ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #203 : Transistor Teaset - Denki Gairozu เมืองป่วน คนแปลก

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.44K
      1
      16 ส.ค. 55


    Transistor Teaset - Denki Gairozu เป็นการ์ตูนไม่กี่เรื่อง (ที่ไม่ใช่ฮาเร็ม) ที่มีประจำไว้ห้องนอนของผม เนื่องจากเป็นหนึ่งในการ์ตูนที่ชอบมาก แม้ว่ามันอาจไม่ใช่การ์ตูนที่ดีเยี่ยมในสายตาของคนอื่น แต่สำหรับผมแล้วมันเต็มไปด้วยความรู้สึกดีๆ ที่เนื้อหาสื่อให้เห็นสังคมเล็กๆ  กระแสการเวลาและสายสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสนิทที่ไม่ได้เจอกันมายาวนาน

     

     

    Transistor Teaset - Denki Gairozu

    คอเมดี้, ชีวิตประจำวัน, เซเน็ง, โชโจ ไอ (Shoujo Ai)

     

                    Transistor Teaset - Denki Gairozu เป็นการ์ตูนแต่งโดยโยชิมิ ซาโต้ เขียนเอาไว้ปี 2008 ตีพิมพ์ใน Manga Time Kirara Forward (Houbunsha) ปัจจุบันรวมเล่มออกมาแล้ว 5 เล่ม (ยังไม่จบ) ในไทยได้รับลิขสิทธิโดยรักพิมพ์ในชื่อ ทรานซิสเตอร์ ทีเซ็ต ~เมืองป่วน คนแปลก~ : transistor teaset

                    Transistor Teaset - Denki Gairozu เป็นเรื่องราวของสองสาวเพื่อนสนิทที่เป็นญาติกันคือฮันดะ สึซึ และมาโดริ ที่ต้องแยกห่างจากกันตั้งแต่เด็ก แม้จะจากกันแต่ทั้งสองสัญญากันว่าจะพบกันอีกในอนาคตข้างหน้า หลังจากนั้นทั้งสองถูกเลี้ยงดูและมีวิถีชีวิตแตกต่างกัน จนถึงปัจจุบันซากิเติบโตกลายเป็นสาวน้อยมัธยมปลาย (โรงเรียนเทคโน) ที่บ้าเครื่องจักรมีความฝันอยากเป็นนักสร้างหุ่นยนต์ในอนาคต เวลาว่างๆ เธอจะเปิดร้านอุปกรณ์วิทยุซึ่งเป็นร้านสืบทอดสมัยคุณปู่ของเธอ ในย่านการค้าอะไหล่ที่ไม่ค่อยมีคนผ่านไปผ่านมามากนัก ทั้งที่ย่านที่เธออยู่นั้นคืออากิฮาบาระ ย่านการค้าที่รู้จักไปทั่วโลก  แม้ว่าบริเวณที่ขายอะไหล่ของสึซึนสมัยก่อนเคยรุ่งเรืองก็จริง หากแต่สมัยนี้ย่านการค้าดังกล่าวกลายเป็นของล้าหลัง คนขายก็มีแต่พวกคุณลุงคุณอาทั้งนั้น ทำให้ย่านการค้าดังกล่าวรอวันเวลาที่จะถูกกระแสการเวลากลืนกินและถูกลืมเลือนเท่านั้น

                    อย่างไรก็ตามสึซึก็ไม่ท้อถอย เธอพยายามทุกวิธีทางเพื่อให้ย่านการค้าอะไหล่ของเธอเป็นที่รู้จักสำหรับคนทั่วไป จนกระทั่งวันหนึ่งเธอก็พบว่ามีร้านเปิดใหม่ตรงข้ามกับร้านของเธอทันใดนั้นเธอก็ได้รับโทรศัพท์ที่ปลายสาวเป็นผู้หญิงที่บอกกับสคึซึว่าตอนนี้เธอได้กลับมาตามที่สัญญาเอาไว้ตอนเด็กแล้ว และแล้วสึซึก็ได้รู้ว่าปลายสายนั้นคือมิโดริ เพื่อนรักที่จากเธอไปนาน แต่เหตุไฉนเธอถึงแต่งชุดเมด!? และที่ร้านที่เธอเปิดก็คือร้านเมดคาเฟ่ตรงข้ามกับร้านเธอนั้นเอง  ซึ่งมันช่างไม่เข้ากับย่านการค้าเก่าที่สึซึอยู่อย่างรุนแรง และอนาคตย่านการค้าอะไหล่จะไปรอดหรือไม่ก็ติดตามต่อไป

