ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #55 : MM! ยายตัวแสบกับนายมาโซ!

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 15.47K
      4
      22 ต.ค. 53


    ไลท์โนเวล ตอนแรกผมไม่เข้าใจความหมายนี้ หลังจากผมอ่านไลท์โนเวลเรื่องหนึ่ง ผมก็ไม่เห็นว่ามันแตกต่างนิยายธรรมดาตรงไหน จนกระทั้งมาทราบความหมายจากวีพีมีเดียที่ว่า

    ไลท์โนเวล เป็นนิยายที่มีภาพประกอบในลักษณะอมิเนชั่นหรือการ์ตูนมาใช้เป็นภาพประกอบ โดยเป้าหมายผุ้อ่านคือวัยรุ่นหรือเยาวชน(แต่คนเขียนบทความนี้ อายุ 26 แล้วนะ) ซึ่งคำว่าไลท์โนเวลเป็นภาษาอังกฤษที่คนญี่ปุ่นสร้างขึ้นเอง

    ไลท์โนเวลนั้นมีบทบาทต่อแวดวง อมิเนชั่นและหนังสือการ์ตูนอยู่ไม่น้อย เพราะไลท์โนเวลหลายเรื่องที่ถูกนำมาสร้างเป็นหนังสือการ์ตูน(มังงะ) บางเรื่องก็โด่งดังจนถูกสร้างอมิเนชั่นอย่าง Shakugan no Shana, Baka to testo to shoukanjuu, Kino No Tabi, Ookami to Koushinryou, Tora Dora, Suzumiya Haruhi Series

    จุดเด่นของนิยายไลท์โนเวลนั้น คือ เนื้อหาพล็อตเรื่องจะมีส่วนคล้ายการ์ตูนและเกมส์อย่างมาก และอาจมีกลื่นอายของแฟนตาซีปนอยู่เสมอ  ส่วนมากมากเป็นคอมมาดี้สบายๆ ตลก ไม่เครียด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ดำเนินเรื่องไว ตัวหนังสือน้อยเนื่องจากใช้ประโยชน์สั้นๆ ทำให้อ่านได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งไม่เน้นบรรยายหรือประโยคยืนยาวจนน่ารำคาญ   ภายในรูปเล่มมีภาพประกอบแบบการ์ตูนแทรกเป็นระยะ ทำให้เรามองเห็นภาพจากการบรรยายได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ไม่ต้องจินตนาการว่าตัวละครในเรื่องมีหน้าตาอย่างไร อีกทั้งรูปเล่มนิยายเหล่านี้ส่วนมากจะมีขนาดเล็ก พกพาไปไหนก็สะดวก และสิ่งที่ทำให้ไลท์โนเวล์เหมือนการ์ตูนคือ ประโยคสนทนา ประโยคสนทนาในนิยายจะเหมือนช่องพูดบอลลูนในการ์ตูน ดังนั้นนี้คือจุดดีของไลท์โนเวล ซึ่งหากนำมาแต่งเป็นหนังสือการ์ตูน(มังงะ)หรืออมิเนชั่นทำได้ง่าย สามารถเก็บรายละเอียดของฉากในนิยายได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่มีใครออกมาด่าแน่ว่า “เอ็งตัดฉากทำไมว่ะ ไม่ละเอียดโว๊ย” แน่นอน

    ดังนั้นนิยายประเภทนี้เหล่านักเขียนเด็กดีพยายามทำออกมาอย่างยิ่ง  เนื่องจากทำง่าย มีการวาดรูปประกอบ บรรยายแบบสั้นๆ ซึ่งบางคนก็ล้มเหลว บางคนก็ได้ถูกตีพิมพ์ แต่สิ่งหนึ่งที่นักเขียนเหล่านี้ลืมไปคือไลท์โนเวลเป็นหนังสือที่เนื้อเรื่องกระชับฉับไวซึ่งรูปเล่มจะไม่หนา แต่ของนักเขียนไทยเหล่านั้นเมื่อตีพิมพ์ปรากฏว่าหนาราวกับแฮรี่ พอตเตอร์ 8 ซะอีก อีกทั้งเนื้อเรื่องยังวนๆ เวียนเกี่ยวกับมังกร และโรงเรียนเวทมนต์ ทั้งๆ ไลท์โนเวลไม่จำเป็นต้องเป็นแฟนตาซีเสมอไป

    แน่นอนไลท์นเวลที่ก็มีแนวโรแมนติก, คอมมาดี้(ตลก)ก็มีเหมือนกัน บ้านเราเรียกว่า "นิยายประเภทรักหวานแหวว" นักเขียนในเว็บเด็กดีชอบแต่งนิยายแนวนี้มาก มีการวาดรูปประกอบ มีการใส่มุกตลก และภาษาอีโมลงไปเพื่อให้หายเครียด เพื่อให้เหมือนไลท์โนเวล หากแต่มันกลับกลายเป็นดาบสองคมเมื่อคนอื่น(โดยเฉพาะผม)อ่านแล้วไม่ขำเสียเลย บางมุกฝืด การดำเนินเรื่องแทบจะสูตรสำเร็จเดาทางง่าย เนื่องด้วยสาเหตุหลักๆ คือนักเขียนเหล่านั้นไม่รู้จักคำว่า “Comedy” อย่างแท้จริง

     

     

    MM! หรือ EMUEMU

    โรแมนติก, คอมมาดี้, ตลก

    นิยาย MM!  แปลไทยโดย สำนักพิมพ์รักพิมพ์ ในชื่อ “ยายตัวแสบกับนายมาโซ! (2 เล่ม-ไม่จบ)

    การ์ตูน EMUEMU แปลไทยโดยสำนักพิมพ์รักพิมพ์ ในชื่อ “ยายตัวแสบกับนายมาโซ!” (2 เล่ม-ไม่จบ)

     

    MM! เป็นไลท์โนเวล แต่งโดยมัตสึโนะ ฮาคินาริ(AKINARI MATSUNO) ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศการประกวดนักเขียนไลท์โนเวลหน้าใหม่ MF bunko J ครั้งที่ 1 ส่วนคนเขียนภาพประกอบนิยายคือ QP:flapper ซึ่งเป็นคู่หูนักเขียนประกอบด้วย ซากุระ โคฮารุ และโอฮาร่า โทเมตะ ที่ทีผลงานสร้างชื่อคือ เกมส์ (-Kusari-)(Leaf) ออกจำหน่ายโดย Media Factory เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2007 ปัจจุบันออกมาถึง 8 เล่ม และยังไม่จบ

