ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #4 : ออทโท ฟอน ฮับส์บูร์ก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 328
      0
      2 ม.ค. 58



    ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย ฮังการี โครเอเชีย และโบฮีเมีย (อังกฤษOtto von Habsburg; พระนามเต็ม: ฟรานซ์ โจเซฟ ออตโต โรเบิร์ต มาเรีย แอนตัน คาร์ล แมกซ์ เฮ็นริค ซิกส์ตัส เซเวอร์ เฟลิกซ์ เรเนตัส ลุดวิก แกตัน พิอุส อิกเนเชียส วอน ฮับส์บูร์ก-ลอร์เรน; Franz Joseph Otto Robert Maria Anton Karl Max Heinrich Sixtus Xaver Felix Renatus Ludwig Gaetan Pius Ignatius von Habsburg-Lorraine) (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ทรงเป็นอดีตประมุขแห่งราชวงศ์อิมพีเรียลของอดีตจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี หรือออสเตรีย ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก โครเอเชีย สโลวีเนีย สโลวาเกีย และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นพระโอรสองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย (สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 4 แห่งฮังการี) และ สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าแห่งออสเตรีย พระองค์ทรงเป็นอดีตสมาชิกของสภาสหภาพยุโรปสมาคมคริสเตียนแห่งบาวาเรีย และทรงเคยเป็นประธานสหภาพแพนยุโรปนานาชาติ (International Paneuropean Union) อีกด้วย

    พระราชประวัติ[แก้]

    ขณะทรงพระเยาว์[แก้]

    ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์กเป็นพระโอรสองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 และสมเด็จพระจักรพรรดินีซิตาแห่งออสเตรีย (พระนามเดิม: เจ้าหญิงซิต้าแห่งบูร์บอง-ปาร์มา) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ณ วิลล่า วอร์ทอลล์ซ ใน ไรเชเนาว์ แอนด์ เดอ แรกซ์ ประเทศออสเตรีย พระองค์ทรงเข้าพิธีจุ่มศีล มื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 โดยพระคาร์ดินัลฟรานซ์ เซเวอร์ นากัล อาร์ชบิชอปแห่งเวียนนา บิดาทูนหัวคือ พระอัยกาของพระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย (แทนพระองค์ อาร์ชดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์) ส่วนมารดาทูนหัวคือ พระอัยกีของพระองค์ เจ้าหญิงมาเรีย แอนโตเนียแห่งโปรตุเกส

    เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 สมเด็จพระอัยกาของพระองค์สวรรคต ทำให้พระราชบิดาของพระองค์ทรงเถลิงวัลย์ราชสมบัติ เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 ทำให้พระองค์ทรงเป็นมกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการี แต่เมื่อปี พ.ศ. 2461 ซึ่งเป็นจุดจบของสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชวงศ์อิมพีเรียลถูกล้มล้าง ทำให้เกิดสาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐฮังการีขึ้น ทำให้ราชวงศ์จำต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน แต่เมื่อประเทศฮังการีได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักรอีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่มีราชวงศ์มาเป็นองค์พระประมุข ทำให้มิคลอส ฮอร์ตี้ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนจนถึงปี พ.ศ. 2487 ทำให้ฮังการีเป็นราชอาณาจักรโดยปราศจากพระมหากษัตริย์

    ช่วงเวลาการลี้ภัย[แก้]

    ราชวงศ์อิมพีเรียลได้ใช้เวลาของการลี้ภัยที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเกาะมาไดร่าของประเทศโปรตุเกสซึ่งเกาะนี้เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 พระบิดาเสด็จสรรคตกระทันหันเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465 ทำให้พระองค์ทรงต้องสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุแค่ 10 พรรษาเท่านั้น ในขณะนั้นทางรัฐบาลออสเตรียได้ประกาศขับไล่ราชวงศ์ฮับส์บูร์กและทำการยึดทรัพย์สินของราชวงศ์มาเป็นสมบัติของชาติ โดยเรียกเหตุการณ์นั้นว่า Habsburgergesetzเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2462

    พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคาทอลิกลอยเวน ประเทศเบลเยี่ยม โดยพระองค์ทรงศึกษาภาควิชาสังคมศาสตร์ และ รัฐศาสตร์

    ช่วงเวลาการต่อต้านนาซี[แก้]

    สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
    – ตำแหน่งในนาม –
    พระราชวงศ์อิมพีเรียลแห่งออสเตรีย
    Wappen Kaisertum Österreich 1815 (Klein).png
    สมเด็จพระจักรพรรดิ
    สมเด็จพระจักรพรรดินี
    จัดการ: แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข

    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก ทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากทรงลี้ภัยจากประเทศเบลเยี่ยมและประเทศฝรั่งเศสกับพระราชมารดา และพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ โดยที่พระญาติของพระองค์ เจ้าฟ้าชายแมกซ์ ดยุกแห่งโฮเฮนเบอร์ก และเจ้าชายเออเนสต์แห่งโฮเฮนเบอร์กทรงถูกจับกุมในกรุงเวียนนา โดยคณะทหารรัฐประหารและถูกนำไปที่ศูนย์บัญชาการจนถึงสงครามสิ้นสุดลง ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆก็เสด็จลี้ภัย หวังจะพึ่งพาประเทศพันธมิตรเช่น เบลเยี่ยม และฝรั่งเศส แต่เมื่อฝรั่งเศสถูกคุกคาม ราชวงศ์ก็เป็นอันต้องลี้ภัยไปยังประเทศโปรตุเกส โดยมีอริสติเดส เด ซลซา เมนเดส หนึ่งในคณะทูตของโปรตุเกสประจำเมืองบอร์ดูกซ์ ให้การช่วยเหลือ ในความเป็นผู้รักชาติอย่างแรงกล้าของพระองค์ พระองค์ทรงต่อต้านและขับไล่ทหารนาซีอย่างรุนแรงเมือ่ปีพ.ศ. 2481 หลังจากสงคราม พระองค์ทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสเปน

    แนวโน้มการหวนคืนครองบัลลังก์[แก้]

    การชุมนุมเรียกร้องการสถาปนาพระราชวงศ์ ณ ใจกลางกรุงเวียนนา
    การชุมนุมเรียกร้องในหัวข้อ 89 Jahre Republik Sind Genug!: 89ปี...มากพอแล้วสำหรับสาธารณรัฐ

    เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีบุคคลบางกลุ่มได้จัดให้มีการชุมนุมเรียกร้องการฟื้นฟูสถาปนา พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการีขึ้น ณ กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อเวลา 9 นาฬิกา ต่อมาเวลา 18 นาฬิกาที่กรุงเวียนนา ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูสถาปนาพระราชวงศ์อิมพีเรียลให้กลับมาครองบัลลังก์ และยังเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในออสเตรีย และฮังการีอีกด้วย การชุมนุมนี้มีขึ้น ณ ใจกลางกรุงเวียนนา โดยมีหัวข้อชุมนุมเรียกร้องเป็นภาษาเยอรมันว่า 89 Jahre Republik Sind Genug! แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า 89 Years are enough for the Republic: 89 ปี...มากพอแล้วสำหรับการเป็นสาธารณรัฐ การชุมนุมของบุคคลบางกลุ่มในทั้ง 2 ประเทศนี้ ทำให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วนในรัฐสภาทั้งในออสเตรียและฮังการี และประธานาธิบดีของทั้ง 2 ประเทศต่างได้หารือกันอีกด้วย อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏว่าการชุมนุมดังกล่าวส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นรูปธรรมใดๆ ทั้งสิ้น หลังจากเวลาผ่านไปกว่า 3 ปีเศษภายหลังการชุมนุมดังกล่าว ทั้งสาธารณรัฐออสเตรียและฮังการีต่างยังคงยึดมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสาธารณรัฐไว้ได้อย่างมั่นคง และไม่มีทีท่าว่าประเทศทั้งสองซึ่งต่างก็เป็นรัฐอธิปไตยโดยสมบูรณ์แล้ว จะหวนกลับมารวมกันเป็นประเทศเดียวกันอีกได้แต่ประการใด แม้จนกระทั่งเมื่อออตโต ฟอน ฮับสบูร์ก สิ้นพระชนม์ไปแล้วในปี พ.ศ. 2554 ก็ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า ทั้งออสเตรียและฮังการีจะสามารถหวนกลับไปสู่การปกครองระบอบราชาธิปไตยได้อีกเลย