                  

    ก่อนที่จะพูดถึงตัวการ์ตูน เรามาพูดถึงไชโจ ไอก่อนดีไหม  ถ้าผมไม่เขียนถึงการ์ตูนเรื่องนี้ก็ไม่รู้ว่าการ์ตูนญี่ปุ่นแนวหญิงรักหญิงนั้นแบ่งเป็นหลายระดับเหมือนกัน และเท่าที่สังเกตคนไทยนั้นไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มากนักสักเท่าไหร่

     

                    ยูริ (Yuri) เป็นศัพท์แสลงของญี่ปุ่น ใช้เรียกมังงะ อนิเมะ หรือสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงเพศเดียวกัน ซึ่งเป้นความหมายโดยรวม เพราะยังมีการแตกแขนงไปหลายสายมากมายนับไม่ถ้วนแล้วแต่รสนิยมของผุ้อ่านอีก ยูรินั้นจะว่าไปแนวที่อยู่คู่วงการญี่ปุ่นมานาน สมัยก่อนเป็นวรรณกรรมเลสเบี้ยน ก่อนที่ระยะแรกจะถูกนำมาใช้ในลักษณะเป็นการ์ตูนโป๊ที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางเพศเพื่อความบันเทิงแก่คนอ่านชายเท่านั้น หากแต่ปัจจุบันการ์ตูนยูริเริ่มมีขอบเขตกว้างขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผู้อ่านชายอย่างเดียว อาจรวมถึงผู้อ่านหญิงไปด้วย

    ยูริมีหลายลักษณะ หลายการนำเสนอ หลายความสัมพันธ์ ไล่ตั้งแต่มิตรภาพผูกพันธ์ระหว่างกันแบบเพื่อนสมัยเด็ก, ความรักระหว่างกันในรั้วโรงเรียนสตรี, กลุ่มเพื่อนหญิง,  ความรักโรแมนติกระหว่างรุ่นน้องกับรุ่นพี่ ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพศหญิงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังแบ่งเป็นหลายอายุกลุ่มผู้อ่านไม่ว่าจะเป็น shojo (กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิง) และ josei (กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 18+ ปี) นอกจากนั้นยังแตกแขนงแยกย่อยอีกมากมายหลายแนว  

    โชโจ- ไอก็ เป็นอีกหนึ่งประเภทของยูริ ที่หลายคนเข้าใจผิด หากคุณไปดูกูเกิลค้นหาคำดังกล่าว คุณจะพบบางที่แปลว่าแนวการ์ตูนที่แสดงเพศสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับหญิง ซึ่งถือว่าเป็นความหมายที่ผิด แสดงให้เห็นว่าคำว่ายูรินั้นมีการตีความแตกต่างกัน ญี่ปุ่นเป็นอีกความหมาย ทางตะวันตกก็อีกความหมาย ส่วนไทยก็อีกความหมายหนึ่ง ซึ่งตามความเข้าใจของคนไทยแล้วยูริทุกอย่างจะต้องเป็นผู้หญิงXหญิง ไม่ว่าจะแรงหรือไม่แรงก็ยูริไว้ก่อน

    โชโจ- ไอหากพูดง่ายๆ ตามความหมายของผมคือเป็นการ์ตูนความสัมพันธ์ระหว่างเพศหญิงด้วยกัน หากแต่ลักษณะไม่แสดงออกเด่นชัดทางเพศสัมพันธ์ (อาจมีแต่ไม่แรงมากนัก ชวนให้จิ้นมากกว่า) เป็นระดับอ่อนๆ น่ารัก เบาๆ หวานๆ เป็นห่วงเป็นใยกัน  มุ่งเน้นความสัมพันธ์ที่ผูกพันระหว่างผู้หญิงด้วยกันมากกว่า (เพื่อน, พี่น้อง, )  เพราะมีคำว่าโชโจซึ่งแปลว่ากลุ่มผู้อ่านที่เป็นเด็กเยาวชนขึ้นหน้ามาช่วยไม่ให้ก้าวเกินขอบเขตนั้นเอง

