เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลำไย - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลำไย นิยาย เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลำไย : Dek-D.com - Writer

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลำไย

    โดย * Sk_Hunna *

    เกี่ยวกับลำไยอ่ะค่ะ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,958

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    1.95K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  19 ส.ค. 49 / 20:54 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ลำไย ( Longan)

      ลำไยมีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย  ลำไยป่า(ทั่วไป) เจ๊ะลอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

      ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan)

      ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า   Nephelium, Canb.หรือEuphorialongana, Lamk, Lamk.วงศ์Sapedadceaeทีน (Native)   ในพื้นที่ราบต่ำของลังกา อินเดียตอนใต้ เบงกอลพม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน

      ประวัติลำไย

      ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีน     แต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ ๑,๗๖๖ ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ   RuYa  ของจีนเมื่อ ๑๑๐ ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีน        เมื่อปีพ.ศ.๑๕๑๔ ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ.๑๕๘๕ แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้ง
      เสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน
                      ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕
      ในประเทศไทย ลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ กับประเทศในเขตนี้แต่ไม่ปรากฏหลักฐานหลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล(เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์     ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ ๕เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะแสดงว่าลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้วและมีการพัฒนาพันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำลำไยจากกรุงเทพฯขึ้นมา   ขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยายพันธุ์สู่ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์
      (Mutation)เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย
                      โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้าน      หนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๑ ผลิตผลต่อต้นได้ ๔๐-๕๐    เข่งพัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูนถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายา    เจ้าดารารัศมีเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๗จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๑ก็พัฒนามาร่วม๖๐ปีและถ้านับถึง

      ปีปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม๙๐ปีแล้วจนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง๑๕๗, ๒๒๐ไร่

      ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

      ต้น

      เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง จะแตกกิ่งก้านสาขาที่ เรือนยอดของต้น ลำต้นและกิ่งก้านมีสีน้ำตาลเทา

      ใบ

      เป็นใบเดี่ยว ขนาดเล็ก ใบจะดกและหนาทึบ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกปลายแหลม โคนใบ สอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย และมี สีเขียวเข้ม

      ดอก

      ออกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ซึ่งดอกของลำไยน้ำจะมีขนาดเล็ก สีเหลือง หรือน้ำตาลอ่อน ๆ

      ผล

      มีลักษณะเป็นลูกกลม เปลือกสีน้ำตาล เนื้อใน ผลสีขาวใส ผลหนึ่งมีเมล็ด 1 เม็ดมีสีดำ ผลทานได้มีรสหวาน





      ประโยชน์ของลำไย

      เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง

      ลำต้นมีขนาดใหญ่   สูงประมาณ ๓๐-๔๐ ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้
      ผลลำไยมีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียวภายในมีเนื้อขาวอมชมพูขาวอมเลืองแล้วแต่สายพันธุ์เนื้อลำไย สามารถ  บริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร

      เนื้อลำไย นำมาดองเหล้าเก็บไว้ 10 วัน รับประทานเป็นยาบำรุง นำมาตุ๋นกับน้ำตาล รับประทานเป็นยาบำรุงเลือดให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล

      ใบ แก้หวัด แก้ไข้มาเลเรีย เมล็ดลำไย แก้ปวด ห้ามเลือด รักษาเกลื้อน

      เปลือกลำไย แก้วิงเวียนศีรษะ

      ดอกลำไย ช่วยในการขับนิ่ว

      เนื้อลำไยมีสรรพคุณแก้ผอมแห้งแรงน้อย นอนไม่หลับ ขี้ลืม ใจสั่น บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยบำรุงกำลังของสตรี ภายหลังจากการคลอดบุตร

      นอกจากจะรับประทานผลสดแล้ว ยังนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ลำไยทั้งเปลือกอบแห้ง ลำไยดอง ลำไยกวนปรุงรส ลำไยแช่อิ่ม น้ำลำไยผง น้ำลำไยสด น้ำลำไยแห้ง ลำไยกวน ลำไยกระป๋อง หรือบรรจุขวดในน้ำเชื่อม

      นอกจากนี้ยังทำเป็นอาหารคาว หวาน เช่น ข้าวต้มลำไย ข้าวเหนียวเปียกลำไย คุกกี้ลำไย เค้กลำไย พายลำไย ขนมปังลำไย แกงเผ็ดลำไย แกงจืดลำไยสอดไส้ เป็นต้น




