ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #101 : Seitokai Yakuindomo เรื่องวุ่นๆ ของประธานจอมจิ้น!!

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 12.33K
      4
      25 ต.ค. 53

     

    Seitokai Yakuindomo ตอนแรกผมก็คิดว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะเป็นการ์ตูนแนวฮาเร็ม จำพวกสภานักเรียนเสียอีก(คล้ายกับเรื่อง Seitokai no Ichizon) แต่ปรากฏว่าเมื่อผมดูจบ 13 ตอน ผมต้องร้องว่า “อยากดูซีซั่น 2 เว้ย!!!!” เพราะมันสนุกมากๆ เพราะตัวละครในเรื่องมีบทบาทหน้าที่ เล่นมุกได้อย่างมีระบบ และแต่ละมุกนั้นฮ่าเหลือเกิน

     

     
    Seitokai Yakuindomo

    คอมมาดี้, ชีวิตในโรงเรียน

    ดูอนิเมชั่นได้ที่ http://video.mthai.com/player.php?id=18M1278294132M0

    มังงะ http://www.mangafox.com/manga/seitokai_yakuindomo/

     

    หรือทีมงานสมาชิกสภานักเรียน เป็นการ์ตูนแนวแก๊ก 4 ช่อง ที่เขียนโดย Tozen Ujiie ออกวางจำหน่ายมิถุนายน 2004 ในนิตยสาร Magazine Special ปัจจุบันออกมาแล้ว 3 เล่ม (เล่มแรกออกไปตอนปี 2008  เล่ม 2 ปี 2009/ และเล่ม 3 2010 ออกปีละเล่ม) ยังไม่มีลิขสิทธิ์บ้านเรา(เพราะมุกในเรื่องอาจเสี่ยงต่อการถูกแบนมั้ง) ออกเป็นการ์ตูนทีวี ฉาย 4กรกฎาคม 2010 ถึง 26 กันยายน 2010 มีทั้งสิ้น 13 ตอน

    เป็นเรื่องราวของพระเอกที่นิสัยแสนดีนามซึดะ ที่เขาเข้าเทอมใหม่ในโรงเรียนเอกชนโอซาอิ(ในซับดันเป็นโอโซ) โรงเรียนมัธยมที่อดีตเคยเป็นโรงเรียนสตรีล้วน แต่พึ่งเปิดเป็นโรงเรียนสหในรุ่นของเขา  ทำให้สัดส่วนของนักเรียนนี้ส่วนมากมีแต่นักเรียนที่เป็นผู้หญิง (นักเรียนชายมี 28 คน ส่วนนักเรียนหญิงมี 524 คน!!) และเมื่อเขาเข้าเรียนในโรงเรียนในวันแรกเขาก็ได้พบประธานสาวสวยมาดมั่นนามชิโนะ ตักเตือนซึดะที่แต่งกายไม่เรียบร้อย หลังจากพูดคุยกับซึดะสักพัก เธอเลยชักชวนเขามาเป็นรองประธานนักเรียนและตัวแทนของฝ่ายชาย และเมื่อซึดะเข้าเป็นสมาชิกสภานักเรียนเขาก็สงสัยว่าทำไมคนรอบข้างของเขาถึงชอบเล่นมุกสัปดนกันเนี้ย!!

       

    ซึดะ ทาคาโทชิ  (Tsuda Takatoshi ) เป็นพระเอก(ที่เป็นตัวละครหลักผู้ชายในเรื่องเพียงหนึ่งเดียว)ที่เลือกของโรงเรียนโอซาอิเนื่องจากมันใกล้บ้าน วันแรกก็ถูกบังคับให้เข้าร่วมสภานักเรียนฐานะรองประธานและตัวแทนเพศชาย และหน้าที่ตบมุกเวลาตัวละครทั้งหลายในเรื่องเล่นมุกสัปดนสองแง่สองง่าม นิสัยส่วนตัวเป็นคนดี สบายๆ ไม่เคยขัดใจใคร ใครจะว่าอะไรก็ไม่เคยถือสาหาความ(หรือไม่รับมุก) จนพวกตัวละครสาวๆ ในเรื่อง(เกือบทั้งหมด)ชอบเอาเขามาล้อเลียนหรือเปรียบเทียบ(จิ้น)ว่าเป็นพวกหื่นกาม พวกโอตากุ เพลย์บอย ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วซึดะไม่ได้พวกหื่นสักหน่อย หลังๆ นี้เริ่มเกิดวลี “อะไร อะไรก็ซึดะ” ไม่ก็ “ผมไม่ได้มีคาแร็คเตอร์แบบนี้น่ะครับ”

       