    ปัจจุบันมีอนิเมะแนวยูริ/โชโจ- ไอมากขึ้น หากแต่เป็นแนวที่มุ่งเน้นสำหรับกลุ่มคนดูที่เป็นผู้ชายมากกว่า ซึ่งการ์ตูนแนวยูริ/โชโจ- ไอที่มุ่งเน้นผู้อ่านที่เป้นชายนั้นจะมีความแตกต่างจากการ์ตูนแนวยูริ/โชโจ- ไอที่มุ่งเน้นผู้อ่านหญิงค่อนข้างมาก โดยจะมุ่งเน้นมิตรภาพ มากกว่าความรักแบบเลสเบี้ยน และนอกเหนือจากลายเส้นตามประสาการ์ตูนผู้ชาย (คือลายเส้นไม่ละเอียดมาก เน้นน่ารัก โมเอะเอาไว้ก่อน) ก็จะใส่ส่วนผสมสิ่งที่ผู้ชายชอบลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นฉากเซอร์วิส (แค่เห็นยกทรงและกางเกงในพองาม) เนื้อหาก็ไม่เน้นโรแมนติกอะไรมากมายโดยเน้นตลกแบบน่ารัก บางเรื่องอาจมีแอ็คชั่นจำพวกฉากต่อสู้โดยใช้พลังวิเศษ สงครามอวกาศ ขุนศึก หุ่นยนตร์ต่อสู้กันเป็นต้น ตามประสาสิ่งที่พวกผู้ชายชอบ เพื่อไม่ให้หวานจนเลี่ยนไป


                ถ้าไม่นับแนวการ์ตูนฮาเร็มที่กองอยู่เต็มห้องนอนผมแล้ว แนวโจโช-ไอนี้ถือว่าเป็นแนวที่ผมชอบและมีเยอะรองลงมา ผมมักหยิบขึ้นมาอ่านก่อนนอนเป็นประจำ  ซึ่งมีหลายแบบมากไม่ว่าจะเป็น 4 ช่องจบ  จบในตอน หรือเรื่องยาว

    อารมณ์ของโชโจ-ไอที่นิยมสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ชายแล้ว ส่วนมากเป็นการ์ตูนที่ดูแล้วสบายๆ  เน้นความน่ารักของเหล่าผู้หญิงเป็นหลัก (โมเอะ) คือเน้นการวาดลายเส้นง่ายๆ ให้ผู้หญิงน่ารัก ตัวเล็กๆ นิสัยแบบพวกโอตากุชอบกัน (โมเอะ, ซึนเดเระ) มากกว่าจะใช้ความสมจริงเข้ามา เนื้อหาไม่มีอะไรมากมาย เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนที่น่ารัก ทะเลาะกันแบบน่ารัก  ทำกิจกรรมแบบน่ารัก แบบลูกผุ้หญิง  บางครั้งวก็มีมุกตลกน่ารัก ที่ดูแค่อมยิ้มมากกว่าฮ่าลั้นบ้าน (ยกตัวอย่าง K-no) ซึ่งสิ่งเหล่านี้พวกผู้ชายชอบหนักหนา เห็นได้จากอนิเมะแต่ล่ะซีซั้นจะมีการ์ตูนแนวนี้ออกมาสักเรื่องสองเรื่องบ้าน

    โชโจ-ไอ นั้นไม่ได้ยูริจ๋าอย่างที่หลายคนคิด เพราะการ์ตูนบางเรื่องยังสอดแทรกตัวละครผู้หญิงบางคนมีความรักกับผู้ชายบ้าง หากแต่ก็ไม่มากมายอะไร (ผู้ชายเป็นตัวประกอบ หรือเป็นพวกไม่ดีแล้วบทหายไปเลย) อีกทั้งบางตอนก็แทรกเรื่องราวนอกเหนือจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงและผุ้หญิงด้วยซ้ำไป

