ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #212 : สมเด็จพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 150
      0
      14 มิ.ย. 57



    พระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย หรือ ลุดวิก ฟรีดิช วิลเฮลมที่ 2 แห่งบาเยิร์น (ภาษาอังกฤษ: Ludwig II of Bavaria; ภาษาเยอรมัน: Ludwig Friedrich Wilhelm II von Bayern) (25 สิงหาคม ค.ศ. 1845 - 13 มิถุนายน ค.ศ. 1886) เป็นพระเจ้าแผ่นดินของราชอาณาจักรบาวาเรียระหว่างวันที่ 10 มีนาคม ปี ค.ศ. 1864 จนไม่กี่วันก่อนที่จะสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1886

    พระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย บางครั้งรู้จักกันในพระนามว่า “พระเจ้าหงส์” (Swan King) ในภาษาอังกฤษ และ “พระเจ้าเทพนิยาย” (der Märchenkönig) ในภาษาเยอรมัน ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1845 ที่วังนิมเฟนเบิร์ก นอกเมืองมิวนิค ในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนีปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสองค์แรกของสมเด็จพระเจ้าแม็กซิมิเลียนที่ 2 แห่งบาวาเรีย และ เจ้าหญิงมารีแห่งปรัสเซีย ทรงครองราชย์ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม ปี ค.ศ. 1864 ถึงวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1886 พระเจ้าลุดวิกที่ 2 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1886 ที่ทะเลสาบสตาร์นเบิร์ก พระร่างถูกฝังไว้ที่วัดเซนต์ไมเคิล ที่มิวนิคในคริพต์ของราชวงศ์วิทเทิลสบาค

    พระเจ้าลุดวิกทรงเป็นบุคคลที่มีลักษณะนิสัยที่ลึกลับเป็นปริศนา (eccentric) และผู้ที่สิ้นพระชนม์ในสถานะการณ์ที่ค่อนข้างมีเงื่อนงำ สุขภาพจิตของพระองค์ในบั้นปลายอาจจะไม่ปกติแต่ก็ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ เป็นที่ยืนยันได้แน่นอน[1] แต่สิ่งที่ทรงทิ้งไว้เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลังคืองานทางสถาปัตยกรรมที่ทรงก่อ สร้างที่รวมทั้งวังและปราสาทใหญ่โตที่ทั้งหรูหราโอ่อ่าและเต็มไปด้วย จินตนาการราวเทพนิยายหลายแห่ง รวมทั้งปราสาทนอยชวานชไตน์ซึ่งเป็นปราสาทที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก และทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ริชาร์ด วากเนอร์คีตกวีและนักเขียนดนตรีโอเปร่าคนสำคัญของเยอรมนี

    เนื้อหา

    ชีวิต

    วัยเด็กและวัยรุ่น

    พระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย

    ในยุคที่พระเจ้าแผ่นดินมีความรับผิดชอบต่อการปกครองโดยทั่วยุโรปลุดวิก แห่งบาวาเรียมักจะทรงทำพระองค์แบบผู้ไม่โตเต็มที่มาตลอด พระเจ้าแม็กซิมิลเลียนพระบิดามีพระประสงค์ที่จะให้การศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ และภาระของการเป็นพระมหากษัตริย์กับมงกุฏราชกุมารลุดวิกและเจ้าชายอ็อตโตพระ อนุชาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์[2] ลุดวิกถูกตามใจกันมาตั้งแต่เด็กแต่มาถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดโดยครูที่ บังคับทั้งทางวินัยและการศึกษา กล่าวกันว่าการสาเหตุที่มีพระนิสัยที่ออกจะแปลกอาจจะเป็นผลมาจากความเครียด และความกดดันในการที่ทรงเติบโตขึ้นมาฐานะที่เป็นเจ้านาย ลุดวิกไม่ทรงมีความสัมพันธ์ที่สนิทสนมกับพระบิดาและมารดาเท่าใดนัก ครั้งหนึ่งเมื่อที่ปรึกษาประจำพระองค์ของพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนถวายคำแนะนำ ระหว่างที่ทรงเดินทุกวันว่าบางครั้งน่าจะชวนลุดวิกผู้ที่จะมาเป็นพระเจ้า แผ่นดินสืบต่อจากพระองค์ออกเดินเป็นเพื่อนด้วย พระเจ้าแม็กซิมิลเลียนทรงตอบว่า “แล้วจะให้ฉันพูดอะไรกับลุดวิกเล่า? ในเมื่อเจ้าลูกชายของฉันไม่เคยสนใจในสิ่งใดที่คนอื่นพูด”[3] ลุดวิกกล่าวเรียกพระมารดาว่า “พระชายาของกษัตริย์องค์ก่อน” (my predecessor's consort) [4] ผู้ที่ทรงมีความสนิทสนมด้วยมากกว่าคือพระเจ้าลุดวิกที่ 1 แห่งบาวาเรียพระ อัยยิกา พระเจ้าลุดวิกที่ 1 เองก็ทรงผู้มีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดี และมีพระนิสัยที่ออกไปทางลึกลับเป็นปริศนาเช่นกัน ในที่สุดพระเจ้าลุดวิกที่ 1 ก็ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติเพราะเรื่องฉาวโฉ่