    อามาคุสะ ชิโนะ(Amakusa Shino) ประธานสภานักเรียนและนักศึกษาปีที่สองของโรงเรียนโอซาอิ เป็นคนเอาจริงเอาจังและขยันและมีความสามารถเก่งกาจรอบด้าน ทั้งสวยและฉลาดจนเป็นสาวป๊อปประจำโรงเรียนที่มีแฟนๆ ชอบเป็นจำนวนมาก แต่จุดอ่อนของเธอคือเวลาเธอคิดอะไรมักคิดสองแง่สองง่ามทุกทีและชอบพูดเรื่องส่วนตัวของผู้หญิงต่อหน้าผู้ชาย(ซึดะ)เสมือนเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้เธอยังมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น  มักกังวลเรื่องรูปร่างและหน้าอกเสมอ และดูเหมือนเธอจะชอบซึดะด้วย แม้ไม่ค่อยแสดงออกก็ตาม เธอมักจะล้อซึดะด้วยมุกสัปดนจนซึดะเหนื่อยใจบ่อยๆ

       

    ฮากิมูระ ซุสุ(Hagimura Suzu) นักเรียนอายุ 16(ในมังงะอายุ 17 แล้ว) เป็นนักเรียนกลับจากนอก ผู้มีไอคิว 180 (เธอมักพูดประโยคนี้เวลาคนอื่นทักเธอว่าเป็นเด็ก) แม้เธอจะเก่งความสามารถรอบด้านจนได้ตำแหน่งเหรัญญิกประจำสภานักเรียน แต่จุดอ่อนเธอคือพฤติกรรมและอารมณ์เหมือนเด็ก(และเธอไม่ชอบคนอื่นทักแบบนี้) เธอมีอารมณ์อ่อนไหวมากหากคนอื่นว่าเธอเป็นเด็กประถม จนเจ้าตัวมีปมด้อยเรื่องรูปร่างและส่วนสูง ส่วนใหญ่มักปรากฏว่าแค่หัวเนื่องจากตัวเตี้ยเกินไป ไม่ก็ตัวอักษรว่า “ซุสุอยู่ตรงนี้น้า” และเป็นตัวละครหญิงในเรื่อง(ที่อาจเป็นหนึ่งเดียว)ที่ไม่ปล่อยมุกสัปดน แต่ตัวละครหญิงในเรื่องชอบจิ้นเธอ เวลาเธออยู่พร้อมหน้ากับซึดะ(มุกอะไรนั้นไปดูเอง ฮ่ามากๆ) และดูเหมือนว่าเธอจะแอบชอบซึดะแบบลึกๆ(ไม่แสดงออกอีกคน) เพราะว่าตอนแรกนี้ดูถูกซึดะว่า ตัวเหม็น โหล่ยโท่ย แต่พอซึดะเข้าสภานักเรียนนานๆ วันเข้า ดูเหมือนเธอจะไม่ค่อยด่าว่าซึดะเท่าไหร่ แถมไปไหนมาไหนกับเขาอีก(ซึนเดเระได้เปล่าเนี้ย??)

     
              ชินโจ อาเรีย(
    Shichijo Aria) นักเรียนปีที่สองและเพื่อนสนิทของชิโนะ ดูภายนอกเหมือนเป็นตัวละครที่มีความเป็นผู้ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม แต่ความจริงแล้วเธอก็ชอบปล่อยมุกเสื่อมไม่แพ้ชิโนะ แถมบางครั้งเธอก็ทำให้หลายคนอึ้งในความเสื่อมของเธอจนอ้าปากค้าง แต่หากตัดเรื่องเสื่อมออกไปเธอก็เป็นผุ้หญิงเฟอร์เฟ็คทั้งสวยและทั้งเก่ง นิสัยดี มีน้ำใจ หน้าอกใหญ่ด้วย(จนทำให้ชิโนะรู้สึกอิจฉา) ครอบครัวก็ร่ำรวย แต่จุดอ่อนคือเธอมักเอ๋อหลายครั้ง จนซึดะต้องทักบ่อยๆ

      

    ซึดะ โคโตมิ (Tsuda Kotomi) น้องสาวแท้ๆ ของซึดะปรากฏตัวครั้งแรกยังเป็นนักเรียนมัธยมต้นและวางแผนที่จะเข้าโรงเรียนเดียวกับพี่ชาย(เพราะใกล้บ้าน) เธอเป็นคนมีน้ำใจและห่วงใยคนอื่น แต่อยากรู้อยากเห็นกระตือรือร้นเกี่ยวกับเรื่องอย่างว่ามากไปหน่อย อีกทั้งนิสัยเหมือนชิโนะอีก(เห็นได้จากทั้งสองสาวต่างซื้อการ์ตูนโป๊ให้พี่ชายที่กำลังป่วยโดยมิได้นัดหมาย)

