ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    100 อันดับ โลกต้องจารึก

    ลำดับตอนที่ #76 : “ซานตา” แจกของขวัญเด็กทั่วโลกได้อย่างไรในคืนเดียว ???

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.36K
      3
      21 ม.ค. 50



    "ซานตา" แจกของขวัญเด็กทั่วโลกได้อย่างไรในคืนเดียว ???


                   
    หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคลือบแคลงว่าซานตาที่จะส่งของขวัญให้เด็กๆ พร้อมกันหลายล้านหลังคาเรือนภายในคืนเดียวได้อย่างไรแล้วละก็ อย่าเพิ่งปล่อยให้ความฝันหดหาย เพราะ
    "ทฤษฎีสัมพัทธภาพ" จะช่วยเติมเต็มจินตนาการในหัวใจเราให้พองโต

                    ในคืนวันคริสต์มาสอีฟ 24 ธ.ค.ของทุกปี นอกจากพิธีตามโบสถ์ของคริสต์ศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นวันเวลาแห่งการเริ่มต้นเฉลิมฉลองความสุขแห่งเทศกาลยาวไปถึงขึ้นปีใหม่ ทว่าคนที่เหน็ดเหนื่อยที่สุดในคืนวันสุกดิบก่อนถึงคริสต์จะมาก็คือ "ซานตาคลอส" ชายร่างใหญ่ใจดีสวมชุดสีแดงพร้อมเลื่อนลากเทียมกวางเรนเดียร์ ที่เขาต้องรับหน้าที่แจกของขวัญให้แก่เด็กดีทั่วโลก ให้สำเร็จภายในคืนเดืยวเท่านั้น !!

                    เชื่อไหมว่า หากคำนวนภาระงานของลุงเคราขาวกันจริงๆ แล้ว เด็กทั่วโลก (ที่อายุไม่เกิน 18 ปีตามคำนิยามของยูนิเซฟ) หากยังไม่แยกว่าเป็นเด็กดีหรือเด็กดื้อนั้นมีมากถึง 2,106 ล้านคนที่ซานตาจะต้องเตรียมของขวัญไว้ให้ ซึ่งหากเฉลี่ยขนาดของขวัญให้หนักประมาณ 900 กรัม ซานตาก็จะต้องขนของขวัญหนัก 1,895 ล้านกิโลกรัมเดินทางข้ามโลก

                    เขาต้องเทียมกวางเรนเดียร์ถึง 214,200 ตัวเลยทีเดียว แถมกวางเหล่านี้บินได้อีก ซึ่งการทะยานบินและลงจอดในแต่ละครั้งต้องใช้ความเร็วสูงเสียยิ่งกว่ายานอวกาศดิสคัฟเวอรีที่เพิ่งเดินทางกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติเสียอีก

                    คิดๆ แล้ว...ถ้าซานตาไม่มีเวทย์มนตร์ คงเป็นไปไม่ได้โดยแท้ที่จะปฏิบัติภารกิจในฐานะฟาเธอร์คริสต์มาสให้สำเร็จจงได้


                  

                    แต่ ดร.ลาร์รี ซิลเวอร์เบิร์ก (Dr.Larry Silverberg) ศาสตราจารย์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องยนต์และอากาศยาน จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ธ คาโรไลนา สหรัฐฯ (North Carolina State University) ได้ใช้หลักการของทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity Theory) และหลักวิศวกรรมศาสตร์ อธิบายถึงความเป็นไปได้ที่ซานตาคลอสหรือโจลีเอลฟ์ผู้เก่าแก่ (Jolly Old Elf) ของอเมริกา จะลากเลื่อนแจกของขวัญเด็กๆ ได้ทั่วโลกภายในคืนเดียวปีแล้วปีเล่า

                     "ด้วยรอยยิ้มที่ดูใจดีและแววตาที่เป็นประกาย ซานตาอาจเป็นเพียงผู้สวมวิญญาณเอลฟ์ใจดีในสายตาของใครๆ แต่ภายใต้ภาพลักษณ์นั้นซานตาและเอลฟ์แห่งขั้วโลกเหนือของเขามีอะไรที่มากกว่านั้นซ่อนอยู่" ดร.ซิลเวอร์เบิร์กกล่าว

                    ทั้งนี้เขาเชื่อว่าซานตาและเอลฟ์ในสังกัดมีความรู้ที่ก้าวหน้าไปมาก ทั้งเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความต่อเนื่องของกาลและอวกาศ นาโนเทคโนโลยี พันธุวิศวกรรม และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เหล่านี้เองทำให้ซานตาถือไพ่เหนือกว่าและเอาชนะนักวิทยาศาสตร์ในรุ่นเดียวกันได้ง่ายๆ

                    ดร.ซิลเวอร์เบิร์กเสนอความคิดว่าซานตามีท่อลำเลียงที่ต่อตรงถึงความคิดของเด็กๆ ซึ่งจะถูกถ่ายทอดผ่านเสาอากาศที่อาศัยเทคโนโลยีที่ใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันและเครื่องสร้างภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKGs)

                    สิ่งเหล่านี้จะให้ข้อมูลแก่ซานตาได้ว่าหนูน้อยแมรีที่อยู่ในรัฐไมอามีกำลังอธิษฐานขอกระดานโต้คลื่น ขณะที่ไมเคิลซึ่งอยู่ในเมืองมินเนโปลิสอยากได้สโนว์บอร์ด ระบบสัญญาณจะช่วยคัดกรองและทำให้ซานตาทราบว่าแต่ละคนต้องการอะไร พวกเขาอยู่ที่ไหน รู้แม้กระทั่งว่าเป็นเด็กดีหรือเด็กไม่ดี

