ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตามรอยเรื่องลึกลับ

    ลำดับตอนที่ #51 : มังกรมีจริงหรือเพียงแค่ตำนาน ?

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.55K
      3
      2 ต.ค. 51


    มังกรมีจริงหรือเพียงแค่ตำนาน
    ?

     

    โลกเรานี้มีมังกรจริงๆหรือไม่ หรือที่จริงแล้วมันเป็นสัตว์โลกประเภทใดแน่ หนนี้เราจะลองมาวิเคราะห์กันดู ก่อนอื่นเรามาชำแหละกายวิภาค หรืออนาโตมี (ANATOMY) ของเจ้ามังกรว่าเป็นฉันใดกันก่อน

    ปีก - น่าจะเป็นอวัยวะสำคัญที่สุด ปีกมังกรละม้ายไปทางปีกค้างคาว สามารถพยุงน้ำหนักลำตัว ได้มากกว่าปีกนกธรรมดาๆ

    กระเพาะอาหาร - หลายคนอาจนึกฉงนว่า ไอ้อวัยวะส่วนนี้ มันสำคัญตรงไหนนักหนาก็ไอ้นี่แหละที่ทำให้มังกร มันลอยตัวในอากาศได้ กล่าวคือ ในกระเพาะนั้น ย่อมมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหาร ที่มันเขมือบเข้าไป และในกระบวนการย่อยนี้ ก็จะเกิดมีก๊าซไฮโดรเจนขึ้น ก๊าซนี้มีน้ำหนักเบากว่าอากาศถึง 14 เท่า จึงพยุงร่างให้ลอยขึ้นได้ นอกจากนี้ ไฮโดรเจนยังเป็นก๊าซไวไฟ เจ้ามังกรจึงใช้พ่นออกมาเผาผลาญอริของมันได้ โดยมันจะเก็บก๊าซนี้ไว้ในถุงลม ถึงยามจำเป็นจึงนำออกมาใช้

    กระดูก - สัตว์ที่บินได้ทั้งหลาย ไม่ว่าค้างคาวหรือนก ล้วนมีโครงสร้างกระดูกเป็นโพรงกลวง ทำให้มีน้ำหนักเบา ช่วยให้ลอยตัวในอากาศได้ ดีขึ้น มังกรเองก็มีกระดูกลักษณะนี้เช่นกัน

    ตัวจุดประกายไฟ - แม้จะผลิต ก๊าซไฮโดรเจนได้แล้ว แต่ก๊าซย่อมไม่ติดไฟขึ้นได้เอง ต้องอาศัยการเกิดประกายไฟ หรือสปาร์ก (Spark) ในเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า เจ้ามังกรได้หม่ำเอาหินชนวนเข้าไป พอหินย่อยแล้วก็จะกลายเป็น ผงทองคำขาว หรือแพลทินัม ซึ่งผงดังกล่าวนี้สามารถ ทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน แล้วลุกเป็นไฟให้เจ้ามังกรพ่นออกมาได้

    นอกจากกายวิภาคแล้ว เค้าก็ยังสันนิษฐานถึงพฤติกรรมดำรงชีวิตของมังกรไว้ด้วย อาทิ

    การผสมพันธุ์ - จะเป็นแบบเดียวกับ ลูกหลานของมันประเภทหนึ่งคือ นกอินทรีหัวล้าน (bald eagle) ซึ่งเป็นวิธีการพิสดารไม่เหมือนใคร โดยนกอินทรีตัวผู้ตัวเมียจะใช้กรงเล็บ เกาะกุมกันไว้กลางอากาศแล้วผสมพันธุ์ ช่วงนั้นมันทั้งคู่จะปราศจาก การควบคุมสมดุล และควงสว่านลงมาจากนภากาศ มันจะเสพสมสำเร็จ ในวินาทีก่อนที่จะตกกระทบพื้นดิน แล้วพลันโผผินบินขึ้นสู่ท้องฟ้าผละจากกัน มังกรตัวผู้ตัวเมีย ก็ผสมพันธุ์เฉกเช่นเดียวกับนกอินทรี หากแต่ตอนผละจากกันนั้น มันจะพ่นอัคคีออกมาพวยพุ่งเป็นสองลำในอากาศ