      

    ฮาตะ รันโกะ(Hata Ranko) หัวหน้าชมรมหนังสือพิมพ์ชั้นปีของโรงเรียน ที่มีพฤติกรรมชอบถ่ายภาพเหล่าสมาชิกสภานักเรียนเพื่อไปขาย มีความสามารถในการเขียนข่าวบิดเบือน(เจ้าตัวบอกเอง) และเธอก็ชอบจิ้นมุกปล่อยมุกเสื่อมๆ ไม่แพ้ชิโนะ และที่น่าแปลกอย่างหนึ่งคือหลังจากตอนที่ 2 เป็นต้นไปเสียงของเธอเปลี่ยนไปอย่างมากจนนึกว่าคนละคนกับคนที่ปรากฏตัวในตอนแรก

      

    โยโคชิมะ นารูโกะ(Yokoshima Naruko) อาจารย์ที่ปรึกษาสภานักเรียน และเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ(แม้ว่าสิ่งที่เธอสอนนั้นจะแปลกๆ ก็เถอะ) รักการออกกำลังกาย(??) และรักน้องชาย(??) แม้เป็นที่ปรึกษาชมรมแต่มักทำตัวไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าไหร่และไร้ประโยชน์ในสายตาสมาชิกสภานักเรียน แถมยังชอบเด็ก(ชาย)อีก แต่กระนั้นผมชอบตัวละครตัวนี้นะ

      

    อิการาชิ คาเอดะ(Igarashi Kaede) ประธานคณะกรรมการควบคุมความประพฤติ ที่มีระเบียบวินัย ยุติธรรมและศิลธรรมครบถ้วน แต่จุดอ่อนเธอคือเป็นโรคกลัวผู้ชาย(โรคชนิดที่ว่ามีอยู่จริง เรียกว่า Androphobia หมายถึงความกลัวที่ผิดปกติของมนุษย์ที่สาเหตุที่กลัวสิ่งเหล่านั้นมักเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อความเจ็บปวดทั้งกายและใจของผู้ประสบภัย) ทำให้เธอมักมองซึดะผิดๆ ว่าเขาหื่นประจำ

      

    มิตซุบะ มัตซึมิ(Mutsumi Mitsuba) หัวหน้าชมรมยูโดที่พึ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นเพื่อนร่วมชั้นของสึดะ และเธอก็มีความสนใจในตัวสึดะ(แต่ไม่แสดงออก) ความฝันของเธอคืออยากเป็นเจ้าสาวที่ดี ส่วนนิสัยนั้นไร้เดียงสาและไม่ค่อยรู้เรื่องอย่างว่าเท่าไหร่ทำให้ได้รับความรู้ผิดๆ จากชิโนะประจำ

    การ์ตูนเรื่องนี้ตอนแรกที่ดูผมมีความคิดว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะเป็นการ์ตูนอีกเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับผม เพราะการ์ตูนแนวสภาโรงเรียนนี้ไม่ใช่ของแปลกใหม่อะไรเลย เพราะปัจจุบันการ์ตูนแนวนี้ออกมามากมาย ชนิดที่เรียกว่าการ์ตูนที่ดำเนินเรื่องในโรงเรียนเรื่องไหนไม่มีสภานักเรียนนี้ถือว่าไม่ใช่การ์ตูนแนวชีวิตในโรงเรียน และการดำเนินเรื่องคงไม่ต่างอะไรกับ Seitokai no Ichizon หรือ Suzumiya Haruhi หรือ Lucky Star ที่พูดอะไรไร้สาระผ่านไปวันๆ และมุกแต่ละมุกเข้าใจยากเชี่นเคย(เต็มไปด้วยมุกล้อเลียนการ์ตูนที่บ้านเรานั่งงงว่ามันขำตรงไหนว่ะ?)

    แต่หลังจากที่ผมได้ดูการ์ตูน Seitokai Yakuindomo เรื่องนี้แล้วความคิดแรกของผมก็ได้หายไปสิ้น เนื่องจากเนื้อหาของมันแตกต่างจากการ์ตูนที่ผมว่าข้างต้นทั้งหมด  และมันสนุกอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่การ์ตูนเรื่องนี้ ไม่มีมุกประเภทเหนือธรรมชาติ แปลกประหลาดพิลึกแบบ Arakawa Under the Bridge ไม่มีมุกเล่นของสกปรกหรือกางเกงในอย่าง Mitsudomoe  ไม่มีฉากเซอร์วิตกระจายหรือฉากพระเอกทะลึ่งอย่าง To Love Ru และไม่มีมุกประเภทล้อเลียนแซวการ์ตูนอื่นๆ ทั้งอดีตและปัจจุบันอย่าง Seitokai no Ichizon