    ไลท์โนเวลเรื่องนี้ถูกทำเป็นหนังสือการ์ตูน ในชื่อ EMUEMU โดย ฮิตเซย์ เฮียวจู (ISSEI HYOJYU)ออกจำหน่ายเมื่อ 26 กรกฎาคม 2008 ออกมาแล้ว 2 เล่มและยังไม่จบ ทั้งนิยายและหนังสือการ์ตูนถูกนำไปแปลและจำหน่ายในไทย โดยลิขสิทธิ์เป็นของสำนักพิมพ์รักพิมพ์ และถูกสร้างเป็นอนิเมชั่นฉายในเดือนตุลาคม ปี 2010

     

    MM! เป็นเนื้อเรื่องที่ถ่ายทอดโดยมุมมองของซาโด้ ทาโร่ ที่ตอนแรกเขาก็เป็นคนธรรมดาอยู่หรอก หากแต่เหตุการณ์หนึ่งในขณะที่เขาอยู่มัธยมต้น เขาถูกผู้หญิงนามยูโนะ อาราชิโกะตบอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุต่อหน้าเพื่อนหลายคนในห้อง แต่นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของเขาเท่านั้น เมื่อเขาได้รับรู้ความจริงอันน่าเจ็บปวดว่าเมื่อตัวเขาถูกหญิงสาวสวยประทุษร้ายร่างกาย เขาจะสติหลุดกลายเป็นคนบ้าชอบความเจ็บปวดและรู้สึกยินดีให้ผู้หญิงทำร้ายบัดดล ผลคือเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ชื่อของทาโร่เลื่องลือไปทั่วโรงเรียนชั่วข้ามคืนในฐานะ M (masochism) วิปริตตัวพ่อ ส่งผลให้ทาโร่ไร้คนคบ เป็นที่รังเกียจของคนอื่น จนกลายเป็นบาดแผลในใจที่รักษายังไงก็ไม่หาย

    หลังจบมัธยมต้น เพื่อหลีกหนีอดีตอันหน้าอายนี้ ทาโร่จึงย้ายโรงเรียนไปเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีใครรู้จักตัวตนที่แท้จริงเขา หากแต่นี้เป็นจุดเริ่มต้นความซวยของเขาเท่านั้น เริ่มจากห้องเรียนที่เขาเรียนนั้นดันมีคู่รักคู่แค้นยูโนะ อาราชิเป็นเพื่อนร่วมชั้นอยู่ด้วย!!

    จากนั้นทาโร่ก็เริ่มมีความคิดอยากรักษาอาการ M เนื่องจากเขาเกิดตกหลุมรักผู้หญิงปริศนาคนหนึ่งที่เขาเรียกเธอว่า “องค์หญิงชิโฮริ” ซึ่งสวยหยาดเยิ้ม จนเขาอยากสารภาพรัก หากแต่เขายังทำไม่ได้เพราะอาการโรคจิตพยาธิของเขายังอยู่ ระหว่างที่เขากำลังกลุ้มใจนั้นเอง ฮายามะ ทัตสึคิจิ เพื่อนสนิทของเขาจึงให้คำแนะนำให้ทาโร่ไปปรึกษาปัญหานี้แก่ชมรมอาสาพัฒนาที่ 2 (คงประมาณชมรม SOS ของฮารุฮิ)

    ทาโร่หมดที่พึ่ง หลังเลิกเรียนเขาได้ไปที่ห้องอาสาพัฒนาที่ 2 ที่นั้นเขาพบรุ่นพี่ผู้หญิงสาวสวยท่าทางใจดีคนหนึ่ง ซึ่งเป็นหัวหน้าชมรมที่ชื่ออิสึรุกิ มิโอะ เพราะความสวยทำให้ทาโร่อ้ำๆ อึ้งๆ ไม่กล้าบอกปัญหาน่ารังเกียจของตัวเองให้รุ่นพี่ฟัง ทาโร่เลยพยายามหนีออกจากห้องเงียบๆ แต่ไม่ทันออกจากห้องทาโร่ไม่รู้เลยว่าหายนะหมาความซวยของเขากำลังมาเยือน เพราะแท้จริงแล้ว  อิสึรุกิ มิโอะ เป็นเด็กแสบ ที่ขนานนามตัวเองเป้นพระเจ้า ชอบความรุนแรง

    ซ้ำร้าย คู่รักคู่แค้นยูโนะ อาราชิโกะยังเป็นสมาชิกชมรมนี้อีก โอ้ อะไรจะซวยขนาดนั้น และนี้คือจุดเริ่มต้นของทาโร่ที่เขาเริ่มรู้สึกตัวว่าทั้งตัวเขาและรอบตัวเขามีแต่คนโรคจิต(ป่วน)นิสัยสุดขั้วทั้งนั้น!!

     

    ซาโด้ ทาโร่(Sado Tarou) นักเรียนชั้น ม.4 ผู้กลุ่มใจในอาการ M ของตน หากเขาถูกผู้หญิงสวยทำร้ายหรือดุด่าเขาจะขาดสติกลายเป็นมนุษย์บ้าความเจ็บปวด จนต้องไปขอชมรมอาสาพัฒนาที่ 2 ช่วย แต่กลายเป็นว่านี้เป็นจุดเริ่มต้นความซวยของเขาไปเมื่อเขาได้พบอิสึรุกิ มิโอะที่หาเรื่องทำให้เขาเจ็บตัวทุกวัน จนไม่รู้ว่านี้คือสวรรค์หรือนรกกันแน่!? แต่ถ้าหากตัดอาการ M ไป ทาโร่ถือได้ว่าเป็นคนดีคนหนึ่งที่รักเพื่อนมาก ชอบช่วยเหลือคนอื่น  มีความอบอุ่นภายใน จนทำให้ผู้หญิงบางคนแอบตกหลุมรัก แต่ทาโร่ไม่รู้สึกตัวเท่าไหร่เพราะว่าสาเหตุจากคนทางบ้านที่....... หลังๆ เราอาจได้ยินฉายาของเขา เช่น อู๊ดๆ ทาโร่,หมาทาโร่, เจ้าโรคจิตทาโร่ ฯลฯ ซึ่งฉายาส่วนใหญ่มาจากอิสึรุกิ มิโอะนั้นแหละ

     