    ชีวิตของลุดวิกเมื่อยังทรงพระเยาว์เป็นชีวิตที่มีความสุขบ้างเป็นครั้งคราว ในวัยเด็กจะทรงพำนักที่ปราสาทโฮเฮ็นชวานเกาเป็นส่วนใหญ่ โฮเฮ็นชวานเกาเป็นปราสาทแบบเทพนิยายที่พระบิดาเป็นผู้สร้างไม่ใกลจากสวอนเลคใกล้เมืองฟุสเซน การตกแต่งเป็นแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค รวมทั้งจิตรกรรมฝาผนังที่ เป็นตำนานของวีรบุรุษเยอรมัน บางครั้งก็จะเสด็จไปทะเลสาบสตาร์นเบิร์กกับครอบครัว เมื่อยังเป็นวัยรุ่นทรงเป็นเพื่อนกับเจ้าชายพอล แม็กซิมิลเลียน ลาโมราล จากครอบครัวเทิร์นและแท็กซิสผู้มีฐานะดี ชายหนุ่มทั้สองคนมักจะทำอะไรต่างๆด้วยกันเสมอรวมทั้งขี่ม้า, อ่านโคลงกลอน และจัดเล่นโอเปร่าโรแมนติกที่เขียนโดยริชาร์ด วากเนอร์ แต่มาห่างเหินกันไปเมื่อเจ้าชายพอลทรงหมั้น นอกจากพอลแล้วลุดวิกก็ยังสนิทกับดัชเชสเอลิซาเบธแห่งบาวาเรียผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องจนตลอดพระชนมายุ ดัชเชสเอลิซาเบธต่อมาเป็นพระราชินีแห่งออสเตรียเมื่อทรงเสกสมรสกับพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดธรรมชาติและโคลงกลอนและทรงตั้งพระนามเล่นให้แก่กันว่า “เหยี่ยว” สำหรับลุดวิก และ “นกนางนวล” สำหรับเอลิซาเบธ

    เป็นกษัตริย์

    พระเจ้าลุดวิกขึ้นครองราชบัลลังก์บาวาเรียเมื่อพระชันษาได้เพียง 18 ปึหลังจากที่พระบิดาสิ้นพระชนม์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ลุดวิกยังไม่พร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 เป็นไปอย่างกระทันหันหลังจากประชวรได้เพียงสามวัน[5] เพราะความที่ยังหนุ่มและมีพระโฉมงามทำให้ทรงเป็นที่นิยมทั้งในบาวาเรียและ ที่อื่นๆ ในบรรดาสิ่งแรกที่ทรงกระทำคือทรงเรียกตัววากเนอร์มายังราชสำนักมิวนิค [6] ลุดวิกทรงชื่นชมผลงานของวากเนอร์มาตั้งแต่ทรงได้ชมโอเปร่าโลเฮนกริน (Lohengrin) ของวากเนอร์ วากเนอร์ผู้ซึ่งขณะนั้นอายุ 51 ปีก็ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าลุดวิกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1864 เหตุที่โอเปร่าของวากเนอร์เป็นที่ต้องพระทัยลุดวิกก็เป็นเพราะเนื้อหาของโอ เปร่าของวากเนอร์เต็มไปด้วยอุดมคติและจินตนาการแบบเทพนิยาย วากเนอร์มีชื่อเสียงไม่ค่อยดีเรื่องหนี้สินและมักจะมีเจ้าหนี้ไล่ตามอยู่ เรื่อยๆ แต่วากเนอร์ก็มาได้พระเจ้าลุดวิกช่วยถ่ายถอนหนี้ให้ วากเนอร์กล่าวถึงลุดวิกว่า:

    “Alas, he is so handsome and wise, soulful and lovely, that I fear that his life must melt away in this vulgar world like a fleeting dream of the gods.”[7]

    เป็นที่เชื่อกันว่าถ้าไม่ได้พระเจ้าลุดวิก วากเนอร์คงจะไม่ได้เขียนโอเปร่าชิ้นต่อๆ มา ลุดวิกทรงเรียกวากเนอร์ว่า “เพื่อน” แต่ความที่วากเนอร์มีนิสัยอันโอ่อ่าฟุ่มเฟือยของ จึงทำให้วากเนอร์ไม่เป็นที่ต้องใจของชาวบาวาเรียผู้ยังออกจะหัวโบราณ ในที่สุดลุดวิกก็ต้องขอให้วากเนอร์ออกจากเมือง

    สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในระยะแรกที่ขึ้นครองราชย์คือความกดดันในการมีผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ และความสัมพันธ์กับปรัสเซีย ทั้งสองสถานะการณ์กลายมาเป็นปัญหาใหญ่ในปี ค.ศ. 1867 เมื่อพระเจ้าลุดวิกทรงหมั้นกับดัชเชสโซฟี ชาร์ลอตในบาวาเรีย ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของลุดวิกเองและเป็นพระขนิษฐาของดัชเชสเอลิซาเบธ การหมั้นประกาศเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1867 แต่ทรงเลื่อนวันแต่งงานไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ทรงถอนหมั้นในเดือนตุลาคม หลังจากการประกาศการถอนหมั้น โซฟีก็ได้รับพระราชสาส์นจากลุดวิกถึง “เอลซา” กล่าวโทษพระบิดาของโซฟีว่าเป็นผู้ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับโซ ฟีไม่สามารถดำเนินต่อไปได้และทรงลงพระนามว่า “ไฮน์ริค” (“เอลซา” และ “ไฮน์ริค” เป็นตัวละครจากโอเปร่าของวากเนอร์[8] ลุดวิกมิได้ทรงเสกสมรสจนตลอดพระชนมายุ โซฟีต่อมาทรงเสกสมรสกับเฟอร์ดินานด์ ฟิลลีป มารี, ดยุ้คแห่งอาลองชอง