     

    Transistor Teaset - Denki Gairozu แม้ว่าเป็นการ์ตูนแนวโชโจ-ไอ/ยูริ แต่อารมณ์ของการ์ตูนนั้นแทบไม่มีกลิ่นอายของยูริเลยแม้แต่น้อย เพราะเนื้อหาไม่ได้เน้นความเป็นยูริจ๋าที่เลี่ยนมากเกินไป แม้ว่าเนื้อเรื่องหลักของการ์ตูนเป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสนิทสมัยเด็กสองคน (ผู้หญิงกับผู้หญิง) ที่จากไปนานแสนนานจนได้มาพบกันอีกครั้ง ภายใต้ฉากหลังอากิบาระ แต่เนื้อหาการ์ตูนได้สอดแทรกเรื่องราวต่างๆ ได้น่าสนใจมากกว่าญูริโมเอะตลกทั่วไป

     การ์ตูนได้ย้อนอดีตว่าสมัยที่สึซึและมิโดริยังเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น อากิฮาบาระในย่านโตเกียวยังไม่ได้ถูกเรียกว่า “สถานที่ศักดิ์สิทธิโอตากุ” หรือ “ดินแดนแห่งความโมเอะ” แม้แต่น้อย อากิฮาบาระของแท้นั้นแท้จริงแล้วก็คือย่านการค้าที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มร้านค้าอะไหล่วงจรไฟฟ้า (อะไหล่อิเล็กทรอนิคส์ พวกชิ้นส่วนต่างๆ อย่างทรามซิสเตอร์ ตัวต้านทาน) คล้ายคลึงกับห้างหรือช็อปปิ้งมอลล์ (ในอากิฮาบาระมีย่านการค้าแบบนี้หลายแห่ง แต่ย่านที่ตัวเอกอยู่นั้นไม่มีอยู่จริง) ซึ่งย่านดังกล่าวนั้นจะเป็นร้านค้าเก่าๆ ที่ดูไม่ทันสมัย ใต้สะพานรถไฟ (ทำให้ตัวร้ายค้าผสมกับสิ่งก่อสร้างด้วยอิฐของทางรถไฟไปด้วย)

    ต่อมาสึซึและมิโดริ ต้องแยกออกจากกัน มิโดริได้ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ  แม้ว่าทั้งสองจะสัญญาว่าจะได้กลับมาที่นี้อีกครั้งในภายภาพหน้า หากแต่จนถึงวันนั้นทั้งสองต้องผ่านไปอะไรหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะสึซึหลังจากขึ้นชั้นมัธยมปู่ของเธอก็ได้เสียชีวิตลง ทิ้งร้านขายชิ้นส่วนอืเล็กทรอนิคส์ดูต่างหน้าโดยไม่มีใครดูแลต่อ สึซึในตอนนั้นพยายามจะรักษาร้านเอาไว้ด้วยการมีความคิดที่จะเรียนไปและเปิดร้านของคุณปู่ไปด้วย หากแต่คตรอบครัวของสึซึไม่เห็นด้วย ทำให้สึซึกลายเป็นเด็กวัยต่อด้าน ย้อมทำทอง ทำตัวเกเรไปพักใหญ่