                    หลังจากนั้นข้อมูลทั้งหมดจะถูกประมวลระบบนำทางที่ติดตั้งอยู่ภายในเลื่อน ช่วยให้ของซานตาวางแผนเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งซิลเวอร์เบิร์กยังเสริมอีกว่าระบบนี้ยังใช้ได้กับจดหมายที่เด็กๆ ส่งมาทางไปรษณีย์อีกด้วย

                    นอกจากนี้ ดร.ซิลเวอร์เบิร์กยังไม่เสแสร้งที่จะเชื่อว่า ภายในคืนเดียวซานตาและกวางเรนเดียร์ของเขาสามารถดินทางได้มากถึง 200 ล้านตารางไมล์ หรือประมาณ 517.98 ล้านตารางกิโลเมตร และต้องแวะบ้านเด็กๆ ถึง 80 ล้านหลัง ซึ่งเขากำหนดให้ซานตาใช้ความรู้เกี่ยวกับความต่อเนื่องของอวกาศและเวลา สร้างสิ่งที่เขาเรียกว่า "เมฆแห่งสัมพัทธภาพ" (Relativity Cloud)

                     "บนพื้นฐานความรู้ที่ก้าวหน้าของซานตาเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เป็นอธิบายขึ้น ซานตาทำให้เวลายืดได้เหมือนหนังยาง อวกาศสามารถบิดได้เหมือนคั้นน้ำส้ม และด้วยหลักการเดียวกันนั้นยังทำให้แสงโค้งงอได้ เมฆแห่งสัมพัทธภาพก็เป็นขอบเขตที่ควบคุมได้ ตัดฉีกได้ ช่วยให้เขาแจกของขวัญที่ต้องใช้นานนับเดือนได้ภายในไม่กี่นาทีทั่วโลก ของขวัญถูกส่งถึงเด็กๆ ภายในชั่วพริบตา" ดร.ซิลเวอร์เบิร์กกล่าว

                    ส่วนรายละเอียดในการเดินทางซานตาต้องตรวจสอบรายการทั้งหมด 2 รอบตามเนื้อเพลง Santa Claus Is Coming To Town ผ่านคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งบนเลื่อนอันล้ำด้วยเทคโนโลยี ทำให้ซานตาพร้อมที่จะส่งของขวัญ

                    ขณะที่กวางเรนเดียร์ของซานตาก็เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมให้สามารถบินได้ ยืนได้สมดุลบนหลังคาและมีสายตาที่มองเห็นได้ดีในที่มืด ทั้งยังไม่ต้องลากจูงลากเลื่อนที่บรรทุกของขวัญจนหนักอึ้ง

                    เพราะหลังบ้านของเด็กๆ แต่ละแห่งคือโรงงานที่ซานตาจะใช้ประดิษฐ์ของเล่นด้วยเครื่องมือประดิษฐ์ของเล่นนาโน ของขวัญก็จะขยายจากจุดเล็กๆ โดยเครื่องประดิษฐ์ของเล่นนาโนจะจัดเรียงทีละอะตอม และจะไม่มีเกร็ดน้ำแข็งหรือเขม่าดำเกาะที่ของขวัญ คล้ายกับการทำงานของดีเอ็นเอที่ทำให้เกิดเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ ได้

                     อีกทั้งอันที่จริงซานตาก็ไม่จำเป็นต้องลงไปในปล่องไฟ แม้ ดร.ซิลเวอร์เบอร์กจะเห็นว่าซานตาสนุกกับการได้ทำอย่างนั้นบ่อยๆ ก็ตาม มากกว่านั้นเมฆแห่งสัมพัทธภาพไม่เพียงอนุญาตให้ซานตาลำเลียงของขวัญได้ภายในพริบเท่านั้น แต่ยังส่งซานตาไปแบบย่อส่วนแล้วไปโผล่ที่บ้านแต่ละหลังด้วย

                    สุดท้ายหลายคนอาจจะสงสัยว่าซานตาและกวางของเขานั้นกินอาหารมากมายที่แต่ละบ้านเตรียมไว้ให้หมดได้อย่างไร เรื่องนี้ ดร.ซิลเวอร์เบิร์กให้ความเห็นไว้ว่าพวกเขาแค่เล็มๆ อาหารที่พวกเราเตรียมไว้ให้เท่านั้น อาหารส่วนที่เหลือมีทั้งที่วางไว้ที่บ้านหลังนั้นตามเดิม และบางส่วนก็ถูกเก็บเข้าเครื่องอบแห้งที่ดึงน้ำออกจากอาหารติดตั้งในตัวเลื่อน ซึ่งช่วยให้ซานตามีอาหารเก็บไว้กินต่อไปในอนาคต เพราะพวกเขายังต้องเดินทางอีกยาวนานเพื่อส่งมอบของขวัญหลังจากนั้น

                    "นี่คือวิสัยทัศน์ของเราเกี่ยวกับวิธีส่งของขวัญของซานตาให้กับพวกเรา ด้วยหลักการทางฟิสิกส์และวิศวกรรมที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เด็กๆ ไม่ควรได้รับความเชื่อมากเกินไปจากความเห็นที่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะส่งของขวัญทั่วโลกได้ภายในคืนเดียว มันเป็นไปได้ และเป็นไปภายใต้ความน่าเป็นของวิทยาศาสตร์" ดร.ซิลเวอร์เบิร์กสรุปความเห็น


    http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000157346

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×