      

    Seitokai Yakuindomo จะว่าไปก็เหมือนลักกี้สตาร์ ที่การดำเนินเรื่องส่วนใหญ่เน้นบทสนทนาตอบโต้ระหว่างตัวละครนั้นๆ ก่อนปิดท้ายด้วยมุกตลก  หากแต่สิ่งที่แตกต่างนั้นบทสนทนาของการ์ตูนเรื่องนี้จะเข้าใจง่ายกว่า มุกจะเข้าใจง่ายกว่า และไม่ได้บั่นทอนปัญญาหรือต้องอาศัยความรู้หลายอย่างเหมือนลักกี้สตาร์หรือคุโรไมตี้หรือคุณครูทผู้สิ้นหวังแต่อย่างใด(ลักกี้สตาร์นี้เปิดฉากออกมาตัวละครสนทนาเรื่องเล่นเอาผมเสียศูนย์ด้วยมุกว่าเถียงเรื่องขนมปัง) เพียงแต่ต้องเข้าใจว่ามุก Seitokai Yakuindomo นั้นเต็มไปด้วยมุกทะลึ่งสองแง่สามง่าม(แต่ไม่ลามกถึงเรต +18) และต้องเข้าใจมุกเล่นคำของญี่ปุ่นพอสมควร(แต่มุกเล่นคำในการ์ตูนเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย)

    การเล่นตลกจำพวกนี้เป็นหลักการของญี่ปุ่นมาช้านาน ญี่ปุ่นเรียกตลกเหล่านี้ว่า “Manzai” คุณเคยเห็นตลกเหล่านี้มาบ้างใช่เปล่าครับ เวลาตัวละครในการ์ตูน(หรือภาพยนตร์ญี่ปุ่น)เปิดโทรทัศน์แล้วช่องที่ตัวละครสองตัวพูดเรื่องตลกใส่ไมค์หน้าเวที(ที่มุกเข้าใจยากหรือคนไทยไม่เข้าใจ)นั้นแหละคือ “Manzai” ใครคิดภาพไม่ออกขอให้ดูภาพข้างล่างนะครับและก็เข้าใจเอง

     

    นี้แหละครับ  Manzai

    Manzai”เป็นรูปแบบหนึ่งของ Stand-up comedy (ตลกหน้าเวทีชนิดหนึ่ง ที่มักแสดงต่อหน้าผู้ชมตรง โดยการแสดงของพวกเขาส่วนมากมีการถ่าย DVD, ภาพยนตร์, โทรทัศน์, อินเทอร์เน็ต)โดยการแสดงนี้ญี่ปุ่นมักนิยมเล่นในช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่น(รู้สึกว่ามีการ์ตูนค่ายหนึ่งก็เอาการแสดงนี้มาดัดแปลงเล่นด้วย เช่นเอาตัวละครจาก K-on มาแต่งตัวในชุดกิโมโนรับปีใหม่แล้วมาแสดงหน้าเวทีเป็นต้น) ซึ่งปกติแล้วการแสดงตลกชนิดนี้จะใช้นักแสดงสองคนที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

    ตำแหน่งแรกคือตัวตบมุกหรือคนตรง(ภาษาญี่ปุ่นเรียกตำแหน่งนี้ว่า Tsukkomi ส่วนภาษาอังกฤษเรียก Straight man) ตำแหน่งนี้โดยสากลแล้วหมายถึงคนที่ตอบสนองมุกที่คู่หูปล่อยออกมา(อีกตำแหน่งหนึ่ง)ว่าจะออกมาปฏิกริยาใด ส่วนมากบุคลิกที่เป็นคนตรงนั้นจะต้องดูมาดฉลาด มาดนิ่ง บทบาทส่วนมากไม่จำเป็นต้องปล่อยมุกขบขัน หรือกระทำให้คนดูหัวเราะ หากแต่ตำแหน่งนี้จะต้องแสดงปฏิกริยาอะไรบางอย่างเมื่อมุกของคู่หูปล่อยออกมา เช่น แสดงอาการหัวเราะ พูดแดกดัน พูดปิดท้ายมุก(เช่น ทำไปได้! จ๊าก!) ทำหน้าตาเฉย(มุกแป๊ก) หรือหน้าตาเฉย(งง กับมุก) หรือทำหน้าตะลึง

    ส่วนตำแหน่งที่สองนั้นสำคัญมาก เพราะตลกจะประสบผลสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งนี้เป็นหลักคือคนปล่อยมุกตลก ( boke  funny man) คือคนที่มีหน้าที่ปล่อยมุกตลก บางครั้งอาจทำท่าขบขัน หรือเจ็บตัว(เช่นเอาถาดตีหัว) โดยคนตลกนั้นมักมีบุคลิกขัดแย้งกับ “คนตรง” โดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทางที่คนปล่อยมุกมักจะพูดอะไรแปลกๆ (คิดไม่เหมือนคนอื่น หรือบั่นทอนปัญญา)