    ในช่วงสึซึเป็นเด็กเกเรอยู่นั้น อากิฮาบาระกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อในประวัติศาสตร์ เมื่อความเจริญได้รุดหน้าเข้ามาในย่านการค้าที่อากิบาฮาระอยู่ จากตอนแรกกลายเป็นย่านเครื่องไฟฟ้า ก่อนที่จะโดนวัฒนธรรมโมอะระบาด ยุคสมัยได้เปลี่ยนให้อากิบาฮาระกลายเป็นย่านที่ทันสมัย กลายเป็นย่านที่เต็มไปด้วยคนพลุ่งพล่าน แต่ในขณะเดียวกันย่านการค้าที่สึซึอยู่คนกลับน้อยลง (จนแทบไม่มีใครมาเดินเลยสักคน) อุปกรณ์อะไหล่หลายอย่างที่เป็นสินค้าหลักของย่านที่สึซึก็กลายเป็นของเก่าที่ไม่มีใครอยากจะซื้อเพราะการเข้ามาแทนที่ของเครื่องฟ้าที่ทันสมัย (หลอดไฟโบราณ, วิทยุ, อุปกรณ์ไฟฟ้าเก่าๆ กลายเป๋ยที่ล้าสมัยไปแล้วสำหรับสมัยนี้ ) อีกทั้งร้านค้าหลายร้านกลายเป็นของเก่าแก่ที่ดูแล้วไม่ทันสมัยเลยน่าดูสักนิด

     

     การ์ตูนเหมือนต้องการสื่อสองด้าน ด้านหนึ่งนำเสนอช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของมนุษย์ที่เมื่อถึงช่วงในการตัดสินใจที่มีผลต่ออนาคตจะเกิดอะไรขึ้น? คนเราเมื่อถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต อย่างซึสึที่เป็นภาวะที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือความคิดก่อนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึสึจึงสับสนเรื่องของอนาคตข้างหน้าว่าจะทำอย่างไรต่อ เวลาจะทำอะไรก็ติดอุปสรรคปัญหาไปหมด ตอนแรกซึสึใช้วิธีต่อต้านครอบครัวและสังคมด้วยการเป็นเด็กเก ย้อมผมสีทอง ไม่ไปโรงเรียนเพื่อหวังอะไรบางอย่างเกิดขึ้นบ้าง แต่ปรากฏว่านั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา

    อีกด้านหนึ่งนอกเหนือจะนำเสนอช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อของมนุษย์ ก็ยังนำเสนอกระแสเวลาได้ทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เมื่อย่านเครื่องไฟฟ้าสมัยเก่าอย่างอากิบาฮาระได้ถูกวัฒนธรรมทันสมัยเข้ามาแทนที่ ย่านการค้าเก่ากลายเป็นของล้าหลัง สถานที่ความทรงจำสมัยเด็กหายไปเพราะปิดตัวลง (เช่น ลานกว้างหน้าสถานีรถไฟอากิฮาบาระ สถานีรถไฟสะพานมันเซย์ ) การเปลี่ยนแปลงของอากิฮาบาระทำให้หลายคนต่างลืมเลือนว่าอากิบาฮาระในยุคแรกๆ ที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ ?

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลายคนจะผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต หรือเรื่องหนักใจที่สุดในชีวิตมาอาจหลงทางมาบ้าง แต่กระนั้นหากพบวิธีหาทางออก หรือสามารถแก้ไขปัญหาหนักใจจนสามารถผ่านไปได้ สุดท้ายคนนั้นก็กลับมาเป็นคนเดิมอีกครั้ง และก้าวต่อไปเพื่อความฝันในอนาคตอนาคตต่อไป

    สึซึได้ตัดสินใจทำตามความฝันของตน แบบไม่มีลังเล ด้วยการเปิดร้านของคุณปู่อีกครั้ง โดยแธอต้องทำการค้าและเรียนไปด้วย แต่สิ่งที่สึซึเผชิญกับปัญหาใหม่ก็คือร้านที่เธอกำลังเป็นเจ้าของและแผงร้านค้าที่อยู่อยู่อาศัยกำลังอยู่ในช่วงขาลงถึงขีดสุด ซึ่งสึซึต้องพยายามทุกอย่างที่จะรักษาความทรงจำเหล่านี้เอาไว้ ไม่ให้กระแสเวลากลืนกิน ก่อนที่เธอจะพบกับมิโดริอีกครั้ง แม้ทั้งสองจะแยกจากกันนาน ไปยังที่ห่างไกล เจอปัญหามากมายแตกต่างกัน แต่ทั้งสองก็สามารถกลับมาเจอกันอีกทั้ง

