แพทย์ฯ สงขลานครินทร์ - แพทย์ฯ สงขลานครินทร์ นิยาย แพทย์ฯ สงขลานครินทร์ : Dek-D.com - Writer

    แพทย์ฯ สงขลานครินทร์

    โดย Med34PSU

    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

    ผู้เข้าชมรวม

    27,966

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    13

    ผู้เข้าชมรวม


    27.96K

    ความคิดเห็น


    221

    คนติดตาม


    20
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  16 ม.ค. 53 / 20:39 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้


    "เราแพทยศาสตร์ สงขลาฯ ขอมอบกายา
    รักษาผองภัยมั่น
    แม้นลำบาก เหนื่อยยากสู้บั่น
    มุ่งหน้าฝ่าฟัน เพื่อพี่น้อง ผองไทย"
     

                                               
    จากบทเพลงแพทยศาตร์ คือความหวัง
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


             แฉให้หมดเปลือก เบื้องหน้า เบื้องหลัง ของที่แห่งนี้................คณะแพทย์ ม.อ.

             
      สวัสดีครับน้องๆ และเพื่อนๆ ทั้งหลาย กลับมาอีกครั้งกับการนำเสนอ
      ถึงเรื่องราวของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
      ซึ่งยังมีอีกหลายเรื่องราวที่ไม่ได้นำเสนอออกไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยน้องๆ ในการตัดสินในเข้ามาเรียนในคณะนี้  เพราะปัจจุบัน ได้มีคณะแพทย์ ตั้งขึ้นมากมาย ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง แต่น้องๆไม่ต้องเป็นห่วงนะครับ ผลสุดท้ายคือเราจะจบมาเป็นแพทย์เหมือนกัน เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายของวิชาชีพของเรา นั้นก็คือ การรักษาผู้ป่วย เอาละ!  ได้เวลาที่น้องๆจะมารู้จักกับคณะแพทย์แห่งนี้แล้วละ   มากันเลยครับน้องๆ



              น้องๆรู้รึเปล่าว่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร(ม.อ.)   ก่อตั้งมาปีนี้ก็ย่างเข้าปีที่ 38 แล้ว ตอนนี้ มีนักศึกษแพทย์ ทั้งหมดก็ 37 รุ่นแล้ว  โดยปัจจุบันนี้จะรับนักศึกษาประมาณปีละ 200 คน และตอนนี้ทางคณะก็เป็นคณะแพทย์พี่เลี้ยงให้กับคณะแพทย์ มหาลัยนราธิวาธราชนครินทร์ อยู่ ซึ่งจะมาเรียน Pre-Clinic ที่ ม.อ.  ซึ่งการสอบเข้า ม.อ. นั้นมีหลายวิธีมาก เดี๋ยวพี่จะบอกละกันนะ

      ตอนนี้คณบดีคนปัจจุบันคือ

       
      รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุเมธ  พีรวุทฒิ
      ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนปัจจุบันคือ
       
      รองศาสตราจารย์นายแพทย์เรืองศักดิ์  ลีธนาภรณ์

      ปุจฉา?  อะไรคือความหมายของคำว่า 
              BLOCK
              PBL
              SDL

      โปรดติดตามอ่านอย่าให้คลาดสายตา!!!!

             
      ตอนนี้ คณะเราก็มีภาควิชาทั้งหมด 13 ภาควิชานะครับ ซึ่งเมื่อน้องๆขึ้นชั้น Clinic น้องๆ จะได้เรียนกันจนครบทุกภาคเลยละครับ   โดยจะวนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเรียนจนครบ  มีน้องๆหลายคน Add   Email พี่ไปแล้วคำถามที่พบบ่อยที่สุดคือ  "พี่ๆ แพทย์เรียนกี่ปีอะ?" คำถามนี้เล่นเอาพี่ลมจับเลยครับ    งั้นพี่บอกเลยละกันว่า ตามหลักสูตร แพทยศาสตร์บัณฑิตแล้ว จะเรียน 6 ปีนะครับน้อง โดย แบ่งเป็น  

      ปีที่ 1  
      ปีนี้น้องๆจะต้องเรียนวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไปนะครับ กับ Lab เช่น เคมี  ฟิสิกส์  ชีวะ  แล้วก็วิชาของคณะศิลปศาสตร์ เช่น ภาษาอังกฤษ  Man&Socities  ฯลฯ ซึ่งปีนี้ เป็นปีที่เรียนเบาที่สุดครับ ง่ายที่สุดด้วย พี่แนะนำให้เก็บเกรดเทอมนี้ไว้เยอะๆนะ เดี๋ยวปีต่อๆ มันจะลดลงอย่างน่าใจหายเลยละ  5555+