      

    Manzai” ถูกนำมาดัดแปลงประยุกต์มาใช้ในการ์ตูนญี่ปุ่นมากมาย จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่การ์ตูนหลายเรื่องที่เป็นแนวตลกมักมีตัวละครคู่หูมาเล่นมุกกัน แน่นอนว่าเรามักเห็นตัวละครเหล่านี้แสดงบทบท  “คนปล่อยมุก” และ “คนตบมุก” หลายเรื่องที่เป็นการ์ตูนคอมมาดี้(เน้นการคุยกัน) ซึ่งการ์ตูนเรื่อง Seitokai Yakuindomo นั้นเห็นได้ชัดเจน โดยการกำหนดให้พระเอกซึดะ(และซุสุบางโอกาส)ทำหน้าที่เป็นตัวตบมุกให้กับคนปล่อยมุกนั้นคือสาวๆ ทั้งหมดในเรื่อง โดยเวลาที่สาวปล่อยมุก ซึดะมักตบมุกหรือทำปฏิกริยาอย่างเช่น ทำหน้าตาเหนื่อยใจ พูดแดกดัน พูดไม่เห็นด้วย หรือแก้ต่างตัวเอง ฯลฯ ซึ่งทั้งเรื่องซึดะต้องตบมุกทุกงานทุกที่ทุกเวลาเลยทีเดียว(เหนื่อยกว่าเจ้าเคียวน์ในเรื่องฮารุฮิเสียอีก) และทั้งหมดนี้คือภาพรวมหน้าที่(แฝง)ของตัวละครในเรื่อง Seitokai Yakuindomo

    ใช่ว่า “Manzai” จะถูกนำมาใช้ในการ์ตูนญี่ปุ่นเท่านั้นนะครับ เพราะว่าในวงดนตรีของญี่ปุ่นก็นำหลักการนี้มาใช้ด้วย คุณก็เคยเห็นมาบ้างใช่เปล่าครับ เวลาศิลปินนักร้องออกมาแสดงโชว์ในรายการต่างๆ มักมีคนทำตัวตลก กับอีกคนหนึ่งทำตัวเงียบๆ เคยรับมุกอะไรแบบนี้

    จะว่าไปตลกชนิดนี้ไม่ได้แตกต่างอะไรกับตลกคาเฟ่ของเราสักเท่าไหร่ เพียงแต่ตลกคาเฟ่บ้านเราจะใช้คนเยอะกว่า(มีทั้งลูกคณะ หัวหน้าคณะ ตัวชูโรง ตัวประกอบ คนทำเสียงประกอบ ฯลฯ) และบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนจะเยอะกว่า

    อนิเมชั่น Seitokai Yakuindomo ในเว็บต่าง ๆ ก็มีเสียงตอบรับที่ดีพอสมควร แม้คุณภาพของเสียง, เนื้อเรื่อง, ลำดับภาพ, คุณภาพผลงาน จะออกมาไม่ค่อยดีนัก แต่กระนั้นคนวิจารณ์ต่างๆ ก็ยอมรับว่าดูแล้วเพลินและเสพติดจริงๆ แต่กระนั้นการ์ตูนนี้น่าจะเหมาะสมคนที่อายุมากกว่า 15 ปีมากกว่าดูทุกเพศทุกวัยเพราะว่าบางคนอาจไม่เข้าใจเรื่องเพศศึกษา หรือบางมุกที่ตัวละครในเรื่องเล่นกัน(เช่น แท่งหรรษา แบบสอด)

    หลังจากที่ผมได้ดู Seitokai Yakuindomo ผมได้เห็นมุกมากมาย หลายอยากนอกเหนือจากมุกหลายคนอ้างว่าการ์ตูนเรื่องนี้มีแต่มุกสัปดน ซึ่งมันไม่เป็นความจริงเลย เพราะหากคุณมองการ์ตูนนี้แบบลึกๆ ล่ะก็ คุณจะพบว่าการ์ตูนเรื่องนี้พยายามสอดแทรกข้อคิดสังคมญี่ปุ่นและสถานการณ์วัยรุ่นชายหญิงเข้าไปในการ์ตูนแนวดำเนินชีวิตในโรงเรียนไม่มากก็ไม่น้อย อีกทั้งมุกก็มีมากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป้นมุกคอมมาดี้ทั่วๆ ไป มุกเล่นคำ  มุกชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น

      