    เมื่อลุดวิกเป็นพันธมิตรออสเตรียในการต่อสู้กับปรัสเซียในสงครามเจ็ดปี ทรงพ่ายแพ้สงคราม สัญญาสงบศึกบังคับให้พระองค์ต้องยอมรับสนธิสัญญาการรักษาความสงบระหว่างปรัสเซียกับบาวาเรียในปี ค.ศ. 1867 สนธิสัญญาระบุว่าบาวาเรียต้องเข้าข้างปรัสเซียเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศสในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย นอกจากนั้นในปี ค.ศ. 1870 ออตโต ฟอน บิสมาร์คก็ยังขอให้ลุดวิกเขียนจดหมายสนับสนุนเรียกร้องให้ประกาศพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซียเป็นจักรพรรดิ หรือ ไกเซอร์ของจักรวรรดิเยอรมันที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ลุดวิกได้รับเงินเป็นการตอบแทนในการสนับสนุนแต่เป็นการกระทำที่ลุดวิกต้องจำยอม การก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมันทำให้บาวาเรียที่เคยเป็นแคว้นอิสระกลายมาเป็นแคว้นชั้นรอง เมื่อตั้งจักรวรรดิเยอรมันขึ้น ความเป็นอิสระแก่ตัวของแคว้นบาวาเรียก็สิ้นสุดลงตามไปด้วย ลุดวิกทรงประท้วงโดยการไม่ทรงเข้าร่วมพิธีการสถาปนาพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซียขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันที่พระราชวังแวร์ซายส์ในปารีส[9]

     

    ตลอดรัชสมัยลุดวิกทรงมีความสัมพันธ์กับผู้ชายต่อเนื่องกันมาตลอด โดยเฉพาะกับริชาร์ด ฮอร์นนิก ราชอัศวรักษ์, โจเซฟ แคนซ์นักแสดงชาวฮังการี, อัลฟอนส เวบเบอร์ ข้าราชสำนัก ในปี ค.ศ. 1869 ทรงเริ่มทรงบันทึกประจำวันที่ทรงบรรยายความรู้สึกส่วนพระองค์ และการทรงพยายามหยุดยั้งหรือควบคุมความต้องการทางเพศ และการที่ยังทรงยึดมั่นในความเป็น

    โรมันคาทอลิกอย่างแท้จริง บันทึกประจำวันฉบับดั้งเดิมสูญหายไประหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 บันทึกที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นสำเนาที่เขียนก่อนสงคราม สำเนาบันทึกประจำวันและจดหมายส่วนพระองค์เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าลุดวิก ต้องทรงต่อสู้กับพระองค์เองในความเป็นผู้รักเพศเดียวกันตลอดพระชนมายุ[10]

    เมื่อบาวาเรียสูญเสียอิสรภาพลุดวิกก็ยิ่งกลายเป็นคนสันโดษมากขึ้นจากการ ออกท้องพระโรงและกับทำหน้าที่การปกครอง ในปี ค.ศ. 1880 ลุดวิกใช้เวลาเกือบทั้งหมดอย่างโดดเดี่ยวที่บริเวณเทือกเขาบาวาเรียแอลป์ซึ่งเป็นที่ทรงสร้างพระราชวังแบบเทพนิยายหลายแห่งโดยความช่วยเหลือของคริสเตียน แย้งค์ผู้ออกแบบฉากละคร ทรงสร้างปราสาทนอยชวานชไตน์ทางเหนือซอกเขาโพลลัทไม่ไกลจากปราสาทโฮเฮ็นชวานเกาที่เคยทรงพำนักเมื่อยังทรงพระเยาว์ วังลินเดอร์ฮอฟ (Linderhof Castle) ตั้งอยู่ที่หุบเขากรสแวงที่สร้างแบบหลุยส์ที่ 14 และเป็นปราสาทเดียวในสามปราสาทที่สร้างเสร็จ ปราสาทที่สามที่ทรงสร้างแต่ไม่เสร็จเช่นกันคือวังแฮเร็นเคียมเซ (Herrenchiemsee) ที่ตั้งอยู่บนเกาะแฮเร็นในทะเลสาบเคียมเซ บางส่วนสร้างแบบพระราชวังแวร์ซายส์ในฝรั่งเศส ลุดวิกทรงสร้างปราสาททั้งสามเพื่อเป็นเทิดทูนตำนานนอร์ดิคเรื่องโลเฮ็นกริน (Lohengrin), ทริสทันและอิโซลด์ (Tristan and Isolde) และ แหวนแห่งนิเบลลุงเก็น (Der Ring des Nibelungen)

    การถูกถอดจากบัลลังก์และการสิ้นพระชนม์

    พระเจ้าลุดวิกที่ 2 ในบั้นปลายของชีวิต
    กางเขนอนุสรณ์ ณ ที่พบพระศพของพระเจ้าลุดวิกที่ทะเลสาบสตาร์นเบิร์ก

    เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1886 รัฐบาลบาวาเรียแถลงข่าวอย่างเป็นทางการว่าพระเจ้าลุดวิกถูกปลดจากการเป็นพระ มหากษัตริย์เพราะไม่ทรงมีความสามารถใช้อำนาจด้วยพระองค์เองได้ ตามคำรายงานของจิตแพทย์ 4 คนที่บรรยายพระอาการว่าเป็นโรคหวาดระแวงทางจิต[11] แต่ในประกาศมิได้กล่าวถึงการตรวจทางพระวรกาย และแต่งตั้งให้เจ้าชายลุทโพลด์แห่งบาวาเรียพระ ปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ศาสตราจารย์เบิร์นฮาร์ด ฟอน กุดเด็นเป็นหัวหน้ากลุ่มจิตแพทย์ที่ให้คำบรรยายพระอาการทางจิต โดยใช้ “หลักฐาน” จากรายงานต่างๆ ที่รวบรวมมาจากข้าราชบริพารในพระราชสำนักและศัตรูทางการเมืองที่เกี่ยวกับ พระจริยาวัตรที่ถือว่าแปลก หลักฐานที่กล่าวเป็นเพียงคำบอกเล่าซึ่งอาจจะได้มาจากการติดสินบนหรือการขู่ เข็ญ ฉะนั้นความน่าเชื่อถือของหลักฐานเหล่านี้จึงยังเป็นที่เคลือบแคลง นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าพระเจ้าลุดวิกไม่มีอะไรผิดปกติแต่ทรงเป็น เหยื่อทางการเมือง[12] บางคนก็เชื่อว่าพระจริยาวัตรที่แปลกของพระเจ้าลุดวิกอาจจะเป็นผลมาจากการที่ ทรงใช้คลอโรฟอร์มในการบำบัดการปวดพระทนต์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ แทนที่จะเป็นอาการผิดปกติทางจิตวิทยาอย่างที่จิตแพทย์อ้าง ดัชเชสเอลิซาเบธแห่งบาวาเรียทรง ออกความเห็นว่าพระเจ้าลุดวิกไม่ได้ทรงเป็นโรคจิตแต่เพียงแต่มีพระลักษณะ นิสัยที่ออกไปทางลึกลับและเป็นปริศนา (eccentric) และทรงชอบอยู่ในโลกของความฝันและจินตนาการ และทรงกล่าวว่าถ้าพวกที่กล่าวหาจะปฏิบัติต่อพระเจ้าลุดวิกนุ่มนวลกว่านั้น เหตุการณ์ก็คงจะไม่ลงเอยด้วยความเศร้าอย่างที่เกิดขึ้น

    หลังการประกาศพระเจ้าลุดวิกก็ถูกนำตัวไปจากนอยชวานชไตน์ที่เป็นที่ประทับ ในขณะนั้นไปยังปราสาทเบิร์กริมทะเลสาบสตาร์นเบิร์กอย่างลับๆ หลังจากที่รัฐบาลพยายามที่จะจับกุมพระองค์หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ครั้งแรกที่พยายาม ลุดวิกก็สั่งจับผู้ที่จะมาจับพระองค์และทรงขู่ว่าจะลงโทษผู้ที่ทรงถือว่า เป็นกบฏต่างๆ นาๆ แต่ก็มิได้ทรงทำจริง นอกจากจะขังผู้ที่จะมาจับไว้ในปราสาทแต่ต่อมาก็ถูกปล่อย ต่อมาเมื่อพยายามอีกประชาชนจากหมู่บ้านใกล้ๆ นอยชวานชไตน์ก็ยกกำลังกันมาป้องกันพระองค์ และถวายคำเสนอว่าจะพาพระองค์หนีข้ามพรมแดนแต่ทรงปฏิเสธ และอีกครั้งหนึ่งกองทหารจากเค็มพตันถูกเรียกตัวมานอยชวานชไตน์แต่ก็มาถูกกัก โดยรัฐบาล

    ลุดวิกทรงพยายามเรียกร้องโดยตรงต่อประชาชนโดยเขียนบทความในหนังสือพิมพ์:

    “เจ้าชายลุทโพลด์ทรงตั้งใจจะขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการในแผ่นดินของ ข้าพเจ้าโดยมิใช่เป็นความตั้งใจของข้าพเจ้า และรัฐมนตรีต่างกล่าวหาในเรื่องสถานะภาพทางจิตใจของข้าพเจ้าอย่างผิดๆ เพื่อที่จะหลอกลวงประชาชนที่รักของข้าพเจ้า และ (รัฐบาล) พร้อมที่จะเป็นกบฏ [...] ข้าพเจ้าขอให้ชาวบาวาเรียผู้จงรักภักดีให้ช่วยเรียกร้องและสนับสนุนผู้ที่ สนับสนุนและมีความจงรักภักดีต่อข้าพเจ้า เพื่อให้แผนในการกบฏต่อกษัตริย์และแผ่นดินประสบความล้มเหลว”