       

      ชั้น Pre-clinic (ปี2-3)
      ปีนี้น้องๆจะเริ่มเข้าสู่การเรียนวิชาแพทย์แล้วละครับ แต่เป็นขั้นพื้นฐานนะ น้องๆ ยังรักษาคนไม่ได้หรอก แต่น้องๆจะรู้รายละเอียดเกี่ยวกับร่างกายของคนเรามากขึ้นอย่างคาดไม่ถึงเลยละ วิชาที่เรียนก็จะเรียนกันเป็น Block นะครับ โดยแต่ละ Block ก็คือแต่ละวิชานั้นเอง เราจะเรียนกันทีละ Block  ให้จบแล้วขึ้น Block ใหม่ เช่น เปิดเทอมมา Block แรกเรียน Immunology ใช้เวลาเรียน 6 week เราก็จะเรียนกันจนครบ 
      6 week  แล้วก็สอบพร้อมกับตัดเกรดไปด้วย หลังจากนั้น Block ต่อไปเราจะเรียน Cadiovascular System  ต่อ  3  week ก็เรียนแล้วก็ตัดเกรดเหมือนเดิมครับ  ก็เรียนไปอย่างนี้จนครบเทอมนั้นแหละ รวมๆแล้วประมาณ 4 Block ต่อเทอมครับ  เพราะฉะนั้นน้องจะสอบเยอะมากๆๆๆ เฉลี่ยสอบเดือนละครั้งครับ 

              การเรียนการสอนของ คณะแพทย์ ม.อ. นั้น จะคิดคะแนนสอบเพียงแค่ 50% เท่านั้นครับ ส่วนอีก 50% ที่เหลือ จะมาจากคะแนนการทำ PBL!!!!!! มันมาแล้วครับสิ่งที่เราสงสัย 5555+ มีน้องๆหลายคนเหมือนกันชอบถามพี่ว่า "พี่ๆ PBL นี่มันคือไรอ่าพี่?"  เอาละเรามาทำความรู้จักกับเจ้า PBL กับเถอะ น้อง

      PBL ย่อมาจากคำว่า Problem-Based Learning คือ "การเรียนรู้จากปัญหาเป็นฐาน " พี่แนะนำให้น้องๆทำความเข้าใจกับมันด้วยนะครับ เพราะบางทีน้องอาจเจอมันตอนสอบสัมภาษณ์ก็เป็นได้นะ!! อุ๊ย หลุดปากบอกซะงั้น แห่ๆๆๆ  การเรียนแบบ PBL มี 2 ขั้นตอนดังนี้ครับ( 2 act )  โดยจะเรียนกันเป็นกลุ่มๆละ 8 คน

      Act 1 น้องๆจะได้กระดาษหรือ ภาพ X-ray  ฯลฯ ที่เป็นข้อมูลของผู้ป่วย ซึ่งกระดาษนั้นจะบอกข้อมูลพื้นฐานของคนไข้  อาการและลักษณะอาการ  แล้วก็บอกข้อมูลการตรวจของแพทย์ ว่าตรวจยังไง  ให้ยาอะไร  ประมาณนี้ครับโดย เค้าจะแต่งมาเป็นเรื่องเลยละ เหมือนอ่านนารูโตะ เลย 555+ ล้อเล้นจ้า  พอน้องๆอ่านจบก็ต้องวิเคราะห์ว่า เค้าต้องการให้น้องรู้เรื่องโรคอะไร  วิธีการรักษา   การจ่ายยา และอื่นๆอีกมากมายที่น้องๆอยากจะรู้ โดยน้องจะต้อง อภิปรายกันในกลุ่มครับ  โดยจะมีอาจารย์นั่งอยู่ในห้องด้วย แต่อาจารย์จะไม่พูดอะไรนะครับ เพราะถ้าพูดมันก็จะเป็นการชักจูงหรือสอน อย่างงี้มันก็ไม่ใช่ PBL สิ แต่ถ้าข้อมูลที่น้องต้องการเรียนรู้ไม่ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ ตอนนี้ละอาจารย์ก็จะแนะนำน้อง หลังจากนั้น น้องๆก็ต้องกลับไปหาข้อมูล เพื่อที่จะนำมา อภิปราย กันใน Act 2