    คุณเห็นสองภาพที่อยู่ข้างบนนี้สิ่งที่แว่บเข้ามาในสมองของคุณคืออะไร และคุณมีความคิดเหมือนสาวเตี้ย “ซุสุ” มองหรือหรือไม่ อันว่ามนุษย์เรานั้นมักตีความสิ่งที่อยู่ตรงหน้าโดยไม่มีข้อมูลมาประกอบล่ะก็ พวกเขามักใช้ความคิดของเราเป็นหลักใหญ่ เช่นภาพให้เห็นผมเชื่อว่าหากเราเป็นซุสุมองภาพซ้ายสุดก็นึกว่า “สาวกอดกันคือคู่รักกัน” ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย หรือภาพที่สองซุสุมองพบว่า “สาวสองคนทะเลาะกันเพื่อแย่งผู้ชาย” นั่นก็ไม่ใช่อีก  ซึ่งน่าแปลกว่าทำไมความคิดนี้ถึงแว่บเข้ามาในสมองของซุสุกับคนอ่านหลายคน หากสมมุติว่าเราเกิดมาในยุคโบราณสมัยที่วัฒนธรรมตะวันตกไม่เข้ามานี้เราจะมองภาพเป็นแบบนี้ไหม? อันนี้น่าคิด แสดงให้เห็นว่าความคิดคนสมัยนี้แตกต่างจากคนสมัยก่อนมาก อีกทั้งคนเรามักคิดในทางลบเสมอเวลาเราเห็นภาพที่ผิดหลักธรรมชาติ ยิ่งเรื่องปกปิดที่ไม่ค่อยมีบ่อยๆ เรามักคิดเป็นลบ เช่น ฝรั่งคนนี้เดินแบบนี้เป็นเกย์หรือเปล่า?  หญิงคนนี้มีผู้ชายหลายคนใช่หรือเปล่าเห็นควงผู้ชายหลายคน นี้แหละคือหลักการเรื่องตลกที่หลายคนมักมาเล่นกัน

      

    มุกเล่นคำของญี่ปุ่น  โดยเป็นมุกที่น้องซึดะตรวจว่าเลขที่ทะเบียนว่าเธอสอบติดหรือเปล่า โดยเลขของเธอคือ 19 และตัวละครหญิงทั้งสาม(ประธานชิโนะ มาเรีย และน้องสาวซึดะ)ก็พูดพร้อมกับและซ้ำมาว่า 19!, 19!, 19! ซึ่ง ในภาษาญี่ปุ่นเป็น iku คำนี้ย่อมาจาก Juukyuu ซึ่งมีหมายความว่า “เอาน้ำออก” นั่นเอง ซึ่งมุกเล่นคำนี้ส่วนมากการ์ตูน 4 ช่องจบมักเอามาเล่นกัน บ้านเราก็นิยมใช้มุกเล่นคำมาเล่น เช่นคำนี้มีสองความหมาย หรือพูดเร็วความหมายเปลี่ยน(เช่น เด็กจิกตายบนปากโอ่ง) แสดงให้เห็นว่ามุกเหล่านี้มีอยู่ทุกวัฒนธรรม เพียงแต่ว่าเราจะใช้มุกนี้ถูกกาลเทศะหรือเหมาะสมกับสถานที่หรือไม่

      

    มุกคิดสองแง่สองง่าม เมื่อตัวละครหญิงทั้งสามให้ความเห็นของ “ซุป” แตกต่างกัน โดยมาเรียพูดเชิงสองแง่สองง่ามจำพวกเครื่องมืออุปกรณ์บางอย่างที่ไม่เกี่ยวกับซุบเลย ในขณะที่ซุสุพูดแบบธรรมดา ประธานพูดสองแง่สองง่ามเหมือนเข้าใจว่าซุปนั้นคือน้ำข้นๆ บางอย่าง และเมื่อสามคนพูดจบ ซึดะก็จ้องสามคนนี้แบบอึ้ง ก็แปลกดีนะครับว่า บางทีตัวละครทั้งสามนั้นพูดเรื่องซุปเรื่องเดียวกันแท้ๆ แต่ทำไมเราและซึดะถึงคิดว่าทั้งสามตัวละครนี้พูดคนละเรื่องกันแถมคิดสองแง่สองง่ามอีก ซึ่งมุกนี้บ่บอกถึงนิสัยของแต่ละคนเลย ว่าตัวละครทั้งสามนั้นมีนิสัยอย่างไร ชนิดแบบว่าเห็นตัวละครตัวนี้เมื่อไหร่ต้องเล่นมุกประเภทนี้แน่นอน แสดงให้เห็นว่าการ์ตูนเรื่องนี้ฉลาดมากในการกำหนดนิสัยตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม วางบทละครได้อย่างเข้ากัน