    อิสึรุกิ มิโอะ(Isurugi Mio) สาวสวยผมยาว เตี้ยแบน เป็นหัวหน้าชมรมอาสาพัฒนาที่ 2 ที่ขนามนามตัวเองว่าเป็นพระเจ้า(ฮารุฮิเรอะ!!) แต่กลับมีนิสัยรุนแรงสุดขั้ว เอาแต่ใจ และหากโกรธขึ้นมาจะกลายเป็นปีศาจที่สร้างความหวาดกลัวแก่หลายคนในโรงเรียน พยายามแก้ไขปัญหา M ของทาโร่ แต่ดูเหมือนว่ายิ่งไปเพิ่มอาการ M ทาโร่หนักเข้าไปใหญ่ ภายนอกดูเหมือนเป็นคนเข้มแข็ง แต่ภายในกลับอ่อนแอ มีความตั้งใจสูง และจะดีใจมากหากแก้ปัญหาคนมาร้องทุกข์ได้ ซึ่งทาโร่มักเจอเธอในสภาพแต่งแต่งคอสเพลย์ถือไม้กระบองเตรียมหวดทาโร่เสมอ หลังๆ เริ่มรู้สึกแอบชอบทาโร่

     

    ยูโนะ อาราชิโกะ(Yuuno Arashiko) คู่รักคู่แค้นและเพื่อนร่วมชั้นของทาโร่ ขาดเรียนบ่อยและมาสายบ่อยมาก เนื่องจากเป็นโรคหวาดกลัวผู้ชาย เนื่องจากสาเหตุในอดีตและครอบครัวมีปัญหา หากผู้ชายมาแตะต้องตัวเธออาจโดนเธอต่อยด้วยหมัดหนักอย่างรุนแรง ซึ่งหากตัดข้อเสียนี้ออกเธอจะกลายเป็นผู้หญิงที่น่ารักคนหนึ่ง ที่อ่อนโยน รักสัตว์ และยิ้มที่มีเสน่ห์  ตอนแรกนั้นยูโนะนึกรังเกียจทาโร่อย่างมาก หากแต่เพราะเหตุการณ์หนึ่งทำให้ยูโนะได้เปลี่ยนความคิดนี้ไป แล้วหันมาแอบชอบทาโร่อีกคน

     

    ฮายามะ ทัตสึคิจิ (Hayama Tatsukichi) เพื่อนรัก, เพื่อนสนิทและดีที่สุดของทาโร่ เรียนอยู่ด้วยกันตั้งแต่มัธยมที่ 1 จนถึงมัธยมที่ 4 ก็อยู่ห้องเดียวกัน ภายนอกเหมือนคนเกเรหน้าเรียวผมสีทอง กันคิ้วทั้งสองข้าง แต่งกายไม่เป็นระเบียบ แต่ความจริงแล้วเป็นคนดีที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมจนเป็นนักเรียนตัวอย่าง เขาเป็นหนึ่งในคนที่รู้อาการป่วยของทาโร่แต่ก็ไม่นึกรังเกียจ อีกทั้งเขาก็เป็นคนแนะนำทาโร่ไปปรึกษาที่ชมรมอาสาสมัครที่ 2 และเขามีความลับอย่างหนึ่งที่ยังไม่ได้บอกทาโร่.......

     

    โอนิงาวาระ มิจิรุ(Onigawara Michiru) อาจารย์ประจำห้องพยาบาลสาวสวยมาดนิ่ง เยือดเย็น ชอบจับสาวสวยใส่ชุดคอสเพลย์แล้วถ่ายรูปเก็บในอัมบั้มรวมภาพลับพิเศษที่ให้ใครเห็นไม่ได้ รักอิสึรุกิ มิโอะเหมือนน้องสาวและชอบออกไอเดียแปลกๆ รักษาอาการ M ทาโร่(วิธีโหดๆ ทั้งนั้น) ไม่ชอบให้ใครเรียกนามสกุลต่อหน้าเธอสักเท่าไหร่(โอนิงาวาระ โอนิแปลว่ายักษ์ ส่วนโอนิงาวะ แปลว่าหัวสัตว์ประหลาดที่มักใช้ทำปากก๊อกน้ำให้น้ำไหลเพื่อเพิ่มความสวยงาม)

     

    ชาโด้ ชิสุกะ(Sado Shizuka) พี่สาวของทาโร่ รักทาโร่น้องชายปานจะกลืนกิน ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้อยู่กับน้องชาย ไม่ว่าจะเป็นแอบมานอนเดียวกับทาโร่ตอนหลับ แอบเข้าห้องอาบน้ำเพื่อเช็ดถูตัวทาโร่ ฯลฯ หากเธอเห็นใครรังแกทาโร่หรือเห็นผู้หญิงอื่นที่อยู่กับทาโร่ละก็เธอจะกลายเป็นจอมมารที่มีวรยุทธ์ที่ร้ายกาจ(ฮ่ามาก) แต่หากตัดนิสัยเสียนี้ออกเธอจะเป็นผู้หญิงสวย เก่ง ฉลาด เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มาดมั่นคนหนึ่งเลยทีเดียว

     

    ชาโด้ โทโมโกะ(Sado Tomoko) แม่ยังสาวของทาโร่ หลงรักทาโร่ปานจะกลืนกิน เรียกลูกชายว่า “คุณทาโร่” และทำวิถีทางเพื่อให้ได้อยู่กับลูกชายสุดที่รัก ไม่ว่าจะเป็นแอบมานอนเดียวกับทาโร่ตอนหลับ แอบเข้าห้องอาบน้ำเพื่อเช็ดถูตัวทาโร่ ฯลฯ หากเธอเห็นใครรังแกทาโร่หรือเห็นผู้หญิงอื่นที่อยู่กับทาโร่ละก็เธอจะกลายเป็นจอมมารที่มีวรยุทธ์ที่ร้ายกาจ(ฮ่ามาก) เธอมักปะมือกับชาโด้ ชิสุกะบ่อยๆ แต่หากตัดนิสัยเสียนี้ออกเธอจะเป็นผู้หญิงสวย เก่ง ฉลาด เป็นแม่บ้านที่รักครอบครัวที่ดีคนหนึ่งเลยทีเดียว

     

    องค์หญิงชิโฮริ(Shihori-hime) หญิงสาวสวยผมยาวที่ทาโร่แอบหลงรัก ปรากฏตัวในร้านสะดวกซื้อที่ทาโร่ทำงานพิเศษอยู่ แต่ตัวตนจริงของเธอแล้วคือฮายามะ ทัตสึคิจิเพื่อนรักของทาโร่นั้นเอง ที่ชอบแต่งหญิง(ไม่ใช่กระเทยนะ) หลังจากเปิดใจให้ทาโร่ ดูเหมือนหลังจากนั้นทัตสึคิจิจะกลายเป็นคนสองบุคลิก เมื่อแต่งหญิงเมื่อไหร่จะกลายเป็นสาวสวยเชิดหยิ่งชอบดูถูกคนอื่นซะงั้น(อินเมดสาวขี้อายในตอนแรกเสียหมดเลย) และเป็นศัตรูกับอิสึรุกิ มิโอะอย่างเปิดเผย(แต่สุดท้ายก็โดนอัดกลับมาทุกรอบ) มีฉากวายกับทาโร่หลายครั้ง(จะเรียกวายดีไหมนี้??)