    การหลอกศัตรู - เจ้ามังกรตัวน้อยๆนั้น อาจตกเป็นเหยื่อแก่ไดโนเสาร์โหดอย่างที-เร็กซ์ (T-REX) ได้โดยง่าย ใต้ปีกของมันจึงมีรูปดวงตาเบ้อเร่อสีสดใส ยามมีภัยมาใกล้ตัวมังกรน้อยจะกางปีกแผ่ออก ดวงตา คู่ยักษ์จะทำให้ศัตรูประหวั่นพรั่นใจ และแตกตื่นกระเจิงไป

    ก็คงรู้ถึงเอกลักษณ์ของความเป็นมังกร พอควรแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าสัตว์ ดึกดำบรรพ์อันน่าจะเป็นที่มาที่ไป ของมังกรนั้น ...คืออะไร

    ย้อนกลับไปในยุค ไตรแอสสิก (TRIASSIC) หรือราว 200 ล้านปีก่อน ซึ่งสัตว์จำพวกครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้ถือกำเนิดบนโลกนี้แล้ว เจ้าพวกนี้บิน หรือพ่นไฟไม่ได้หรอกครับ ได้แต่วิ่งสี่ขาเพ่นพ่าน ต่อมาบางตัวได้เริ่มต้นวิ่งด้วยสองขาหลัง ดังนั้น สองขาหน้าของมันจึงไร้ประโยชน์แล้วเลยกลายเป็นปีก สามารถเหาะเหินขึ้นสู่ฟ้าได้ นี่ก็น่าจะเป็นบรรพบุรุษตัวหนึ่งของมังกรได้

    ล่วงมาถึง 65 ล้านปีในอดีต สัตว์เลื้อยคลานสี่ขาบางตัวมีอวัยวะคู่ที่ 3 งอกขึ้นมาเป็นปีก เจ้าตัวนี้มีทีท่าน่าจะคล้ายมังกรที่เรารูจักมากที่สุด เพราะมันบินได้ และมีกระเพาะ ที่ย่อยสลายแล้วได้ก๊าซไฮโดรเจนอันเป็นต้นตอของไฟที่มันพ่นออกมา หากทว่าบางตัวเอาแต่จับปลาหาเต่ากินในน้ำ มันจึงแปรสภาพไปเป็นสัตว์น้ำโดยสมบูรณ์ ปีกกลายเป็นครีบ เจ้ามังกรที่ว่านี้ ก็อย่างเช่น สัตว์ประหลาดยักษ์ที่ร่ำลือกันในทะเลสาบล็อคเนสส์ (LOCH NESS) หรือเจ้าเนสสี นั่นเอง

    สำหรับมังกรบางตัวที่ขึ้นมาหากิน บนบกนั้นก็มี อาทิ มังกรในป่าไม้ ลำตัวของมันคงยาวเหมือนตอนอยู่ในน้ำ เพื่อว่าเวลาวิ่งผ่านต้นไม้ จะได้สะดวก ส่วนปีกนั้นสั้นลงจะได้ไม่เกะกะ มันก็เลยบินจริงๆไม่ได้ อาจแค่กระโดดพะเยิบพะยาบ ไปตามพื้นดินมังกรป่าเหล่านี้ ปัจจุบันพอพบได้ ตามหมู่เกาะบางแห่งของญี่ปุ่น ในป่าละเมาะและดงดิบ ของจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    นอกจากนี้ ก็ยังมีมังกรภูเขาซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในยุโรป รูปร่างของมันจะม่อต้อไม่เรียวเหมือนมังกรทะเล ทำให้มันบินได้คล่องตัวกว่า หางของมันยาวพอๆกับลำตัว ที่ปลายหางเป็นรูปหัวลูกศรซึ่งคมกริบ เป็นอาวุธสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มังกรใช้ตวัดใส่ศัตรู

    และต่อไปนี้คือเรื่องราวของมังกรหลายตัวซึ่งปรากฏสู่สายตาเราในช่วงเวลาที่ผ่านมา


                    -ลาดอน มังกรกรีกโบราณซึ่งคอยเฝ้าต้นแอปเปิ้ลทองคำของเทพีเฮร่า เฮอร์คิวลิสฆ่าลาดอนเพื่อขโมยแอปเปิ้ลเหล่านั้น