    ใครที่ดูการ์ตูนนี้ครั้งแรกอาจเริ่มตะลึงมุกสองแง่สองง่าม(ตอนแรกไม่เท่าไหร่ แต่ตอนสองเพียบ) หรือมุกสัปดนทั้งหลายแหล แม้จะมีมุกตลกเบาสมองใสๆ บ้าง แต่มีไม่มาก ซึ่งผู้ดูหลายคนมักเลิกดูในช่วงนั้น ซึ่งผมขอบอกว่าเสียดายมากๆ ที่คุณพลาดเรื่องดีๆ หลายเรื่องที่แฝงในการ์ตูนเรื่องนี้ไป

       

    มุกผิดที่ผิดทางเมื่อประธานชิโนะพาซึดะโดนทั่วโรงเรียนและก็มาหยุดที่หน้าห้องน้ำหญิง ซึ่งประธานดันพูดเรื่องปกปิดของผู้หญิงต่อหน้าซึดะ

    ประธาน:ห้องน้ำหญิงน่ะ เวลาเราเปลี่ยนผ้าอนามัX หรืออะไรก็มันทำกันในนี้แหละ

    ซึดะ:ไม่ต้องอธิบายขนาดนั้นก็ได้ครับ.......

    ยังไม่ทันทีซึดะพูดจบ มาเรียก็พูดขัด

    มาเรีย:เดี๋ยวก่อนชิโนะจัง!! ฉันใช้ผ้าอนามัXแบบสอดน่ะ

    ประธานตกใจและขอโทษ(ในขณะที่ซึดะขนลุกซู่)

    ประธาน:ขอโทษ ฉันพูดโดยยึดแต่ตัวเองเกินไปน่ะ

    ซึดะพูดอย่างหน่ายๆ: ยังจะเป็นแบบนี้อีกหรือเปล่า......

    ซุสุตอบอย่างราบเรียบ:ฉันชินแล้วล่ะ

    แนวคิดมุกของการ์ตูนเรื่องนี้ส่วนมากจากหลักการหากคุณเป็นผู้ชายเพียงหนึ่งเดียวที่อยู่ท่ามกลางบทสนทนากลุ่มหญิงล้วนจะเกิดอะไรขึ้น เราซึ่งเป็นผู้ชายจะสามารถรู้เรื่องผู้หญิงพูดคุยกันหรือไม่ เช่น หัวข้อส่วนตัวของผู้หญิงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าอนามัย ประจำเดือน ที่ลับ การแต่งหน้า แน่นอนว่าเป็นหัวข้อเหล่านี้หากไปพูดต่อหน้าผู้ชายต้องไม่เข้าใจแน่ๆ

     

    นอกจากมุกต่างๆ แล้ว การ์ตูนเรื่องนี้ได้ดำเนินเรื่องแบบชีวิตวันต่อวันและชีวิตในโรงเรียนเหมือนการ์ตูนเรื่องอื่นๆ อื่นๆ ทั่วไป มีการพัฒนาด้านจิตใจ และการจับเอาเนื้อหาใช้ชีวิตประจำวันของตัวละครในเรื่องมาใช้เป็นแกนหลักโดยใช้เหตุการณ์ที่อิงกับเวลาและกิจกรรมของโรงเรียนมากำหนด เช่น จัดงานคริสต์มาสร่วมกัน ไปไหว้พระปีใหม่ด้วยกัน งานประเพณี ปิดเทอมฤดูร้อน ทะเล ทัศนศึกษา หน้าฝน กีฬาสี ฯลฯ ไล่ไปจนสิ้นปีการศึกษา ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขันที่ไม่สาระเสมอไป จนเหมือนกับว่าท่ามกลางความเคร่งครัดกฎระเบียบหรือการทำกิจกรรมสภานักเรียนของโรงเรียนญี่ปุ่นนั้น บางครั้งก็ไม่เคร่งเครียด น่าเบื่อ อึดอัดไปเสียทีเดียว เพราะบางครั้งก็มีเรื่องชวนหัวอยู่เหมือนกัน

                    การ์ตูน Seitokai Yakuindomo ได้ทำให้เราเห็นภาพปัญหาสังคมญี่ปุ่นอย่างหนึ่งที่กำลังประสบในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโรงเรียนหลายโรงเรียนในญี่ปุ่นที่เริ่มมีนักเรียนเข้าเรียนน้อยลง ทุกวันนี้ โรงเรียนรับนักเรียนในอัตราต่ำกว่าที่รับได้มาก ถือเป็นปัญหาด้านงบประมาณขั้นรุนแรง โรงเรียนถูกสร้างเพื่อรับนักเรียน 1,000 คน แต่กลับรับนักเรียนเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนที่รับได้ จนเป็นเหตุที่ทำให้โรงเรียนหลายโรงเรียนเปิดเป็นสหแทนที่จะเป็นโรงเรียนชาย-หญิงล้วนเหมือนแต่ก่อน ซึ่งสังเกตว่าหัวข้อเหล่านี้เป็นหัวข้อหลักในการเล่นมุกใต้สะดือของตัวละครในเรื่อง

