ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #34 : เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 267
      0
      24 พ.ค. 57



    เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ หรือ วิลเลียม อาร์เธอร์ ฟิลิป หลุยส์ (อังกฤษHis Royal Highness Prince William Duke of Cambridge; William Arthur Philip Louis) (ประสูติ: 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525)[1] เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์และเลดีไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ[2] ทรงอยู่อันดับที่สองของลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษและประเทศต่าง ๆ ในเครือจักรภพอังกฤษอีก 16 ประเทศ แม้พระองค์จะประทับอยู่ในสหราชอาณาจักรเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม

    ในปี พ.ศ. 2550 เจ้าชายวิลเลียมทรงเข้าร่วมกองพันทหารม้า บลูส์แอนด์รอยัลส์ (Blues and Royals) ของกรมทหารม้ารักษาวังแห่งกองทัพบกอังกฤษ เช่นเดียวกับเจ้าชายแฮร์รีพระอนุชาของพระองค์ และทรงสถานะเป็นทหารยศร้อยตรี (Second Lieutenant) ในกองทัพนับแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งนามของพระองค์ในกองพันคือร้อยตรีวิลเลียม เวลส์[3]

    เจ้าชายวิลเลียมถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 1 ของราชนิกุลรุ่นเยาว์ที่เซ็กซี่มากสุดในโลก

    พระประวัติ[แก้]

    เจ้าชายวิลเลียม (ที่สองจากซ้าย) ทรงฉลองพระองค์เต็มพระยศในพระราชวังบักกิงแฮม

    เจ้าชายวิลเลียมประสูติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ณ โรงพยาบาลเซนต์มารีส์ เขตแพดดิงตัน ทางตะวันตกของกรุงลอนดอน พระบิดาของพระองค์คือ เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ส่วนพระมารดาคือเลดีไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ธิดาคนเล็กของจอห์น สเปนเซอร์ เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 8 และฟรานเซส รูธ เบิร์ค-รอช[2] ในฐานะพระราชนัดดาในพระประมุขแห่งอังกฤษและพระโอรสของเจ้าชายแห่งเวลส์ เจ้าชายทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ (His Royal Highness Prince William of Wales) ทรงมีหมายเลขบัตรประชาชน คือ I00000172[4]

    เจ้าชายวิลเลียมทรงรับบัพติศมาจากศาสนาจารย์ ดร.โรเบิร์ต รันซี อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีในขณะนั้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2525 ณ ห้องทรงดนตรี พระราชวังบักกิงแฮม อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี พระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระองค์พระชนมายุครบ 82 พรรษา โดยมีพระบิดาและพระมารดาอุปถัมภ์คือสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ เซอร์ ลอเรนซ์ ฟอน แดร์ โพสต์ เจ้าหญิงอเล็กซานดรา ดัชเชสแห่งเวสต์มินสเตอร์ ลอร์ดบราเบิร์น และเลดี้ ซูซาน ฮูสซีย์[5]

    เจ้าชายวิลเลียมทรงสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษซึ่งผ่านทางพระอัยกาฝ่ายพระมารดา เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ จะทรงเป็นประมุขพระองค์แรกนับตั้งแต่สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์ที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1

    เมื่อครั้นยังทรงพระเยาว์ พระองค์มีพระนามเรียกเล่นว่า "วอมแบ็ต" (มาร์ซูเปียเลียในออสเตรเลีย) หรือ"วิลส์" (ชื่อย่อของ "วิลเลียม" ในภาษาอังกฤษ) และมีพระอนุชาหนึ่งพระองค์คือเจ้าชายแฮร์รี ซึ่งประสูติตามหลังพระองค์ 2 ปี

    เจ้าชายวิลเลียมเคยทูลพระมารดา (เจ้าหญิงไดอานา) ว่าพระองค์อยากเป็นตำรวจเมื่อพระองค์โตขึ้น เพื่อที่จะได้ปกป้องพระมารดาของพระองค์ แต่พระอนุชา (เจ้าชายแฮร์รี่) กลับบอกพระองค์ว่า "พี่เป็นมิได้หรอก พี่จะต้องเป็นกษัตริย์"[6] การปรากฏตัวของพระองค์ต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกคือเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 (วันเซนต์เดวิดส์) ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมเมืองคาร์ดิฟฟ์ แคว้นเวลส์ กับพระบิดาและพระมารดา หลังจากที่พระองค์เสด็จถึงแคว้นเวลส์ พระองค์เสด็จต่อไปที่มหาวิหารลันดาฟฟ์ พระองค์ทรงลงพระนามในสมุดบันทึกผู้เดินทาง ซึ่งเป็นที่ปรากฏว่าทรงใช้พระหัตถ์ด้านซ้ายเขียนหนังสือ