    -มังกรเทพเจ้าของชาวจีน ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติจีน ชาวจีนทั่วโลกประกาศด้วยความภาคภูมิใจว่า "หลุง ติ๊ก ฉวน เหยิน" หรือสายเลือดมังกร มังกรมักได้รับการกล่าวถึงในฐานะสัตว์เทพเจ้าในตำนาน ซึ่งทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง และโชคดี

    -โยงูเนะ-นูชิ มังกรญี่ปุ่นที่ชั่วร้าย ซึ่งปรารถนาเนื้อมนุษย์ และสั่งให้เอาหญิงสาวมาบูชายัญปีละครั้ง

    -ราหู และเกตุ มาจากตำนานของชาวอินเดีย และมีความสำคัญในโหราศาสตร์ตามหนังสือพระเวทย์ ราหูเป็น "หัวมังกร" เกี่ยวข้องกับวงโคจรด้านเหนือของดวงจันทร์ เกตุเป็น "หางมังกร" เกี่ยวข้องกับวงโคจรด้านใต้ของดวงจันทร์

    -ฟัฟเนอร์ มังกรในเทพนิยายของชาวนอร์ส (สแกนดิเนเวีย) เดิมทีเกิดมาเป็นยักษ์ ในวัยเด็กได้ฆ่าพ่อของตนเพื่อยึดสมบัติ หลังจากนั้นด้วยอำนาจวิเศษ ฟัฟเนอร์ก็แปลงร่างเป็นมังกรเพื่อจะรักษาสมบัติใหม่ๆ ที่ได้มาอย่างชั่วร้ายได้ดียิ่งขึ้น

    -เอช.อาร์.พัฟเฟินทัฟ ภาพยนตร์ซีรี่ส์ในทศวรรษที่ 1970 นำเสนอมังกรพูดได้ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีของเกาะลิฟวิ่งไอส์แลนด์ เกาะซึ่งเด็กวัยรุ่นชื่อจิมมี่ และขลุ่ยพูดได้ของเขาชื่อเฟรดดี้ไปติดอยู่เพราะวิชีเอพูผู้ชั่วร้าย

    -มังกรของพีท เรื่องราวไลฟ์แอ๊คชั่นผสมกับตัวการ์ตูนซึ่งยังเป็นที่ติดอกติดใจของเด็กๆ ในปัจจุบัน

    -พัฟฟ์เดอะเมจิคดราก้อน เพลงอันดับหนึ่งในชาร์ตในปี 1960 ผลงานของปีเตอร์ พอล แอนด์ แมรี่ ที่แต่งขึ้นจากบทกวีเกี่ยวกับความไร้เดียงสาของวัยเด็กที่สูญหายไป

    -ดราก้อนฮาร์ท ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี 1996 สร้างโดยยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ เล่าเรื่องราวในยุคกลางของมังกรตัวสุดท้ายในโลก

    -มูชู มังกรตัวการ์ตูนจากภาพยนตร์เรื่อง "มู่หลาน" ของดิสนีย์ รับบทเป็นองครักษ์ที่ทรงพลังคอยช่วยมู่หลานต่อสู้กับผู้บุกรุกแผ่นดินชาวฮั่น และนำเกียรติยศมาสู่วงศ์ตระกูลของเธอ

    -นอร์เบิร์ต ลูงมังกรของแฮกริดในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ตอนศิลาอาถรรพ์ ที่น้องๆ ได้พบตั้งแต่เจ้านอร์เบิร์ตฟักตัวออกจากไข่และพ่นไฟใส่เคราของแฮกริด ก่อนจะได้พบกับเจ้ามังกรพันธุ์ฮังกาเรียนหางหนามในศึกประลองเวท

    -ชาริซาร์ด มังกรบินพ่นไฟจากวิดีโอเกมและเกมไพ่สะสมโปเกมอน ชื่อภาษาญี่ปุ่นของชาริซาร์ดคือ "ริซาอาดอน" (ลิซาร์ดอน)

    -มังกรขาวตาสีฟ้า หนึ่งในไพ่ยูกิโอรุ่นแรกๆ ปรากฏตัวในภาคแรกของซีรี่ส์โทรทัศน์ชุด The Heart of the Cards

     

     

    http://artsmen.net/content/show.php?Category=mythboard&No=5901+

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×