     

    แน่นอนครับหลายคนที่ไม่เคยอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ พอได้มาอ่านเนื้อหาที่ผมเขียนตอนแนะนำตัวละครแล้ว หลายคนคงคิดว่าไลท์โนเวลนี้เหมือนฮารุฮิอย่างกับแกะ  เนื่องจากบุคคลลักษณะตัวละครหลายตัวในเรื่อง MM! เหมือนตัวละครในฮารุฮิ ไม่ว่าจะเป็นทาโร่เหมือนเคียวน์, มิโอะเหมือนฮารุฮิ, อาราชิโกะเหมือนมิคุรุ, ทัตสึคิจิเหมือนโคอิซึมิ

    ใช่ครับตอนแรกผมก็คิดอยู่ว่านิยายเรื่องนี้เหมือนฮารุฮิเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นพระเอกที่มีบุคลิกเป็นลูกไล่สาวๆ ในเรื่อง แถมโดนบังคับให้เข้าชมรมอีก แต่นั้นแหละครับ แค่เหมือนเท่านั้น บุคคลสุดฮิตเหล่านี้มันไม่มีลิทธิบทบัญญัติที่ไหนกันละว่าห้ามลอก สิ่งสำคัญที่สุดคือการดำเนินเรื่องครับ ว่าจะทำยังไงให้สนุก  เราจะทำยังไงไม่ให้คนอ่านได้กลิ่นของการ์ตูนดังที่ทุกคนต่างรู้จักจนเอาเรื่องที่เราแต่งไปเปรียบเทียบ สิ่งเหล่านี้คือโจทย์ที่จะต้องแก้ไข ซึ่งยากมาก

    ยกตัวอย่าง นักเขียนเว็บเด็กดีคนหนึ่ง แต่งนิยาย แต่คนอ่านดันวิจารณ์ว่าเหมือนแฮรี่ พอตเตอร์ เพราะตัวละครเหมือนตัวละครในเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ไม่มีผิด แน่นอนคนได้อ่านคำวิจารณ์ตรงนี้อาจท้อแท้ใจ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยอ่านแฮรี่ แต่ดันมีคนบอกว่าเหมือน สาเหตุไม่ใช้แฮรี่ผิดหรอกครับ กลับกันเลยหากมีคนอ่านแฮรี่ฯ คนนั้นก็บอกว่าตัวละครเหมือนนิยายเรื่องโน้นเรื่องนี้ โหยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนิยายทั่วโลกมีเป็นพันแสนล้านกว่าเรื่อง มันก็ต้องมีเรื่องไหนสักเรื่องแหละครับที่พล็อตคล้ายๆ กับเรื่องที่เราแต่ง

    ดังนั้นในเมื่อตัวละครเหมือน จะทำยังไงให้สนุก สลัดภาพการเปรียบเทียบเหล่านี้ออก นั้นก็คือการดำเนินเนื้อเรื่องไงละครับ ทำให้เนื้อเรื่องออกมาให้คนอ่านได้ลุ้น เดาทางยากเลยว่ามันจะออกมาแบบไหน ใส่ฉากที่ไม่มีการ์ตูนที่คนอื่นเอามาเปรียบเทียบ เพิ่มตัวละคร เพิ่มมิติความลึกของตัวละครไปซะ

    ยกตัวอย่าง ยูโนะ อาราชิโกะ หลายคนบอกว่าเหมือนมิคุรุใช่เปล่าครับ แต่ตัวละครมิคุรุที่หลายคนเห็นคือสาวจากอนาคตปริศนาที่ไม่เรายังไม่รู้ว่าครอบครัวของเธออยู่ที่ไหน บทบาทของเธอเป็นตัวนำโชคสาวใสซื่อของชมรมเฉยๆ แต่การ์ตูนเรื่อง MM! เขาใส่รายละเอียดตัวละครอย่างยูโนะ อาราชิโกะหมดเลยนะครับ ภายนอกเหมือนสาวน้อยใสซื่อที่ดูอ่อนแอใครเห็นอยากกอดอยากปกป้อง คนเขียนก็ได้เพิ่มด้านชีวิตให้คนอ่านยิ่งสงสารตัวละครนี้เพิ่มขึ้นไปอีก โดยครอบครัวของยูโนะพ่อแม่หย่ากัน ยูโนะเลือกอาศัยกับพ่อ แต่พ่อดันเป็นมนุษย์เงินเดือนไม่อยู่กับบ้าน แถมชอบนอนกับผู้หญิงคนอื่นอีก ทำให้ยูโนะเหงา พอคบกับเพื่อนชายครั้งแรก เพื่อนชายคนนี้ดันกลายเป็นคนไม่ดีอีก หล่อก็จริงแต่มันชั่ว บุกบ้านยูโนะหวังข่มขืน แต่ยูโนะต่อต้าน มันเลยต่อยแตะยูโนะจนยูโนะกลายเป็นโรคหวาดกลัวผู้ชายไปเลย แถมเพื่อนชายคนนั้นก็ปล่อยข่าวลือเสียๆ หายแก่เธออีก ใครมาเห็นได้ฟังก็สงสารอยากปกป้องอยากให้เธอมีความสุขครับ ดีไม่นี้เธอจะน่าปกป้องกว่ามิคุรุในเรื่องฮารุฮิอีก

    อีกคนที่ใส่ความลึกก็ฮายามะ ทัตสึคิจิปกตินี้ผมไม่ชอบสาวประเภทสองนะครับ แต่นิยายนี้ทำให้ผมละลายใจไปกับตัวละครตัวนี้จริงๆ แบบว่าน่ารักมากๆ ตอนสารภาพกับทาโร่ว่าตัวเองเป็นเจ้าโรคจิตชอบแต่งหญิง ทาโร่ก็พูดปลอบใจ เห็นแล้วซึ้งถึงความเป็นเพื่อนแท้จริงๆ ซึ่งฉากเหล่านี้ไม่มีฮารุฮิหรอกนะครับ