      พันธุ์ลำไย

      ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง ๒๖ พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล กวางตุ้ง ๑๒ สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก ๑๕ สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี ๑ สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลาพันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ ๕ พวก คือ

           ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์คือ

           ๑.สีชมพู ผลใหญ่เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพู รสดีมากที่สุด

           ๒.ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง

           ๓.เบี้ยวเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แต่พันธุ์หนักร่องเก่ง

           ๔.อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ

                   - อีดอยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดง 

                   - อีดอยอดเขียว ใบอ่อนมีสีเขียว

           ๕.อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ่เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ  

                   - อีแดง (อีแดงเปลือกหนา) มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่

                   - อีแดง (อีแดงเปลือกบาง) ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา

           ๖.อีดำ ผลใหญ่ ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ

                  - อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง

      -          อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน



       คุณค่าทางอาหารของลำไย

      กองวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์ส่วนปรักอบของลำไยปรากฏผลว่า

      ๑.  ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วยน้ำ๘๑.๑%คาร์โบไฮเดรต๑๖.๙๘%โปรตีน๐.๙๗%เถ้า๐.๕๖%

           กาก  ๐.๒๘%และไขมัน ๐.๑๑%

      ๒. ในลำไยสด๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน๗๒.๘แคลอรีและมีวิตามิน๖๙.๒มิลลิกรัมแคลเซียม

           ๕๗  มิลลิกรัมฟอสฟอรัส๓๕.๑๗มิลลิกรัมและธาตุเหล็ก๐.๓๕มิลลิกรัม

      ๓.  ลำไยแห้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ๖๙.๐๖%น้ำ ๒๑.๒๗%โปรตีน ๔.๖๑%เถ้า ๓.๓๓%

            กาก ๑.๕๐%และไขมัน ๐.๑๗๑%

      ๔.  ลำไยแห้ง ๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน ๒๙๖.๑แคลอรี แคลเซียม ๓๒.๐๕มิลลิกรัม

            ฟอสฟอรัส  ๑๕๐.๕มิลลิกรัมโซเดียม ๔.๗๘มิลลิกรัม เหล็ก ๒.๘๕มิลลิกรัม

           โพแทสเซียม  ๑๓๙๐.๓มิลลิกรัม กรดแฟนโทซินิค ๐.๗๒มิลลิกรัมวิตามินบี ๑๒จำนวน

            ๑.๐๘ มิลลิกรัม

      ลำไยกระดูก     เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน

                              มีน้ำตาล ประมาณ ๑๓.๗๕% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่

                              นิยมปลูก ไม่มีราคา

      ลำไยธรรมดา   ผลปานกลาง เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก ให้ผลดก

      ลำไยสายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดี หอมกรอบ เมล็ดเล็ก

      ลำไยเถา           มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์ นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้     

                              รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าแถบภูเขาบรรทัด ภูเขาดงเล็ก ลำต้นไม่มีแก่นจึง

                              พันเข้ากับรั้วหรือหลัก

      ลำไยแห้ง         มีสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ ระบบประสาท ช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง

                              และ บำรุงโลหิต




      วิธีการปลูก

      1) ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน

      1. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร

      2. ผสมดินปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตเข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม

      3. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย

      4. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)

      5. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก

      6. กลบดินที่เหลือลงไปในหลุม

      7. กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น

      8. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดเพื่อป้องกันลมพัดโยก

      9. หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง

      10. รดน้ำให้ชุ่ม

      11. ทำร่มเงาเพื่อช่วยพรางแสงแดด

      ระยะปลูก 8 x 8 เมตร ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

      จำนวนต้น / ไร่ จำนวนต้นเฉลี่ย 25 ต้น / ไร่




      การดูแลรักษา

      1. การตัดแต่งกิ่ง

      - ต้นลำไยอายุ 1 – 3 ปี ซึ่งยังไม่ให้ผลผลิต ควรตัดแต่งให้ลำไยมีลักษณะทรงพุ่มเป็น ทรงกลม

      - ลำไยอายุ 4 – 5 ปี ให้ผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยว โดยตัดกิ่งกลางทรงพุ่มที่อยู่ใน   แนวตั้งเหลือตอกิ่งเพื่อเปิดกลางทรงพุ่มให้ได้รับแสงสว่างมากขึ้น