      Act 2  โดยปกติ Act1 กับ Act 2 จะห่างกันประมาณ 4 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น้องๆใช้หาข้อมูลและ อ่าน  หลังจากที่น้องๆ หาข้อมูลและอ่าน มาจนแม่นยำแล้ว ก็ถึงเวลาที่น้องๆจะนำมา อภิปรายกับเพื่อนๆแล้วละว่า Case นี้ทำไมหมอถึง Diagnosis ว่าเป็นโรคนั้นๆๆๆ ทำไมต้องตรวจแบบนั้น  ทำไมต้องให้ยานั้น  อะไรประมาณนี้  มันเหมือนเป็นการทบทวนความรู้ มากกว่าพี่ว่า เพราะน้องจะได้ แชร์ ความรู้ที่น้องอ่านมาให้เพื่อนฟัง ถ้าสิ่งที่น้องอ่านกับที่เพื่อนอ่านไม่ตรงกัน หรือเราอ่านมาผิด เพื่อนก็สามารถช่วยให้น้องเข้าใจให้ถูกต้องได้  และอีกอย่างการพูดนั้น มันจะช่วยให้น้องจำได้แม่นและนานขึ้นด้วยนะ  อันนี้พี่ Confirm จำได้นานจริงๆ เพราะน้องก็รู้นิ ว่า ถ้าน้องจะสอนใครสักคนความรู้น้องต้องแน่น ถึงจะสอนได้ใช่มั๊ย  
      ในการเรียนแต่ละวันน้องน้องจะมีชั่วโมงว่างเยอะพอสมควรครับซึ่งที่คณะเค้าจะเรียกกันว่า SDL มันแปลว่าอะไรพี่จำไม่ได้แล้วแต่ในความหมายของพวกพี่มันคือ Sleep Deep and Long 5555+ ในวันที่เรียนบ่ายโมง   มันเปลี่ยนเป็น   Survey Diana and Lee Garden  (อันนี้ต้องคนหาดใหญ่จะเข้าใจ มันคือห้างที่หาดใหญ่) ในวันเลิกเที่ยงเพราะบ่ายก็ทัวร์หาดใหญ่ครับ แต่ในความหมายของมันจริงๆก็คือเค้ามีเวลาว่างเพื่อให้นักศึกษาได้ไปค้นคว้าหาความรู้เพิ่มด้วยตนเองครับ  พี่เริ่มจำได้ละ S = Self   D = Directed    L = Learning     รวมแล้วคือ Self-Directed Learnging     ก็คือเรียนรู้โดยตรงด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด internet หรือ resource person(อาจารย์แพทย์)

      ชั้น Clinic (ปี4-5)  พอน้องขึ้น Clinic  ที่นี้ละน้องจะต้องสวมเสื้อกาวด์ ทำหน้าที่เหมือนหมอเข้าไปทุกทีแล้ว  โดยการเรียนชั้น Clinic จะเรียนกันเป็นกอง(กลุ่มนักศึกษาแพทย์แบ่งเป็นกองๆ)  โดยแต่ละกองก็จะมีจำนวน นศพ. ไม่เท่ากันแล้วแต่ ward ที่เรียน  โดยปีสี่ก็จะมี อายุรศาสตร์ (Internal medicine)   ,ศัลยศาสตร์ (Surgery) , ตา หู คอ จมูก (Ambulatory) ,  เวชศาสตร์ครอบครัว  (Family medicine)  ,  Health promotion และสุดท้ายก็ Selective(ฝึกงาน)  
                    ซึ่งแต่ละกองก็จะเรียนไม่เหมือนกันเลย  เช่น อายุรศาสตร์ กับ ศัลย์ จะมี round ward ตอนเช้าาา  เช้าาามากกกกกกก   บางวันต้องตื่นตั้งแต่ตีห้าเลย   แล้วการสอบก็โหดดดดดดด  พอน้องขึ้นclinic มาน้องก็จะพบกับศัพท์เทคนิคใหม้ที่ใช้กับอย่างแพร่หลาย คือ  "กินหัว" อันนี้แปลว่าอะไร เอาไว้น้องๆต้องมาเรียนรู้ด้วยตัวเองน่ะครับ  อิอิอิอิ    ส่วนของปีห้าเด๋วไว้พี่จะมาอัพใหม่น่ะครับ