    อย่างที่มีคนว่าไว้แหละครับ “ถ้าเปรียบเป็นอาหาร ถ้าเอาฮารุฮิ เป็นสปาเก็ตตี้คาโบนาร่า ส่วนเรื่อง MM! คงสปาเก็ตตี้ซอสมะเขือเทศละมั้ง บางคนอาจจะมองว่ามันก็เป็นสปาเก็ตตี้เหมือนกัน แต่รสชาติมันไม่คล้ายกัน........แต่อร่อยเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับคนเสพแหละครับว่าอยากจะเสพแบบไหน”

    พล็อตแหวกแนวไม่มีในโลกหรอกครับ มันจะมีคือนิยายที่สนุกและไม่สนุกเท่านั้น

    สำหรับ MM! นี้อ่านแล้วเพลินครับ เพลินมากๆ อ่านแล้วตลกอมยิ้ม แถมได้อะไรหลายอย่างจากการ์ตูนเรื่องนี้ด้วยนะครับ ไม่รู้ว่ามีคนอื่นสังเกตเห็นหรือเปล่า ไม่ว่าข้อคิดการดำรงชีวิตประจำวัน, สังคมญี่ปุ่น, เทคนิคการแต่งนิยายหากเป็นไปได้ผมอยากให้ใครสักคนคิดจะแต่งนิยายแบบโรยมุกตลกได้มาลองอ่านการ์ตูนเรื่องนี้นะครับ ลองดูว่าทำไมถึงตลก จากนั้นลงเปรียบเทียบนิยายที่เยาวชนไทยแต่ง จากนั้นก็ลองคิดดูว่าทำไมนิยาย(เอาเฉพาะคอมมาดี้)ที่เยาวชนไทยแต่งถึงมีแต่คนตั้งกระทู้ด่าๆ กันว่า ซ้ำซาก, ไม่ตลก, อีโม, CN+18  เรามาลองแต่งนิยายแบบสากลดูครับ ไม่ต้องกลัวต้องอายหรอกว่ามันแหวกหรือไม่แหวก ขอให้สนุกเป็นพอ

    พูดถึงคอมมาดี้มุกการ์ตูนญี่ปุ่นเกี่ยวกับตลกเบาๆ ก็แบ่งเป็นแบบผู้หญิงและแบบผู้ชาย การ์ตูนคอมมาดี้แบบผู้หญิงจะเน้นพระเอกหล่อเลิศเป็นหลัก เท่ เก่งทุกอย่างทั้งด้านการเรียนและกีฬา สูงยาวเข่าดี ยิ่งเป็นประธานนักเรียนนี้ยิ่งหลงใหล(ไม่ก็ไอดอล) สาวๆ ต่างกริ๊ดๆ พระเอกก็เจ้าชู้เหลือเกิน ส่วนนางเอกก็เตี้ยแบน หน้าตาธรรมดา พ่อแก่แม่งอนกับพระเอก เข้าใจผิดหลายรอบกว่าจะจบด้วยความรัก อาจมีฉากเพศสัมพันธ์ตอนท้ายเรื่อง(แต่เราไม่เห็นหรอกครับ เห็นแต่เตียงและฉากกุหลาบอยู่ด้านหลัง) และจบแบบมีความสุข  ซึ่งแนวนี้ นักเขียนมักนำมาแต่งเป็นนิยายหวานแหววในเว็บเด็กดี แถมได้รับความนิยม จนสำนักพิมพ์เอาไปตีพิมพ์จนคนแต่งโด่งดัง

    ส่วนคอมมาดี้ผู้ชายนั้นตรงกันข้ามเลยครับ พระเอกอ่อนแอ ไม่หล่อ ส่วนมากใส่แว่น ไม่เก่งอะไรสักอย่างแถมบางคนหื่นอีก หรือบางครั้งอาจเก่งแต่กระนั้นก็เป็นลูกไล่ของนางเอก ซึ่งนางเอกนั้นอาจมีหลายคน(นางเอก, เพื่อนนางเอก) ซึ่งสวยๆ น่ารักทั้งนั้น และมีความเป็นโมเอะสูง(เช่นประธานนักเรียนผู้หญิง, น้องสาว, พี่สาวพระเอก) เน้นฉากเซอร์วิสเห็นกางเกงในสาวๆ ทั้งหลาย แต่การดำเนินเนื้อเรื่องยังคงตามหลักคอมมาดี้คือมีอุปสรรค์นิดๆ หน่อย จำพวกเข้าใจผิด หรือพวกมารผจญ สุดท้ายก็จบอย่างมีความสุข(ไม่สุขก็ได้แต่อาจโดนผู้อ่านด่ายาว) นิยายแนวนี้นักเขียนในเว็บเด็กดีไม่ได้เอาไปแต่งสักเท่าไหร่ แต่การ์ตูนการญี่ปุ่นคอมมาดี้จำพวกนี้มีเยอะมาก

    คงไม่ต้องถามผมนะว่าผมชอบการ์ตูนแนวคอมมาดี้แนวไหน!! แน่นอนครับ MM! เป็นคอมมาดี้แบบผู้ชาย และบทความนี้จะพูดคอมมาดี้แบบผู้ชายล้วนๆ โดยยึดเรื่อง MM! เป็นหลัก

                    สังเกตไหมครับไม่ว่าจะแบบไหน แต่คอมมาดี้ยังคงไม่ฉีดแนวจากกันเท่าไหร่ ยังคงวนเวียนระหว่างความเข้าใจผิด รักที่มีมารผจญ และจบอย่างมีสุขอยู่ดี สาเหตุก็เพราะหลักการคอมมาดี้นั้นแหละครับ

                   

    Comedy หรือ สุขนาฏกรรม มีความหมายตรงกันข้ามกับ โศกนาฏกรรม (Tragedy) คือมีเนื้อหาจะแสดงความบกพร่องของมนุษย์ ที่ไม่ใช่ความพิการ แต่จะเป็นความผิดพลาดที่เป็นอุปสรรคที่ทำให้ชีวิตยุ่งยากมากขึ้น แต่จะนำเสนอแบบไม่จริงจัง  ทำให้ผู้ชมเกิดความสุข ความเพลิดเพลิน ความเพลิดเพลินนี้ทำให้ผู้ชมละครยิ้มอย่างเงียบ จนถึงหัวเราะอย่างก๊ากๆทีเดียว  โดยคำว่าคอมมาดี้นี้มีที่มาจากการละครสมัยกรีกโบราณ ซึ่งภาษากรีกเขียนว่า komodia ที่การร้องเพลงเกี่ยวกับศาสนาของละครกรีก การแสดงละครเสียดสีทางการเมือง และมีการพัฒนารูปแบบเรื่อยมา ทำให้คอมมาดี้แตกแยกเป็นกิ่งก้านหลายสาขา หลายแนวจนถึงปัจจุบัน