    วันเวลาเปลี่ยน แต่จิตใจไม่เปลี่ยน แม้สถานที่และยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลง แต่จิตใจของคนยังคงเช่นเดิม เมื่อก่อนมีความสัมพันธ์แบบใด สมัยนี้ก็ยังคงมีความสัมพันธ์แบบนั้น อีกทั้งยังแนบแน่นยิ่งกว่าเดิม ซึ่งนี่คือแนวการดำเนินเรื่องหลักของเรื่อง

                  

    Transistor Teaset - Denki Gairozu เป็นการ์ตูนตลกโชโจ-ไอ/ยูริทั่วไปแบบง่ายๆ มีฉากเซอร์วิสเล็กน้อยพองาม การดำเนินเรื่องมีหลายหลาย บางตอนก็เน้นความสัมพันธ์ระหว่างสึซึและมิโดริแบบเพื่อนสนิทวัยเด็ก บางตอนก็เล่นมุกตลกแบบพองานดูแล้วอมยิ้มเล็กน้อย บางตอนก็มีการเพิ่มตัวละครใหม่ที่นิสัยแปลกๆ ให้เรื่องน่าสนใจขึ้น บางตอนก็มีการเล่าอดีตของแต่ละคน (บางตอนตัวละครรองยังเล่าอดีตของตนด้วยซ้ำ)  ก่อนที่จะสอดแทรกปรัชญาชีวิตหรือคติประจำแบบง่ายๆ ทำให้มีการดำเนินเรื่องที่หลากหลาย แต่ไม่น่าเบื่อแม้แต้น้อย  

    จุดเด่นการ์ตูนเรื่องนี้ก็คงเป็นตัวละคร ที่แต่ละตัวมีนิสัยโดดเด่น น่ารัก อย่าง “สึซึ” ตัวเอกหญิงนิสัยง่ายๆ สบายๆ ออกทอมบอยนิดหน่อย (เพราะเคยเป็นเด็กเกเรมาก่อน) ที่เปิดร้านอะไหล่วงจรไฟฟ้าวิทยุ บ้าเครื่องจักรแต่กลับไม่รู้เรื่องโมเอะหรือการ์ตูนแม้จะเป็นคนในอากิบาฮาระตั้งแต่เกิดก็ตาม (จนเป็นที่มาของมุกตลกหลายมุกในการ์ตูนเรื่องนี้) อีกทั้งชอบแต่งชุดนักเรียนไม่ว่าจะเป็นเวลาไหนจนเกิดเหตุวุ่นวายบ่อย (การแต่งชุดนักเรียนโดยเฉพาะผู้หญิงไม่ควรทำเพราะหากเดินในย่านอากิบาฮาระคนอื่นจะนึกว่าเป็นคอสเพลย์และจะเข้ามารุมถ่ายรูป), ตัวละครหลักต่อมาก็ “มิโดริ” เจ้าของร้านและเมดประจำร้านเมดคาเฟ่ตรงข้ามกับร้านของสึซึ ที่นิสัยตรงกันข้ามสึซึทุกอย่าง เพราะเป็นโอตากุและชอบการ์ตูน (โดยเฉพาะแนวเมด) นิสัยซุ่มซาม และมองโลกในแง่ดี

                    ส่วนตัวละครรองก็น่ารักและสร้างสีสันไม่แพ้กัน อย่าง “สึดะ ไซริ”  เด็กประถมทวินเทล ที่ชอบไปไหนมาไหนกับสึซึ ภายนอกเหมือนไม่ชอบสึซึแต่ความจริงแล้วซึนเดระชอบสึซึมากๆ ทำให้เธอมักหัวเสียเมื่อมิโดริมานัวเนียกับสึซึ ซึ่งผมรอฉากย้อนอดีตทวินเทลคนนี้ใจจะขาดว่าทำไมคุณเธอถึงชอบสึซึนักและขอบอกว่าชอบตัวละครนี้มากกว่าตัวเอกในเรื่องอีก (ฮ่า)