      ชั้น Extern (ปี 6) ตอนนี้น้องจะเหมือนหมอเต็มตัวเข้าไปทุกที โดยปีนี้ต้องต้องออกไปทำหน้าที่ในโรงพยาบาลชุมชน หนึ่งเทอม และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อีกหนึ่งเทอม โดยหน้าที่ๆว่าคือเป็นหมอเลยครับ  Diagnosis เอง  สั่งจ่ายยาเอง  ซึ่งปกติตอนน้องยู่ปี 4 -5 น้องทำไม่ได้ ต้องพึ่งพี่ที่เค้ามาเรียนเฉพาะทางเท่านั้นครับ(Resident) ปีนี้น้องต้องระวังตัวมากๆครับเพราะน้องยังไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ ถ้าเกิดมีปัญหาอะไรขึ้นมา อาจติดคุกเอาง่ายๆครับ

      ชั้น Intern (แพทย์ใช้ทุน)  หลังเรียนจบน้องก็ต้องใช้ทุนอีกครับ  3 ปี

      Resident(แพทย์เรียนต่อเฉพาะทาง)  

              อันนี้สิเด็ดสุดครับน้องๆ พอน้องขึ้นปีสองทางคณะจะมี คอมพิวเตอร์ Note Book ให้เช่าครับ ถูกมากๆด้วย เทอมละ 1200 เอง  เพราะฉะนั้น เราจะมี
      Note Book  ส่วนตัวคนละเครื่องเลย เพราะการเรียนแบบ PBL มันต้องหาข้อมูลเยอะใช่มั๊ยครับ น้อง เพราะฉะนั้น Internet ก็เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่ง  นอกเหนือจากห้องสมุดและอาจารย์ แต่สำหรับพี่มันมีไว้เล่นเกมส์ครับ 5555+     โดยที่หอพักนักศึกษาแพทย์(บินหลา) จะมี Wireless ให้ครับ นอนเล่นบนเตียงได้เลย(เหมือนพี่นี่ไง555+)  



      และที่พี่ชอบมากอีกอย่างคือ อาจารย์ที่คณะครับ ใจดีมากๆ  น่ารักด้วย ที่พี่รู้เพราะอาจารย์แต่ละท่านเคยคุมกลุ่ม PBL พี่แล้ว พี่ก็ชอบคุยกับอาจารย์เลยทำให้พี่รู้ไงครับว่าอาจารย์น่ารักมากๆ   ไม่เชื่อดูภาพสิครับ  เป็นภาพวันรับปริญญา เมื่อไม่กี่เดือนมานี้เองครับ 



      เรื่องที่จะแฉต่อไปคือ วิธีการเข้ามาเรียนใครคณะ แพทย์ ม.อ. ครับ
      1.สอบตรงกับทางมหาวิทยาลัยเองครับ ( www.entrance.psu.ac.th )  ติดตามได้เลย โดยแบ่งเป็น  โควตาภาคใต้  และโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)
      (www.newcpird.org)
      2.กสพท. ( www.si.mahidol.ac.th/consortium )  แบบนี้รับ 60 คนครับ จากทั่วประเทศ น้องๆภาคอื่นอยากมาเรียนก็ต้องมาโครงการนี้นะครับ แบบพี่ไง อิอิอิอิ
      3.โครงการ  สสวท.  นานๆจะเห็นมาสักคนครับ อย่างปีนี้มีมาคนนึงเอง   (รายละเอียด By P'Muse Med35)
      4.โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการนี้รับ 30  คนครับ โดยรับคนที่จบปริญญาตรีมาแล้วด้วยนะ  แต่โครงการนี้ปีหนึ่ง จะเรียนที่ ม.อ. ปัตตานีนะครับ ปีสองถึงจะมาเรียนที่หาดใหญ่
              ถึงน้องจะเข้ามาเรียนด้วยวิธีไหนก็ตาม แต่สุดท้ายน้องต้องมารวมกัน น้องต้องเรียนไปพร้อมกัน ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกผ่านสุขไปด้วยกัน  จบไปก็จะเป็นหมอด้วยกัน น้องๆที่สมัครแบบไหนได้ก็สมัครเลยนะครับ ไม่ต้องเลือกหรอกว่าจะเข้าแบบสอบตรง หรือ แบบสามจังหวัด หรือแบบ
      CPIRD คือบางคนคิดว่าพอเข้ามาเดี๋ยวโดนดูถูก หาว่าเราเข้าง่าย อันนี้พี่ confirm ว่า ไม่มีครับ  เพราะไม่งั้นเดี๋ยวน้องอาจพลาดได้(เหมือนพี่ แต่ไม่เล่าหรอก 555+) อันนี้พี่เอาประสบการณ์มากบอกละกันนะ



