ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #4 : หมูเรืองแสง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 11.68K
      8
      14 พ.ย. 49



    หมูเรืองแสง


           ไต้หวันซึ่งได้รับการบันทึกว่าสามารถสร้างปลาเรืองแสงตัดต่อพันธุกรรมขึ้นได้เป็นครั้งแรกของโลกเมื่อปี 2003 จนสามารถเบิกตลาดส่งออกปลาเรืองแสงได้จำนวนมาก

     

                    มาคราวนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์ไต้หวันได้ลองฉีดโปรตีนที่สกัดจากแมงกะพรุนเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ตัวอ่อนหมูเพื่อเพาะให้เกิดหมูที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมนั่นก็คือการสร้างหมูเรืองแสงขึ้นนั่นเอง
           
           ศ.อู๋ ชิน-ฉี (Wu Shinn-Chih) คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ผู้นำทีมวิจัยสร้างหมูเรืองแสงเปิดเผยว่า หมูเหล่านี้เรืองแสงมาจากอวัยวะภายใน การเรืองแสงเช่นนี้จะช่วยให้นักวิจัยเห็นพัฒนาการของเนื้อเยื่อ เมื่อนำสเต็มเซลล์ไปปลูกถ่ายเพื่อซ่อมแซมตามอวัยวะต่างๆ
           
           "นี่นับเป็นงานทดลองที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้ร่นเวลาให้กับการทดลองสเต็มเซลล์มนุษย์ในระบบคลินิก ซึ่งในวงวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสภาพร่างกายของหมูมีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด" ศ.อู๋อธิบาย พร้อมทั้งระบุว่าไม่แน่ใจว่าหมูเรืองแสงที่เขาสร้างขึ้นจะเป็นครั้งแรกของโลกหรือไม่ แต่ว่าเขายังไม่เคยเห็นแบบนี้ที่ไหนที่หมูทั้งตัวเรืองแสงสีเขียวในที่มืด
           
           "ผมตกใจเมื่อเห็นหมูเหล่านี้เรืองแสงครั้งแรก" ศ.อู๋กล่าว อีกทั้งแย้งถึงประเด็นที่กลุ่มอนุรักษ์มักอ้างว่าเทคโนโลยีการสร้างสัตว์ตัดต่อพันธุกรรมนับเป็นการทำร้ายระบบนิเวศน์ว่า หมูเรืองแสงไม่เหมือนกับปลาเรืองแสง เพราะหมูในห้องแล็บคงจะไม่สามารถออกไปผสมพันธุ์กับหมูปกติได้ ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดหมูผีดิบ” (Frankenpig) อย่างที่เกิดปลาผีดิบ (Frankenfish) ในสหรัฐฯ
           
           อย่างไรก็ดี กลุ่มนักอนุรักษ์ได้ออกมาเตือนบริษัทไท้กง คอร์ป (Taikong Corp) ของไต้หวันที่ส่งออกปลาเรืองแสงขายทั่วโลก ว่าปลาตัดต่อพันธุกรรมที่นิตยสารไทม์ยกย่องว่าเป็นสุดยอดนวตกรรมแห่งปี 2003 นั้นกำลังทำลายระบบนิเวศน์ทั่วโลก เพราะปลาเหล่านี้สามารถหลุดรอดไปผสมพันธุ์กับปลาธรรมดาอื่นๆ และจะเกิดปลาสายพันธุ์ใหม่ขึ้นนั่นก็คือ ปลาผีดิบนั่นเอง

     

                                        http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000004794

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×