                    โดยส่วนตัวสำหรับผมแล้ว การ์ตูน Seitokai Yakuindomo ได้ข้อคิดเยอะมากมาย นอกจากตัวละครทั้งหลายในเรื่องที่น่ารักมากๆ ไม่ว่าจะเป็น ซึดะพระเอกที่ดูผิวเผินว่าน่าเบื่อแต่กลับเป็นคนดีและน่ารักเป็นอย่างยิ่ง ประธานชิโนะที่ทั้งสวยและฉลาดที่ไม่เก่งในการแสดงความรักแก่ผู้ชาย(ซึดะ) ส่วนข้อคิดที่สอดแทรกก็ดี เช่น การที่พระเอกที่เป็นพระเอกที่เป็นคนไม่ค่อยเก่งในหลายๆ เรื่อง แต่ต้องอยู่ท่ามกลางสมาชิกสภานักเรียนที่มีแต่คนฉลาดทั้งเก่งทั้งเฟอร์เฟ็ค ซึ่งตอนแรกๆ พระเอกก็รู้สึกมีปมด้อยและรู้สึกอึดอัดเหมือนกัน หากใช่ว่าเขาจะแก้ปัญหานี้โดยลาออกสภานักเรียนซะเมื่อไหร่ แต่ซึดะพยายามปรับปรุงตัว เรียนรู้ และพยายามทำตัวให้เป็นประโยชน์ในหลายๆ เรื่อง จนกระทั้งเขากลายเป็นสมาชิกสภานักเรียนอย่างภาคภูมิ ก่อนจะประธานชิโนะกล่าวทิ้งท้ายตอนจบของซีซั่นนี้ว่าคนเราใช้ว่าจะเก่งเฟอร์เฟ็คไปเสียทุกอย่าง มันก็ต้องมีจุดบกพร่องบ้างสักจุดสองจุดบ้าง นี้แหละถึงจะเรียกว่ามนุษย์ 

                    จุดที่ผมชอบคือการ์ตูนเรื่องนี้ได้แสดงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงของญี่ปุ่นได้อย่างน่าชื่นชม แม้สึดะจะถูกคนอื่นจิ้นว่าเป็นคนหื่นลามกมากเพียงใดก็ตาม แต่เหล่าสมาชิกสภานักเรียนต่างไว้ใจซึดะเต็มที่ว่าเขาเป็นผู้ชายที่ดีและสุภาพบุรุษคนหนึ่ง หนึ่งในฉากที่เห็นจัดคือฉากเหล่าสมาชิกในสภานักเรียนทั้งหมดไปพักห้องพักในตอนไปเที่ยวหน้าร้อน ซึดะยังได้รับอนุญาตนอนร่วมห้องเดียวกับเหล่าสาวๆ เพราะพวกเธอไว้ใจซึดะเต็มที่ เพราะการ์ตูนส่วนใหญ่เมื่อถึงฉากนี้ที่ไรมักหื่นหรือฉากเซอร์วิสกระจายทุกที ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้มีฉากเซอร์วิสน้อยกว่าที่คิด และไม่มีฉากเกินเลยอื่นๆ แต่อย่างใด(นอกเสียจากมุกจิ้น ใต้สะดือเท่านั้นเอง)

    สุดท้ายนี้ Seitokai Yakuindomo อาจไม่ใช่การ์ตูนที่ยอดเยี่ยมในสายตาของหลายๆ คน แต่มันโดนใจผมเป็นที่เรียบร้อย ตอนนี้ผมกำลังรอซีซั่นสองอยู่เพราะอยากดูน้องสาวซึดะเข้าโรงเรียนของพระเอกและไปเจอตัวละครนอกเหนือจากสภานักเรียนว่าเธอจะเล่นมุกอะไรไปบ้าง และผมอยากจะแนะนำการ์ตูนเรื่องนี้สำหรับทุกคน ยกเว้นเด็กดีและพวกที่ไม่ชอบมุกใต้สะดือเนื่องจากคุณอาจเอียนมุกเหล่านี้ก็ได้หากดูติดกันหลายตอน แต่กระนั้นมันก็ทำให้ผมหัวเราะได้หลายมุกและมันเป็นการ์ตูนที่เหมาะมากสำหรับความบันเทิงและความสนุกสนานในการ์ตูนที่ออกมาในช่วงนี้

    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×