      ที่พี่อยากแฉเรื่องต่อไปคือ  กิจกรรม   ในช่วง ปี 1 - 3 น้องจะมีกิจกรรมเยอะมากๆๆๆๆๆ  เพราะอะไรถึงต้องมีกิจกรรมนะเหรอ เพราะว่า การที่น้องเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัย ไม่ใช่มาเอาแต่ความรู้แต่น้องต้องมาเอาวิธีการเข้าสังคมด้วยการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นง่ายๆคือทำคนให้เป็นคนนั้นเอง   กิจกรรมที่พี่ว่าหลักๆก็จะมี  กีฬา 13 คณะ , กีฬาFreshy  , กีฬาเข็มสัมพันธ์์ อันนี้น้องต้องไปแข่งกับคณะแพทย์มหาวิทยาลัยอื่น สถานที่จัดนั้นหมุนเวียนกันไปทุกๆคณะแพทย์ที่พร้อม แต่เค้าไม่ยอมมา ม.อ. อะ เค้าบอกกลัวกัน  อันนี้พี่ก็เข้าใจ ในสายตาคนภาคอื่นที่ไม่ได้มาสัมผัสก็จะกลัว เอาเป็นว่าไม่ว่ากัน อยากมาเมื่อไร ม.อ. พร้อมเสมอครับ 555+    ประชุมเชียร์  , พัฒนนิเทศน์ คือไปเป็นชั้นปีครับอันนี้ ให้ไปทำกิจกรรมร่วมกันสร้างความปรองดอง  โดยเฉพาะตอนปี 2 ที่เพื่อนจากปัตตานี จะเริ่มมาเรียนด้วยกันที่หาดใหญ่  กิจกรรมนี้จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้กับเพื่อนๆที่ มาจากปัตตานีด้วย (ไปทุกปีครับ รวมๆแล้ว 3 ครั้ง)   พาเหรดวันลอยกระทง อันนี้งานใหญ่ครับ ประชันกันแต่ละคณะ ซึ่งคณะแพทย์จะแข่งกับเภสัชฯ ทุกๆปีครับ แย่งที่หนึ่งกัน แข่งกันเผ็ดร้อนมากๆ มันหยดติ๋งเลยด้วย  555+    และที่ขาดไม่ได้คือ  MedASA ครับ(เหม็ดอาสา) เป็นกิจกรรมของปีสามที่ต้องทำทุกปี เป็นการจัดConcert หาตังไปช่วยสังคมชนบทครับ ปีนี้ได้วงPARADOX มาครับ มันมากๆๆ     BAKA Awoard  เป็นกิจกรรมของชมรมดนตรีสากลครับ โดยจัดให้มีการประกวดดนตรีขึ้น ใครมีฝีมือ วันนี้ต้องโชว์ให้เต็มMax ครับ สาวๆรอกรี๊ดตรึมเลย 555+         จริงๆยังมีอีกเยอะพี่คงเขียนไม่หมดเพราะเมื่อยมือก่อน แต่นี่คือหลักๆแล้วละ



              พี่แฉมาก็มากเหมือนกันนะเนี่ย เอาเป็นว่า ถ้าน้องๆอยากให้พี่แฉอะไรก็ Comment ไว้ละกันนะ เดี๋ยวพี่จัดให้  และน้องๆจงจำไว้เสมอว่า การเรียนแพทย์ ไม่ใช่เรียนเพราะเท่ เพราะโก้  หรือเพราะอยากให้โรงเรียนมีชื่อเสียง เพราะการเรียนแพทย์นั้น เหนื่อยมากครับน้อง เหนื่อยจนพี่ไม่รู้จะพูดยังไง ถ้าน้องใจไม่สู้พอ พี่อยากให้น้องลองคิดทบทวนดูใหม่นะครับ เพราะอาชีพนี้ เกี่ยวข้องกับชีวิตคนนะครับ ทำเป็นเล่นเหมือน ม.ปลายไม่ได้แล้วนะ พี่เห็นหลายคนแล้วที่ทนไม่ได้แล้วลาออกไป   เอาเป็นว่าเอาไว้เป็นอุทาหรณ์ละกันนะ  แต่พี่เชื่อว่า น้องๆต้องทำได้แน่ครับ เพราะน้องคืออนาคตของชาติในวันข้างหน้า   น้องๆจงเอาสิ่งที่พี่บอกเหล่านี้ไปประกอบกับการตัดสินใจในการเลือกนะ เพราะพี่ไม่เคยบังคับใครให้มาเรียนที่นี่  แต่พี่อยากนำเสนอให้น้องๆได้เห็นว่า

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×