                
                อย่างไรก็ตาม ตัวประกอบสร้างสีสันของเรื่องก็คือน่าจะเป็นพวกตาลุงในอากิบาฮาระที่สึซึอยู่นี้แหละ ใครว่ากลุ่มสาวๆ มัธยมปลายอยู่กับกลุ่มตาลุงแล้วไม่เข้ากัน มาดูการ์ตูนเรื่องนี้เลยว่า มันเข้ากันอย่างน่าประหลาด ภายนอกคุณลุงคนนั้นดูเหมือนคนเฉยชา ว่างงาน แต่ความจริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นเป็นคนเก่งเรื่องเครื่องยนต์กลไก อะไหล่ อีกทั้งอดีตเคยเป็นอดีตนายทหารรบแนวหน้าข้าศึกมาแล้วทำให้มีเรื่องเล่าให้เด็กรุ่นหลานอย่างสึซึได้ฟังอย่างออกรส พร้อมประวัติอากิบาฮาระที่เราไม่รู้จัก อย่างน่าสนใจ สิ่งที่เรารู้อากิบาฮาระคือมันเป็นย่านขายเครื่องไฟฟ้าและศูนย์รวมความโมเอะเท่านั้น ส่วนประวัติความเป็นมานอกเหนือจากนั้นก็ไม่รู้ ซึ่งการ์ตุนเรื่องนี้มีเล่าประวัติแบบไม่น่าเบื่อ แถมเกร็ดความรู้มากมายในอากิบาฮะที่หลายคนไม่รู้อีกด้วย

    มุกตลกในการ์ตูนเรื่องนี้อาจจะไม่ตลกแบบบ้าคลั่ง แต่เป็นมุกตลกที่น่ารักที่ใช้ความไม่รู้มาเป็นประโยชน์ในการสร้างเรื่องตลก เมื่อความรู้ความเข้าใจที่ผ่านมาเราไม่สามารถนำมาใช้ได้กับคำอธิบายพฤติกรรมหรือความชอบรสนิยมของคนอื่น ว่าทำไมพวกเขาถึงชอบสิ่งนั้น

     ยกตัวอย่าง มุกประจำของเรื่อง หากพูดถึงฮากิบาฮาระแล้ว ก็ต้องนึกถึงการ์ตูน เมดคาเฟ่ (ที่อากิบาฮาระแล้วถือว่าเป็นต้นกำเนิดร้านเมด)  และความโมเอะ ซึ่งความโมเอะนั้นเป็นสิ่งที่คนทั่วไปรู้จักกันดี (โดยเฉพาะโอตากุ) หากแต่สำหรับคนในย่านอะไหล่ยุคเก่าอย่างสึศซึกับตาลุงแล้วกับไม่รู้จักโมเอะอย่างรุนแรง ว่าโมเอะคืออะไร ทำยังไงถึงจะโมเอะ แม้มิโดริจะรู้เรื่องเป็นอย่างดี แต่พวกสึซึ งง อยู่ดีว่ายัยนี้พล่านอะไรของมัน จึงเป็นที่มาของมุกตลกสูตรสำเร็จระหว่างคนธรรมดากับโอตากุแหละว่า พวกคนธรรมดาซึ่งคราวนี้เป็นพวกบ้าเครื่องจักรอะไหล่จะนิยามโมเอะยังไง ซึ่งพวกเขานิยามโมเอะได้ฮ่าแบบเงียบกริบๆ มากๆ  เป็นต้นว่า ให้ตาลุงวาดรูปโมเอะแต่ดันวาดมาสคอตยุคปี 19 ซึ่งสมัยก่อนน่ารักก็จริง แต่สมัยนี้เชยระเบิดสุดๆ หรือพวกสุซึเอาส่วนหัวหุ่นเมดมาต่อหัวหุ่นกลแมงมุม  อันนี้ผมฮ่าลั่นบ้านเลยว่าคิดได้ไงเนี้ย


                    มุกนี้แหละที่ส่วนหัวหุ่นเมดโมเอะมาต่อหัวหุ่นกลแมงมุม  เพราะคิดว่าโมเอะ (คิดได้ไงเนี้ย)

     คนเราต่างมุมมองกัน ตัวเรามองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาเป็นความชอบของตน หากแต่เมื่อคนภายนอกมาดูกลับมองว่าไม่ปกติแปลกประหลาดซะงั้น!?

