฉันอยากฆ่าราชวงศ์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม" ศาลจึงตัดสินให้ประหารชีวิตลุยกิ ลูเชนี

    ภาพวาดการลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระจักรพรรดินีเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย

    ส่วนพระศพของพระองค์ถูกย้ายมายังกรุงเวียนนา โดยเมื่อมาถึงตัวเมือง ประชาชนต่างมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง และมาเฝ้ารับเสด็จเป็นครั้งสุดท้าย โดยเฉพาะกับสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ พระราชสวามี ผู้ทรงเหมือนพระหทัยแตกสลายไปตลอดกาล พระศพถูกฝังที่วิหารฮับส์บูร์ก ซึ่งเป็นสถานที่ฝังพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ออสเตรียมาช้านาน


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×