    การอภิเษกสมรส[แก้]

    ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก และพระชายา

    ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์กทรงอภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงเรจิน่าแห่งแซ๊กซ์-ไมนินเจนและไฮด์บูรก์เฮาเซน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและพระธิดารวม 7 พระองค์ และยังมีพระราชนัดดารวมทั้งหมด 23 พระองค์

    สวรรคต[แก้]

    ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงเรจิน่าแห่งแซ็กซ์-ไมนินเจน พระชายาในปี พ.ศ. 2553 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระองค์ก็ทรงหยุดการปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะ ซึ่งพระองค์สวรรคตด้วยพระชนมายุ 98 พรรษา ในวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ บ้านพักส่วนพระองค์ในพ็อกกิง, เยอรมนี ทั้งนี้โฆษกส่วนพระองค์ยังกล่าวด้วยว่าพระองค์สวรรคต "อย่างสงบและไร้ซึ่งความเจ็บปวดขณะบรรทม" โดยพระองค์มีพระชนมายุยืนยาวกว่าพระอนุชาเฟลิกซ์, พระโอรสธิดาอีก 7 พระองค์, พระนัดดาอีก 22 พระองค์ และพระปนัดดาอีก 2 พระองค์[1][2]

    ท่ามกลางคำไว้อาลัยจากทั่วทั้งยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย, ไฮน์ซ ฟิสเชอร์ ได้ขนานนามพระองค์ว่าเป็น "ประชาชนผู้ภักดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย" ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วพระราชวงศ์ฮับส์บูร์กทุกพระองค์ถูกห้ามเข้าประเทศ จนกระทั่งพระองค์ทรงแถลงสละตำแหน่งผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ออสเตรีย-ฮังการี พระราชวงศ์ทุกพระองค์จึงได้ทรงเข้าออกประเทศอีกครั้ง ทั้งนี้นายฟิสเชอร์ยังได้กล่าวอีกด้วยว่าความสัมพันธ์ของพระองค์กับรัฐบาลสาธารณรัฐนิยม "ได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นในช่วงทศวรรษหลังที่ผ่านมา"[2]

    ราชตระกูล[แก้]

    พระราชตระกูลในสามรุ่นของออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก
    ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก พระชนก:
    สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งออสเตรีย
    พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
    อาร์ชดยุกอ๊อตโต้ ฟรานซ์แห่งออสเตรีย
    พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
    อาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิกแห่งออสเตรีย
    พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
    เจ้าหญิงมาเรีย แอนนันซิเอต้าแห่งทู ซิชิลีส์
    พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
    เจ้าหญิงมาเรีย โจเซฟ่าแห่งแซ็กโซนี
    พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
    สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์ชแห่งแซ็กโซนี
    พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
    เจ้าหญิงมาเรีย แอนนาแห่งโปรตุเกส
    พระชนนี:
    สมเด็จพระจักรพรรดินีซีต้าแห่งออสเตรีย
    พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
    ดยุกโรเบิร์ตที่ 1 แห่งปาร์มา
    พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
    ดยุกชาร์ลส์ที่ 3 แห่งปาร์มา
    พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
    เจ้าหญิงหลุยส์ มารี เทเรสแห่งฝรั่งเศส
    พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
    เจ้าหญิงมาเรีย แอนโตเนียแห่งโปรตุเกส
    พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
    สมเด็จพระราชาธิบดีมิเกลที่ 1 แห่งโปรตุเกส
    พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
    เจ้าหญิงอาเดลเลดแห่งโลเวนสไตน์-เวอร์เธ็ม-โรเซนเบิร์ก

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×