    ในทางกลับกันหากคนธรรมดาและมิโดริที่บ้าโมเอะมาเห็นสึซึกับพวกตาลุงบ้าอะไหล่เครื่องจักร เธอก็อึ้งเหมือนกันว่าพวกเขานั้นพล่านเรื่องอะไร แถมสิ่งที่พวกเขาชอบนี้มันตกยุคเฉพาะกลุ่มสุดๆ เป็นต้นว่า วงจรไฟฟ้า, วิทยุโบราณ, เครื่องวัดหรือเครื่องไฟฟ้าที่แสนคลาสสิกต่างๆ จนผู้อ่านเกิดความคิดว่าอะไหล่ย้อนยุคพวกนี้มีเสน่ห์ถึงเพียงนี้เชียวเหรอ เชื่อเลยว่ามครอ่านการ์ตูนเล่มนี้ เล่มที่ 3 คงมีความรู้สึกอยากไปหาวิทยุเก่าๆ โบราณ มาเปิดดู หากเสียก็คงแกะไปดูข้างในว่ามันอะไรบ้าง


                    Transistor Teaset - Denki Gairozu อาจไม่ใช่การ์ตูนที่โด่งดังอะไร เนื้อหาก็จบในตอน (แต่อาจมีปมให้น่าติดตามบ้าง เช่น ฐานะที่แท้จริงของมิโดริเป็นใคร ย่านอะไหล่นี้จะโดนปิดเพราะแจ๊งหรือไม่ เป็นต้น)  หากแต่สำหรับผมแล้วเป็นการ์ตูนแนวไชโจ-ยูริที่สนุกใช้ได้ ลายเส้นน่ารัก เนื้อหาไม่ได้ยัดยูริจ๋าบ้าเลือดเลยแม้แต่น้อย หากแต่เป็นการแทรกความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน (ที่เป็นมากกว่าครอบครัว) ที่มีฉากหลังเป็นย่านค้าเก่า สังคมเล็กๆ ที่น่าสนใจ บรรยายกาศก็ได้อารมณ์ของย่านค้าสมัยเก่า ที่ผมมเห็นแล้วอยากย้อนอดีตสมัยที่ยังเด็กที่เชื่อเราคงเคยไปเดินตลาดเก่า ย่านการค้าโชว์หวยบ้าง ก่อนที่จะโดนความเจริญเข้ามาแทนที่จนหายไป จนเหลือเพียงแต่ความทรงจำในหัวที่เลือนลางหรือรูปถ่ายเก่าๆ ให้นึกถึงความหลังเท่านั้น เชื่อสิครั้งคนสมัยนี้เบื่อความทันสมัยแล้ว อยากเห็นอะไรเก่าๆ คลาสสิกบ้าง อย่างเช่น บ้านทรงไหทย หรือย่านเมืองเก่า ไม่งั้นเขาไม่ไปเดินดูของพวกนนี้จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดด่งดังหรอกครับ (เชียงใหม่, เชียงราย, น่าน ฯลฯ)  อีกทั้งอ่านแล้วอยากอนุรักษ์หรือสนใจในของเก่าโดยเฉพาะเครื่องไฟฟ้า ว่าของเก่าคลาสสิกนั้นมีสเน่ห์กว่าที่คิด หากแต่สมัยนี้มันกลายเป็นของที่เชยบรมไปแล้ว แต่หากมองดีๆ ก็พบว่ามันช่างคลาสสิกเสียจริง การดีไซน์ที่แสนจะแปลกใหม่  หายาก ไม่เชื่อเลยว่ามันจะหลุดรอดจนถึงทุกวันนี้ หากมันทำงานได้เชื่อเลยว่าเราจะภูมิใจมากๆ ยิ่งกว่าได้ของใหม่ราคาเป็นพันเป็นหมื่นเสียอีก

    เอาเป็นว่าใครอยากรู้จักอากิฮาบาระมากยิ่งขึ้นลองอ่าน Transistor Teaset - Denki Gairozu ดูน่ะครับ

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×