    คำประกาศนี้ลงพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ที่แบมเบิร์กเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1886 แต่ถูกยึดโดยรัฐบาลเพราะความกลัวจากผลของการเผยแพร่ข้อเขียนนั้น โทรเลขถึงนักหนังสือพิมพ์และเพื่อนของลุดวิกเกือบทุกชิ้นถูกรัฐบาลสั่งสกัด กั้นทั้งสิ้น แต่ลุดวิกได้รับสาส์นจากออตโต ฟอน บิสมาร์คให้ เดินทางไปมิวนิคเพื่อไปปรากฏพระองค์ต่อประชาชน แต่ลุดวิกทรงมีความรู้สึกว่าไม่สามารถจะทำได้ ซึ่งเป็นการตัดสินชะตาของพระองค์เอง รุ่งขึ้นวันที่ 12 มิถุนายนคณะกรรมการจากรัฐบาลกลุ่มที่สองก็มาถึงปราสาท พระเจ้าลุดวิกทรงถูกจับเมื่อเวลาตีสี่และถูกนำตัวขึ้นรถม้า ทรงถามด็อกเตอร์กุดเด็นผู้เป็นผู้นำคณะกรรมการว่าทำไมจึงประกาศว่าพระองค์ วิกลจริตได้ในเมื่อด็อกเตอร์กุดเด็นก็ไม่เคยตรวจพระองค์[13] แต่อย่างไรก็ตามพระเจ้าลุดวิกก็ถูกนำตัวจากนอยชวานชไตน์ไปยังปราสาทเบิร์กบนฝั่งทะเลสาบสตาร์นเบิร์กทางใต้ของมิวนิคในวันนั้น

    การสิ้นพระชนม์ของลุดวิกที่ทะเลสาบสตาร์นเบิร์กเป็นเรื่องที่ยังที่น่า สงสัยกันอยู่ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1886 เวลาหกโมงเย็นลุดวิกทรงขอออกไปเดินกับด็อกเตอร์กุดเด็น ด็อกเตอร์กุดเด็นตกลงและสั่งไม่ให้ยามเดินตามไปด้วย ทั้งลุดวิกและด็อกเตอร์กุดเด็นไม่ได้กลับมาจากการเดิน คืนเดียวกันร่างของทั้งสองคนก็พบลอยน้ำใกล้ฝั่งทะเลสาบสตาร์นเบิร์กเมื่อ เวลาห้าทุ่ม หลังจากที่สิ้นพระชนม์ก็มีการสร้างชาเปลเพื่อเป็นอนุสรณ์ตรงที่พบพระศพ ทุกวันที่ 13 มิถุนายนของทุกปีจะมีพิธีรำลึกถึงพระองค์

    รัฐบาลประกาศว่าการสิ้นพระชนม์ของลุดวิกเป็นการฆ่าตัวตายโดยการจมน้ำตาย ซึ่งไม่เป็นความจริง[14][15] สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของลุดวิกไม่เคยมีการอธิบายอย่างเป็นจริง เป็นที่ทราบกันว่าพระเจ้าลุดวิกทรงว่ายน้ำแข็งและที่บริเวณที่พบพระศพน้ำก็ ลึกเพียงแค่เอว รายงานการชันสูตรพระศพก็บ่งว่าไม่มีน้ำในปอด จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสิ้นพระชนม์โดยการจมน้ำตาย[16] สาเหตุการสิ้นพระชนม์ยังคงเป็นปริศนามาจนทุกวันนี้เพราะราชวงศ์วิทเทิลสบาคยังไม่ยอมให้แก้ปัญหา[17] สาเหตุการสิ้นพระชนม์จึงมีด้วยกันหลายทฤษฏี ทฤษฏีเชื่อกันว่าลุดวิกถูกลอบปลงพระชนม์โดยศัตรูขณะที่ทรงพยายามหนีจาก เบิร์ก และอ้างกันว่าทรงถูกยิงตาย[18] แต่เจคอป ลิเดิลนักตกปลาประจำพระองค์กล่าวว่าสามปีหลังจากที่สิ้นพระชนม์ ลิเดิลถูกบังคับให้สาบานว่าจะไม่เอ่ยปากกับใครถึงเรื่องที่เกิดขึ้น ลิเดิลก็ไม่ได้กล่าวอะไรกับใครแต่ทิ้งบันทึกที่มาพบเอาหลังจากที่ลิเดิลเสีย ชีวิตไปแล้ว ในบันทึกกล่าวว่าตัวลิเดิลเองซุ่มรอลุดวิกอยู่ในเรือที่จะพาพระองค์ไปกลาง ทะเลสาบเพื่อจะไปสมทบกับผู้ที่จะช่วยหลบหนีคนอื่นๆ แต่เมื่อทรงก้าวมาทางเรือ ลิเดิลก็ได้ยินเสียงปืนจากฝั่ง ลุดวิกล้มลงมาในเรือและสิ้นพระชนม์ทันที[19][20] อีกทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าลุดวิกสิ้นพระชนม์ตามธรรมชาติอาจจะจากหัวใจวาย หรือเส้นโลหิตในสมองแตก ระหว่างที่ทรงพยายามหลบหนีเพราะอากาศที่ทะเลสาบเย็น[21] บางคนก็เชื่อว่าสิ่งที่ง่ายที่สุดในการเฉลยปัญหานี้คือการชันสูตรพระศพใหม่ เพื่อจะได้รู้กันเป็นที่แน่นอน เพราะถ้าทรงถูกยิงจริงก็เป็นสิ่งที่ง่ายที่จะพบแม้ว่าจะเกิดขึ้นนานมาแล้วก็ ตาม

    ร่างของลุดวิกทรงเครื่องแบบเต็มยศของ Order of the Knights of St. Hubert และตั้งที่ชาเปลหลวงที่วังหลวงที่มิวนิค ในมือขวาทรงถือช่อดอกมะลิที่ดัชเชสเอลิซาเบธทรงเก็บให้[22] หลังจากพิธีที่จัดอย่างสมพระเกียรติร่างของลุดวิกยกเว้นหัวใจก็ถูกนำไปไว้ในคริพต์ที่วัดเซนต์ไมเคิลที่มิวนิค ตามประเพณีของบาวาเรียหัวใจของกษัตริย์จะใส่ในผอบเงินและส่งไปที่ชาเปลกนาเด็น (Gnadenkapelle) ที่ Chapel of the Miraculous Image ที่อาลเทิททิง ผอบของลุดวิกตั้งอยู่ข้างพระบิดาและพระอัยยิกาภายในชาเปล