      - ลำไยอายุ 5 – 10 ปี ตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้ทรงพุ่มชนกัน ตัดแต่งเช่นเดียวกับลำไยอายุ 4 – 5 ปี ตัดปลายกิ่งทั้งแนวนอนและแนวราบให้มีความสูงเหลือเพียง 3 เมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ ดูแลรักษาสวน

      - สำหรับลำไยที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งแบบกิ่ง เว้นกิ่งเพื่อให้ลำไยออกดอกสม่ำเสมอทุกปี

      2. การให้ปุ๋ย

      ลำไยอายุ 5 ปี ขึ้นไป มีการใส่ปุ๋ยเคมี ดังนี้

      - หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่ปุ๋ย 15 – 15 – 15 ผสมกับ ปุ๋ย 46 – 0 – 0 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 2 กิโลกรัม กระตุ้นให้ลำไยแตกใบอ่อน

      - เมื่อลำไยแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ประมาณต้นเดือน กันยายน ใส่ปุ๋ย 15 – 15 –15 ผสมกับปุ๋ย 46 – 0- 0 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 2 กิโลกรัม

      - ประมาณต้นเดือนตุลาคม กระตุ้นให้ลำไยมีใบแก่ พักตัวสะสมอาหาร เตรียมความพร้อมต่อการผ่านช่วงหนาวที่จะกระตุ้นให้ลำไยออกดอก ใส่ปุ๋ย 0 – 46 – 0 ผสมกับปุ๋ย 0 – 0 – 60 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 2 กิโลกรัม

      - เดือนพฤศจิกายน ให้ปุ๋ยทางใบ สูตร 0 – 52 – 34 อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่มเพื่อไม่ให้ลำไยแตกใบใหม่

      - เมื่อลำไยติดผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ย 15 – 15 - 15 ผสมกับ ปุ๋ย 46 – 0 – 0 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 1 – 1.5 กิโลกรัม เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต

      - ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ใส่ปุ๋ย 0 – 0 – 60 อัตราต้นละ 1 – 2 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต

      3. การให้น้ำ

      3.1 วิธีการให้น้ำ

      - แบบใช้สายยางรด เป็นการให้น้ำที่ลงทุนต่ำแต่ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ

      - แบบข้อเหวี่ยงขนาดเล็ก เป็นการให้น้ำในกรณีมีแหล่งน้ำจำกัด ต้นทุนสูงกว่าแบบแรก

      - แบบน้ำหยด เหมาะสำหรับที่มีแหล่งน้ำจำกัดมาก ใช้ต้นทุนสูง

      3.2 ปริมาณน้ำ

      ช่วงฤดูแล้งหลังออกดอก เริ่มให้น้ำเมื่อลำไยมีดอกบานปฏิบัติ ดังนี้

      - สัปดาห์แรก ฉีดน้ำพรมที่กิ่งและโคนต้นเล็กน้อยเพื่อให้ลำไยค่อยๆปรับตัว

      - สัปดาห์ที่สอง เริ่มให้น้ำเต็มที่ สำหรับต้นลำไยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 7 เมตร ให้น้ำปริมาณครั้งละ 200 – 300 ลิตร ต่อต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

      4. การดูแลรักษาหลังการติดผล

      - ค้ำกิ่งโดยใช้ไม้ไผ่ค้ำกิ่งทุกกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก เนื่องจากพายุลมแรง และกิ่งที่มีผลลำไยจำนวนมาก

      - เมื่อมีโรคและแมลงศัตรูระบาดในระยะนี้ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามคำแนะนำ ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ควรห่อผลลำไยเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช เช่น ผีเสื้อมวนหวาน หนอนเจาะขั้ว ค้างคาว และเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อไม่ให้มีการตกค้างของสารเคมีในผลผลิตลำไย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

      5. การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูลำไย

      1) โรคกะหรี่ลำไย โรคพุ่มแจ้หรือโรคพุ่มไม้กวาด ส่วนที่เป็นตาเกิดอาการแตกฝอยเป็นมัดไม้กวาด สาเหตุเกิดจากไรลำไยดูดกินและเป็นพาหะนำโรคไฟโตพลาสมา ใบที่ถูกทำลายมีขนาดเล็กม้วนบิด