    วันที่ 3 มิถุนายนของปีเดียวกัน เจ้าชายวิลเลียมทรงถูกส่งไปยังโรงพยาบาลรอยัลเบิร์กเชอร์ หลังจากที่ทรงถูกตีที่พระนลาฏ อย่างไรก็ตามพระองค์มิได้ทรงหมดสติ แต่มีรอยร้าวที่พระเศียรของพระองค์ และทรงเข้ารักษาพระวรกายที่โรงพยาบาลเกรตออร์มอนด์สตรีท โดยมีผลให้ทรงมีแผลนั้นตลอดพระชนม์ชีพ[7]

    วันที่ 16 พฤศจิกายน สำนักพระราชวังอังกฤษได้ประกาศว่าเจ้าชายวิลเลียมจะทรงเข้าพิธีเสกสมรสกับนางสาวเคท มิดเดลตันพระสหายสนิทที่คบหากันมาประมาณ 6 ปี ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554[ต้องการอ้างอิง]

    การศึกษา[แก้]

    • ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลป์ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A)
    • พ.ศ. 2544 - ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ ในสกอตแลนด์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2
    • พ.ศ. 2553 - ฝึกนักบินเฮลิคอปเตอร์ซี คิงของหน่วยค้นหาและกู้ภัยของกองทัพอากาศ

    พระกรณียกิจ[แก้]

    พระชายาและพระโอรส[แก้]

    กลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มีข่าวคราวพระองค์จะทรงหมั้นกับเคต มิดเดิลทัน ทายาทบริษัทจิ๊กซอว์ ก่อนที่จะมีการประกาศเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ว่าพระองค์ได้ทรงหมั้นกับมิดเดลตันแล้ว โดยพระราชพิธีเสกสมรสกับเคต มิดเดิลทันได้มีขึ้นในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 อย่างยิ่งใหญ่อลังการและสมเกียรติ ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในกรุงลอนดอน[8]

    พระอิสริยยศ[แก้]

    • พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2554: เจ้าชายวิลเลียมแห่งเวลส์ (His Royal Highness Prince William of Wales)
    • พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน: เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์

    พระตระกูล[แก้]

    พระตระกูลในสามรุ่นของเจ้าชายวิลเลียม[2]
    เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ พระชนก:
    เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์
    พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
    เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ
    พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
    เจ้าชายแอนดรูว์ แห่งกรีซและเดนมาร์ก
    พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
    เจ้าหญิงอลิซแห่งแบ็ตเต็นเบิร์ก
    พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
    สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
    พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
    สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร
    พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
    เอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน
    พระชนนี:
    ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์
    พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
    จอห์น สเปนเซอร์ เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 8
    พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
    อัลเบิร์ต สเปนเซอร์ เอิรล์สเปนเซอร์ที่ 7
    พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
    ซินเธีย สเปนเซอร์ เคาน์เตสเปนเซอร์
    พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
    ฟรานเซส ชานด์ คีดด์
    พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
    มัวริซ โรช บารอนเฟอร์มอยที่ 4
    พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
    รูธ โรช บารอนเนสเฟอร์มอย

    ทรงลาออกจากกองทัพ[แก้]

    เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ ทรงลาออกจากกองทัพแล้ว มุ่งเน้นภารกิจราชวงศ์ และงานด้านการกุศล

    สำนักพระราชวังเคนซิงตัน ที่ประทับของเจ้าชายวิลเลียม ได้ประกาศว่า "ดยุกแห่งเคมบริดจ์ แห่งราชวงศ์อังกฤษ ทรงลาออกจากกองทัพแล้ว หลังจากที่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นทหารมานานกว่า 7 ปี"

    สำนักข่าวบีบีซี เวิลด์นิวส์ได้รายงานว่า ดยุกแห่งเคมบริดจ์ ทรงเสร็จสิ้นภารกิจครั้งสุดท้าย ในฐานะ นักบินค้นหา และกู้ภัยแห่งกองทัพ อากาศอังกฤษ หรือ อาร์เอเอฟ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และหลังจากนี้พระองค์จะทรงมุ่งเน้นภารกิจของราชวงศ์ และงานด้านการกุศลเป็นหลัก

    ทั้งนี้ ดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ และเจ้าชายจอร์จ พระโอรสองค์น้อย จะเสด็จออกจากที่ประทับบนเกาะแองเกิลเซย์ ไปยังพระราชวังเคนซิงตัน ภายใน 2 - 3 สัปดาห์ ข้างหน้านี้

    [9]

     

    ดูเพิ่ม[แก้]

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×