    มรดก

    ภาพวาดท้องพระโรงของปราสาทนอยชวานชไตน์

    พระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรียทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่รักของประชาชนและไม่ทรงเหมือน กษัตริย์องค์ใดในประวัติศาสตร์ของบาวาเรีย สาเหตุที่ทรงเป็นที่ชื่นชมของประสกนิกรมีด้วยกันสามประการ ประการแรกทรงเลี่ยงสงครามซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้บาวาเรียมีความสงบร่มเย็นอยู่ ระยะหนึ่ง แต่การเลี่ยงสงครามของลุดวิกจะเป็นเพราะทรงเป็นผู้เชื่อในลัทธิสันตินิยม หรือจะเป็นเพราะความไม่ทรงสนพระทัยกับเรื่องการเมืองเป็นที่ถกเถียงกันได้ แต่ลุดวิกทรงมีความเชื่อเสมอว่าบาวาเรียควรที่จะมีความใกล้ชิดกับออสเตรียมา กกว่าปรัสเซีย ประการที่สองลุดวิกทรงสร้างปราสาทต่างๆ ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนมีงานทำและทำให้มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในบริเวณที่มีการก่อ สร้าง ประการที่สามพระลักษณะนิสัยที่ไม่เหมือนกันใครและที่เห็นกันว่าแปลกอาจจะ เป็นลักษณะที่เป็นดึงดูกความจงรักภักดีของประชากร ลุดวิกไม่ทรงโปรดชุมชนและงานที่เป็นทางการ แต่ไม่ได้ทำพระองค์อยู่เหนือการใกล้ชิดกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ทรงโปรดการเดินทางไปตามชนบทในบาวาเรียและเมื่อทรงพบชาวนาและกรรมกรระหว่าง ทางก็จะทรงสนทนาด้วย นอกจากนั้นก็ทรงโปรดการให้ของขวัญมีค่าผู้ที่มีความเอื้ออารีต่อพระองค์ใน ระหว่างการเสด็จประพาสตามชนบท ลุดวิกไม่ค่อยประทับในราชสำนักและมักจะออกประพาสไปตามชนบท ชาวบาวาเรียเรียกพระองค์ด้วยความเอ็นดูว่า “Unser Kini” (our darling king) ในภาษาเยอรมันแบบบาวาเรีย

    ลุดวิกทรงมีความสนใจและความเชื่อในเทคโนโลยีและความก้าวหน้า[ต้องการอ้างอิง] สิ่งหนึ่งที่ทรงมีความสนพระทัยมากคือการรถไฟ ทรงสนับสนุนการขยายเส้นทางรถไฟไปทั่วบาวาเรียจนกรมรถไฟหลวงแห่งบาวาเรียเป็น กรมรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและในที่สุดก็รวมกับกรมรถไฟเยอรมัน นอกจากนั้นก็ทรงมีรถไฟส่วนพระองค์ที่เรียกกันว่ารถไฟหลวงซึ่งทรงใช้ในการ ประพาสส่วนพระองค์หรือบางครั้งก็จะทรงเดินทางโดยไม่เปิดเผยว่าพระองค์เป็น ใคร และบางครั้งก็จะไปขับรถไฟกับวิศวกร[ต้องการอ้างอิง

    ]

    แม้ว่าการสร้างปราสาทของลุดวิกเกือบจะทำให้ราชวงศ์วิทเทิลสบาคหมดตัวแต่ลุดวิกไม่ได้ใช้เงินจากคลังของบาวาเรียมาสร้าง [23] และสิ่งที่น่าคิดก็คือแม้ว่าการสร้างปราสาทของลุดวิกเป็นการทำลายเศรษฐกิจ ส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นการนำมาของการสูญเสียราชบัลลังก์และความหายนะต่อพระองค์เอง แต่ในปัจจุบันปราสาทที่ทรงสร้างทุกปราสาทกลับกลายมาเป็นสิ่งที่รู้จักกันและ เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวไม่เฉพาะจากเยอรมนีเองเท่านั้นแต่จากทั่วโลกและ แป็นสิ่งหนึ่งทำเงินให้บาวาเรียมากที่สุด

    ลุดวิกและศิลปะ

    พระเจ้าลุดวิกทรงเป็นผู้อุปถัมภ์คีตกวีริชาร์ด วากเนอร์และทรงสละพระราชทรัพย์เพื่อช่วยในการสร้างโรงอุปรากรเบย์รึท (Bayreuth Festspielhaus) เป็นที่เชื่อกันว่าถ้าวากเนอร์ไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากลุดวิกก็คงไม่ได้เขียนแหวนแห่งนิเบลลุงเก็นจนจบ ซึ่งเป็นโอเปร่าชิ้นสำคัญที่สุดของวากเนอร์ หรือพาร์ซิฟาล (Parsifal) ซึ่งเป็นโอเปร่าชิ้นสุดท้าย

