ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บุคคลและประวัติศาสตร์ในชาติต่าง ๆ

    ลำดับตอนที่ #8 : ชิวจิ่น

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 129
      0
      22 ม.ค. 54

    ชิวจิ่น มีชีวิตอยู่ในช่วงปีค.ศ. 1875-1907 เป็นวีรสตรีในยุคประวัติศาสตร์ปัจจุบันที่ได้รับการกล่าวขานจากคนรุ่นหลัง จนถูกนำไปเขียนเป็นนวนิยาย และสร้างเป็นบทภาพยนตร์หลายครั้ง ชิวจิ่น เป็นคนเมืองเส้าซิน  มนฑลเจ๋อเจียง บิดาของชิวจิ่นเป็นผู้ว่ามนฑลฮกเกี้ยน เป็นครอบครัวที่มีความคิดค่อนข้างก้าวหน้า ชิวจิ่น จึงมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนร่วมกับพี่ชาย ซึ่งแตกต่างจากผู้หญิงจีนในยุคนั้น นอกจากนั้นชิวจิ่นยังชอบฝึกวิทยายุทธ์ รำทวนขี่ม้ายิงธนู จนถูกขนานนามว่า ขุนศึกหญิงฮวามู่หลาน ชิวจิ่นมีชื่อรองว่า จิ้งสง (ประชันหาญ ) ดูจากชื่อรองก็พอจะเดาได้ว่าเป็นสตรีที่เรียกร้องความเสมอภาคของสิทธิสตรี ชิวจิ่นแต่งงานกับหวังถิงจวินบัณฑิตหัวโบราณที่พยายามใช้เงินวิ่งเต้นเพื่อจะได้ตำแหน่งราชการในกรุงปักกิ่ง ในขณะที่ชิวจิ่นมักจะมีความเห็นต่อการปกครองของรัฐบาลแมนจูอยู่เสมอ และมีจิตใจฝักใฝ่ฝ่ายปฏิวัติ ชีวิตสมรสจึงไม่ค่อยราบรื่นนัก ไม่นานนักชิวจิ่น ก็แยกทางกับสามีและเดินทางเข้าร่วมการปฏิวัติในสมาคมถงเหมิง(同盟会)ของดร.ซุนยัดเซน ที่ประเทศญี่ปุ่นในสมัยกวางสวี้ปีที่ 30

         ต่อมาสมาคมได้ส่งตัวชิวจิ่น กลับมาดูแลสาขาของสมาคมฯที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปีคศ. 1906 ที่เซี่ยงไฮ้ นี้ชิวจิ่น ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์สตรีสาร  นอกจากเป็นกระบอกเสียงในการเรียกร้องสิทธิสตรีแล้วยังโจมตีการปกครองของรัฐบาลแมนจู ต่อมาได้ร่วมมือกับนักปฏิวัติสวีสีหลิน ก่อตั้งโรงเรียนบ่มเพาะนักปฏิวัติขึ้นที่เมืองเส้าซิน และประสานงานกับสมาคมสาขาจินฮว๋า หลานชี ก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ เตรียมการยึดอำนาจรัฐที่มนฑลอันฮุยและเจ๋อเจียง ในเดือน7 ของปีต่อมาสวีสีหลิน ก่อการที่อันฮุย ล้มเหลว สวีสีหลิน พลีชีพในการรบ ทางการแมนจูสืบทราบถึงความสัมพันธ์ที่เจ๋อเจียง ขณะที่ชิวจิ่น เตรียมก่อการขึ้นอีกครั้ง แต่ทหารแมนจูได้นำกำลังมาปิดล้อมโรงเรียนบ่มเพาะนักปฏิวัติ ชิวจิ่นนำกำลังฝ่าวงล้อมไม่สำเร็จถูกทางการจับตัวได้ แต่ไม่ยอมจำนนจึงถูกประหารชีวิตในวันที่15 เดือนกรกฏาคม (ตรงกับวันที่ 5 เดือน 6 ของจีน)ขณะที่มีอายุเพียง 33 ปี ชิวจิ่น เป็นวีรสตรีที่ถูกชนรุ่นหลังกล่าวขวัญถึงมากที่สุดคนหนึ่ง ที่สำคัญคือเป็นบุคคลที่มีหลักฐานในประวัติศาสตร์ชัดเจน เรื่องราวของชิวจิ่นถูกนำมาเขียนเป็นบทความ บทกวี เป็นนวนิยาย และสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง นอกจากนั้นยังมีผลงานที่เป็นบทกวีและข้อเขียนตกทอดมาถึงปัจจุบันอยู่ไม่น้อย ซึ่งล้วนแต่เป็นข้อเขียนที่ปลุกเร้าจิตใจแห่งการปฏิวัติและการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี คนยุคหลังจึงยกย่องชิวจิ่น เป็นวีรสตรีปฏิวัติ และนักกวีปฏิวัติ และเนื่องจากวันตวนอู่ ยังเป็นวันกวีแห่งชาติ จึงถือเป็นวันระลึกถึงวีรสตรีชิวจิ่น ด้วยอีกเช่นกัน


    อ่านต่อ : http://my.dek-d.com/christmas111/blog/?blog_id=10123370#ixzz1Bm5JbP1E
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×