     ปัจจุบันคำนี้ Comedy  เรื่องตลกมักนำไปใช้คำเฉพาะจำกัดความแนวสื่อในโทรทัศน์. ภาพยนตร์, หนังสือ เพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่คุณจะดูคือแนวตลกเบาๆ โดย Comedy ส่วนใหญ่มักมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักระหว่างพระเอกกับนางเอก  แต่กว่าทั้งสองจะรักกันได้จำต้องมีอุปสรรคต่างๆ นาๆ ขัดขวางกัน เช่น ความขัดแย้งของครอบครัว, มือที่สาม. สงคราม ฯลฯ และมักจบลงด้วยความสุขสมหวังเสมอ จะมีบ้างที่จบแบบเศร้าๆ แต่ส่วนใหญ่เรื่องที่จบแบบนี้มักไม่ค่อยมีใครชอบเท่าไหร่ โดยคนเขียนคอมมาดี้ที่มีชื่อที่โลกรู้จักกันก็วิลเลียม เชคสเปียร์ ที่เขียนละครตลกคอมมาดี้หลายเรื่อง เช่น The Merchant of Venice หรือ As You Like It เป็นต้น(โรมิโอกับจูเลียตนี้มันโศกนาฏกรรมนะครับ)

                    การ์ตูนที่นิยมส่วนมากภาพลักษณ์ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นพระเอกผู้ชายที่หล่อเหลาเก่งกาจฉลาดเฉลียวเรียกว่าเป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบไม่มีที่ติที่มีบทบาทหน้าที่ปกป้องผู้หญิงที่เป็นฝ่ายอ่อนแอจากภัยอันตรายทั้งปวง

    หากแต่คอมมาดี้แนวพระเอกอ่อนแอนี้กลับตรงกันข้าม คือพระเอกไม่หล่อ เตี้ย ไม่ฉลาด อ่อนแอ แถมมีนิสัยเสียอีก แต่แล้วจู่ๆ เขาก็พบเหตุการณ์หนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขาโดยสิ้นเชิง อีกทั้งเขากลายเป็นจุดสนใจของหญิงสาว(หลายคน)ที่เพียบพร้อมด้วยความงามและความน่ารัก ที่หลงรักพระเอกอย่างสุดถวายชีวิต เพราะพระเอกคนนั้นมีจิตใจงาม และเป็นคนที่เข้ากับตนได้ดี ต่อให้พระเอกคนนี้ประสบอันตรายหรือเจอเหล่าร้ายใดๆ ก็ตาม คุณเธอจะเข้ามาปกป้อง และสู้กับอุปสรรค์เหล่านั้นเพื่อให้คนที่เรารักได้ปลอดภัย จนจบตอน โดยพระเอกแค่อยู่เฉยๆ เป็นกำลังใจให้พวกเธอเอาชนะศัตรูก็พอแล้ว

                    ความจริงการ์ตูนคอมมาดี้แนวพระเอกอ่อนแอนี้มีมานานพอๆ กับการวิวัฒนาการการ์ตูนญี่ปุ่น อย่างเห็นได้ชัดก็คือพวกแนวคอมมาดี้สาวน้อยเวทมนต์ และเรื่องดังๆ ก็เช่นลามู ทรามวัยจากต่างดาว หรือเรื่องที่ต่างประเทศยอมรับอย่าง LOVE HINA ที่วาดโดยเคน อาคามัตสึ เรื่องราวของหนุ่มหัวไม่ดีนาม "อุราชิมะ เคทาโร่" เด็กนักเรียนที่เตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียว ตามที่เคยสัญญาไว้กับเด็กสาวที่ตนรักในสมัยเด็ก ได้หลงไปอยู่ในหอพักสาวล้วน ที่เคยเป็นอดีตรีสอร์ทบ่อน้ำพุร้อนของยายตัวเอง บ้านพักอลเวง ได้รับรางวัล การ์ตูนญี่ปุ่นยอดเยี่ยมในสหรัฐอเมริกา ในงาน 2002

                    การ์ตูนพระเอกอ่อนแอนี้เรียกได้ว่ามีคนนิยมติดตามมากๆ โดยเฉพาะพวกสาวกโอตากุทั้งหลาย ทั้งนี้ทั้งนั้นหากมองแบบอีกมุมหนึ่งก็คือ พระเอกอ่อนแอนั้นก็คือพระเอกแบบมนุษย์ชนทั่วไป ที่พบเห็นทั่วไป ที่ไม่ได้สมบูรณ์เลิศเลอประเสริฐศรี มีผิดมีพลาดบ้าง ชั่วบ้างดีบ้าง

    พระเอกอ่อนแอนี้เข้าถึงคนญี่ปุ่น(โอตากุ)มากที่สุด เพราะโอตากุเข้าใจดีว่าพระเอกอ่อนแอนี้เหมือนตัวเขา ที่เอาแต่คลุกตัวอยู่แต่ในบ้าน สะสมของที่เกี่ยวกับการ์ตูน พูดเป็นแต่พวกอมิเนชั่นสาวน้อยเกมส์ ส่วนเรื่องอื่นใบ้กินหมด สาวที่ไหนจะมาแลเหลียว แม้กระนั้นพวกเขาก็ไม่อยากให้คนอื่นมองพวกเขาในด้านลบ อยากให้มองด้านจิตใจบ้าง จิตใจของเขานั้นอ่อนไหว และดีงามเสมือนหนึ่งคนธรรมดาทั่วไป


             คอมมาดี้นั้น
    มีหลายประเภท  และดูเหมือนว่าการ์ตูน MM! จะมีสุขนาฎกรรมหลายประเภทเอามาผสมผสานไม่ว่าจะเป็น

    สุขนาฏกรรมที่แสดงลักษณะนิสัยของบุคคล (Comedy of Manners) เน้นลักษณะนิสัยของบุคคลที่มีข้อบกพร่องที่ให้ผู้อื่นเห็นขบขันและสร้างข้อบกพร่องนี้เป็นเอกลักษณะประจำตัวทำให้ผู้พบเห็นจดจำได้ เช่น พระเอกทาโร่เป็นโรคจิตมาโซและไม่รู้ตัวว่าตนเองมีสาวชอบหลายคน, มิโอะสาวสวยที่มีนิสัยป่าเถื่อนชอบรุนแรงและมีความคิดหลุดโลก

