ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #53 : เชื่อหรือไม่ หูของเรา เคยเป็นจมูกมาก่อน !!!!

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 7.7K
      1
      27 ธ.ค. 49



    เชื่อหรือไม่ หูของเรา เคยเป็นจมูกมาก่อน !!!!


                   
    หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาโครงกระดูกโบราณของฟอสซิลของปลาที่มีอายุ
    370 ล้านปี  พบว่า หูที่เราใช้ได้ยินในปัจจุบันนี้ อาจมีวิวัฒนาการเริ่มแรกมาจาก ท่อที่ใช้หายใจ

                    นักชีววิทยาที่ทำการศึกษาด้านวิวัฒนาการ มีความสนใจมาก ว่าอวัยวะที่ใช้รับรู้ความรู้สึกต่างๆที่มีความสลับซับซ้อนอย่างมากนี้ ได้มีการวิวัฒนาการมาจากอีกอวัยวะหนึ่งที่มีหน้าที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในรุ่นบรรพบุรุษของเราได้อย่างไร

                    ตัวอย่างเช่น กระดูกโครงสร้างของปลาโบราณ ที่ได้พัฒนามาเป็นหูนั้นดูเหมือนว่า แต่ก่อนกระดูกส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วงส่วนของแก้มและกราม

                    แต่ว่ากระบวนการในการวิวัฒนาการมาเกิดเป็นหูได้นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเกิดได้อย่างไร เพราะหูเป็นอวัยวะที่ศึกษาได้ง่ายกว่าอวัยวะอื่นเพราะว่า ประกอบด้วยกระดูกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้มันยังคงสภาพในฟอสซิลได้ในขณะที่อวัยวะที่มีหน้าที่พิเศษเฉพาะตัวเช่น ตา และจมูกก็เน่าเปื่อยไปก่อนหน้านานแล้ว

                    ดังนั้น Martin Brazeau และ Per Ahlberg จาก Uppsala University ในประเทศสวีเดนจึงได้ตัดสินใจที่จะสำรวจอวัยวะที่เหมือนหูของPanderichthys สัตว์โบราณที่มีความยาว 1 เมตรที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ Latvian Natural History ในเมือง Riga

                    Panderichthys เป็นปลาชนิดหนึ่งที่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการใกล้เคียงกับสัตว์สี่เท้าในยุคแรกๆ ที่ได้เริ่มขึ้นจากน้ำมาอาศัยบนพื้นดินและเป็นต้นกำเนิดของสัตว์มีกระดูกสันหลังในยุคปัจจุบันนี้ด้วยโดยพวกเขาพบว่า กระดูกที่ทำหน้าที่เป็นโครงในส่วนหัวมีลักษณะที่ผสมกันทั้งของปลาและสัตว์สี่เท้าซึ่งนี่เปรียบเหมือนการได้เห็นภาพถ่ายการทำงานของวิวัฒนาการในช่วงที่มันมีการเปลี่ยนแปลงพอด

                    โบราณมีช่องทางแคบๆจากกะโหลกศีรษะมาที่ปาก ที่เรียกว่า spiracle ซึ่งช่องนี้ประกอบด้วยกระดูกยาวๆที่เรียกว่า hyomandibular ซึ่งทำหน้าที่ค้ำส่วนแก้มเอาไว้

                    ส่วนในสัตว์สี่เท้ากระดูกนี้จะสั้นและหนากว่าซึ่งถือว่าเป็นขั้นที่เกิดก่อนการพัฒนาไปเป็น กระดูกโกลน (stapes) ในหูชั้นกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่านคลื่นเสียงในกะโหลกศีรษะของเราโดยนักวิจัย

                    ได้พบว่าปลา Panderichthys มี spiracle ที่กว้างและตรงแทนที่จะแคบและสั้นอย่าง hyomandibularทั่วไป นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้เคยตั้งสมมติฐานว่าหูในสมัยก่อนน่าจะมีหน้าที่ในการหายใจ และหลักฐานที่พบใหม่จากฟอสซิลนี้

                    ทีมของ Brazeau และ Ahlberg เชื่อว่า spiracle ที่กว้างขึ้นใน Panderichthysอาจทำหน้าที่เป็นท่อในการหายใจ แบบที่พบในฉลามและปลากระเบนของยุคปัจจุบันนี้ซึ่งอวัยวะนี้ช่วยให้ปลาสามารถดูดน้ำเข้าทางเหงือกในขณะที่นอนอยู่บนพื้นทะเลโดยไม่ต้องดูดเอาพวกหินทรายปนเข้ามาทางปากได้

                    การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการของอวัยวะ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและถือว่าเป็นหลักฐานที่คัดค้านแนวคิดผู้สร้างโลกคือพระเจ้าที่กล่าวว่าอวัยวะที่ใช้รับรู้สัมผัสนั้นมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากจนน่าจะต้องเกิดจากการสร้างสรรค์ของสิ่งมีชีวิตที่เหนือมนุษย์ธรรมดา

                    แล้วคุณล่ะเชื่อหรือเปล่า?

    http://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=2096

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×