      เป็นเกลียว มีขนละเอียดปกคลุม ช่อใบแตกเป็นพุ่มกระจุก ถ้าเป็นช่อดอกจะแตกเป็นพุ่มฝอย ดอกแห้งไม่ติดผล หากเป็นรุนแรงทำให้ต้นลำไยมีอาการทรุดโทรม

      การป้องกันกำจัด

      - ตัดกิ่งที่เป็นโรคออกเผาทำลายในแหล่งมีการระบาดของโรคพ่นด้วยกำมะถันผง 80% WP อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือมีอาทราซ 20% EC อัตรา40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1 – 3 ครั้ง ห่างกัน 4 วัน เพื่อป้องกันกำจัดไรลำไย

      - อย่าขยายพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์ที่ปรากฎอาการของโรคพุ่มไม้กวาด

      2) โรคราน้ำฝน หรือโรคผลเน่า โรคใบไหม้ เมื่อเข้าทำลายที่ผลจะทำให้ผลเน่าและร่วง เป็นที่ใบอ่อน ยอดอ่อนทำให้เกิดอาการใบและยอดไหม้ พบระบาดในช่วงฤดูฝน

      การป้องกันกำจัด

      - พ่นด้วยเมทาเลกซิล 25% WP อัตรา 20 – 30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1 ครั้ง ทันทีที่พบโรคที่ผล และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังพ่นสาร 10 –15 วัน ส่วนโรคที่ใบในช่วงผลิใบอ่อนพ่นป้องกันกำจัดเช่นเดียวกับเป็นที่ผลลำไย

      3) หนอนเจาะขั้วผล ( Fruitborer) หนอนเจาะขั้วผล Conopomorpha sinensis (Bradly) ทำลายขั้วผลลำไยในช่วงเดือนมีนาคม สิงหาคม

      การป้องกันกำจัด

      - เก็บผลร่วงเนื่องจากการทำลายของหนอนเจาะขั้วแล้วทำลายทิ้ง

      - หลังการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งโดยเฉพาะกิ่งที่ใบมีดักแด้ของหนอนเจาะขั้วทำลายทิ้ง

      - หลังติดผลแล้ว 1-2 สัปดาห์ สุ่มช่อผล 10 ช่อต่อต้นถ้าพบไข่ ให้พ่นคาร์บาริล 85%WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ถ้าพบปริมาณมากเกิน 5% ของผลที่สุ่ม พ่นคลอร์ไพริฟอส/ไซเพอร์เมทริน 55%EC (นูเรลล์ – L 505 EC )อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไซฟลูทริน 5%ECอัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ควรหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน

      4) มวนลำไย (Longan stink bug) มวนลำไย Tessaratoma papillosa (Drury) ทำลายผลลำไยช่วงเดือนมกราคม สิงหาคม




      การป้องกันกำจัด

      - หลังการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งป้องกันการหลบซ่อนอยู่ข้ามฤดู

      - สำรวจไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ถ้ามีไม่มากเก็บทำลาย

      - ถ้าสำรวจพบว่า ไข่ถูกแตนเบียนทำลาย (มีลักษณะเป็นสีดำ) จำนวนมาก ไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลง

      - ถ้าพบไข่จำนวนมาก และไม่ถูกแตนเบียนทำลาย (มีสีครีมหรือสีแดงเมื่อใกล้ฟัก) พ่นด้วย คาร์บาริล 85%WP อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน

      5) ผีเสื้อมวนหวาน (Fruit moth) ผีเสื้อมวนหวานชนิดที่พบมากคือ Othreis fullonia (Clerck) ทำลายผลลำไยในช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม

      การป้องกันกำจัด

      - ห่อผลด้วยกระดาษเพื่อป้องกันการทำลาย

      - กำจัดวัชพืช เช่น ย่านาง ต้นข้าวสาร และบรเพ็ดที่อยู่บริเวณรอบสวน

      - ใช้เหยื่อพิษ โดยใช้สับปะรดสุกตัดเป็นชิ้นจุ่มในสารละลายของคาร์บาริล 85%WPอัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรนาน 5 นาที นำไปแขวนในสวนเป็นจุดๆ ห่างกันจุดละ 20 เมตร ขณะผลลำไยใกล้สุก

      - ใช้แสงไฟส่องและใช้สวิงโฉบจับผีเสื้อทำลาย (ช่วงเวลา 20.00 – 22.00 น.)