    สุขนาฏกรรมที่เกิดจากความเข้าใจผิดอย่างที่ไขว้เขว ( Comedy of Errors ) ใช้ความเข้าใจผิดมาเป็นมุกตลก เช่นนางเอกไปเห็นพระเอกกอดผู้หญิงคนอื่น หากความจริงแล้วพระเอกแค่สะดุดขาตัวเองล้มจนไปโดนหน้าอกผู้หญิงพอดีเท่านั้นเอง

    สุขนาฏกรรมที่แสดงความรู้สึกในใจ ( Sentimental Comedy ) พูดง่ายๆ คือละครรักกระจุ๋มกระจิ๋ม หรือ ละครตลกเคล้าน้ำตา  แสดงทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ แต่ก็สามารถทำให้หัวเราะมาได้ เช่น รักสามเศร้า

    ละครตลกสุขนาฏกรรม (Romantic comedy) โรแมนติก ใช้เนื้อหาแบบโศกนาฏกรรมแต่ทำให้ตลก

                    ตลกร้าย (Black comedy) พวกตลกร้าย เช่น เช่นพระเอกโดนทรมานซ้ำๆ ซากๆ แต่ก็ยังสามารถคืนชีพโดยร่างกายไม่มีบาดแผลได้

                    ฯลฯ

                    นี้คือภาพรวมของคอมมาดี้ และนี้คือมุกส่วนใหญ่ในการ์ตูนคอมมาดี้ญี่ปุ่น ซึ่งบางครั้งอาจมีการเพิ่มเรื่องผิดศิลธรรมเล็กๆ น้อยๆ ลงๆไปป แต่ไม่ทำให้จริงจังมากนักอย่างตัวละครที่ผมชอบเรื่อง MM! นี้ผมชอบสองแม่ลูกซาโด้ ที่มีลักษณะรักลูก(ทาโร่)มากเกินเหตุ จนถึงขั้นอยากจะแต่งงานกับทาโร่ด้วย ทำให้เกิดมุกแปลกๆ ระหว่างแม่และพี่สาวของทาโร่ขึ้นต่อมา

                    เมื่ออ่านไลท์โนเวล์และหันมาอ่านการ์ตูน MM! จะพบว่าเหมือนจนหน้าตกใจ ไลท์โนเวลเปิดฉากด้วยการบรรยายพร้อมภาพประกอบนั้นๆ อาจเป็นภาพตัวละคร, การแต่งกาย และสถานที่ โดยเราไม่จำเป็นต้องจินตนาการตัวละครนิยายและสถานที่เป็นพื้นฐาน จากนั้นภาพประกอบนั้นยังสื่อว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับตัวละครนั้นๆ

    แต่กระนั้นหากทำให้เหมือนในนิยายคงน่าเบื่อแย่ ดังนั้นในหนังสือจึงมีการเพิ่มมุกล้อเลียนขึ้นมา ซึ่งมุกล้อเลียนเหล่านี้เป็นมุกที่ไม่สามารถนำมาใส่นิยายได้ เพราะมุกเหล่านี้จำเป็นต้องทำให้เราเห็นภาพ เช่นสองมุก สองภาพนี้เป็นต้น

     

    มุกล้อเลียนจากแว่วเสียงเรไรปีศาจลักซ่อน(Higurashi no Naku Koro Onikakushi-hen) จากหน้า 146  ในการ์ตูน EMUEMU เป็นฉากเวอร์ๆ ของพี่สาวของทาโร่ที่จับโกหกน้องชายได้ว่าไปเที่ยวกับผู้หญิง ซึ่งมุกนี้ไม่มีในนิยายนะครับ เพราะผมอ่านนิยายในฉากนี้ปรากฏว่ามันเขียนแบบนี้

    “ทาโร่จัง.....วันนี้อยู่กับผู้หญิงมาใช่ไหม?

    “พะ......พูดอะไรของพี่!?- - -วันนี้ผมออกไปเที่ยวกับทัตสึคิจิ....”

    “อย่ามาโกหกกับพี่นะ”

    เวลาพี่สาวพูดเสียงเบาๆ แล้วน่ากลัวอย่างบอกไม่ถูก

    (จากนิยาย MM! แปลไทย เล่ม 1 หน้า 291-292)

    เห็นไหมว่านิยายนั้นไม่ได้กล่าวถึงเรนะในเรื่องแว่วเสียงเรไรอะไรเลย แต่พอมาปล่อยมุกนี้ในหนังสือการ์ตูน(มังงะ) คนอ่านต้องร้องอ๋อ......รู้จักทันทีว่าพี่สาวของทาโร่เล่นมุกอะไร นี้แหละครับคือการล้อเลียนที่จำเป็นต้องมีภาพให้ดู

    อีกมุกหนึ่ง จากหน้า 148

     

    มุกล้อเลียนจากโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ(jojo no kimyo na boken) เมื่อสองแม่ลูกที่เห็นชื่อยูโนะ ในหน้าจอมือถือแล้วถามทาโร่ด้วยหน้าตาน่ากลัว แน่นอนครับภาพนี้คนอื่นอาจจะว่ามาจากการ์ตูนเรื่องหมัดเทพเจ้าดาวเหนือก็ได้ หากแต่สองแม่ลูกได้พูดประโยคหนึ่งที่คนอ่านทราบทันทีว่ามาจากเรื่องนี้ “อาราชิโกะนี้ใครมิทราบ ผู้ใช้สแตนน์คนใหม่เรอะ.....”

    ฉากนี้เรียกเสียงฮ่าจากผมมาก แสดงถึงความเว่อร์ของสองตัวละครนี้ได้ดี ไม่จำเป็นต้องบอกว่ามุกนี้มาจากไหน แค่ทำให้เห็นภาพและพูดประโยคขึ้นมาก็รู้ได้ทันที และแน่นอนในนิยายไม่ได้กล่าวถึงมุกนี้เลย

    ทั้งสองค่อยๆ ลุกขึ้นยืนแล้วคืบคลานเข้ามาหาผมอย่างช้าๆ

    “ทะ ทาโร่จัง! ใครคืออาราชิโกะ!? ใครคืออาราชิโกะหา!?