    ปราสาทของลุดวิก

    ปราสาทนอยชวานชไตน์ คริสต์ทศศควรรษ 1890

    พระเจ้าลุดวิกทรงมีความสนพระทัยในการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งอาจจะทรงได้มาจากพระเจ้าลุดวิกที่ 1 พระอัยยิกาผู้เป็นผู้สร้างมิวนิคใหม่เกือบทั้งหมดจนเป็นที่รู้จักกันในนาม “เอเธนส์บนฝั่งแม่น้ำอิซาร์” พระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 พระบิดาทรงดำเนินการสร้างมิวนิคต่อและทรงก่อสร้างปราสาทโฮเฮ็นชวานเกา ซึ่งเป็นปราสาทที่ลุดวิกใช้เวลาส่วนใหญ่เมื่อยังทรงพระเยาว์ ที่อยู่ไม่ใกลจากนอยชวานชไตน์ของลุดวิกที่ 2 ที่มาสร้างทีหลัง ลุดวิกทรงวางแผนที่จะสร้างโรงละครโอเปร่าใหญ่บนฝั่งแม่น้ำอิซาร์ที่มิวนิค แต่แผนถูกยับยั้งโดยรัฐบาลบาวาเรีย[24] ลุดวิกจึงทรงนำผังเดียวกันนั้นไปสร้างโรงละครที่เบย์รึทด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

    หลังจากสิ้นพระชนม์ลุดวิกทรงทิ้งผังการออกแบบสำหรับปราสาทอื่นๆ ที่ยังไม่ได้สร้างไว้มาก รวมทั้งผังสำหรับห้องต่างๆ ในปราสาทที่สร้างเสร็จแล้ว ผังเหล่านี้ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลุดวิกที่ 2 ที่วังแฮเร็นเคียมเซ ผังเหล่านี้ออกแบบในปลายรัชสมัยของลุดวิกราวปี ค.ศ. 1883 และออกแบบในขณะที่พระราชทรัพย์เริ่มร่อยหลอลง สถาปนิกทราบว่าในเมื่อไม่มีทางที่จะสร้างปราสาทเหล่านี้ได้จึงได้ออกแบบกัน อย่างหรูหราพิศดารโดยไม่ต้องคำนึงถึงงบประมาณ

    สิ่งก่อสร้างโดยพระเจ้าลุดวิก:

    • สวนฤดูหนาว, พระราชวังมิวนิค กลางเมืองมิวนิค - เป็นสวนที่หรูหราสร้างบนหลังคาวัง ประกอบด้วยทะเลสาบเทียม, สวน และจิตรกรรมฝาผนัง สวนมีหลังคาคลุมที่ทันสมัยทำด้วยโลหะและแก้ว[25] หลังจากลุดวิกสิ้นพระชนม์สวนก็ถูกรื้อทิ้งในปี ค.ศ. 1897 เพราะน้ำจากทะเลสาบเทียมรั่วลงมาห้องข้างล่าง จากรูปถ่ายที่หลงเหลืออยู่แสดงถึงสิ่งก่อสร้างที่เต็มไปด้วยจินตนาการที่น่า ทึ่งรวมทั้งถ้ำและศาลาแบบมัวร์, กระโจมแบบอินเดีย, และสายรุ้งส่องแสงและพระจันทร์[26][27]
    • ปราสาทนอยชวานชไตน์ - หรือปราสาทหงส์หินใหม่เป็นปราสาที่สร้างตามแบบป้อมโรมาเนสก์ผสมไบแซนไทน์ ภายในเป็นแบบโรมาเนสก์และกอธิคสร้างเหนือปราสาทโฮเฮ็นชวานเกาของพระราชบิดา ภายในเป็นจิตรกรรมฝาผนังจากโอเปราของวากเนอร์ รูปสัญลักษณ์ส่วน ใหญ่เป็นการสรรเสริญความเกียรติศักดิ์อย่างคริสเตียนและความรักอันบริสุทธิ์ ซึ่งอาจจะเป็นสี่งที่ช่วยให้ลุดวิกยึดมั่นใน อุดมคติของความเป็นคริสเตียน ปราสาทนี้ยังสร้างไม่เสร็จเมื่อลุดวิกสิ้นพระชนม์ ผู้ชมสามารถเข้าชมบริเวณที่พักอาศัยของลุดวิก, ห้องมหาดเล็ก, ห้องครัว และท้องพระโรงใหญ่ภายในปราสาทได้ แต่ตัวบัลลังก์ยังทำไม่เสร็จแต่แบบที่ออกแสดงให้เห็นถึงภาพถ้าสร้างเสร็จ [28] ปราสาทนอยชวานชไตน์เป็นสัญลักษณ์ของเยอรมนีที่เป็นที่รู้จักกันดีสัญลักษณ์ หนึ่ง และถูกนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างปราสาทเจ้าหญิงนิทราของดิสนีย์แลนด์
    • วังลินเดอร์ฮอฟ - เป็นวังแบบโรโคโคแบบ ฝรั่งเศสพร้อมทั้งสวนแบบภูมิทัศน์ ในบริเวณสวนมีถ้ำวินัสซึ่งเป็นใช้เป็นที่แสดงโอเปร่าในขณะที่ลุดวิกนั่งเรือ รูปหอยบนผิวน้ำในทะเลสาบใต้ดิน[1]ที่ ส่องสว่างด้วยไฟฟ้าซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้น แสงไฟสามารถเปลี่ยนจากแดงเป็นน้ำเงิน นอกจากนั้นก็มีกระท่อมคนตัดไม้ที่ทำจากต้นไม้เทียม รูปสัญลักษณ์ที่ใช้ตกแต่งภายในแสดงให้เห็นถึงความสนใจของลุดวิกในระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศสโบราณ ทรงเห็นพระองค์เองว่าเป็น “Moon King” ซึ่งเป็นเหมือนเงาของ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสผู้ เป็น “Sun King” จากลินเดอร์ฮอฟลุดวิกชอบเล่นรถลากเลื่อนอย่างหรูหราบนหิมะกลางแสงจันทร์ รถลากเลื่อนมาจากคริสต์ศตวรรษ 18 พร้อมด้วยมหาดเล็กในเครื่องทรงจากคริสต์ศตวรรษเดียวกัน และเป็นที่ทราบกันว่าทรงหยุดทักทายกับชาวบ้านที่พบระหว่างทางซี่งทำให้เป็น ที่ชื่นชมของประชาชน ปัจจุบันรถลากเลื่อนคันนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิธภัณฑ์รถม้าที่วังนิมเฟนเบิร์กที่มิวนิค นอกจากนั้นลินเดอร์ฮอฟยังมีศาลาแบบมัวร์
    • วังแฮเร็นเคียมเซ - ตั้งอยู่ที่เกาะแฮเร็นกลางทะเลสาบเคียมเซ สร้างตามแบบส่วนกลางของพระราชวังแวร์ซายส์ที่ ฝรั่งเศสที่มีพระประสงค์จะสร้างให้เด่นและดีกว่าแวร์ซายส์ทั้งขนาดและความ หรูหรา แต่สร้างไม่เสร็จเพราะขาดกำลังเงิน นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสมักจะมาชมบันไดทูต (Ambassador's staircase) เพราะบันไดทูตที่แวร์ซายส์ถูกริ้อทิ้งในปี ค.ศ. 1752[29]
    • ลุดวิกทรงตกแต่งตำหนักเคอนิกอัมชาเค็น (Königshaus am Schachen) เป็นแบบอาหรับรวมทั้งบัลลังก์นกยูง มีข่าวลีอว่าเมื่อทรงมีงานเลี้ยงหรูหราที่นี่ลุดวิกก็จะนอนเอนอย่างสุลต่าน ตุรกีล้อมรอบด้วยผู้รับใช้หน้าตาดีที่นุ่งน้อยห่มน้อย
    • ปราสาทฟอลเคนชไตน์ (Castle Falkenstein) – ทรงซื้อทรากปราสาทซึ่งเป็นที่ตั้งปราสาทที่สูงที่สุดในเยอรมนีและสร้าง ปราสาทใหม่ตามแผนที่วาดโดยของคริสเตียน แย้งค์ ที่จะเป็นแบบเทพนิยายที่ยิ่งไปกว่านอยชวานชไตน์ตั้งอยู่บนผาเหนือนอยชวานชไต น์

