ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ราชวงศ์อังกฤษและยุโรป 2

    ลำดับตอนที่ #52 : สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 350
      0
      25 พ.ค. 57



    สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม (สกุลเดิม ดูว์เดอแกม ดาโก, เกิด 20 มกราคม ค.ศ. 1973) พระบรมราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม มีเชื้อสายสืบแต่สกุลขุนนางของโปแลนด์[1][2] พระองค์ทรงเป็นพระราชินีพระองค์แรกที่ถือสัญชาติเบลเยียม ภายหลังจากการขึ้นครองราชย์ของพระราชสวามี ทำให้ประเทศเบลเยียมนั้นมีสมเด็จพระบรมราชินีที่ยังทรงพระชนม์อยู่ถึง 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระราชินีฟาบิโอลา สมเด็จพระราชินีเปาลา และพระองค์เอง

    พระประวัติ[แก้]

    สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมประสูติเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1973 เป็นธิดาคนแรกจากบุตรทั้งห้าคนของเคานต์ปาทริก ดูว์เดอแกม ดาโก[3][4] กับเคาน์เตสอันนา มารียา[5] (สกุลเดิม คอมอรอฟสกา) พระชนกเป็นบุตรของบารอนชาร์ล ดูว์เดอแกม ดาโก มีเชื้อสายวอลลูน ส่วนพระชนนีเป็นธิดาของเคานต์มีคาเอล คอมอรอฟสกี กับเจ้าหญิงโซเฟีย ซาพีฮาแห่งกราชิตชึน[1]

    พระองค์มีพระพี่น้อง 5 คน โดยมีพระองค์เป็นบุตรคนโต มีพระอนุชา และพระขนิษฐา ได้แก่

    1. นางสาวมารี-อาลิกซ์ ดูว์เดอแกม ดาโก (16 กันยายน 1974 - เมษายน 1997)
    2. มาร์กราวีน เอลีซาแบ็ต ปัลลาวีชีนี (17 มกราคม 1977) สมรสกับมาร์กราฟอัลฟอนโซ ฟอน ปัลลาวีชีนี มีบุตรด้วยกันสองคน
    3. บารอเนสเอแลน ยานเซน (22 กันยายน 1979) สมรสกับบารอนนีกอลา ยานเซน มีธิดาหนึ่งคน
    4. เคานต์ชาร์ล-อ็องรี ดูว์เดอแกม ดาโก (13 พฤษภาคม 1985)

    พระองค์ตรัสภาษาฝรั่งเศส ดัตช์ อังกฤษ และอิตาลีได้ แม้ว่าจะทรงสืบเชื้อสายโปแลนด์มาจากพระชนนี แต่พระชนนีมิได้สอนภาษาโปแลนด์แก่พระองค์ ด้วยเห็นว่ามันไม่สำคัญนัก พระองค์จึงทราบเพียงคำในภาษาโปแลนด์ไม่กี่คำ[6]

    พระองค์มีพระจริยวัตรนุ่มนวลงดงาม เรียบง่าย และเป็นกันเองกับประชาชนโดยทั่วไป[2] ชาวเบลเยียมเห็นด้วยว่าเจ้าชายฟีลิปทรงสนใจประกอบพระกรณียกิจมากขึ้น[2]

    การศึกษา[แก้]

    ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นสถาบันเวียร์ฌฟีแดล (Institut de la Vierge Fidèle) ต่อมาทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการฝึกอรรถบำบัด (เกียรตินิยม) จากสถาบันเสรีมารี ฮัปส์ (Institut Libre Marie Haps) ที่กรุงบรัสเซลส์ ช่วงปี ค.ศ. 1991-1994

    สมเด็จพระราชินีมาตีลด์ทรงงานเป็นนักอรรถบำบัด ช่วงปี ค.ศ. 1995-1999 ภายหลังทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาสาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งลูแวง และได้รับปริญญาบัตร (เกียรตินิยม) ในปี ค.ศ. 2002

    อภิเษกสมรส[แก้]

    กษัตริย์ฟีลิปและพระองค์ทรงหมั้น และได้เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1999 ทรงจดทะเบียนสมรสที่ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ และทำพิธีทางศาสนาที่มหาวิหารแซ็งมีเชลและแซ็งกูดูลา พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (ประกาศเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน และมีผลตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมปีเดียวกันนั้น) ทั้งสองมีพระโอรสและพระธิดา 4 พระองค์ คือ[7]

    1. เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต เตแรซ มารี เอแลน (ประสูติ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2001)
    2. เจ้าชายกาบรีแยล โบดวง ชาร์ล มารี (ประสูติ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2003)
    3. เจ้าชายแอมานุแอล เลออปอล กีโยม ฟร็องซัว มารี (ประสูติ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2005)
    4. เจ้าหญิงเอเลออนอร์ ฟาบียอลา วิกตอรียา อาน มารี (ประสูติ 16 เมษายน ค.ศ. 2008)

    พระองค์เป็นแม่ทูนหัวของเจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์และเจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก

    พระราชกรณียกิจ[แก้]

    ในฐานะที่พระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์ได้ประกอบพระกรณียกิจและได้อุปถัมภ์องค์กรการกุศลหลายรายการ ทั้งนี้พระองค์มีส่วนร่วมในสภาเศรษฐกิจโลก พระองค์ได้ตั้งกองทุนขึ้นในปี ค.ศ. 2001 เพื่อส่งเสริมดูแลบุคคลที่มีความเสี่ยง และรางวัลประจำปีแก่ผู้ที่ทำงานเป็นอย่างดี[8] เป็นต้นว่า การศึกษา, สุขภาพสตรี และการปกป้องสตรีจากความรุนแรง[9]

    ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของยูนิเซฟเบลเยียม โดยทรงหน้าที่พิเศษเป็นผู้แทนองค์การอนามัยโลกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน[10]

    พระองค์และพระราชสวามี นำผู้แทนทางเศรษฐกิจไปยังสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2011 และประเทศเวียดนามในปี ค.ศ. 2012[11]

    พระเกียรติยศ[แก้]

    พระอิสริยยศ[แก้]

    • นางสาวมาตีลด์ ดูว์เดอแกม ดาโก (20 มกราคม ค.ศ. 1973 — 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999)
    • เฮอร์รอยัลไฮนิส เจ้าหญิงมาตีลด์แห่งเบลเยียม, ดัชเชสแห่งบราบันต์ และเคาน์เตสแห่งดูว์เดอแกม ดาโก (8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 — 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013)
    • เฮอร์มาเจสตี สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม (21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 — ปัจจุบัน)

    หลังการอภิเษกสมรส พระชนก และพระปิตุลาของพระองค์ ได้รับการสถาปนาเป็น เคานต์

    เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

    พงศาวลี[แก้]


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×