    “นะ นั่นนะสิคะคุณทาโร่! เขาคือใคร! เขาเป็นใคร!? เป็นลูกเหล่าใครกันค่ะ!?

    (จากนิยาย MM! แปลไทย เล่ม 1 หน้า 293)

    มันเป็นเพียงประโยคธรรมดา ซึ่งไม่มีมุกอะไรเลย แต่เมื่อนำมาอยู่ในหนังสือการ์ตูน(มังงะ) กับทำให้ตลกซะงั้น

    ยังมีหลายมุกครับทั้งในนิยายและหนังสือการ์ตูน(มังงะ) ก็ลองสังเกตดูดีๆ นะครับ

    ดังนั้นสรุปคือนิยายกับการ์ตูน(มังงะ)นั้น สนุกคนละแบบครับ อยากอ่านแบบมีจินตนาการและเข้าใจความรู้สึกของตัวละครนั้นๆ ก็เอาแบบนิยาย อยากตลกแบบเห็นภาพก็หนังสือการ์ตูน(มังงะ) แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนละกัน

    ทำไม? ผมถึงเอาสองมุกนี้มาเสนอตัวอย่าง ต้องการสื่อถึงอะไร?? คือเมื่อนานมาแล้วผมได้ไปวิจารณ์นิยายเรื่องหนึ่ง เขาพยายามใส่มุกในนิยายโดยเอามุกล้อเลียนใส่เข้าไป เช่นตัวละครทำท่าอองรี(นักฟุตบอลศูนย์หน้าบาร์เซโลน่า สเปน), หรือปีศาจทำท่าเหมือนผีในหนังเรื่องผีดุ!(ภาพยนตร์สยองของญี่ปุ่น)  แน่นอนว่าสองมุกนี้จำเป็นต้องมีภาพประกอบเพื่อให้เราเห็นภาพด้วย แต่รู้สึกคนเขียนไม่มีภาพเหล่านี้แต่อย่างใด และพยายามใช้การบรรยายแทน “เช่นนางเอกทำท่าเหมือนหนังผีดุ จนพระเอกร้องเหวอ” ซึ่งประโยชน์นี้ไม่มีการบรรยายทำให้เราไม่รู้ว่าทำท่าผีดุนั้นมันทำยังไง เหมือนท่าเต็นแร๊พหรือเปล่า?? มันทำหน้าเหมือนเจ๊กหน้ายิ้มหรือเปล่า?  อีกทั้งหลายคนก็ไม่รู้จักหนังเรื่องผีดุ จึงไม่รู้ว่าตลกตรงไหน ดังนั้นมุกล้อเลียนของคนเขียนคนนั้นจึงแป๊ก!! ไป

    การจะเอามุกล้อเลียนใส่นิยาย อย่างแรกคือควรเอามุกที่ฮิตๆ มาใส่ และควรมีเชิงอรรภด้วยนะครับ เพื่อรู้ว่าสิ่งที่ตัวละครในเรื่องกล่าวถึงหมายถึงอะไร หากคุณไม่ทำมันก็จะกลายเป็นมุกแป๊กหรือสิ่งที่ไร้ประโยชน์ของฉากนั้นไป

                    คราวนี้มาดูภาพรวมของนิยายเรื่องนี้บ้าง จากการที่อ่านพบว่านิยายคอมมาดี้นี้ดำเนินเรื่องได้เรียกว่าครบมาตรฐานนิยายจริงๆ ไม่ว่าการสร้างปมขัดแย้ง(Conflict) ทั้งภายนอกภายในระหว่างซาโด้ ทาโร่กับ อาราชิโกะ ยูโนะ สร้างแรงจูงใจ(Motvivation)ให้ผู้อ่านติดตาม โดยนำเสนอคำตอบที่ว่าทำไมตัวละครถึงมีนิสัยสุดขั้วอย่างนั้นและจะเป็นอย่างไรเมื่อพระเอกทาโร่รู้เรื่องเข้า จากนั้นก็สร้างเป้าหมาย(Goal)ของตัวละครในเรื่อง จากฉากตลก ฉากซึ้ง  ฉากดราม่า ฉากแอปปี้ จนกระทั้งเราอ่านนิยายนี้จบหนึ่งเล่มโดยไม่รู้ตัว

    น่าดีใจที่นิยายเรื่อง MM! ไม่มีฉากที่ไม่เหมาะต่อเยาวชน ซึ่งสมัยนี้นั้นนิยาย CN กำลังครองเมือง   แม้ว่านิยายเรื่องนี้ชื่อนิยายแปลไทยคำว่ามาโซ แต่เนื้อหาไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเพศแต่อย่างใด ฉากเลิฟซีนในเรื่องเสมือนกับฉากผ่อนคลายหลังจากฉากสุดยอดผ่านไป ทำให้เกิดความอิ่มเอมใจของคนอ่านมากกว่า ซึ่งฉากเหล่านี้ทำให้ตัวละครเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้น สร้างมิติให้แก่ตัวละคร  

     

    คราวนี้มาดูข้อคิดนิยายและการ์ตูนเรื่อง MM! กันบ้าง สำหรับข้อคิดนั้นอยู่ที่ท้ายบทนิยายเล่ม 1 ในหน้าคำนำสำนักพิมพ์ โดยเขียนว่า ทุกคนบนโลกใบนี้นั้นล้วนมีข้อเสียที่ไม่อยากจะเปิดเผยต่อหน้าผู้อื่น แต่ทว่าก็มีหลายคนที่จะเลือกที่จะเผชิญหน้ากับจุดอ่อนข้อเสียของตนเหมือนอย่างที่ทาโร่ทำ

    แน่นอนเรื่องจริงไม่เหมือนนิยาย คงยากจะหาใครบางคนยอมรับความผิดปกติของผู้อื่น ดังนั้นเราควรเริ่มที่จะทำความเข้าใจจิตใจของผู้อื่นก่อน เข้าใจในความแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย ของผู้อื่น และยอมรับมันมากกว่าจะตั้งแง่รังเกียจ ทำให้เขารู้สึกว่าเขาไม่แตกต่างอะไรกับเรา ใจเขาใจเรา และหากคนอื่นและหลายๆ คน ทำแบบนี้ได้สังคมจะดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้แน่นอน

    สรุปคือ การ์ตูนเรื่องนี้มีการพัฒนาระหว่างตัวละครชายและตัวละครหญิงที่แตกต่างกัน เป็นการ์ตูนแนวโรแมนติค คอเมดี้ สไตล์วัยรุ่นใสๆ ที่สนุกเกินคาดครับ

    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×