      6) หนอนเจาะกิ่ง (Red coffee borer) หนอนเจาะกิ่ง Zeuzera coffeae (Nietner) พบระบาดเป็นครั้งคราวตลอดทั้งปี

      การป้องกันกำจัด

      - ตัดกิ่งแห้งที่มีหนอนทำลายเผาทิ้ง

      - ถ้าพบรูที่ถูกเจาะตามกิ่งและลำต้น ใช้สารฆ่าแมลง เช่น คลอร์ไพริฟอส 40% ECอัตรา 1-2 มิลลิลิตรต่อรู ฉีดเข้าในรูแล้วอุดด้วยดินเหนียว

      7) หนอนชอนใบ (Leaf miner) หนอนชอนใบ Conopomrpha litchiella( Bradley) พบระบาดทั้งปีในช่วงที่ลำไยแตกใบอ่อน

      การป้องกันกำจัด

      - การทำลายในต้นเล็ก (อายุ 1-3 ปี) ถ้ามีปริมาณไม่มากไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงเพราะจะมีอันตรายต่อแมลงศัตรูธรรมชาติ

       - ในระยะแตกใบอ่อน หากพบอาการยอดแห้งหรือใบอ่อนถูกทำลาย พ่นด้วยอิมิดาโคลพริด 10 % SL อัตรา 8 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน

      8) ไรลำไย (Longan crineum mite) ไรลำไย Aceria longana พบทำลายลำไยระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ พฤษภาคม

      การป้องกันกำจัด

      - เมื่อสำรวจพบ ยอดมีอาการแตกเป็นพุ่มคล้ายไม้กวาดให้ตัดทำลาย

      - ถ้ามีการทำลายเป็นบริเวณกว้าง พ่นด้วยกำมะถันผง 80 % WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อามีทราช 20 %EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 1-3 ครั้ง ห่างกัน ครั้งละ 4 วัน

      6. การจัดการวัชพืช

      การจัดการวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การปลูกพืชคลุมดินซึ่งจะช่วยป้องกันการชะล้างหน้าดิน ช่วยรักษาความชื้น และเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับดิน การตัดวัชพืชระหว่างแถวปลูก และระหว่างต้นลำไยซึ่งอาจจะใช้สลับกับการพ่นสารกำจัดวัชพืชบ้าง โดยพ่นเพียงปีละครั้งเมื่อไม่สามารถตัดวัชพืชได้ทัน ด้วยเหตุผลเพราะขาดแรงงานหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมที่จะตัดวัชพืชได้ การรักษาบริเวณโคนต้นลำไยให้สะอาด ควรตัดวัชพืชให้สั้น ไม่ควรใช้จอบดาย เนื่องจากเป็นอันตรายต่อระบบรากของลำไยและควรหลีกเลี่ยงการใช้สารกำจัดวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่ม

      สารกำจัดวัชพืชในสวนลำไย ได้แก่ ไกลโฟเสท กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม และพาราควอท ใช้พ่นหลังวัชพืชงอกในขณะมีวัชพืชมีใบมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ใช้ผสมเมื่อพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ คือ 60 – 80 ลิตร สำหรับอัตราการใช้ มีดังนี้

                                  - ไกลโฟเสท 48 % SL อัตรา 500 – 600 มิลลิลิตร / ไร่

                                  - กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม 15 % SL อัตรา 800 – 2,000 มิลลิลิตร / ไร่

                                  - พาราควอท 27.6 % SL อัตรา 300 – 600 มิลลิลิตร/ไร่

      7. สุขลักษณะและความสะอาด

      รักษาความสะอาดในสวน ตัดวัชพืชให้สั้นอยู่เสมอโดยเฉพาะบริเวณโคนต้น และบริเวณระหว่างต้น ระหว่างแถวลำไย หลังการตัดแต่งกิ่งควรนำกิ่งที่ตัดทิ้งออกไปนอกสวนแล้วเผาทำลายเศษวัสดุจากบรรจุภัณฑ์ต่างๆที่ใช้งานในสวนแล้วควรเก็บไปฝังดินนอกสวน สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีควรเก็บในที่ปลอดภัยห่างไกลจากอาหาร แหล่งน้ำ สัตว์เลี้ยง และที่อยู่อาศัย อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชควรทำความสะอาดหลังจากใช้งานแล้ว หากชำรุดควรซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมจะใช้ปฏิบัติงาน


      ภาพ







      ลักษณะภายในผลลำไย









      2 3

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×