    ลุดวิกและวัฒนธรรมร่วมสมัย

    • ค.ศ. 1955 “ลุดวิกที่ 2” (ภาพยนตร์) กำกับโดยเฮลมุท เคาทเนอร์ แสดงโดยโอ ดับเบิลยู ฟิชเชอร์เป็นพระเจ้าลุดวิกที่ 2 และรูธ ลูวเวริคเป็นดัชเชสเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย
    • ค.ศ. 1972: “ลุดวิก” (ภาพยนตร์) กำกับโดยลูเชียโน วิสคอนติ (Luchino Visconti) เป็นประวัติชีวิตที่เริ่มตั้งแต่ขึ้นครองราชย์จนสิ้นพระชนม์ แสดงโดยเฮลมุท เบอร์เกอร์ป็นพระเจ้าลุดวิกที่ 2 และโรมี ชไนเดอร์เป็นดัชเชสเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย
    • ค.ศ. 1972: “ลุดวิก - เพลงมรณะสำหรับกษัตริย์บริสุทธิ์” (Requiem für einen jungfräulichen König) (ภาพยนตร์เยอรมัน) เขียนและกำกับโดยฮันส์-เยอร์เก็น ไซเบอร์เบิร์ก (Hans-Jürgen Syberberg) เป็นประวัติชีวิตที่เริ่มตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จนสิ้นพระชนม์แสดงภาพพจน์ใน ทางดีของพระองค์ แสดงโดยแฮรี แบร์เป็นพระเจ้าลุดวิกที่ 2
    • ค.ศ. 1983: “วากเนอร์” (ภาพยนตร์) กำกับโดยโทนี พาล์มเมอร์ เป็นประวัติชีวิตของวากเนอร์ แสดงโดยริชาร์ด เบอร์ตันเป็นวากเนอร์ ลาสซโล กาลฟฟิเป็นพระเจ้าลุดวิกที่ 2
    • คริสต์ทศศตวรรษ 2000: “Valhalla” (ละคร) โดยพอล รัดนิค มีลุดวิกเป็นตัวละครเมื่อเริ่มเรื่องในบาวาเรียในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และเท็กซัสในคริสต์ทศศตวรรษ 1940
    • ค.ศ. 2007: “Doris to Darlene, a cautionary valentine” (ละคร) โดยจอร์แดน แฮร์ริสัน แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างลุดวิกและวากเนอร์
    • ค.ศ. 2007: “Gabriel Knight: The Beast Within” (คอมพิวเตอร์เกม) ซึ่งประกอบด้วยสถานที่ต่างๆ ของลุดวิก แต่เรื่องเกี่ยวกับชีวะประวัติของพระองค์รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ ที่เป็นจินตนาการ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×